เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
อ่าน: 24247 ภาพเทพสตรีสมัยอยุธยาตอนต้น กับ นางดานแห่งเมืองนครฯ
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


 เมื่อ 16 ม.ค. 10, 12:50

กระทู้นี้ผมขออณุญาตินำภาพแผ่นนางดานจำหลักไม้เก่าแก่ สมัยอยุธยาตอนต้นมาลง
เพราะหลังจากที่เคยเห็นภาพบานประตูจำหลักไม้รูปเทพบุตร จากวัดพระศรีสรรเพชญ์มาแล้ว
ก็เคยนึกสงสัยว่าแล้วเทพสตรีล่ะจะเป็นเช่นไร และแล้วผมก็ได้มาพบที่เมืองนครศรีธรรมราช
ซึ่งเป็นแผ่นนางดานที่เดาว่าเป็นพระแม่คงคา ซึ่งแม้จะมีสภาพชำรุดไปมากแต่ก็สร้างความสนใจ
ให้กับผมไม่น้อย กับอีกชิ้นหนึ่งเป็นเป็นภาพจำหลักศิลารูปเทพสตรีในซุ้มเรือนแก้ว ที่อยู่ใน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม

ภาพนางดานนี้มีความสำคัญในการศึกษา เรื่องการแต่งกายของราชสำนักในสมัยอยุธยาตอนต้นชิ้นหนึ่ง
และยังมีประโยชน์ในการศึกษารูปแบบของศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น ซึ่งมีความสง่างามและผ่อนคลายอย่าง
น่าอัศจรรย์


ชมภาพเพิ่มเติม ในกระทู้ ลายแกะลสักไม้อลังการข้ามกาลเวลา ครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 16 ม.ค. 10, 12:51

ส่วนบนครับ คล้ายเป็นฉัตร เครื่องสูงในลักษณะหนึ่ง
ดูแตกต่างจากบานประตูจากวัดพระศรีสรรเพชญ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 16 ม.ค. 10, 12:52

มองดูหน้าแล้วชวนให้นึกถึงเทพอัปสรของเขมรเหมือนกันนะครับ ลักษณะของศิราภรณ์ก็น่าสนใจ...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 16 ม.ค. 10, 12:53

...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 16 ม.ค. 10, 12:58

ชิ้นไม้ชำรุดมากครับ ทำให้มองรายละเอียดบนชิ้นงานไม่ได้แล้ว แต่มีภาพเก่าที่ถ่ายไว้ได้
ตอนที่สมบูรณ์มากกว่านี้ แถมยังเห็นรายละเอียดของเครื่องสูงประกอบได้ดีด้วยครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 16 ม.ค. 10, 13:07

ภาพนี้เป็นภาพจากพิพิธภัรฑสถานแห่งชาติจันทรเกษมครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 16 ม.ค. 10, 13:13

การแห่นางดานนั้นผมเคยได้ยินว่าใช้ในพิธีตรียัมปวาย ซึ่งปัจจุบันมีที่เมืองนครศรีธรรมราชแห่งเดียวเท่านั้น
มีด้วยกันสามแผ่นคือ แผ่นพระอาทิตย์กับพระจันทร์ แผ่นพระแม่ธรณีและแผ่นพระแม่คงคา
ซึ่งลักษณะของนางดานในปัจจุบันนั้นก็แตกต่างจากของโบราณนภาพข้างต้น ไม่ทราบว่าในกรุงเทพนั้น
พระราชพิธีตรียัมปวายเขาใช้แผ่นนางดานเหมือนกับทางใต้หรือเปล่านะครับ


เรื่องเกี่ยวกับพระราชพิธีตรียัมปวาย http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2 ครับ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 16 ม.ค. 10, 23:42

ว่างๆจะลงไปนครบ้าง เห็นมีแต่ของสวยๆงามๆทั้งนั้นเลย
บันทึกการเข้า
VesinaH
อสุรผัด
*
ตอบ: 18


L'vesinah va tire


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 17 ม.ค. 10, 11:13

ภาพนางกระดานที่กรุงเทพฯ


บันทึกการเข้า
ฉันรักบางกอก
พาลี
****
ตอบ: 334



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 17 ม.ค. 10, 18:52

ว๊าวดีจังได้เห็นจากหลายๆที่ด้วย ขอสารภาพว่าเพ่ิงเคยเห็นท่ีนครเป็นท่ีแรกค่ะ ยิ้มกว้างๆ

ขอบคุณท่ีแบ่งปันภาพให้ชมกันคะ
บันทึกการเข้า

กนก นารี กระบี่ คชะ
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 17 ม.ค. 10, 23:28

นางดานนี่เคยได้ยินว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องความอุดมสมบูรณ์เป็นพื้นครับ เพราะเทพที่เขียนลงบนกระดานก็เป็นเทพธรรมชาติทั้งนั้น ทั้งพระคงคา พระธรณี พระอาทิตย์ พระจันทร์ ซึ่งเป็นความคิดพื้นเมืองที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ยุคก่อนศาสนาพราหมณ์จะเข้ามายังสุวรรณภูมิ (เช่นเดียวกันกับพิธีโล้ชิงช้ารับปีใหม่ ก็เป็นเรื่องที่ปฏิบัติกันทั่วไป)

เท่าที่รับฟัง(เขา)มานะครับเวลาเขาจะโ้ล้ชิงช้า เขาก็จะขุดหลุม แล้วเอานางกระดานนี้ปักลงหลุม คล้ายเป็นเจว็ดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวแทนของกระดานโล้ชิงช้าจริงๆ กระดานนั้นจะมีรูเจาะไว้ด้วย ซึ่งไม่รู้ว่าเจาะไว้ทำไม คิดถึงกระดานอยู่ไฟที่ให้ผู้หญิงเพิ่งคลอดลูกนอน เขาก็เจาะรูเหมือนกันครับ


เรื่องกระดานมีรูนั้น ยังเปรียบเทียบได้กับหน้าท้องของผู้หญิงงาม ที่แบนราบ ตรงกลางมีรูนาภี (สะดือ) ซึ่งคนโบราณท่านเปรียบว่างามเหมือนดอกไม้ ปรากฏในโคลงกำสรวลสมุทร เมื่อกวีเดินทางมาถึงบางขดาน (กระดาน) อันเป็นตำบลหนึ่งในพระนครศรีอยุธยาว่า

จากมามาแกล่ใกล้         บางขดาน
ขดานราบคือขดานดือ      ดอกไม้

บางกระดานนี้ เป็นวังน้ำใหญ่ ตรงกลางมีน้ำวน (แน่นอนว่าเป็นรู) ทุกปีเดือน 12 พระเจ้าแผ่นดินจะต้องเสด็จมาเห่เรือบริเวณนี้ คล้ายๆกับเป็นการบูชาพระคงคา ซึ่งแทนด้วยผู้หญิง เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง

รูที่กระดาน ซึ่งเปรียบเทียบกับสะดือนั้น อาจเป็นสัญลักษณ์สากลที่สื่อถึงการให้กำเนิด การเกิด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ก็เช่นการที่พระพรหมถือกำเนิดจากนาภีของพระนารายณ์ หรือทารกที่เกิดมาก็มีสายสะดือติดมาด้วย เป็นต้น ดังนั้น การโล้ชิงช้าอาจจะสื่อความหมายบางอย่างที่ใกล้ชิดกับการให้กำเนิด หรืออาจกำลังสื่อถึงกระบวนการการให้กำเนิด ซึ่งก็คือความอุดมสมบูรณ์นั่นเอง โดยเก็บสาระความคิดแบบพื้นเมืองเอาไว้ในรูปแบบพิธีพราหมณ์ (ที่ไม่มีในอินเดีย)
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 20 ม.ค. 10, 02:55

ขอบคุณข้อมูลเชิงลึกครับคุณKurukula กับภาพจากคุณ VesinaH ด้วยครับ

ทำให้กระทู้ดูมีราคามากเลยครับ เพราะไม่เคยรู้มาก่อนเลยจริงๆ และน่าสนใจมากโดยเฉพาะวงเล็บที่ท้ายนะครับ
ทำให้เกิดการเดาของผมว่า คติโยนีของอินเดีย-คตินาภีของเรา ทำนองอะไรแบบนั้นหรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 20 ม.ค. 10, 12:32

ผมหมายถึง การโล้ชิงช้า เป็นพิธีพราหมณ์ของสยามที่ไม่มีในอินเดียครับ การไกวชิงช้าถวายพระเป็นเจ้าของพราหมณ์อินเดียนั้น เขาเอาพระเป็นเจ้าขึ้นไกวในชิงช้าเล็กๆไกวกันในเทวสถาน คล้ายๆช้าหงส์ในโบสถ์พราหมณ์ หาได้ให้พราหมณ์ขึ้นไปโล้บนชิงช้าอันใหญ่ไม่

กรมนริศเอง เมื่อท่านไปนครศรีธรรมราชเมื่อพ.ศ.2476 พระองค์เสด็จชมโบสถ์พราหมณ์ ตรัสถามถึงเรื่องโล้ชิงช้า พราหมณ์ก็ว่าไม่มีการโล้ มีเพียงนางกระดานสามแผ่น แล้วเอากระดานขึ้นแขวนเท่านั้น ไม่ได้มีการถีบชิงช้าจริงๆ พระองค์ท่านก็อธิบายว่าเป็นการทำพิธีตามมีตามเกิด แต่คิดในอีกแง่หนึ่ง พราหมณ์เมืองนครอาจจะรักษาประเพณีดั้งเดิมซึ่งสืบมาจากอินเดียไว้ได้ ขณะที่ในส่วนกลางปรับปรุงเข้ากับประเพณีพื้นเมือง จนมีการถีบชิงช้าใหญ่


การโล้ชิงช้า (ใหญ่) เป็นประเพณีโบราณพื้นเมืองดั้งเดิมก่อนการรับศาสนาใดๆครับ เป็นการโล้รับปีใหม่ เช่นเดียวกับพราหมณ์จัดโล้ในเดือนอ้าย (แต่ก่อนไทยเรานับปีใหม่กันเดือนอ้าย หรือราวๆเดือนธันวาคม ไม่ใช่เปลี่ยนปีเอาตอนสงกรานต์หรือเดือนห้า ซึ่งเป็นเรื่องของแขก)

เท่าที่เหลือตกทอดกันมา ยังอยู่ในหมู่ชนเผ่า อย่างพวกอาข่า ซึ่งจัดพิธีโล้ชิงช้า เพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ฉลองพืชผล ที่น่าสนใจคือ เป็นงานที่จัดเป็นเกียรติแก่สตรีและ "เจ้าแม่" ซึุ่้่งเ้ป็นลักษณะสังคมดั้งเดิมที่ผู้หญิงมีบทบาทสูง เป็นผู้นำชุมชน ก่อนที่ศาสนาจากชมพูทวีปหรือจากที่ไหนๆในโลก จะกดผู้หญิงให้ต่ำกว่าผู้ชาย


และน่าจะเป็นต้นเค้าว่าทำไม จึงต้องมีนางกระดาน แล้วทำไมนางกระดานต้องเป็นผู้หญิง หรือทำไม ต้องเป็นเจ้าแม่แห่งน้ำ (คงคา) และเจ้าแม่แห่งดิน (ธรณี) เพราะเทพทั้ง 2 องค์นี้ เป็นผีเพศแม่สากลที่ทุกชาตินับถือ และเป็นเทพที่ให้กำเนิดชีวิต (เช่นเดียวกับการทำให้ระบบของจักรวาลดำเนินไปโดยเรียบร้อยอย่างพระอาทิตย์พระจันทร์) ของคิดเองได้ ไม่จำเ้ป็นต้องนำเข้าอย่างพระอุมาปารวตี

ศาสนาพราหมณ์นั้นยืดหยุ่นปรับให้เข้ากับสภาพสังคมที่เข้าไปได้ง่ายครับ ดูอย่างการพยายามกลืนศาสนาพุทธเป็นต้น
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 20 ม.ค. 10, 17:34

ขอบคุณครับที่อุตสาห์อธิบายให้ฟัง เนื้อหาเชิงลึกแบบนี้ผมเองก็ไม่เคยได้มานั่งอ่านแล้ว
เอามาวิเคาระห์แบบคุณKurukula สักที ยังลักจำเป็นช่วงเป็นตอนอยู่
แต่อย่างน้อยก็พอนึกภาพตามได้ครับ


มาถึงตรงนี้แล้วมองย้อนไปดูภาพพระแม่ธรณี ที่เป็นนางดานของใหม่จากภาพของVesinaH
แล้วอดคิดไม่ได้ว่า ถ้าพระแม่ธรณีไม่ทำท่าบีบมวยผม แล้วจะทำท่าอะไรให้แยกได้กับพระคงคาครับ
ผมมีความรู้สึกว่าพระแม่ธรณีบีบมวยผมนี่ เหมือนจะติดภาพทางพระพุทธศาสนาไปหน่อยนะครับ
 : ฮืม

ปล.มีเรื่องขอปรึกษาหลังไมค์ด้วยนะครับคุณKurukula
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 20 ม.ค. 10, 17:59

มันมีร่องรอยของการนับถือผีสมัยดึกดำบรรพ์อยู่ในบทไหว้ครูครับ ถือว่าเป็นธาตุที่ประกอบกันเป็นร่างกาย

ไหว้พระพุทธพระธรรมล้ำโลกา
พระสงฆ์ทรงศีลาว่าโดยจง
คงคายมนามาเป็นเกณฑ์
พระสุเมรุหลักโลกสูงระหง
ดินน้ำลมไฟอันมั่นคง
จึงดำรงได้รอดมาเป็นกาย

ที่คุณ Virain สงสัยว่าพระคงคากับพระธรณี (วสุนทรา) ต่างกันอย่างไร ที่เราเห็นไม่ต่างกัน หรือค่อนข้างคลุมเครือ เนื่องจากเป็นคติสมัยหลังในสยามครับ ในอินเดียเองคงคาจะขี่มกรครับ ยมุนา จะขี่เต่า ถือดอกบัวอันเป็นสัญลักษณ์ของน้ำ ในอินเดีย ทั้งสององค์จะเฝ้าอยู่หน้าประตูเทวาลัยเหมือนทวารบาล เพราะเชื่อกันว่า ใครลงอาบน้ำในแม่น้ำคงคาจะชำระบาปได้ การเอามาเฝ้าหน้าประตูก็เหมือนคนเข้าไปไหว้พระผ่านการชำระบาปในแม่น้ำึคงคาแล้ว

ส่วนพระธรณีที่บีบมวยผมนั้น ที่คุณ Virain คิดว่าติดภาพพุทธศาสนามามากนั้น ก็ควรจะเป็นอย่างนั้น อย่างไรก็ตาม เทพตามธรรมชาติเหล่านี้ มีการนับถือทั่วไปทุกที่ในโลก ไม่แบ่งพุทธพราหมณ์ครับ

ส่วนเรื่องของการบีบมวมผมนั้น สันนิษฐานว่าเรื่องนี้มีที่มาจากลังกา เพราะวสุนทราหรือธรณีในอินเดีย ไม่มีการบีบมวยผมครับ เท่าที่เห็นในเอเซียตะวันออกเฉียงใ้ต้ ธรณีบีบมวยผมน่าจะเริ่มประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะศิลปะเนื่องในพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งแตกต่างจากมหายานครับ ตัวอย่างเช่นในปราสาทรุ่นหลังๆในเขมร พวกพระป่าเลไลยก์ ที่สร้างขึ้นในศาสนาเถรวาทจากลังกา

เรื่องพระธรณีนั้น ค่อนข้างซับซ้อนมากทีเดียว มีพัฒนาการมาอย่างยาวนานครับ เดี๋ยวจะลองค้นๆมาฝากกัน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง