เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 24246 ภาพเทพสตรีสมัยอยุธยาตอนต้น กับ นางดานแห่งเมืองนครฯ
Agonath
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 21 ม.ค. 10, 14:10

งดงามทุกภาพครับ เห็นเพื่อนๆนำภาพมาให้ชมแล้วอดนึกอยากหลงยุคเข้าไปในสมัยนั้นแล้วจิง ว่าจะงดงามและสมบูรณ์มากมายขนาดใหน
บันทึกการเข้า
Chaichana-13
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 21 ม.ค. 10, 21:45

ขอบคุณมากครับ...คุณKurukula
พึ่งทราบว่าที่ พิมายมีภาพมารผจญด้วย เเละที่ตาพรหมสวยแปลกตามากๆครับ เคยไปครั้งเดียวไม่ได้สังเกตเลย มัวเเต่หาไดโนเสาร์
ว่าเเต่การที่เเสดงเรื่องพุทธประวัติในศิลปะเขมร กระทำขึ้นภายใต้คติทางฝ่ายมหายานหรือไม่ครับ..?
บันทึกการเข้า
Chaichana-13
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 21 ม.ค. 10, 22:13

พระพุทธบาท ไม้เเกะสลัก สมัยอยุธยายุดกลาง วัดพระรูป สุพรรณบุรี

ที่มา : หนังสือ The Art Of Thai Wood Carving Sukhothai, Ayutthaya, Ratanakosin


บันทึกการเข้า
Chaichana-13
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 21 ม.ค. 10, 22:33

ปรากฏภาพ พระแม่ธรณีบีบมวยผม ชัดเจน เป็นที่น่าสังเกตว่าพระเเม่ธรณี ยืนตรงเอี้ยวตัวเล็กน้อย ต่างกับ ระยะท้ายของอยุธยาตอนปลาย-รัตนโกสินทร์
มารแบก มีเชือกไข้วกันตรงหน้าอก เหมือนยักษ์ปูนปั้นเเบกฐานที่วัด ราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา สมัยอยุธยาตอนต้น
ไม่แสดงภาพพระพุทธองค์ แสดงรัตนบัลลังค์แทน อาจจะด้วยข้อจำกัดเรื่ององค์ประกอบหรือไม่..?


บันทึกการเข้า
Chaichana-13
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 21 ม.ค. 10, 22:40

ลายละเอียด ภาพท้าวจาตุโลกบาล


บันทึกการเข้า
Chaichana-13
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 21 ม.ค. 10, 22:55

ระเบียบการเรียงมงคล 108 เป็นแนววงกลมแสดงรูปจักลวาลในมิติราบ มีเขาพระสุเมรุตรงกลาง
คล้ายรอยพระพุทธบาทสำริด วัดเสด็จ กำเเพงเพชร เเละ รอยพระพุทธบาทหินทราย วัดพระราม พระนครศรีอยุธยา (ปัจุบันอยู่ที่ พ.ช. พระนคร)


บันทึกการเข้า
Chaichana-13
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 21 ม.ค. 10, 22:58

อีกทีครับ..พลาด


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 21 ม.ค. 10, 23:04

ตอบคุณ  Chaichana-13 เรื่องเขมรผมไม่ค่อยถนัดครับ เพราะไปก็วิ่งหาไดโนเสาร์เหมือนกัน  อายจัง

แต่คิดว่าคงไม่ได้สร้างขึ้นตามคติมหายานเสียทีเดียว น่าจะมีความคิดของเถรวาทปะปนเข้ามาบ้าง ถ้าเป็นมหายานแท้ๆต้องที่พิมายครับ

เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ค่อนข้างเปิดกว้างในการนับถือศาสนา พระเจ้าแผ่นดินทรงอุปถัมภ์ทุกศาสนามาแต่ไหนแต่ไร (ยกเว้นบางช่วงเวลา ซึ่งมีเพียงสั้นๆ)

ยิ่งในช่วงพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีการติดต่อกับลังกาที่นับถือพุทธศาสนาเถรวาท ค่อนข้างมากทีเดียว เพราะเขมรค้าช้างอยู่กับลังกา

ที่ปราสาทพระขรรค์ยังมีสถูปทรงลังกาแท้ประดิษฐานอยู่ เซเดส์ ซึ่งเป็นนักวิชาการรุ่นบุกเบิก ก็เชื่อว่า มีพระราชโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งผนวชแล้วจาริกไปลังกา

บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 21 ม.ค. 10, 23:12

เรื่องวัชรอาสน์ (อปราชิตอาสน์) เปล่า ไม่มีองค์พระพุทธเจ้าประทับอยู่ เคยเห็นในสมุดข่อยบางเล่ม ซึ่งมีอายุอยู่ช่วงอยุธยาตอนปลาย-รัตนโกสินทร์ตอนต้น ก็ยังเขียนอยู่ครับ ไม่ค่อยเข้าใจความคิดของช่างเหมือนกัน

แล้วบางครั้ง พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้แสดงภูมิศปรมุทรา (การสัมผัสธรณี) หรือปางมารวิชัยเสมอไป บางครั้งก็แสดงปางสมาธิครับ

นางธรณีมีท่าทางหลากหลายจริงๆครับ นั่งก็ได้ บิดตัวก็ได้ ยืนก็ได้ สังเกตว่าส่วนใหญ่จะประทับอยู่ด้านพระหัตถ์ขวาของพระพุทธเจ้า ก่อนจะเลื่อนมาอยู่กึ่งกลางพุทธอาสน์ในสมัยหลังๆ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 21 ม.ค. 10, 23:31

นางธรณีที่วัดเกาะแก้วสุทธาราม เพชรบุรีครับ ยืนบิดตัวนิดๆ ฉากมารผจญที่นี่เขียนได้ต้องตามคัมภีร์มากๆ จนเชื่อว่าช่างกางตำราเขียนทีเดียว

ในพระปฐมสมโพธิกถา กล่าวว่า

"สิทธัตถะกุมารผู้นี้ เป็นบุรุษอุสภ เป็นบุรุษสีหะ เป็นบุรุษนาคอันประเสริฐยิ่ง เหตุดังนั้น เราทั้งหลายมิอาจจะยุทธนาการในที่เฉพาะหน้าได้ จะต้องชิงชัยในปรัศว์เบื้องซ้ายข้างๆหนึ่ง.........จะให้ยาตราโยธาทัพมาโดย "อุดรทิศ"

ซึ่งเป็นเหตุผลที่ผมสงสัยมานาน เพราะว่าปกติ ภาพเล่าเรื่องจะต้องเล่าเหมือนเขียนหนังสืออักษรไทย คือจากซ้ายไปขวา แต่ภาพมารผจญ เล่าเรื่องจากขวามาซ้าย คือ มารเข้้าทางซ้าย แพ้ไปทางขวา เพิ่งมารู้ว่ามันเขียนขึ้นตามคัมภีร์ทั้งหลายทั้งปวงนี่เอง (การเข้ามาทางซ้าย คือทิศเหนือ ของมาร มีในคัมภีร์ปปัญจสูทนีด้วย)



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 21 ม.ค. 10, 23:35

สวัสดีคุณChaichana-13 ครับ และขอบคุณข้อมูลกับรูปภาพที่หามาฝากให้ได้ชมเต็มๆเป็นขวัญตาครับ
ของจริงถ้าไปก็คงไม่ได้ถ่ายแล้วใช่ไหมครับคุณ Kurukula...

แต่ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นครับ คือผมมองแผ่นไม้รูปสลักนี้เข้าใจว่าน่าจะเป็นอยุธยาตอนต้น
เพราะเรื่องการแต่งกายแบบที่คุณChaichana-13 บอกไว้อย่างหนึ่ง และก็พวกเครื่องทรงกับลวดลาย
ประกอบ ทำให้ผมคิดไปว่าเป็นอยุธยาตอนต้นครับ
เช่นเดียวการตีความยุดของศิลปะที่วัดไลย์ ลพบุรี ที่ผมเองก็คิดว่าน่าจะเป็นอยุธยาตอนต้น แต่ก็มีบางท่านกล่าวว่า
เป็นงานสมัยอยุธยาตอนกลางเช่นกัน ผมเองเพียงแค่อยากสร้างประเด็นที่ต่างออกมา ไม่ทราบว่า
คุณ Kurukula คิดเห็นอย่างไรครับ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 21 ม.ค. 10, 23:40

ข้าแต่พระโพธิสัตว์เจ้า
หม่อมฉันรู้แล้วซึ่งบุญญาภิสมภาร
ที่พระองค์ทรงสั่งสมมาช้านาน
หม่อมฉันได้รู้เห็นเป็นพยานทุกครั้งมา
พระองค์ทรงหลั่งทักษิโณทกลงคราวใด
หม่อมฉันก็เอาเกศาประคองรับไว้
จนบัดนี้เกศาของหม่อมฉันก็ยังชุ่มอยู่
หม่อมฉันจักบิดออกให้เห็นแจ้งประจักษ์แก่สายตา ณ บัดนี้...


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 21 ม.ค. 10, 23:54

อันนี้ลำบากจริงๆครับ ที่จะแยกว่าชิ้นไหนเป็นอยุธยาตอนต้น ชิ้นไหนเป็นอยุธยาตอนกลาง

ส่วนตัวผมเห็นว่าบรรดาพระบาททั้งหลายที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย เรียงมงคลอยู่ในตารางแล้ววนเอา

ขณะที่พระบาทวัดพระราม และพระบาทที่วัดพระรูปนี้ เรียงมงคลไว้เป็นวงกลางพระบาท ซึ่งมีจำนวนค่อนข้างน้อย

เมื่อเทียบกันแล้ว พระบาทของพญาลิไท บอกอายุได้ชัดเจนคือ พ.ศ.1897-1919 และพระบาทชนิดที่เรียงมงคลเป็นตารางนี้ นิยมต่อเนื่องมาจนสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) ดังปรากฏที่พระบาทวัดบวรนิเวศ

อาจจะเป็นคนละสกุลช่าง หรือคนละสมัย บอกได้ลำบากมากครับ แต่การสร้างอะไรสักอย่างที่เกี่ยวกับศาสนา จำเป็นจะต้องมีบางอย่างรองรับ มิใช่ช่างสร้างขึ้นได้ตามจินตนาการ 100 เปอร์เซนต์ แสดงว่า มีความคิดที่แตกต่างกันเรื่องลักษณะของพระบาท

ยังสรุปไม่ได้ครับว่าต่างกันเพราะคนละช่าง คนละแนวคิด หรือคนละระยะเวลา
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 21 ม.ค. 10, 23:59

กล่าวถึงพระธรณีไม่มีภาพพระธรณีวัดชมภูเวกก็คงไม่ได้เลยนะครับ  ยิ้มกว้างๆ เหมือนมีใครยกย่องไว้ว่า เป็นmasterpiece ของไทย
เช่นเดียวกับภาพที่โบสถ์ซิสติน ของไมเคิลแองเจโล่

ว่าแต่ผมแตกประเด็นออกมาอีกหน่อย เพื่อเพิ่มปัญญาความรู้นอกจากที่คุณ Kurukula อธิบายเรื่องพระธรณี
อย่างภาพที่วัดเกาะฯนั้นผมเองก็ยังไม่ค่อยเชื่อว่าเป็น ภาพที่เขียนในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ถึงเขาจะเขียนปีไว้
เพราะมันดูเก่ากว่านะครับ เพราะถ้าตีเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลายถึงสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแล้ว มันก็จะสับสน
กับงานร่วมสมัยชิ้นอื่นๆ ผมคิดว่าอย่างนั้นครับ  
..... ฮืม
ปล. ภาพจากวัดเกาะกับวัดปราสาทครับ



บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 22 ม.ค. 10, 00:05

พระบาทเมืองพุกามตีตารางครับ จึงเชื่อว่าน่าจะส่งอิทธิพลให้พระบาทสุโขทัยไม่มากก็น้อย

แต่ก็น่าแปลกว่า พระบาทพม่าสมัยหลัง มีบางชิ้นที่เรียงมงคลแบบพระบาทวัดพระรามอยู่ จากวัดจ๊อกตอจี มัณฑะเลย์ครับ วัดนี้เพิ่งสร้างเมื่อปี 1856 เท่านั้น


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.093 วินาที กับ 19 คำสั่ง