ตั้งใจจะเข้ามาเพิ่มเติมความเห็นพอดี คุณเพ็ญเข้ามาเสียก่อน

โยคี ฤๅษี ทั่วไป เป็นมนุษย์สามัญ ส่วนใหญ่ก็เคยครองเรือนมาก่อนแล้วละจากบ้านไปบำเพ็ญพรตในป่า
แต่พระโยคีที่สุนทรภู่สร้าง อายุพันกว่าปี สำเร็จวิชาปุถุชนฤทธิ์อย่างหนึ่งละ อีกอย่างเวลาเทศน์ห้ามทัพผลึกและลงกา ก็เหมือนกับบรรลุโสดาบันแล้วอย่างน้อย อาจจะถึงขั้นสูงกว่านั้น
คุณเพ็ญจะเอาโยคีชาวบ้านทั่วไปมาเป็นมาตรฐานไม่ได้ ต้องเอาเจตนาของกวีเป็นหลัก
ดูจากเจตนาแล้วเห็นว่า สุนทรภู่กำหนดให้พระเจ้าตาของสุดสาคร เป็นผู้วิเศษ ไม่มีที่มา แต่ที่ไป คือรู้ตัวว่าวันหนึ่งก็จะต้องดับสังขาร
ข้อหลังนี้แม้แต่พระอรหันต์เองก็ยังนิพพานกันทุกองค์ ไม่มีใครอยู่ยั่งยืนอย่างเซียน
แต่คุณสมบัติอื่นๆของพระโยคี น่าจะยืมมาจากเซียน อย่างที่คุณวันดีเล่า ขี่รุ้ง ขี่เมฆ ถือไม้เท้า นี่บรรยากาศเซียนออกมาเห็นๆ
พูดถึงนักบวชของอินเดียแล้วก็นึกได้ว่า มีเรื่องราวของพระวสิษฎ์ และพระวิศวามิตร สนุกมาก ที่เสฐียรโกเศศเคยเล่าไว้
พระวสิษฐ์เป็นลูกของเทวดา คือพระพฤหัส จึงไม่ใช่มนุษย์ มีฤทธิ์สูงมาก อยู่ในวรรณะพราหมณ์
ส่วนพระวิศวามิตรมีกำเนิดในวรรณะกษัตริย์ แต่มานะบากบั่นบำเพ็ญบารมีจนได้เป็นพรหมฤาษี เท่าเทียมกับพระวสิษฎ์ผู้เป็นคู่แข่ง
เคยสู้รบกันจนสะเทือนไปทั้งสามโลก
ในรามเกียรติ์ร. ๑ บอกว่าทั้งสององค์เป็นอาจารย์ของพระราม
พูดถึงความหมายของคำ ฤๅษี โยคี และมุนี สุนทรภู่ใช้ในความหมายเดียวกัน
แต่ดิฉันจำได้รำไรว่าฤๅษี นุ่งหนังสือ มีชฎาหนังเสือ พวกนี้ดูเหมือนจะบูชาไฟ ส่วนโยคี นุ่งขาวห่มขาว มุ่นมวยผม ไม่มีชฎา มุนี มีลักษณะเฉพาะอย่างไรจำไม่ได้แล้วค่ะ