เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 40950 ชาติพันธุ์วรรณา ใน พระอภัยมณี (๒)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 19 ม.ค. 10, 16:12

นางเงือกน้อยคงมีหางแบบนี้มั้งคะ


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 19 ม.ค. 10, 16:15

แต่เรื่องพระราชทานแหวนทองฝังเพชร ให้อาลักษณ์ระดับขุน แถมยังติดคุกเพราะทุบตีญาติผู้ใหญ่เสียอีก   ออกจะเกินไป
คุณหลวงคุณพระและพระยาอีกมาก ราว ๙๙%  ยังไม่เคยได้เลย

เรื่องเงือกของสุนทรภู่มีขา  เป็นได้ความรู้ใหม่  สงสัยเราจะตามสุนทรภู่ไม่ทันจริงๆ และอาจจะมีเรื่องอื่นในพระอภัยที่เราอาจจะตามสุนทรภู่ไม่ทัน  ส่วนเรื่องแหวนพระราชทานจากรัชกาลที่ ๒  เท็จหรือจริง คงอยู่กับผู้เล่า  ในฐานะคนรุ่นหลังๆ ได้ฟังคงต้องฟังหูไว้หู  เพราะเรื่องประเภทนี้มีมากเหลือเกิน แถมบางทีท่านก็เอามาใส่ไว้ในตำราประวัติวรรณคดีไทยด้วย  เลยเป็นว่าประวัติวรรณคดีไทยเขียนโดยมีพื้นฐานจากเรื่องที่เล่าต่อๆกันมา  ของอย่างนี้ติดลึกมานาน  จะแก้ก็เหลือแก้
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 19 ม.ค. 10, 16:33

ถ้าหาเรื่องแหวน นิลกะสาปน์  ที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทำแจกขุนนาง
จะเขียนส่วนผสมมาให้ค่ะ

สำนักอรุณอัมรินทร์ตื่นเต้นกันมากเมื่อได้มาฉบับหนึ่ง   ได้แจ้งไปว่า สยามประเภท เขียนไว้นานมาแล้ว




สงครามที่เจ้าละมานหลงรูปนั้น แต่งหลัง วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๓๗๑  แน่นอนค่ะ
เพราะเจ้าอนุวงศ์ถูกส่งตัวเข้ากรุงเทพฯ  ในวันนั้น(พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓
ของเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี  กรมศิลปากร  ๒๕๔๗  หน้า ๓๖)

อ่านแล้วก็สะท้อนใจในความรักและหวังของผู้ชายคนหนึ่ง

โอ้เสียดายสายสวาทประหลาดโฉม                       ชวดประโลมลับเนตรของเชษฐา
แต่รูปทรงองค์ละเวงแม่วัณฬา                             ยังติดมาในเสื้อเป็นเยื่อใจ

ย้อนกลับไปเล็กน้อยนะคะ

สงสารแต่แม่ละเวงวัณฬาน้อย                             จะหลงคอยเชษฐานิจจาเอ๋ย
หมายว่าทัพกลับไปจะได้เชย                               บุญไม่เคยคลาดแคล้วเสียแล้วน้อง
ถึงตัวพี่นี้ตายไม่วายรัก                                     จะไปฟักฟูมเฝ้าเป็นเจ้าของ
แม้นชายอื่นชื่นชอบมาครอบครอง                         จะทุบถองถีบผลักแล้วหักคอ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 19 ม.ค. 10, 16:56

ชาวเมืองได้ไปดูเจ้าละมานในกรงที่ประจานไว้


     ฝ่ายข้าเฝ้าชาวบุรินทร์สิ้นทั้งหลาย                         ทั้งหญิงชายชื่นใจทั้งไอศวรรย์
เที่ยวดูเหล่าชาวละมานสำราญครัน                             แต่ล้วนฟันเสี้ยมแซมแหลมแหลมเล็ก
บางดูท้าวเจ้าละมานชาญฉลาด                                 เขาจำกราดตรึงองค์ไว้ในกรงเหล็ก
แขกฝรั่งทั้งพราหมณ์จีนจามเจ๊ก                                 ผู้ใหญ่เดินดูเป็นหมู่มุง
บ้างหัวเราะเยาะหยันพวกฟันเสี้ยม                              มันอายเหนียมนั่งนิ่งเหมือนลิงถุง


     นายโหมดเล่าว่า ได้ไปดูอนุ ถึง ๓ ครั้ง



พระอภัยมณีเมื่อเห็นรูปนางละเวงที่เสนาแย่งมาจากเจ้าละมาน

พระอภัยได้ยลวิมลโฉม                                            งามประโลมหลงหลงแลดังแขไข
ต้องเสน่ห์เลขาคิดอาลัย                                           ด้วยแจ้งใจว่าลูกสาวเจ้าลังกา
นี่หรือท้าวเจ้าละมานมิซานซบ                                     มารับรบเมืองผลึกศึกอาสา


ตอนนั้นพระอภัย ๓๕+  แล้ว     นางละเวงยังไม่ ๒๐ (นั่งนับจากกำเนิดสุดสาคร พลาดคงไม่มาก)

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 19 ม.ค. 10, 20:52

พระอภัยมณีน่าจะอายุน้อยกว่านั้น  ตอนสุดสาครอายุออกตามหาพ่อ    พระฤๅษีบอกว่า
อันพ่อเจ้าไม่แก่ไม่หนุ่มนัก                   อายุสักยี่สิบเก้าเข้าสามสิบ
แต่ไม่มีปัญญาจะบวกลบมากกว่านี้  คุณเพ็ญชมพูอาจจะช่วยได้ค่ะ

แถมด้วยภาพวาดของอ.จักรพันธุ์    ไว้ปลอบใจตัวเองว่าเงือกน้อยมีหางแบบนี้ สวยกว่าหางอย่างมัจฉานุเป็นไหนๆ


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 20 ม.ค. 10, 05:42

ตอนนั้น สุดสาคร อายุ ๓ ขวบค่ะ 
ไปอยู่เมืองการะเวก    มีแต่พระธิดานางเสาวคนธ์
ต่อมานางจันทวดีมีโอรส  คือหัสไชย  เลี้ยงมา ๑๐ ปี

สุดสาคร
มาวันหนึ่งรำพึงถึงบิตุเรศ                              ไม่แจ้งเหตุว่าอยู่หนตำบลไหน
แต่วันลาดาบสกำหนดไว้                               น้อยหรือได้สิบปีเข้านี่แล้ว

พระอภัยมณีก็อายุ ๓๘ - ๓๙


เมื่อสุดสาคร เล่นกับนางเสาวคนธ์นั้น  นางเสาวคนธ์อ้อนว่า

พี่จ๊ะ  ตุ๊กแกมันร้อง

เลยกลายเป็นเพลงไทยชื่ออะไรก็หาไม่ทันตอนนี้

สมัยก่อนผู้ปกครองเปิดวิทยุตอนเย็น   เมื่อเดินผ่านแล้วยื่นหน้าไปฟัง จะโดนสอบถามว่าเพลงอะไร
ตอบไม่ได้เรื่องชื่อเพลง  แต่จำได้ว่าตอนไหน ๆ ในเรื่องอะไรค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 20 ม.ค. 10, 06:11

พระโยคีเลี้ยงสุดสาครมา กล่อมด้วย เพลงกล่อมเด็ก
ที่ว่า  โอ้ระเห่  โอ้ระหึก  ตื่นแต่ดึกทำขนมแชงม้า


คนที่อธิบายเรื่องขนมแชงม้าได้ดีที่สุดคือท่านผู้หญิงเปลี่ยน  ภาสกรสงศ์

ท่านเล่าว่า  เป็นขนมโบราณ  เรียกว่า แชงมา
คือขนมไข่เต่า  และขนมปรากิม
เวลาจะรับประทานก็ตักขนมปรากิมลงถ้วยก่อน  แล้วตักขนมไข่เต่าทับหน้า  คนเข้าด้วยกัน
(แม่ครัวหัวป่าก์   เล่ม ๒      หน้า ๑๕๖)



คนที่อธิบายได้ แต่อิฉันยังพิสูจน์ไม่ได้ คือ ก.ส.ร. กุหลาบ  ท่านว่าแต่เดิมเป็นแป้งต้มไม่ใส่กะทิ
ต้มให้ม้ากินเพื่อเอาแรง(ลงทุนถึงขนาดนั้นเชียวหรือ)

ตำราม้าเมืองไทยก็แทบจะไม่เหลือแล้ว    ตำราขี่ม้ารำทวนก็ไม่มีคนเห็นมานานมากแล้ว
ยังไม่ทราบจะไปถามใครดี

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 20 ม.ค. 10, 08:35

นางยักษ์หักขาฉีกสองแขน                               ไม่หายแค้นเคี้ยวกินสิ้นทั้งคู่

ฤๅสุนทรภู่ตั้งใจให้ ขา หมายถึง หาง    ฮืม

เคยพบบางแห่งเขียนไว้อย่างนี้

ยักษิณีผีเสื้อก็เหลืออด                     ช่างตอหลดตอแหลพวกแกนี่
เดี๋ยวทางโน้นวนเวียนเปลี่ยนทางนี้          มาแกล้งชี้ไปทั่วไม่กลัวกู
แล้วนางยักษ์หักคอและฉีกแขน            ไม่หายแค้นเคี้ยวกินสิ้นทั้งคู่
แล้วกลับตามข้ามทางท้องสินธู             ออกว่ายวู่แหวกน้ำด้วยกำลัง


ถ้าหักคอและฉีกแขน รูปนี้คงพอใช้ได้

 ยิ้มกว้างๆ




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 20 ม.ค. 10, 08:43

เงือกน้อยในจินตนาการของคุณเทาชมพูก็ยังคงเหมือนเดิม

 ยิงฟันยิ้ม

ป.ล. หนังสือเล่มที่โชว์นี้ คุณวันดีคงให้รายละเอียดได้


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 20 ม.ค. 10, 10:06

พระอภัยมณีของครูสมิทชุดนี้เหลืออยู่ ๖ เล่มค่ะ  เรียงฉบับกัน

อีกเล่มหนึ่งนางเงือกมีผมสีทอง  และผ้านุ่งมีสี  มีอยู่เล่มเดียวที่เด่นมาก  ขณะนี้เปลี่ยนมือไปแล้วค่ะ

เจ้าของห้องสมุดที่สะสมหนังสือปกสวยเหล่านี้  เข้าใจ(หลังจากการสนทนาและสืบสวนกันหลายปี) ว่าเป็นเจ้าของโรงพิมพ์จีน
มีประวัติและรูปถ่ายของ ท่าน ภรรยา ครบถ้วน  แต่ไม่มีใครซื้อไปได้เนื่องด้วยไร้ทรัพย์
คนที่ออกแบบ ทางนักอ่านนักสะสม ทราบชื่อและประวัติการศึกษา

หนังสือปกสวยหรือ craft binding  มีประมาณ  ตามความเช้าใจของดิฉัน น่าจะไม่เกิน ๓๐๐ เล่ม
หลุดไปต่างประเทศไม่มาก

นักวิชาการเรื่องสิ่งพิมพ์มาดูแล้วเป็นไข้กลับไป
ฝรั่งนักเขียนมาดูแล้วยกหนังสือขึ้นทูลหัว
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 20 ม.ค. 10, 10:18

ร.ศ. ๑๒๔  คือปีที่รวบรวมหนังสือหลายเล่มมาทำปกค่ะ  ไม่ใช่ปีพิมพ์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 20 ม.ค. 10, 10:52

อีกเล่มหนึ่งนางเงือกมีผมสีทอง  และผ้านุ่งมีสี  มีอยู่เล่มเดียวที่เด่นมาก  ขณะนี้เปลี่ยนมือไปแล้วค่ะ

แต่สำเภาชาวเกาะเมืองลังกา                เขาแล่นมามีข้างอยู่ลางปี
ถ้าเสียเรือเหลือคนแล้วนางเงือก            ขึ้นมาเลือกเอาไปชมประสมศรี
เหมือนพวกพ้องของเขารู้พาที               ด้วยเดิมทีปู่ย่าเป็นมนุษย์


ฤๅเงือกน้อยนางนี้มีเชื้อฝรั่งลังกา (อังกฤษ)

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 20 ม.ค. 10, 11:22

ก็มีเค้า ว่าแม่เงือกน้อยมีปู่หรือทวดเป็นฝรั่งกลาสีเรือแตกชาวลังกา 
จัดเข้าเชื้อชาติพันธุ์วรรณาฝรั่งได้   เสียดายว่าสุนทรภู่ไปกำหนดให้ถือสัญชาติสัตว์น้ำเสียแล้ว  ไม่ใช่คน
  

จอมกษัตริย์ทัศนาดูเงือกน้อย                     ดูแช่มช้อยโฉมเฉลาทั้งเผ้าผม
ประไพพักตร์ลักษณ์ล้ำล้วนขำคม                ทั้งเนื้อนมนวลเปล่งออกเต่งทรวง
ขนงเนตรเกศกรอ่อนสะอาด                        ดังสุรางค์นางนาฏในวังหลวง
....
......................

หารูปนางเงือกผมทองมาได้อีกรูป  เผื่อจะคล้ายแม่เงือกมากกว่ารูปก่อนๆ


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 20 ม.ค. 10, 14:23

อิทธิพลของพงศาวดารจีนเท่าที่นึกทัน

ก่อนที่จะตะครุบฝรั่งอีกหนึ่งคนมาคุยกัน  ขออนุญาตพูดถึง สุดสาคร และ ที่มาของนิสัยใจคออย่างหนึ่งของเจ้าชาย


เมื่อ พระสุริโยไทย กษัตริย์เมือง การะเวก  และนางจันทวดี พระมเหสี  ชวนสุดสาครมาอยู่ด้วย  ได้ชวนสึก
พระราชทานเครื่องทรง และเครื่องประดับหลายสำรับ

สุดสาครทูลว่า

ว่าหม่อมฉันจะจากพระอาจารย์                        ได้ตั้งสัตย์อธิษฐานต่อเทวา
มิได้กลับอภิวาทบาทดาบส                             ไม่ปลดปลิดเปลื้องเครื่องสิกขา
ซึ่งสองพระองค์ทรงพระกรุณา                          จะเมตตาแต่งหม่อมฉันประการใด
ขอประดับทับนอกหนังเสือเหลือง                      ให้ประเทืองมิได้ขัดอัชฌาสัย
จะทรงเครื่องเปลื้องหนังเสียทั้งไตร                    เหมือนได้ใหม่ลืมเก่าดังเผ่าพาล



สามก๊ก ตอน โจโฉ รับ กวนอู ไปอยู่ด้วย
อ้่างอิง ฉบับแปลใหม่  ของ วรรณไว  พัธโนทัย   พิมพ์ครั้งที่ ๓  ๒๕๔๑    หน้า ๓๙๕


"วันหนึ่งโจโฉเห็นกวนอูสวมเสื้อแพรเขียวเก่า ๆ  จึงเอาเสื้อใหม่ให้กวนอูตัวหนึ่ง
กวนอูรับไว้แล้วสวมไว้ชั้นใน   แล้วสวมเสื้อเก่าไว้ชั้นนอก

โจโฉเห็นเช่นนั้นก็หัวเราะแล้วพูดว่า "กวนอูเอ๋ย  ทำไมประหยัดถึงปานฉะนี้"

กวนอูตอบว่า "อย่างนี้ไม่ใช่ประหยัดดอก  เสื้อตัวเก่านั้น  พระปิตุลาเล่าปี่ให้ข้าพเจ้าไว้
ข้าพเจ้าจึงสวมชั้นนอกไว้ดูต่างหน้า
ส่วนเสื้อที่ท่านสมุหนายกให้ข้าพเจ้านั้น   ข้าพเจ้าต้องสวมไว้ชั้นใน  หาไม่แล้วจะกลายเป็นได้ใหม่ลืมเก่า"


สุนทรภู่ เป็นบรมนักอ่าน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 20 ม.ค. 10, 15:55

ผีเสื้อสมุทรดูเหมือนจะได้รับอิทธิพลจากอินเดียและจีน

ส่วนเงือกน้อยของสุนทรภู่เห็นได้ชัดว่าได้รับอิทธิพลจากฝรั่งแน่นอน

ในวรรณคดีไทยโบราณ เงือกไม่ได้มีความหมายอย่างที่เราเข้าใจในปัจจุบัน

ลิลิตโองการแช่งน้ำ  ตอนบรรยายลักษณะของพระอิศวร เงือก = งู

ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง อ้างทัดจันทรเป็นปิ่น
ทรงอินทรชฎา สามตาพระแพร่ง แกว่งเพชรกล้า ฆ่าภิฆนจัญไร
   

ลิลิตพระลอ  เงือก = ผีชนิดหนึ่งอยู่ในน้ำ ผมยาว (อันนี้ใกล้เคียงกับเงือกของสุนทรภู่เข้ามาหน่อย)

เอ็นดูสองนางตกใจกลัว รรัวหัวอกสั่น ลั่นททึกททาว
สราวตามหมอผะผ้ำ เห็นแนวน้ำบางบึง ชรทึงธารห้วยหนอง
จระเข้มองแฝงฝั่ง สรพรั่งหัวขึ้นขวักไขว่ ช้างน้ำไล่แทงเงา
เงือกเอาคนใต้น้ำ กล่ำตากระเลือก กระเกลือกกลอกตากลม ผมกระหวัดจำตาย


ก่อนหน้าเงือกน้อยของสุนทรภู่จะปรากฏโฉม  เงือกน้อยนางหนึ่งได้ปรากฏตัวขึ้นแล้วในนามว่าสุพรรณมัจฉาแห่งรามเกียรติ์ เธอเป็นธิดาของทศกัณฐ์ (เจ้าของฉายาเจ้าชู้ยักษ์) กับนางปลา และเป็นมารดาของมัจฉานุ ทั้งแม่และลูกคู่นี้ว่าไปแล้วต้องถือสัญชาติไทยเพราะไม่ปรากฏในรามายณะของอินเดีย

แต่จินตภาพของเงือกน้อยในความคิดของคนไทยแล้วเงือกน้อยของสุนทรภู่ดูจะเจิดจ้าอยู่มากกว่า

และสุนทรภู่ก็นับเป็นคนแรกที่บัญญัติคำว่า เงือก = merman-mermaid (ครึ่งคนครึ่งปลา) ของฝรั่ง

 ยิ้มกว้างๆ

ฟังคุณเทาชมพูคุยต่อเรื่องเงือก
http://vcharkarn.com/reurnthai/mermaid.php


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 20 คำสั่ง