เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 25258 ชาติพันธุ์วรรณา ใน พระอภัยมณี (๓)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 25 ม.ค. 10, 10:29

Oh! You better watch out,
You better not cry,
You better not pout,
I'm telling you why:
พระโยคี is coming to town!

He's making a list,
Checking it twice,
Gonna find out who's naughty or nice.
 พระโยคี is coming to town!

He sees you when you're sleeping,
He knows when you're awake.
He knows if you've been bad or good,
So be good for goodness sake!

Oh! You better watch out,
You better not cry,
You better not pout,
I'm telling you why:
พระโยคี  is coming to town


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 25 ม.ค. 10, 11:18

นั่นไง ตกใจ...คุณวันดีชี้ช่องให้คุณเทาชมพูตบมุขเข้าให้เหมาะเจาะเลย  งานนี้ก็ฮาสิครับ  (แหมถ้ากระทู้นี้ตั้งเสียก่อนคริสต์มาสที่ผ่านมาจะฮามากกว่านี้) ยิงฟันยิ้ม

พระโยคี ในพระอภัยมณี  ท่านออกจะมีอิทธิฤทธิ์อย่างพวกเซียนนักพรตในพงศาวดารจีนนะครับ  อาจจะมีบทดุบ้างก็ช่วงประทะคารมกับนางผีเสื้อสมุทร  แต่พอหลังจากนั้นดูจะเป็นผู้ทรงศีลที่มีเมตตากรุณา  บทบาทโยคีอย่างนี้  อาจจะยืมรูปโยคีอินเดียในวัฒนธรรมไทย  แต่บุคลิกตัวละครมาจากพวกเซียนในพงศาวดารจีน  ลังเล 

แต่ก็อีกนั่นแหละ ปัญหาคือ ในช่วงที่สุนทรภู่แต่งพระอภัยมณี  มีพงศาวดารจีนเรื่องอะไรบ้างที่ท่านสุนทรภู่น่าจะได้อ่านหรือรู้จัก (นอกจากสามก๊ก ไซ่ฮั่น เลียดก๊ก  ห้องสิน)  ทราบแต่ว่า ในช่วงรัชกาลที่ ๓ การแปลพงศาวดารจีนในราชสำนักเป็นที่รุ่งเรืองมากกว่าสมัยรัชกาลที่ ๑-๒ อาจจะเป็นเพราะการค้ากับจีนเพิ่มขึ้น  อิทธิพลวัฒนธรรมจีนในไทยจึงขยายตัว  บางทีสุนทรภู่อาจจะไม่ได้อ่านพงศาวดารจีนแต่ท่านอาจจะซึมซับเรื่องจีนมาจากภาพวาด หรือการแสดงงิ้ว  มาก่อนก็ได้

แต่ความเห็นของคุณวันดีที่ว่าพระโยคี ยืมบุคลิกมาจากซานตาครอส ก็น่าสนใจนะครับ  เพียงแต่ยังสงสัยว่า  ซานตาครอสที่เราเห็นและรู้จักกันปัจจุบันนี้  กับซานตาครอสที่เข้ามาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์เป็นแบบเดียวกันหรือไม่ เศร้า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 25 ม.ค. 10, 11:35

ในรัชกาลที่ ๓   ดิฉันค้นไม่พบว่ามีวรรณคดีแปลจากจีนเรื่องไหน      ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑-๒ มีสามก๊ก ไซ่ฮั่น  ห้องสิน เลียดก๊ก   แล้วข้อมูลก็หายไป   มาพบว่ามีการแปลจากจีนอีกครั้งในรัชกาลที่ ๔

ถ้าหากว่าไม่มีการแปล "เพื่อประโยชน์ของราชการแผ่นดิน" ก็อาจเป็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเคร่งครัดในเรื่องศาสนาและการปกครอง   มุ่งความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเป็นหลัก 
ไม่โปรดการละเล่นบันเทิงเริงรมย์  เห็นได้จากในวังหลวง  ความบันเทิงต่างๆจึงลดน้อยลงจากสมัยรัชกาลที่ ๒  เช่นการละครและวรรณคดี 
ละครในวัง ก็ย้ายออกจากวังมาเกิดใหม่ตามบ้านขุนนางผู้ใหญ่    วรรณคดีมีน้อยลง   กวีอย่างสุนทรภู่ไม่ได้รุ่งเรืองอย่างแผ่นดินก่อน    งานวรรณกรรมแปลก็คงจะยิ่งลดบทบาทลงไปเหลือศูนย์ ก็เป็นได้     จึงไม่ปรากฏว่ามีการแปลวรรณคดีหลวงจากเรื่องจีนในสมัยนี้
     อย่างไรก็ตาม  ในรัชกาลที่ ๓ นี้เอง   เป็นระยะแรกของการแปลรูปแบบใหม่อีกแบบหนึ่งซึ่งไม่ใช่วรรณคดีจากพระราชดำริ     แต่เป็นการแปลหนังสือจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เป็นครั้งแรกในประเทศไทย   
สืบเนื่องมาจากสาเหตุทางศาสนา   ตามที่ปรากฏหลักฐานจากหนังสือ   Historical Sketch of Protestant Missions in Siam 1828-1928   จัดพิมพ์โดยนายแพทย์ยอร์ช แมคฟาแลนด์ (พระอาจวิทยาคม) ระบุว่า  แหม่มแอนนา ยัดสัน  แปลคำสอนศาสนาคริสต์เป็นภาษาไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๒ 
และส่งไปพิมพ์ที่โรงพิมพ์ของคริสตศาสนา นิกายแบปติสต์ ณ เมืองกัลกัตตา  ประเทศอินเดีย   นับว่าเป็นหนังสือแปลภาษาอังกฤษเล่มแรกที่แปลเป็นภาษาไทย   แต่ไม่มีหลักฐานต้นฉบับหรือฉบับที่พิมพ์หลงเหลือตกทอดมาถึงปัจจุบัน   

        ตามประวัติกล่าวว่า แหม่มแอนนา ยัดสันเป็นมิชชันนารีอเมริกันไปทำงานสอนศาสนากับสามี ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๖  นางยัดสันได้เรียนภาษาไทยจากเชลยไทยในพม่า  และได้แปลพระคัมภีร์ไบเบิลออกมาเป็นภาษาไทย 
อีกทั้งได้หล่อตัวพิมพ์ภาษาไทยด้วยเพื่อจัดพิมพ์   แต่เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๒  เกิดภาวะคับขันในพม่า  ครอบครัวยัดสันจึงเดินทางไปอยู่กัลกัตตา พร้อมกับนำแท่นพิมพ์และตัวพิมพ์ภาษาต่างๆไปด้วย   งานพิมพ์หนังสือไทยเล่มแรก จึงพิมพ์ขึ้น ณ เมืองกัลกัตตา นั้นเอง

        ส่วนประวัติมิชชันนารีในไทย  มีอยู่ว่ามิชชันนารีชาวอเมริกัน เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพื่อเผยแพร่ศาสนา เมื่อพ.ศ. ๒๓๗๔   มิชชั่นนารีคนแรกแห่งคณะอเมริกันบอร์ดมีนามว่า เดวิด อาบีล   
ต่อมา  เมื่อ วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๓๗๘  นายแพทย์แดนบีช  แบรดลีย์     หรือออกเสียงเป็นไทยว่า   " บรัดเลย์ " เดินทางเข้ามาในประเทศไทย  โดยนำเอาแท่นพิมพ์และตัวพิมพ์ภาษาไทยติดเข้ามาด้วยจากเมืองสิงคโปร์ 
มาตั้งโรงพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกที่วัดเกาะ พิมพ์วรรณคดีและหนังสือศาสนา  ต่อมาออกหนังสือพิมพ์ถึง ๖ ฉบับ   มีนายแพทย์บรัดเลย์เป็นบรรณาธิการและผู้พิมพ์ผู้โฆษณาเสีย ๕ ฉบับ  อีกฉบับหนึ่งนาย เจ.เอช. แชนด์เลอร์ เป็นบรรณาธิการ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 25 ม.ค. 10, 12:02

อ้างถึง
แต่ความเห็นของคุณวันดีที่ว่าพระโยคี ยืมบุคลิกมาจากซานตาครอส ก็น่าสนใจนะครับ  เพียงแต่ยังสงสัยว่า  ซานตาครอสที่เราเห็นและรู้จักกันปัจจุบันนี้  กับซานตาครอสที่เข้ามาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์เป็นแบบเดียวกันหรือไม่

ไม่เหมือนค่ะ  ซานตาคลอสเสื้อแดงตัวอ้วน   อย่างที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน   เพิ่งเกิดตอนปลายศตวรรษที่ ๑๙
ก่อนหน้านี้ ซานตาคลอสยังมีส่วนผสมของเซนต์นิโคลัสอยู่มาก   เป็นชายชราร่างผอม ถือไม้เท้า
อย่างรูปที่เอามาให้ดูเป็นซานตาคลอสแบบศตวรรษที่ ๑๘  ของอเมริกัน     ถ้าหมอบรัดเลย์หรือมิชชันนารีมีหนังสือรูปซานตาคลอสติดมาด้วย   ก็หน้าตาแบบนี้ละ

พระโยคีของเรา ไม่น่าจะอ้วน    เพราะกินมังสวิรัติ    ผลไม้บนเกาะก็คงไม่มีทุเรียน หรืออะไรที่น้ำตาลสูงมาก
กินเนื้อมะพร้าว   แต่ไม่คั้นเป็นกะทิ  คงไม่อ้วนเท่าไร


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 25 ม.ค. 10, 12:58

นับถือคำตอบ ในคคห ๑๒   ครอบคลุมกว้างขวาง
 

เรื่องแหม่มจัดสันนั้นเท่าที่เคยอ่านจดหมายของมิชชันนารีที่เขียนไปถึงบ้าน
เธอพึ่งรู้จักสามีไม่นาน   ทางโบสถ์แนะนำให้ว่าเป็นกุลสตรีที่ดี แน่วแน่ในพระศาสนา  สุขภาพดี
อยากมารับใช้เผยแพร่พระศาสนาในต่างแดน

เธอเป็นสาวสวยที่งามทั้งกิริยามารยาทวาจา  สวยที่สุดในสังคมมะละแหม่มยุคนั้นก็แล้วกัน
แหม่มคนหนึ่งเขียนไปบอกทางบ้านว่า  สีผมของแหม่มจัดสันนั้นทองสกาว ไม่ว่าจะยกมือ เอี้ยวตัว หรือนั่งลงก็งาม

หลายปีมาแล้วเคยค้นเรื่องครูสมิทค่ะ   อ่านหนังสือเยอะมาก

ทีนี้ชาวบ้าน  ขออภัย  นายทหารอังกฤษก็มาเยี่ยมคำนับกันตลอด
มีตาคนหนึ่งช่วยคิดหล่อตัวอักษรไทยให้  อ่านแล้วถ้าไม่คิดก็เพียงว่า เป็นผู้ต้องเสน่ห์

ต่อมาเกิดสงสัยว่า  ทางกองทัพอังกฤษ  เตรียมตัวทำประกาศภาษาไทยหรือจะพิมพ์หนังสือไทยเพื่อประโยชน์ของกองทัพหรือ

การหล่อตัวอักษรนั้น  ไม่ง่าย  ยุ่งยากและซับซ้อน
ผู้เชี่ยวชาญการพิมพ์ยังร้องอู้(ในที่นี้ แปลว่า เหนื่อยมาก)

ชอบพอกันเฉยๆ  คิดหล่อตัวพืมพ์ภาษาไทยให้   ไม่ธรรมดา
เข้าใจว่า ดีบุก แพง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 25 ม.ค. 10, 13:15

ตอนนี้โล่งใจไปหนึ่งเรื่อง  หลังจากได้เล่าเรื่องซานตาครอสไปแล้ว


ขอวกกลับมาที่พระโยคีเกาะแก้วพิสดารนะคะ

ไม้เท้าที่สุดสาครถืออยู่นั้น  เมื่อนางสุลาลีวรรณบุกสุดสาคร


เห็นเมินนิ่งยิ่งล้อขอไม้เท้า                                ขยับเข้าแย่งยุดพระฉุดชิง
เดชะฤทธิ์สิทธารักษาไม้                                  ครั้นหญิงใกล้กลับเป็นงูไล่ผู้หญิง
ดูยาวเฟื้อยเลื้อยมาน่ากลัวจริง                           นางหวีดวิ่งวุ่นวายกลับหายวับ


ไม้เท้ากลับไปเกาะแก้วพิสดารด้วยตนเอง  หรืออะไรทำนองนั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 25 ม.ค. 10, 13:17

โชคดีจริง  หารูปของแหม่มยัดสัน( หรือปัจจุบันออกเสียงว่า จัดสัน อย่างคุณวันดีเรียก)มาได้
สวยจริงๆเสียด้วย
หาประวัติมาให้อ่านค่ะ

Ann Hasseltine Judson
(b. Bradford, Mass., Dec. 22, 1789; d. Amherst, Burma, Oct. 24, 1826). American missionary to India; wife of Adoniram Judson.
Ann (“Nancy”) became a Christian when she was 16. In June, 1810, she attended a missionary meeting at the Bradford Congregational Church when four young students from Andover Theological Seminary petitioned to be sent as foreign missionaries. One of these young men was Adoniram Judson, who was invited to dine in the Hasseltine home. On Feb. 5, 1812, Judson and Ann Hasseltine were married, and they sailed for India Feb. 19. During the voyage they studied the question of baptism and were convinced that the Baptist position was scriptural. Arriving at Calcutta, they were baptized by one of the associates of William Carey. Being ordered by the East India Company to leave India, they were permitted to go to the Isle of France, thence to Madras. When forced to leave Madras, they boarded the only ship in harbor ready to sail, which was bound for Rangoon, Burma; they arrived at that port July 13, 1813. They were in Burma six years before the first convert was baptized. In the bitter conflict between the British and Burmese armies, Judson was imprisoned many months and would have died had not Mrs. Judson, despite her own illness, managed to get food to him. After his release and their removal to Amherst, Mrs. Judson was stricken while her husband was absent on a mission to Ava, and she died Oct. 24, 1826.
--------------------------------------------------------------------------------
Biographical sources:
Bubbard, Ethel Daniels. Ann of Ava, 1913.
Knowles, James D. Memoir of Mrs. Ann H. Judson, late missionary to Burma.
Simmons, Dawn Langley. Golden boats from Burma, 1961

คนสวยของคุณวันดี  จากไปเมื่ออายุ 37 เท่านั้นเอง   สามีก็ไม่ได้อยู่เคียงข้างเพื่อดูใจเสียด้วย เมื่อเธอสิ้นลม


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 25 ม.ค. 10, 13:46

ขอบคุณ คุณเทาชมพูค่ะ  รูปนี้ไม่เคยเห็น


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 25 ม.ค. 10, 13:59

ตัวพิมพ์ไทยครั้งแรก
เหมือนลายมือเขียนเลยค่ะ   ได้ลายมืออาลักษณ์คนไหนหนอมาเป็นแบบ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 25 ม.ค. 10, 19:14

สังเกตไหมว่าทั้งเซนต์นิโคลัส และพระโยคี ก็มีไม้เท้าคู่กาย เหมือนกัน 


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 26 ม.ค. 10, 07:51

ไป ย่องตอด กันนะคะ



เรื่องย่องตอดนี้   น่าสนใจทั้งชื่อ  และที่มา


ย่องตอดเป็นชาวบ้านด่านสิงหล   เป็นคนขี้อายและโง่เขลา  แต่เป็นลูกเศรษฐี

วันหนึ่งจะปลำ้เมียของตนเอง  ผู้หญิงสู้

ทั้งถีบถูกลูกตาข้างขวาบอด                                     อ้ายย่องตอดเต็มโกรธกระโดดหนี
เสียดายนักควักออกมาว่าตานี้                                  เป็นของดีกว่าอื่นเอากลืนไว้  



จึงหนีไปอยู่ในถำ้กลำพัน ในป่ากาลวัน  เพราะอายชาวบ้าน
ปีศาจมาสอนความรู้ให้(เพราะปีศาจคงเหงาเหมือนกัน)

เที่ยวกินเนื้อเสือสีห์เหมือนผีดิบ                         ตาไม่กระพริบเหมือนยักษ์มักกะสัน


เมื่อครูสมิทพิมพ์พระอภัยมณี   ชาวบ้านทั้งหลายที่ยังไม่เคยอ่าน สามก๊ก ของ บรัดเล  ตื่นเต้นหวาดเสียวกันมาก
ครูสมิทเลยพิมพ์ สามก๊ก ขึ้นมาอีก   เป็นหนังสือหายากบรม
เจ้าของสำนักพิมพ์ใหญ่แห่งหนึ่งยังไม่ทราบว่ามี สามก๊กฉบับครูสมิท  ได้อบรมดิฉันอยู่เป็นเวลานานสามชั่วโมง ว่าไม่แน่น ไม่แม่น
ตอนนั้นดิฉันกำลังตรวจหนังสือของเขาทั้งห้องสมุด  จึงเก็บปากไว้ชั่วคราว

ขุนวิศิษฐ์ระเบียนการ  บิดาของ คุณ ลาวัณย์  โชตามระ  เล่าไว้จ้ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 26 ม.ค. 10, 09:21

เมื่อนางละเวงนั่งรถเทียมม้าผ่านมากับ ยุพาผกากับสุลาลีวรรณได้จอดรถพักผ่อน
ย่องตอดจับม้ามากินทั้ง  ๑๒ ตัว  ที่กินเหลือเอาไปฝากผีในถ้ำ

นางละเวงมีตราราหูคุ้มครองจึงไม่หลับ  ได้ต่อสู้กัน  พอตีย่องตอดสลบ ยุพาผกาและสุลาลีวรรณก็ตื่นมาช่วย

สามนางดู ย่องตอด

ต่างพิศดูผู้ตายคล้ายคุลา                                 มีแต่ตาข้างเดียวดูเขี้ยวโง้ง
ทั้งหน้าลายรายเรี่ยรอยเมียข่วน                         ผมแต่ล้วนผีผูกจมูกโด่ง
ใบไม้นุ่งรุงรังสันหลังโกง                                  ดังผีโป่งปากเหม็นเช่นกุมภา

คุลา   คือคนชาติหนึ่ง  ตัวมันดำ  ฟันมันขาวคล้ายกับกลาสี
(อักขราภิธานศรับท์   อาจารริย์ ทัด  คัดแปล   บรัดเลพิมพ์)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 26 ม.ค. 10, 09:36

เรื่องตราพระราหูนั้น     กาญจนาคพันธุ์ เล่าไว้ ในภุมิศาสตร์สุนทรภู่ ว่า

มาร์โคโปโลผู้เคยมาอยู่ในราชสำนัก คุบลายข่าน เล่าว่า
กษัตริย์ผู้ครองเมืองลังกามีทับทิมซึ่งงามและใหญ่ที่สุดในโลก

ทับทิมนั้นยาวเท่าฝ่ามือ  หนาเท่าลำแขนคน  ปราศจากตำหนิไฝฝ้าราคี
มีสีแดงรุ่งโรจน์เหมือนไฟ

กบัตริย์ผู้ครองเกาะสุมาตรามีทับทิมใหญ่เหมือนกัน  ดวงโต
เส้นผ่าศูนย์กลาง ๕ นิ้ว  เป็นของทนไฟ
เวลากลางคืนส่องแสงสว่างดุจดวงใต้

คลีโอพัตราก็ถือดวงแก้วดวงใหญ่  ส่งกลิ่นหอม  ทำให้พระวรกายหอมอยู่เสมอ


กาญจนาคพันธ์

"สุนทรภู้จะรู้เรื่องเหล่านี้บ้างไหมหนอ      แต่จะรู้หรือไม่  สุนทรภู่ก็ควรได้รับความยกย่องว่า เป็นอัจฉริยะเท่า ๆ กัน
ทุกสิ่งทุกอย่างที่ประหลาดมหัศจรรย์อยู่ในเรื่อง พระอภัยมณี

ถ้าสุนทรภู่รู้ก็รู้อย่างเยี่ยม

หากไม่รู้เพียงคิดก็คิดอย่างยอด"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 26 ม.ค. 10, 10:12

ประการหนึ่งซึ่งตราพระราหู                   เป็นของคู่ขัตติยาเทวาถวาย
เป็นตราแก้วแววเวียนวิเชียรพราย           แต่เช้าสายสีรุ้งดูรุ่งเรือง
ครั้นแดดแขงแสงขาวดูพราวพร้อย           ครั้นบ่ายคล้อยเคลือบสีมณีเหลือง
ครั้นค่ำช่วงดวงแดงแสงประเทือง            อร่ามเหลืองรัศมีเหมือนสีไฟ
แม้นเดินหนฝนตกไม่ถูกต้อง                  เอาไว้ห้องหับแห่งตำแหน่งไหน
ไม่หนาวร้อนอ่อนอุ่นลมุนละไม               ถ้าชิงไชยแคล้วคลาศซึ่งศาสตรา
แต่ครั้งนี้ท้าวมิได้เอาไปศึก                    เพราะท้าวนึกห่วงพระแม่แน่นักหนา
ด้วยเป็นหญิงทิ้งไว้จึงให้ตรา                  ไว้รักษาสารพรรณอันตราย

ตราพระราหูของสุนทรภู่ มีคุณสมบัติพิเศษเติมเข้ามาอีกหลายอย่าง   ไม่ใช่แค่ทับทิมเม็ดใหญ่อย่างของลังกาและสุมาตรา
นึกชมอีกอย่างว่า ท่านเป็นคนละเอียดถี่ถ้วนดีมาก    เขียนอะไรมีเหตุผลประกอบ แม้แต่เรื่องเล็กน้อย
เพราะตราวิเศษใช้ป้องกันอันตรายได้     ถ้าไม่ออกตัวเสียก่อนว่าเจ้าลังกาทิ้งไว้คุ้มครองลูกสาว   ก็คงจะมีคนถามว่า มีตราวิเศษขนาดนี้แล้วไปแพ้รบกรุงผลึกถึงตายได้ยังไง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 26 ม.ค. 10, 11:04

ซานตาคลอสเสื้อแดงตัวอ้วน   อย่างที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน   เพิ่งเกิดตอนปลายศตวรรษที่ ๑๙
ก่อนหน้านี้ ซานตาคลอสยังมีส่วนผสมของเซนต์นิโคลัสอยู่มาก   เป็นชายชราร่างผอม ถือไม้เท้า
อย่างรูปที่เอามาให้ดูเป็นซานตาคลอสแบบศตวรรษที่ ๑๘  ของอเมริกัน  

ซานตาคลอสแบบที่เรารู้จักเกิดในคริสตศตวรรษที่ ๒๐ นี้เอง (ค.ศ. ๑๙๓๐) โดยเป็นถูกโคคาโคลาจับตัวมาเป็นพรีเซนเตอร์ใส่ชุดสีเดียวกับสินค้า (รูปบน)

ก่อนหน้านั้น (ค.ศ. ๑๙๐๒)  บนปกหนังสือ The Night Before Christmas วาดโดบ W. W. Denslow  ลุงซานต้ายังใส่ชุดสีเขียวอยู่เลย (รูปล่าง)

 ยิงฟันยิ้ม

 



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 20 คำสั่ง