เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 24996 สัมมนาวัดเกาะแก้วสุทธารามกันบ้างครับ
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



 เมื่อ 22 ม.ค. 10, 10:13

ได้มีโอกาสคุยกับสมาชิกหลายๆท่านแล้ว มีความคิดเห็นที่หลากหลายเกี่ยวกับวัดเกาะแก้วสุทธาราม ก็เลยได้ไอเ้ดียว่า น่าจะลองแลกเปลี่ยนความคิดกัน เกี่ยวกับประเด็นต่างๆของวัดเกาะเมืองเพชร

ส่วนตัวผมไม่มีรูปจิตรกรรมวัดเกาะดีๆเลย คงต้องพึ่งจากสมาชิกท่านอื่น หรือหาถ่ายเอาตามหนังสือ ลองแบ่งๆกันดูนะครับ

ประเด็นที่อยากจะฝากไว้เกี่ยวกับวัดเกาะก็เช่น

1.วัดเปลี่ยนทิศหรือไม่เปลี่ยน
2.การออกแบบจิตรกรรมข้างใน
3.แผนผังของวัด
4.อายุสมัย
5.เทคนิคการเขียน


เอาคร่าวๆแค่นี้ก่อนดีไหมครับ หรือถ้าใครมีประเด็นอื่นก็ลองเอามาพูดคุยกันดีกว่าครับ

บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 10:20

อุโบสถวัดเกาะแก้วสุทธาราม ซึ่งดูจากข้างนอกก็ไม่รู้ว่าด้านไหนหน้า ด้านไหนหลัง


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 11:27

สวัสดีครับทั้งคุณKurukula และคุณChaichana-13
ผมเองก็ไม่มีภาพดีๆเสียด้วยเพราะตอนไปเพิ่งลองหัดสำรวจใหม่ๆ กล้่องดีๆก็ไม่มี เลยได้แต่ภาพไฟล์น้อยๆกลับมา

"แต่อีกเรื่องหนึ่งที่ลืมไปก็คือ พ.ศ.2277 เป็นต้นรัชกาลพระเจ้าบรมโกศครับ แล้วเพชรบุรีก็ค่อนข้างหัวเมือง ช่างสมัยพระเจ้าเสืออาจจะยังมีชีวิตอยู่ก็เป็นได้ั เป็นที่รู้กันว่า เพชรบุรีค่อนข้างรักษาของเก่าไว้ได้ดี งานช่างบางอย่างเราดูไม่รู้ก็ึิคิดว่าศิลปะอยุธยา"


การที่คุณKurukula สันนิษฐานไว้จากกระทู้ที่แล้ว คิดๆดูผมเองก็คิดเห็นพ้องด้วยอย่างหนึ่งครับ เพราะการยึดถือแนวเดิมๆของศิลปินอย่างมั่นคง
ก็อาจทำให้ผลงานล่วงเลยผ่านยุดลงมาได้ โดยไม่ได้ตามแบบวิวัฒนาการของศิลปะในเมืองหลวง

ส่วนเรื่องการอธิบายภาพพระพุทธบาทในวัดเกาะว่าเกี่ยวเนื่อง กับพระพุทธบาทสระบุรี อย่างนั้นเราก็กำหนดอายุคร่าวๆ ตีกรอบแบบเผื่อๆ
ไว้ว่าอยู่ในช่วงรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม-รัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กินระยะเวลาราวๆ 100 ปี ซึ่งก็เป็นระยะเวลาที่นานพอที่จะเห็น
การวิวัฒนาการรูปแบบศิลปะอยุธยาได้ชัดเจน

ปล.เป็นการคาดคะเนตามความเห็นส่วนตัวนะครับ ต้องขอคำชี้แนะเพิ่มเติมด้วย


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 11:42

ส่วนเรื่องการเขียนภาพมารผจญไว้ด้านหลังพระประธาน ซึ่งผิดแปลกไปจากปกติที่จะเขียนไว้ด้านตรงข้าม
รูปแบบนี้เท่าที่จำได้ก็จะมีที่วัดช้างใหญ่ อยุธยา ที่เขียนแบบนี้เช่นกันครับ และภาพเตมีย์ชาดกยังไปอยู่ติด
กับประตูด้านหลังเบื้องซ้ายพระประธานด้วย  คือถ้าจะชมให้เรียงกันไปก็เหมือนจะต้องเดินวนจากด้านหลังมา
แบบเดินชมภาพในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 11:51

ขอเทียบเคียงภาพต่อนะครับ อันนี้ขอเทียบระหว่างภาพที่วัดเกาะและภาพที่วัดปราสาท
หากการคาดคะเนภาพเขียนที่วัดปราสาทนั้น อยู่ในช่วงรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง-สมเด็จพระนารายณ์
สังเกตการแต่งกายของบุคคล(กษัตริย์)บนหลังช้างยังแลดูคล้ายๆกันอยู่ครับ

วัดเกาะ...



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 11:52

วัดปราสาท...



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 12:02

เทียบกับภาพจากวัดช่องนนทรีอีกที่หนึ่ง ซึ่งมักระบุว่าเป็นจิตรกรรมสมัยสมเด็จพระนารายณ์
แต่ก็อาจมีอายุใหม่มาถึงพระเพทราชาหรือพระเจ้าเสืออีกก็อาจเป็นได้ ผมก็ไม่กล้าตีความ

ปล.เทียบแค่นี้ดีกว่าเดี๋ยวจะฉีกประเด็นไปกันใหญ่ 


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 12:19

อย่างที่คุณChaichana-13 ได้กล่าวไว้ครับ การกำหนดยุคสมัยเกี่ยวกับงานลักษณะนี้ บางทีก็ไม่แน่นอนเอามากๆ
ข้อมูลจากแต่ละที่ก็ระบุยุคสมัยต่างกัน ตามความคิดของอาจารย์แต่ละท่าน หากมีการเสนอและอธิบายหลายๆแนวคิด
หลายๆอย่างออกมาก็อาจได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้มาก ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ หรือศิลปะวัฒนธรรม

เป็นเรื่องที่น่าน้อยใจว่าบ้านเราประวัติศาสตร์กับศิลปะไม่จูนเข้าหากัน ทำให้หลายๆอย่างคลุมเครือไม่เป็นรูปธรรม ระยะเวลานับแค่อยุธยาตอนกลางมาจนถึงตอนนี้
เต็มไปด้วยปมปริศนามากมายในระยะเวลาประมาณ 500 ปี  ถ้าจะให้ย้อนไปถึงทวาราวดีผมคงมืดซะเจ็ดด้าน เหลืออีกด้านก็ตามโบราณสถาน
กับโบราณวัตถุที่กระจัดกระจายอยู่้ในประเทศไทย

ผมคิดว่าอะไรที่เข้าใจไปในวันนี้อาจจะผิดก็ได้ หากเราเจอหลักฐานหรืออะไรใหม่ๆในวันหน้า เลยได้แต่ตั้งสมมุติฐานไว้ก่อนครับ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 23:29

สวัสดีครับ

คุณ Virain ก็คงเห็นด้วยกับผมเรื่องประเด็นวัดไม่ได้เปลี่ยนทิศ ซึ่งอ.เสมอชัย พูลสุวรรณเคยสันนิษฐานไว้ เหตุผลที่คุณ Virain ให้น่าสนใจครับ คือ มีวัดจำนวนหนึ่งที่เขียนฉากมารผจญไว้ด้านหลัง เขียนโลกสัณฐานไว้ด้านหน้า นอกจากวัดช้างใหญ่แล้วก็มีวัดบางขนุน กับวัดโบสถ์ที่อุทัยธานี (มีมากกว่านี้แต่นึกไม่ออกครับ)

อ.เสมอชัย เสนอว่าวัดควรจะหันหน้าลงน้ำ เพราะเป็นทางสัญจร แต่เนื่องจากตัวโบสถ์เองก็ห่างจากน้ำพอสมควร ทั้งหันหน้าไปทางตะวันออกถูกทิศแล้ว มีวัดสมัยอยุธยาจำนวนมาก ที่อยู่ติดน้ำ แต่กลับหันหลังให้น้ำ เพราะจะคงทิศตะวันออกหรือทิศเหนือไว้

อีกประการหนึ่งคือ วัดเกาะแต่เดิมนั้นเป็นเกาะ (ชื่อก็บอก) ก่อนที่จะถมทำถนน ดังนั้น หันไปทางไหนก็ลงน้ำได้ทั้งนั้นครับ

ผมเคยลองสังเกตดูจิตรกรรม เผื่อว่าจะบอกได้ว่าตกลงวัดควรหันหน้าไปทางไหน ปรากฏว่่าบอกไม่ได้ครับ เพราะวิทยาธรเหาะที่นี่ แทนที่จะหันหน้าไปทางพระประธาน มันดันหันเข้าหาตรงกลางโบสถ์ซะงั้น (ตลกมาก ยังกับไม่อยากให้ใครรู้ว่าหัวท้ายวัดอยู่ตรงไหน ไม่ว่าข้างนอกข้างใน)

อีกเหตุผลหนึ่งที่ไม่น่าจะกลับทิศก็คือ พระประธานในพระวิหาร ซึ่งตั้งขนานกัน ก็หันหน้าไปทางเดียวกับพระประธานในพระอุโบสถ จะว่าเปลี่ยนทิศพร้ัอมกันก็แปลก เพราะพระวิหารเป็นอาคารมหาอุด ไม่มีประตูหลัง (จะว่าอุดตอนเปลี่ยนทิศก็ไม่ได้ เพราะไม่อย่างนั้น ทำไมถึงไม่อุดประตูหลังพระอุโบสถเสียด้วย)

บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 23:32

สกัดหลังพระวิหารครับ ไม่มีประตู จะว่าอุดเสียครั้งเปลี่ยนทิศ ก็ทำไมไม่อุดพระอุโบสถเสียด้วยเลย  ฮืม


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 23:38

ได้ลองไปดูสมุดภาพวัดเกาะของเมืองโบราณพิมพ์ ซึ่งอ.น.ณ ปากน้ำให้คำบรรยาย รู้สึกจะมีผิดพลาดหลายตอน เกี่ยวกับการออกแบบจิตรกรรม ท่านใส่เหตุการณ์ผิดไปหลายจุด คือ เรียงสัตตมหาสถาน และอัษฏมหาปาฏิหาริย์ ไปตามปกติ ซึ่งที่วัดเกาะแห่งนี้ หาปกติไม่ครับ กลับซับซ้อนยุ่งขิงกว่าที่คิด  ยิงฟันยิ้ม

ผมเลยลองมานั่งจัดระเบียบผังใหม่ พบว่ามันเรียงไม่เหมือนที่อื่น อัษฏมหาปาฏิหาริย์อยู่ทางขวามือพระประธาน สัตตมหาสถานอยู่ด้านซ้ายมือพระประธาน


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 23 ม.ค. 10, 00:05

จะเห็นว่า ทางด้านซ้ายของเรา (ด้านสัตตมหาสถาน หรือสถานที่ 7 แห่งที่พระพุทธองค์เสวยวิมุตติสุขหลังตรัสรู้) แทนที่จะขึ้นต้นด้วย ปฐมโพธิบัลลังก์ หรือการเสวยวิมุตติสุข โดยประทับนั่งใต้ต้นโพธิ์ 7 วัน กลับกลายเป็น ขึ้นต้นด้วยสัปดาห์ที่ 2 คือ อนิมิสเจดีย์ หรือพระปางถวายเนตร ประทับยืนจ้องต้นโพธิ์ 7 วัน

ภาพของคุณ Virain ลงไว้แล้วในคห.7 ครับ

ทีนี้พอสัปดาห์ที่ 5 อชปาลนิโครธ ประทับใต้ต้นไทรของคนเลี้ยงแพะแล้ว แทนที่จะต่อด้วยสัปดาห์ที่ 6 เลย กลับกลายเป็นภาพเทพพนม 2 องค์ภายใต้ฉัตร จากนั้นจึงเป็นสัปดาห์ที่ 6 และ 7 ตามลำดับ


ตรงนี้อธิบายได้ว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์อันซับซ้อนของช่างครูโบราณครับ เพราะท่านถือว่า พระพุทธรูปปางสมาธิ อันเป็นพระประธานในพระอุโบสถ แทนสัปดาห์ที่ 1 (ประทับใต้ต้นโพธิ์) แล้ว พอจะเขียนก็เว้นสัปดาห์ที่ 1 ไว้ แต่ก็มีปัญหาที่ช่องมันเกินมา 1 ช่อง (เพราะมีช่องระหว่างเจดีย์ 7 ช่อง)

ท่านก็เลยเขียนเทวดาพนมมือไว้แทน

ซึ่งอ.น.ณ ปากน้ำอธิบายว่าเป็นเทวดาที่มานิมิตรัตนฆระ (เรือนแก้ว) อย่างไรก็ดี เรือนแก้วในสัปดาห์ที่ 4 ถูกคั่นด้วยอชปาลนิโครธในสัปดาห์ที่ 5 เสียแล้ว คงจะไม่เกี่ยวข้องกัน


การที่ใ้ช้พระพุทธรูปปางสมาธิแทนสัปดาห์ที่ 1 ในสัตตมหาสถาน แล้วต่อด้วยจิตรกรรมซึ่งเป็นสัปดาห์ที่ 2 เป็นการแสดงภูมิปัญญาของช่างที่ทำให้จิตรกรรมและประติมากรรมสามารถแสดงความสัมพันธ์กันได้อย่างลึกซึ้ง กลายเป็นว่าอุโบสถทั้งหลังเกี่ยวเนื่องกันทั้งหมด

และเป็นเหตุผลอีกประการ ที่ยังไงๆ วัดนี้ก็ไม่ได้กลับทิศครับ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 23 ม.ค. 10, 00:24

ทีนี้มาดูอัษฏมหาปาฏิหาริย์ ซึ่งอยู่ทางด้านขวามือพระประธานบ้าง ปาฏิหาริย์ทั้ง 8 ของพระพุทธองค์ ซึ่งมีการสร้างเป็นพระ 8 ปาง ดังที่เรารู้จักกันดี ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครก็มี พระพิมพ์ศิลปะปาละที่ได้จากกรุวัดราชบูรณะ

ปาฏิหาริย์ทั้ง 8 ประกอบด้วย
1.ประสูติ
2.ตรัสรู้
3.ปฐมเทศนา
4.รับบาตรพญาวานร (ในอินเดียไม่มีช้างปาเลไลยกะ)
5.ทรมานช้างนาฬาคีรี
6.ยมกปาฏิหาริย์
7.เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (เทวาวตาร)
8.ปรินิพพาน

ในส่วนของวัดเกาะ มีช่องระหว่างเจดีย์ให้เขียนทั้งหมด 7 ช่อง แต่ช่างท่านก็ยัดใส่ให้เต็ม 8 ได้ สังเกตได้ว่า อัษฏมหาปาฏิหาริย์ค่อนข้างเรียงตามระเบียบ จนกระทั่งถึงยมกปาฏิหาริย์ ซึุ่งเขียนโดยไม่กลัวเปลืองซีนเลย ถึง 2 ช่องด้วยกัน ตั้งแต่พระพุทธเจ้าทรงทรมานพวกเดียรถีร์ (แต่งตัวเป็นแขกมุสลิม) ก่อน อีกช่องเป็นปาฏิหาริย์บนต้นมะม่วง ในช่องที่ 7 ซึ่งเป็นช่องสุดท้าย

ทีนี้ช่องก็เต็มสิครับ ขาดไปตั้ง 2 ซีน คือ เสด็จลงจากดาวดึงส์ กับปรินิพพาน

ช่างท่านแก้ปัญหานี้ (หรือจงใจเขียนก็ไม่รู้) ให้เสด็จลงจากดาวดึงส์ ไปอยู่ในฉากโลกสัณฐานเสียเลย แล้วปรินิพพานก็ไปรวมอยู่ในสกัดหน้าเสีย

นับว่าช่างออกแบบได้ซับซ้อนมากครับ ทั้งสะกัดหน้า สะกัดหลัง ประติมากรรม จิตรกรรม สัมพันธ์กันหมดจริงๆ วิธีดูก็ต้องดูจากด้านหลังพระประธาน ไล่ไปจนถึงข้างสะกัดหน้าอย่างที่คุณ Virain ว่าครับ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 23 ม.ค. 10, 00:35

ถ้าถามว่า ช่างได้รับความคิดมาจากไหน เพราะเราไม่เคยเห็นที่ไหนเขียนทั้งอัษฏมหาปาฏิหาริย์ และัสัตตมหาสถานรวมๆกัน บางที่เขียนสัตตมหาสถาน ปนกับฎีกาพาหุงไปเสีย หรือบางที่ก็เขียนละเอียดกว่านั้น

ตอบลำบากมากครับ นอกจากยกให้เป็นความคิดช่างครู (ซึ่งอาจเป็นพระด้วย) โดยแท้

แต่เคยเห็นการออกแบบใกล้เคียงกัน ที่รวมอัษฏมหาปาฏิหาริย์และสัตตมหาสถานไว้ด้วยกัน คือ พระพุทธรูป 14 ปาง สมัยพุกามตอนปลาย รุ่นพุทธศตวรรษที่ 18

ดังที่เราทราบดีว่า ในอินเดียสมัยปาละ มีพระพุทธรูป 8 ปาง แสดงอัษฏมหาปาฏิหาริย์ แต่ในพุกามตอนปลาย ได้รวมเอาสัตตมหาสถานเข้าไว้

ทีนี้ 8 บวก 7 น่าจะได้ 15 แต่พระพุทธรูปชนิดนี้มี 14 ปาง เพราะเขาเอาพระพุทธรูปปางมารวิชัยตรงกลางที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็นตัวแทนทั้งสัปดาห์ที่ 1 และเหตุการณ์ตรัสรู้ไปด้วยกัน 8 กับ 7 จึงกลายเป็นพระ 14 ปาง มีความคิดคล้ายคลึงกับจิตรกรรมวัดเกาะแก้วสุทธาราม

แต่ในความคิดผม แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จิตรกรรมอยุธยาตอนปลายจะได้รับความคิดจากพุกาม (แม้ว่าแถวๆวัดเกาะจะมีชุมชนมอญบ้างก็ตาม)
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 23 ม.ค. 10, 00:38

นับได้ 14 ครับ พระจากวัดมยิงปะกัน สมัยพุกามตอนปลาย

ที่มา Old Burma Early Pagan ของ G.H.Luce


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง