Chaichana-13
อสุรผัด

ตอบ: 25
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 23 ม.ค. 10, 01:10
|
|
สวัสดีครับ ผมเลือกประเด็นที่ 1.วัดเปลี่ยนทิศหรือไม่เปลี่ยน เรื่องนี้เคยมีผู้สันนิษฐานว่า พระอุโบสถมีการเปลี่ยนทิศในภายหลังคือกระทำโดยการย้ายตำเเหน่งพระประธาน ปัจุบัน ตั้งอยู่เขตตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ทิศเหนือติดที่ดินเอกชน ทิศใต้จรดคลองวัดเกาะ ทิศตะวันออกจรดถนน ทิศตะวันตกจรดเเม่นำ้เพชรบุรี จากทำเลที่ตั้ง จึงมีบางเสนอความคิดว่าเดิมที่เมื่อเเรกสร้างพระอุโบสถ ควรหันหน้าไปทางทิศตะวันตกออกทางด้านแม่นำ้ตามคติโบราณนิยมหันหน้าสู่เส้นทางสัญจรหลักคือทางนำ้ เเต่ในภายหลังการสัญจรทางนำ้ลดลง เปลี่ยนมานิยมใช้ทางบก คือด้านหลังวัดที่มีถนนตัดผ่านแทน จึงเคลื่อนย้ายพระประธานหันหน้าไปทางทิศตะวันออกแทน ด้านทิศตะวันตกที่ติดกับแม่นำ้ก็กลายเป็นด้านหลังของวัด ตามที่เห็นในปัจุบัน
โดยมีข้อสนับสนุนว่า 1) ฐานชุกชีก่อขึ้นใหม่เเละลวดลายตกเเต่งใหม่ 2) มุขโถงอาคารด้านทิสตะวันตกมีขนาดใหญ่กว่าด้านทิสตะวันออก รวมทั้งดาวเพดานไม้(งานบูรณะ)ด้านทิศตะวันตกมีความวิจิตรซับซ้อนกว่าด้านทิศตะวันออก (1) อีกหนึ่งข้อสังเกตคือ เรื่องภาพรอยพระพุทธบาทที่อยู่ในตำเเหน่งเหนือบานประตูทั้งสองด้าน ผนังทิศตะวันตก จะเกี่ยวข้องหรือไม่กับคตินิยมเขียนภาพพระพุทธบาทบนเพดาน เมื่อผู้ที่เข้ามายังพระอุโบสถก็จำจะต้องลอดผ่านประตูเข้ามา ซึ่งมีภาพรอยพระพุทธบาทอยู่เบื้องบน เข้ากับประเพณีโบราณการเทิดทูนการเทิดทุนฝ่าเท้าของของปูชนียบุคคล ยังเเสดงออกถึงการอยู่เหนือโลก (2) ตามที่คุณ Kurukura กล่าว แต่ที่แน่นอนคือ วัดเกาะมีภาพ "พระพุทธบาททั้งสอง" คือพระบาทที่แม่น้ำนรรมทา และพระบาทที่เขาสัจจพันธคีรี แล้ว สำหรับพระบาทองค์หลัง คือพระบาทที่เขาสุวรรณบรรพต ซึ่งพบสมัยพระเจ้าทรงธรรม และสถาปนาให้เป็นพระพุทธบาทที่เขาสัจจพันธคีรี เช่นเดียวกับในพม่า พระเจ้าตลุงมิน ก็สถาปนาพระบาทที่ชเวเสตตอ ให้เป็นพระบาทที่แม่น้ำนรรมทาในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน คือราวพุทธศตวรรษที่ 22 ทั้งสองเเห่งเป็นพระบาทน้องใหม่ที่มาเเรงได้รับความนิยมมากช่วงเวลานั้น
(1) เสมอชัย พูลสุวรรณ.สัญลักษณ์ในงานจิตรกรรมไทย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 ถึง 24 .กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2539 (2) นันทนา ชุติวงศ์.รอยพระพุทธบาท ในศิลปะเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์.กรุงเทพ : ด่านสุทธา การพิมพ์, 2533
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Chaichana-13
อสุรผัด

ตอบ: 25
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 23 ม.ค. 10, 01:34
|
|
ใช่ครับ..การลำดับเหตุการณ์ในหนังสือของเมืองโบราณ สมัยก่อนทำเอาผมสับสนมากๆ สำหรับ คห 11-13 ข้อสังเกตุชัดเจนมีนำ้หนักมากๆครับ เดี๋ยวพรุ่งนี้จะเอาภาพจิตรกรรมจากหนังสือของเมืองโบราณมาลงประกอบไว้ด้วยจะได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 23 ม.ค. 10, 06:35
|
|
สวัสดีครับ คุณ Chaichana-13
ตัวกำหนดอายุอีกอย่างหนึ่งที่ผมเชื่อว่า วัดเกาะแก้วสุทธาราม ไม่น่าจะเก่าไปถึงสมัยพระเจ้าปราสาททองก็คือ การแอ่นโค้งของฐานอาคาร
หรือที่เราเรียกกันว่า "ตกท้องช้าง" อาคารฐานตกท้องสำเภาหรือตกท้องช้างเช่นนี้ ในสมัยพระนารายณ์มหาราชยังไม่มีความชัดเจนครับ โดยเฉพาะหมู่อาคารในนารายณ์ราชนิเวศน์ หรือวัดต่างๆที่สร้างสมัยพระนารายณ์ ซึ่งรวมถึงอาคารรุ่นปราสาททองด้วย
มาเริ่มตกเอาสมัยพระเพทราชา เรียกว่าแอ่นอย่างน้อยๆ เช่นที่วัดบรมพุทธาราม
และตกอย่างเห็นได้ชัดในสมัยพระเจ้าเสือ
ซึ่งรวมถึงอาคารต่างๆในกลุ่มอยุธยาตอนปลาย เช่นวัดปราสาท วัดช่องนนทรี ด้วยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 23 ม.ค. 10, 06:39
|
|
เจ๊กคนนี้ไว้หางเปียหรือยัง ก็ต้องมานั่งดูครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Chaichana-13
อสุรผัด

ตอบ: 25
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 23 ม.ค. 10, 10:29
|
|
สวัสดีตอนเช้าครับ มองไม่เห็นเปียครับ เส้นดำหนาตรงหัวไหล่ผ่านถึงกลางหลังน่าจะเกิดจากความบังเอิญทางเทคนิค จิตรกรรมที่วัดเกาะบางพื้นที่สีค่อนข้างฟู่ บางที่ชัดคม เทียบกับตรงตำเเหน่งหัวช้าง คล้ายๆกัน ว่าเเต่คำถามนี้ต้องมีอะไรแน่ๆเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 23 ม.ค. 10, 22:07
|
|
ไม่มีอะไรหรอกครับคุณ Chaichana-13
แค่อยากลองหาอะไรมากำหนดอายุ เจ๊กไว้เปียเป็นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ชิง กล่าวคือ ราชวงศ์ชิงสถาปนา พ.ศ.2187 ซึ่งร่วมสมัยกับพระเจ้าปราสาททอง ครั้งนั้นคงมีชาวฮั่นที่ไม่ยอมอยู่ใ้ต้อำนาจแมนจูหนีออกนอกประเทศมาก ซึ่งจะกลายเป็นกลุ่มจีนเก่าที่ไม่ได้ไว้เปีย
ขณะที่กลุ่มจีนไว้เปีย คงจะต้องมีแน่นอน แต่จะแพร่เข้ามาในแผ่นดินไทยเมื่อใดก็ไม่ทราบ เราไม่รู้ว่ากฏหมายบังคับให้ชาวจีนไว้เปีย เริ่มใช้จริงจังและให้ผลทั่วประเทศเมื่อใด แต่คิดว่าคงไม่นานหลังก่อตั้งราชวงศ์ชิง
สำหรับเจ๊กวัดเกาะ ต้องดูกันอีกทีครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Chaichana-13
อสุรผัด

ตอบ: 25
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 24 ม.ค. 10, 08:06
|
|
ผมคิดว่าถึงจะไว้เปีย ก็ไม่เห็นครับเพราะท่าของตัวภาพบังคับมุมมองไว้ ให้เห็นเเต่เฉพาะภาพด้านเพียงข้างเท่านั้น ต้องดูต่อไป เเต่ชอบมากครับ น่าสนใจมาก มุมมองหลากหลายมิติดี เพราะส่วนตัวผมจะติดอยู่เเค่รูปเเบบศิลปะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 24 ม.ค. 10, 21:56
|
|
สวัสดีครับคุณ ข้อความโดย: Chaichana-13 ผมกำัลังหาเจ๊กไว้เปียในวัดเกาะ แต่ยังไม่เจอเลยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 28 ม.ค. 10, 23:58
|
|
สวัสดีครับ จากที่คุณKurukula บอกไว้ว่าวัดเกาะนี้อาจมีอายุไม่ถึงพระเจ้าปราสาททอง โดยสังเกตจากการทำฐาน เส้นหย่อนท้องช้าง เรื่องนี้ก็เป็นอีกประเด็นที่ผมเคยคิดว่า การใช้เส้นหย่อนท้องช้างนี้เริ่มมาตั้งแต่สมัยไหน??
อีกประการผมอยากได้บรรทัดฐานของงานศิลปะสมัยอยุธยา ที่แน่นอนมาสักแห่ง ที่คิดว่าชัวร์ๆว่างานนั้นเกิดในสมัยใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองจริงๆ หากเราได้มาเทียบกันการสันนิษฐานของวัดเกาะก็จะได้ น้ำหนักเพิ่มขึ้น
หนีหายไปสำรวจวัดมาครับ ได้ข้อมูลดีๆมาประดับความรู้อีกเช่นเคย ไว้โอกาสเหมาะๆจะเอามาแบ่งปันครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 28 ม.ค. 10, 23:59
|
|
ทฤษฎีผมไม่แน่นครับ ยังไงเอาภาพวัดเกาะมาเอาบรรยากาศก่อนแล้วกันครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 29 ม.ค. 10, 00:01
|
|
...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 29 ม.ค. 10, 12:26
|
|
หากจะว่าไปเรื่องศิลปะจีนที่เข้ามามีอิทธิพลต่อศิลปะอยุธยานั้น ก็มีมากมายไม่ใช่น้อยเลยนะครับ หากจะย้อนไปถึงช่วงปลายสุโขทัย-อยุธยาตอนต้น ก็ยังมีร่องรอยให้พบมากมายหลายจุดเลยทีเดียว ถ้าประเด็นนี้คงต้องเชิญคุณhan_bing มาร่วงสนทนาให้ความรู้สักหน่อยนะครับ
หลังจากไปดูภาพวัดปราสาทจากกระทู้ของพี่ยุทธ กับภาพจากสมุดข่อยที่คุณKurukula นำมาลงไว้ ผมเองก็จำได้ว่าการเขียนเครื่องบนของวัดเกาะก็ยังดู คล้ายๆกัน... แต่ไฟล์ภาพของผมเล็กมาก อาจทำให้ดูได้ไม่ถนัดนักนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 29 ม.ค. 10, 12:32
|
|
ภาพจากวัดปราสาทครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 29 ม.ค. 10, 12:39
|
|
ส่วนเรื่องการเปลี่ยนทิศโบสถ์ ที่คุณChaichana-13กล่าวถึงไว้ก็น่าสนใจมากครับ หากยิ่งไปมองภาพบนผนังที่เขียนเรื่องโลกสัณฐาน หรือเส็ดจดาวดึงส์ที่เขียนไม่ตระการตา ก็อาจเป็นภาพที่เหมาะสำหรับอยู่หลังพระประธานก็ได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 29 ม.ค. 10, 20:14
|
|
สวัสดีครับ คุณ Virain ช่วงนี้ผมเองก็ไปตามดูงานศืลปกรรมหลายๆที่เหมือนกัน ก็เลยไม่ค่อยได้ตอบ ตอนนี้ก็ยังอยู่สุโขทัยครับ
เรื่องที่คุณ Virain ถามเกี่ยวกับการตกท้องช้าง เท่าที่ผมสังเกตมา น่าจะเริ่มสมัยพระเพทราชาลงมา แม้ว่าจะมีการทำฐานอ่อนโค้งแล้วในสมัยพระเจ้าปราสาททอง แต่ก็ใช้กับเพียงฐานพระพุทธรูป ในนารายณ์ราชนิเวศน์เอง ก็ไม่มีอาคารที่ฐานอ่อนโค้งครับ
วันก่อนผมได้ไปวัดบรมพุทธารามมา ได้ดูฐานจริงๆจัง ถึงได้ทราบว่ามันเริ่มอ่อนแล้วเล็กน้อย และน่าจะอ่อนลงกว่านี้ในสมัยถัดๆลงมา
สงสัยคุณ Virain ไปสำรวจมาคงได้ข้อมูลมามาก ลองเอามาแบ่งปันกันดูบ้างนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|