เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
อ่าน: 24188 ภาพเทพสตรีสมัยอยุธยาตอนต้น กับ นางดานแห่งเมืองนครฯ
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 00:07

ทำไมถึงคิดว่าวัดเกาะแก้วสุทธารามเก่ากว่าพระเจ้าบรมโกศล่ะครับ
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 00:09

การเรียงลายมงคลแบบนี้ผมเองก็ไม่เคยเห็นเหมือนกันครับ ส่วนใหญ่จะชินตากับลักษณะแบบพระบาทพระนอนวัดโพธิ์มากกว่า
การวิเคาระห์เนื้อหาของงานศิลปะในยุคสมัยต่างๆ ผมเองชอบมองโดยยึดหลักวิวัฒนาการมาก่อน ทำให้หลายครั้งก็พลาดเรื่อง
คติและแนวคิด ซึ่งออกไปแนวๆทฤษฎี ซึ่งผมยังอ่อนมากๆครับ

ปล.ภาพเขียนจากวัดเกาะกับวัดช่องนนทรีครับ



บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 00:14

ผมเองก็เห็นด้วยกับหลักวิวัฒนาการเหมือนกันครับ แต่บางครั้งก็ต้องใช้หลายอย่างประกอบ พวกลวดลายผมก็ไม่ค่อยชำนาญ คุณ Virain คงต้องช่วยแนะนำอีกเยอะเลย
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 00:29

โอ๊ะ... ผมเองน่าจะต้องขอคำแนะนำครับ  อายจัง

ขออนุญาตแสดงแนวคิดนะครับ คือผมขอยกภาพลายรดน้ำภาพนี้เป็นสกุลปราสาททองนะครับ
คือผมมองจุดแรกที่กรองศอ ตาบ พวกนั้นลักษณะของเขายังคล้ายสมัยอยุธยาตอนต้นอยู่ครับ
ถ้าลองเทียบกับบานประตูวัดพระศรีฯ คือมีกรงศอ แล้วห้อยตาบ?? (เขาเรียกอย่างนี้? ฮืม) แบบที่
เห็นในหนัง สุริโยทัย แต่ต่างออกไปตรงที่เขาจะมีห้อยต่อลงมาอีก(ผมคุ้นๆว่าเหมือนของเขมร)
ภาพนี้เขานำปลายสายที่ว่าขึ้นมาพาดแขนครับ

ปล.ทุกคนมีสิทธิ์ไม่เชื่อนะครับ แหะๆ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 00:35

ขออนุญาตเปรียบเทียบกับจิตรกรรมวัดเกาะนะครับ

สังวาลย์ที่นี่เขาไม่เอาพาดแขนนี่ครับ ม้วนตลบไปทางด้านหลัง

สังวาลย์สกุลช่างปราสาททองมีจุดเด่นคือ ตัดกันเป็นตัว X ขณะที่รุ่นก่อนหน้า (วัดพระศรีสรรเพชญ) และหลังลงมา (อยุธยาปลาย) จะเป็นรูป ) ( ไม่ตัดกันเป็นตัว X

ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 00:41

ครับใช่ แต่มันก็ยังดูอยู่ในรูปแบบที่เราเข้าใจคติเดิมได้ ไม่เหมือนสมัยอยุธยาตอนปลายมากๆหรือรัตนโกสินทร์
ผมก็เลยคิดว่าภาพนี้ไม่น่าจะต่ำกว่าสมัยพระเจ้าเสือลงมาน่ะครับ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 00:46

คุณ Virain หมายถึง มันควรจะมีอายุเก่าตั้งแต่สมัย ???พระเจ้าเสือขึ้นไปใช่ไหมครับ
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 00:48

โอ้...จะตีหนึ่งแล้ว  ตกใจ

ใช่ครับๆ

ขอนำมาเปรียบกับภาพนี้ด้วยครับ ส่วนเครื่องแต่งกายอย่างการห้อยผ้าครับ ที่ระยะหลังชอบเห็นลักษณะชายไหวชายแครง
แบบคมๆ ในสมัยอยุธยาตอนปลายๆหรือรัตนโกสินทร์



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 00:50

ส่วนอันนี้ผมเข้าใจว่าเป็นสมัยอยุธยาตอนปลายๆ ช่วงสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศถึงเสียกรุงครับ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 00:55


ไปนอนก่อนก็ได้ครับ ผมไม่กวนละ เจ๋ง


จริงๆวัดเกาะมีหลายอย่างที่อิหลักอิเหลื่อครับ แต่ผมเชื่อว่า น่าจะหลังพระเจ้าทรงธรรม หรือปราสาททอง ราวๆนั้น
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 01:03

ผมเองก็คิดว่าหลังสมัยพระเจ้าปราสาททองลงมา แต่ไม่น่าจะเกินสมัยพระเจ้าเสืออย่างที่กล่าวไว้ครับ

ลำพังภาพเขียนที่วัดเกาะนี่ผมเห็นมีการเขียนแยกแตกประเด็นกันไปมากมาย ทั้งเรื่องของรูปแบบศิลปะ
ปรัชญาแนวคิด การลำดับ ผังพระอุโบสถ
สงสัยต้องเอาไปตีความถอดรหัสเหมือนภาพthe last supper แบบในThe Da Vinci Code
ให้มันวุ่นวายเล่น 5555

ปล.เทียบลายวัดเกาะกับวัดไชยครับ



บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 01:06

ไว้ว่างๆจะเปิดประเด็นวัดเกาะครับ เจ๋ง

แต่อีกเรื่องหนึ่งที่ลืมไปก็คือ พ.ศ.2277 เป็นต้นรัชกาลพระเจ้าบรมโกศครับ แล้วเพชรบุรีก็ค่อนข้างหัวเมือง ช่างสมัยพระเจ้าเสืออาจจะยังมีชีวิตอยู่ก็เป็นได้ั เป็นที่รู้กันว่า เพชรบุรีค่อนข้างรักษาของเก่าไว้ได้ดี งานช่างบางอย่างเราดูไม่รู้ก็ึิคิดว่าศิลปะอยุธยา
บันทึกการเข้า
Chaichana-13
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 07:25

ขอบคุณ….คุณ Kurukula ใน คห37 ครับ
เพียงเท่านี้คลายความสงสัยได้มากเพียงพอครับ ผมเองประวัติศาสตร์เขมรไม่เอาเลยครับ เเต่ศิลปกรรม หิน สำริด ชอบมากครับ
ส่วนเรื่อง วัชรอาสน์เปล่านั้น ภาพจากสมุดข่อยเล่มนั้นผมมีอยู่ครับ ไม่เข้าเเนวคิดช่างเช่นกัน เพราะยังมีพื้นที่เพียงพอที่จะเขียนเเต่ไม่เขียน
บันทึกการเข้า
Chaichana-13
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 07:29

ตอบคุณ Viraina
เรื่องรอยพระพุทธบาทที่ วัดพระรูป ในใจลึกๆเห็นว่าเป็น อยุธยายุคต้นเช่นกันครับ คาบเกี่ยวยุคกลางระยะเเรกเเต่ขอบอกเป็นอย่างน้อยไว้ก่อนด้วยเหตุผลว่า
1) อาจทำเลียนแบบจาก องค์ประกอบพระพุทธบาทที่วัดพระรามที่มีมาก่อนเป็นได้ เเละตามที่คุณ Kurukura กล่าว องค์ประกอบเเบบนี้พบน้อย แบบตารางเป็นที่นิยมมากกว่า ตั้งเเต่ สุโขทัย พุกาม หรืออาจถึง ทวารวดี ที่วัดเขาดีสลัก
2) ยักษ์เเบกมีเชือกคาดไชว้ที่หน้าอก มีมาก่อนจากยุคต้น เเล้วก็มีใช้เรื่อยมาในช่วงยุคกลาง มาแปลงเป็นสังวาลย์เเละตาบก็ค่อนมาทางยุคปลายเเล้ว( มีพระพุทธรูปสำริด องค์หนึ่งที่ห้อง อยุธยา พ.ช. พระนคร มีมารเเบกที่ฐาน เเละพระเเม่ธรณีบีบมวยผม สมัยอยุธยายุคกลาง มารเเบกมีลายละเอียดเหมือนกัน )
3) ปรากฎลวดลายประดับประเภท ลายพันธุ์พฤกษา ซึ่งเป็นที่นิยมเเพร่หลายในหมู่ช่าง ล้านา สุโขทัย ตั้งเเต่ช่วงพุทธศตวรรษที่  20-21 และสัปคับบนหลังช้าง เป็นแบบกระทงเมือนกับที่ประดับบนธรรมมาสน์บุษบก จำหลักไม้ น่าจะพอเทียบเคียงได้ โดยเฉพาะในส่วนลวดลายดอก โบตั๋น ดอกนี้มีวิวัฒนากาลที่ยาวนานมากตั้งเเต่ สุโขทัย อยุธยาปลาย ถึงรัตนโกสินทร์

เรื่องการกำหนดอายุงานศิลปกรรมโดยเฉพาะที่เคลื่อนย้ายได้ทำได้ค่อนข้างลำบาก กว่าประติมากรรมติดที่เเละสถาปัตยกรรมมากครับ ด้วยสองอย่างหลังเราสามารถนำเอาเอกสารที่เชื่อถือได้แล้วมีระบุปีการสร้างมาสนับสนุนได้ แล้วดูเเผนผังพิจารณาว่าอยู่ในคราวเเรกสร้างหรือไม่ เเละเเยกส่วนซ่อมเสริมเติมเเต่งในภายหลัง ก็พอจะคะเนอายุได้ค่อนค้างเเน่นอน เเล้วเอาศิลปกรรมที่ไม่ทราบปีการสร้างมาเทียบเคียงเอาครับ
ส่วนศิลปะอยุธยาจะช่วงต้น กลาง ปลาย นั้นหลายท่านยึดเกณฑ์รูปเเบบเเละระยะเวลาเเตกต่างกัน คงไม่มีอะไรที่ตายตัวนักอย่างเช่น การจะบอกว่า ปรางค์เป็นประธานคือ รูปเเบบของสถาปัตยกรรมในยุคต้นก็ไม่ไช่ทีเดียวนัก เพราะเจดีย์ทรงระฆังก็มีมาแล้วตั้งเเต่ยุคต้นเช่น วัดธรรมมิกราช แล้ววัดชัยวัฒนารามก็ยังกลับมาใช้ปรางค์เป็นประธานตามเเบบคติดั้งเดิมอีกเดิม

ด้วยเรื่อง อายุสมัยนั้นตัวแปลมันเยอะมากๆๆๆครับ เช่น
ความเเตกต่างของหมู่ช่าง ช่างหลวง ช่างในเมือง ช่างชายขอบ
รสนิยม ความนิยมในหมู่ช่าง คตินิยม ต่างยุคต่างสมัย
วัตถุดิบ อุปกรณ์ ข้อมูล ระยะเวลา ประสบการณ์ อารมณ์
ความคิดสร้างสรรค์ ที่พยายามจะเเหกกฏ แล้วเป็นที่ยอมรับบ้าง ไม่รับบ้าง
ยิ่งในงาน จิตรกรรมมีการเเปรเปลี่ยนรวดเร็วที่สุด ด้วยเพราะเทคนิควิธีการนั้นเเสนจะเอื้ออำนวย เมื่อเทียบกับประติมากรรมเเกะสลักหินของเขมรแล้วจะเห็นได้ว่าจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ส่วนตัวผมให้นำ้หนักเรื่อง สุทรีย์ภาพความงามความคิดสร้างสรรค์มาก่อน คติความเชื่อตามมา  อายุสมัยเป็นอันดับสุดท้ายครับ
บันทึกการเข้า
Chaichana-13
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 07:31

จิตรกรรมวัดเกาะเเก้วสุวรรราราม อึดอัดเเละข้องใจมานานมากเช่นกันครับ คิดไว้เหมือนกันว่าอยากฟังความคิดเห็นจากท่านอื่นดูบ้าง เห็นด้วยเปิดเป็นกระทู้ใหม่ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.041 วินาที กับ 19 คำสั่ง