เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 40851 ชาติพันธุ์วรรณา ใน พระอภัยมณี (๒)
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 15 ม.ค. 10, 00:08

ที่บ้าน สิกคารนำ(แปลว่าเขาเขียว)  มีบาดหลวงปีโป เป็นหลักบ้าน

มีสำนักอยู่ข้างทางเดิน   รับสอนหนังสือให้กับลูกชาวบ้าน
  
     เรียนวิชาไตรดาโหราดี                ตามบาลีเพศฝรั่งชาวลังกา


เมื่อวันอาทิตย์ก็มาประชุมกัน

ท่านปีโปดูดาว  แล้วหัวร่อ       ศิษย์ถามว่าเรื่องอะไร

      เราดูดาวเจ้าประเทศเขตลังกา         ไม่มีข้าคนเที่ยวอยู่เดียวดาย
อันดวงดาวเจ้าผลึกเป็นศึกสู้                 กลับร่วมรู้รักกันขันใจหาย

พอพูดขาดคำก็มีเสียงกาบอกข่าว  อูฐลาม้าร้องตาม ๆ กัน      บาดหลวงปีโปรู้ตำราภาษาสัตว์  ทราบว่า
สัตว์ทั้งปวงคอยจะต้อนรับเจ้าแผ่นดิน

ตำราสัตว์บอกข่าวไทยเราดูจะมีเรื่องสุนัขและแมว



     ในตำราว่าโจรตามมาด้วย               ท่านจงช่วยป้องกันให้ผันผาย
ได้อาศัยในแผ่นดินทำกินสบาย               ทั้งหญิงชายฉลองคุณอย่าสูญใจ


มีกองโจรอยู่ในป่า  นายโจร ๓๕ คน  กะลาสี สามพันสอง      เจอนางละเวงก็ไล่กวดมา
อาวุธในมือนางคือ พระแสง และเกาทัณฑ์           ตราพระราหูนั้นป้องกันคมหอกคมดาบไว้ได้

ชาวบ้านสิกคารนำได้ออกมาต่อสู้กับโจรและไล่โจรไปได้

คิด ๆ ดู  ชาวบ้านต้องพากันมาจำนวน สามเท่าของโจร  ไม่งั้นโจรไม่ถอย


นางละเวงได้ไปค้างที่วัด    แต่บาดหลวงหลบ
วันรุ่งขึ้นจึงได้พบ   นางละเวงได้ขอเด็กกำพร้า ยุพาผกา และ สุลาลีวันมาด้วย
บาดหลวงก็เขียนหนังสือให้สองสาวเก็บไว้เป็นอุบายศึก

คงสองฉบับ
นางทั้งสองก็ใส่มือเสื้อไว้   ขอบอกว่ามาจากพงศาวดารจีนอีกนั่นแหละค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 15 ม.ค. 10, 00:23

บาดหลวงปีโป ไม่อยากไปกับนางละเวง


     บาดหลวงว่าอย่าประมาทชาติกษัตริย์                   เหลือจำกัดกลความตามวิสัย
เมื่อดีเย็นเช่นมหาชลาลัย                                      โกรธเหมือนไฟฟุนฟอนให้ร้อนทรวง
แล้วเรารู้อยู่ว่านางแต่ปางหลัง                                 ถือพระสังฆราชผู้บาดหลวง
ได้ฝึกสอนรอนราญการทั้งปวง                                 จะไปช่วงชิงรู้เหมือนดูเบา

เมื่อยามดีมิได้พึ่งครั้นถึงยาก                                   จะพลอยรากเลือดตายต้องอายเขา
ถึงแม้องค์นงลักษณ์จะรักเรา                                    พวกคนเก่าเขาคงกันด้วยฉันทา

หนึ่งอำมาตย์ชาติสอพลอทรลักษณ์                             เห็นเจ้ารักชวนกันคิดริษยา
คอยยุยงลงโทษโจทนา                                           ไม่รู้ว่าใจนางจะอย่างไร


สุนทรภู่มีประสบการณ์ตรงมาแล้ว  ไม่อยากให้บาดหลวงปีโปฝ่าพงหนาม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 15 ม.ค. 10, 00:34

ชาวบ้านได้เตรียมรถม้าแก้วไว้เชิญเสด็จ

รถม้าเทศลังกาฝากระจก                             เทียมม้าหกคู่ชักเหมือนจักรหัน


การหาม้าเข้าเทียมคู่หกไม่ใช่เรื่องง่าย
คงต้องฝึกหัดอยู่ร่วมปี


บาดหลวงปีโปได้วานสตรีชาวบ้านให้นำจดหมายไปให้ยุพาผกาและสุลาลีวรรณครั้งหนึ่งในการรบครั้งสุดท้าย


บทบาทของนักปราชญ์ก็ไม่ปรากฏอีก
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 15 ม.ค. 10, 06:44

เห็นคุยกันถึง "อุศเรน"

ผมสงสัยมานานแล้วครับว่า ชื่อนี้ น่าจะมาจากชื่อฝรั่งว่าอะไร หรือ จะแปลงมาจากชื่อแขกว่า Hussein ?  ยิงฟันยิ้ม

หรือชื่อฝรั่งเศสว่า Arsène ? ฮืม



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 15 ม.ค. 10, 09:40

สุนทรภู่อาจไม่ได้เอาชื่อ อุศเรน มาจากชื่อฝรั่งก็ได้

สุนทรภู่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว)

พระองค์ท่านก็ทรงเป็นทหารเรือ

อิศเรศ   ---->  อุศเรน ก็พอมีเค้าอยู่

ฤๅนี้คือสุภาพบุรุษอุศเรนตัวจริง

 ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 15 ม.ค. 10, 09:48

สุนทรภู่อาจไม่ได้เอาชื่อ อุศเรน มาจากชื่อฝรั่งก็ได้

สุนทรภู่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว)

พระองค์ท่านก็ทรงเป็นทหารเรือ

อิศเรศ   ---->  อุศเรน ก็พอมีเค้าอยู่

ฤๅนี้คือสุภาพบุรุษอุศเรนตัวจริง


อ้าว   จริงหรือนี่   นึกว่าสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นศรีสุวรรณเสียอีก  (รัชกาลที่ ๔ เป็น พระอภัยมณี)  แต่อุศเรนก็มีบทบาทเพียงช่วงสั้นๆในเรื่อง   ถ้าเช่นนั้นเป็นไปได้ไหมว่าสุนทรภู่ ท่านได้แยกบุคคลิกของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวไปสร้างเป็นตัวละครอีกตัวหนึ่งในเรื่องเดียวกัน  ลังเล
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 15 ม.ค. 10, 10:45

เป็นไปได้ไหมว่าสุนทรภู่ ท่านได้แยกบุคคลิกของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวไปสร้างเป็นตัวละครอีกตัวหนึ่งในเรื่องเดียวกัน  ลังเล

I think so.

คิดเล่น ๆ ว่าถ้าอุศเรนอยู่จนถึงมีบุตร สุนทรภู่อาจให้ชื่อบุตรอุศเรนว่า ยอชวอชิงตัน

 ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 15 ม.ค. 10, 13:15

เยี่ยมยอด      คุณเพ็ญ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 18 ม.ค. 10, 06:33

อิเรน  นายด่านดงตาล และคณะ

มาลี กปิตัน  คุมกองกำลังอยู่หลังเขา
มูรหุ่ม  คุมกองทหารชานเขา
บังอลู  ระวังอยู่ที่ลำนำ้คด

มีศิษย์ ชื่อ ยันตัง  ผิวดำ

ทั้งหมดนี้ สุนทรภู่ย้ำว่า ฝรั่ง

อิเรนอายุ ๖๔  ขี่สิงห์  ใช้ขวานเป็นอาวุธ   มีลูกสาวชื่อรำภาสะหรี  ผิวขาวราวสำลี


   
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 18 ม.ค. 10, 07:06

อิเรน กล้าหาญและเข้มแข็ง
หลังที่ได้รับบาดเจ็บที่ตา   พราหมณ์วิเชียร ยิง   นายหทารคิดว่าควรจะบอกไปทางเมืองหลวง ขอทหารมาช่วยรบ
อิเรนโกรธมาก

     ฝ่ายผู้เฒ่าเจ้าเมืองเคืองตะคอก                      อย่าเพ่อบอกเฟื่องฟุ้งถึงกรุงศรี
เราเป็นชายฝ่ายเจ้าเป็นสตรี                               ชีวิตมีมิให้องค์ออกสงคราม


เมื่อแรกอ่านพระอภัยมณี  อ่านอย่างเพลิดเพลินเจริญใจเป็นนิทาน     คำกลอนช่วยให้จำชื่อคน

สงสัยเพียงว่า ทำไมใช้เกาทัณฑ์ในการรบระดับประชิด
เรื่องจะขี่สิงห์นั้น ไม่เคยติดใจ  เชื่อสนิท


สงสัยว่า ใช้ขวาน ในการรบบนหลังสิงห์ได้อย่างไร

อาวุธสั้นถึงปานนั้น


เรื่องที่สงสัยจริง ๆ คือเรื่อง บอก  หรือ ใบบอก  ซึ่งจะต้อง รายงาน(หรือบอก)เข้ามายังเมืองหลวง
เมื่อมีเรื่องสำคัญเกืดขึ้น


ได้อ่าน จดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติ ไม่กี่ปีมานี่เอง
ทราบซึ้งในราชกิจของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ขนาดอ่านยังเหนื่อย)
ท่านรับสั่งถามถึงความคืบหน้าของกองทัพและการเดินทางอยู่ตลอดเวลา
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 18 ม.ค. 10, 07:21

รำภาสะหรี  ได้ กับ ศรีสุวรรณ  ด้วยความเต็มใจของศรีสุวรรณ แทบไม่ต้องใช้เวทมนต์
มีโอรสชื่อ วลายุดา  ผิวเหลืองเรืองรอง

ต่อมารำภาสะหรีใช้ขวานเป็นอาวุธ

เป็นคนกล้าหาญ  คิดเร็ว  กตัญญูต่อนางละเวง


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 18 ม.ค. 10, 07:38

รำภาสะหรี นั้น  ดูท่านสุนทรภู่ จะหมั่นไส้ อยู่หน่อย ๆ
เมื่อเปิดตัว

มีลูกสาวขาวล้ำดังสำลี                           อายุยี่สิบสลวยสวยโสภา
ไม่มีผัวกลัวที่จะมีลูก                              ต้องกินหยูกยาฝาดไม่ปรารถนา


คุณเพ็ญชมพูคะ   คุณหลวงคะ    ยาฝาดนี่ กินเพื่ออะไรคะ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 18 ม.ค. 10, 08:51

รำภาสะหรี นั้น  ดูท่านสุนทรภู่ จะหมั่นไส้ อยู่หน่อย ๆ
เมื่อเปิดตัว

มีลูกสาวขาวล้ำดังสำลี                           อายุยี่สิบสลวยสวยโสภา
ไม่มีผัวกลัวที่จะมีลูก                              ต้องกินหยูกยาฝาดไม่ปรารถนา


คุณเพ็ญชมพูคะ   คุณหลวงคะ    ยาฝาดนี่ กินเพื่ออะไรคะ

ยาฝาด ในที่นี้อาจจะตีความได้ ๒ ทาง คือ หนึ่ง  หมายถึงยาชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อเรียกว่า ยาฝาด   ซึ่งคงมีรสฝาด   จึงได้นำมาตั้งเป็นชื่อ   หรือ สอง  หมายถึง ยาอะไรก็ไม่ทราบ อาจหมายถึงยาทั่วไป ที่มีรสฝาด  (โปรดสังเกตว่า ใช้คำว่า หยูกยาฝาด  ไม่ใช่ ยาฝาด)  แต่โดยรวมน่าจะหมายเอายาที่มีรสฝาด   รสฝาดของยาไทย  ตามตำราดบราณท่านว่า  มีฤทธิ์ช่วยสมานแผลให้หายหรือสนิทเร็วขึ้น  และรสฝาดยังช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ด้วย   การที่ให้สตรีรับประทานยาฝาดก็คงมุ่งหมายที่จะช่วยรักษาแผลช่องคลอดอันเกิดจากการคลอดบุตรและช่วยฆ่าเชื้อโรคอันจะเกิดหรือติดมาในระหว่างการทำคลอด   เป็นภูมิปัญญาคนไทยสมัยก่อน   (ทั้งหมดเป็นการสันนิษฐานนะครับ  เพราะเป็นผู้ชายเลยไม่ใคร่รู้เรื่องผู้หญิงสักเท่าไร) ยิงฟันยิ้ม

เรื่องที่สงสัยจริง ๆ คือเรื่อง บอก  หรือ ใบบอก  ซึ่งจะต้อง รายงาน(หรือบอก)เข้ามายังเมืองหลวงเมื่อมีเรื่องสำคัญเกืดขึ้นได้อ่าน จดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติ ไม่กี่ปีมานี่เอง ทราบซึ้งในราชกิจของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขนาดอ่านยังเหนื่อย) ท่านรับสั่งถามถึงความคืบหน้าของกองทัพและการเดินทางอยู่ตลอดเวลา

เรื่องใบบอก  สมัยก่อน  เมื่อขุนนางหัวเมืองจะทำเรื่องเข้ามาแจ้งให้ทางเมืองหลวงทราบ  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชนิดใด  ท่านจะให้เสมียนเขียนข้อราชการที่จะแจ้งนั้นลงกระดาษเพลา เขียนยาวเท่าไรไม่ว่า  แผ่นเดียวไม่จบ ก็เอาอีกแผ่นมาต่อเข้า เขียนจบข้อความแล้วให้เจ้าเมืองลงชื่อประทับตราหัวแหวน  จากนั้นม้วนใบบอกนำบรรจุลงกระบอกไม้ไผ่ปิดกระบอกไม้ไผ่(ตรงนี้ไม่ทราบว่าปิดด้วยอะไร)แล้วหยดครั่งประทับตราที่กระบอก  จากนั้นก็ส่งให้คนเดินสารนำเข้ามาที่เมืองหลวง  ทั้งนี้สุดแต่ว่าหัวเมืองที่ส่งใบบอกนั้นขึ้นอยู่กับกรมมหาดไทย หรือกรมพระกระลาโหม หรือกรมท่า  ก็ให้นำใบบอกนั้นไปส่งที่ขุนนางที่มีหน้าที่รับหนังสือบอกกรมนั้นๆ  เมื่อกรมเหล่านั้นรับหนังสือแล้ว  ก็จะพิจารณาดูที่กระบอกว่ามีรอยแกะออกก่อนมาถึงที่กรมหรือไม่   ถ้าไม่มีปัญหาอะไรก็จัดแจงแกะตราผ่ากระบอกนั้น   เอาใบบอกไปเรียนเสนาบดีที่กำกับดูแลกรมนั้นๆ ให้ทราบ  ถ้าเป็นราชการทั่วไป  เสนาบดีก็ให้เสมียนคัดเอาแต่ใจความใบบอกนั้นลงสมุดไทยสำหรับเสนาบดีนำติดตัวไปเข้าเฝ้าฯ เมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกขุนนาง   ถ้าเป็นใบบอกราชการสำคัญ เช่น ราชการทัพ  ข่าวกบฏ  นอกจากจะคัดใจความใบบอกลงสมุดเสนาบดีแล้ว  บางทีเสนาบดีอาจจะต้องนำใบบอกนั้นติดตัวไปในเวลาเข้าเฝ้าฯ ด้วย   เผื่อว่าจะมีรับสั่งเรียกทอดพระเนตร 

อนึ่งใบบอกหัวเมืองที่อยู่ไกลจากพระนครมากๆ อย่างทางหัวเมืองปักษ์ใต้  ต้องอาศัยเรือที่เดินทางเข้ามาค้าขายในกรุงช่วยนำใบบอกมาส่งให้   บางทีการเดินทางข่าวสารอาจจะล่าช้าไป ไม่ทันการ  และเจ้าเมืองอาจจะไม่ได้ส่งข่าวมาต่อเนื่อง  กรมท่าจึงต้องสอบถามข่าวคราวหัวเมืองปักษ์ใต้จากเรือสินค้าที่มาจากปักษ์ใต้เพื่อนำความกราบบังคมทูลได้เมื่อมีรับสั่งถาม   อย่างกรณีจดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติ นับว่าเป็นตัวอย่างที่ดี  ที่แสดงให้เห็นการติดต่อสื่อสารและการหาข่าวสมัยก่อน  ก็คิดดูว่า ราชการต่างๆ เดินทางกลางวัน  พอตกค่ำ  พระเจ้าแผ่นดินจะต้องเสด็จออกว่าราชการไปจนดึกดื่นค่อนคืน   ถ้ามีราชการทัพหรือสงครามบางทีก็ล่วงถึงเช้ามืดวันใหม่ทีเดียว  พระเจ้าแผ่นดินจึงต้องทรงราชการเวลาดึก  ผิดกับขุนนางที่ทำราชการที่ราชการกลางวัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 18 ม.ค. 10, 11:03

สุนทรภู่แต่งเรื่องพระอภัยมณีในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับอังกฤษยังอยู่ในขั้นร้อนระอุ สิงโตอังกฤษจะตะปบช้างน้อยสยามเสียเมื่อไรก็ไม่รู้

เรื่องพระอภัยมณีนี้อาจเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งได้ว่า ศึกเมืองผลึก-ลังกา โดยเมืองผลึกเป็นตัวแทนสยาม ส่วนลังกานั้นคืออังกฤษ พระอภัยมณีเป็นตัวแทนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นางละเวงวัณฬาคือควีนวิคตอเรีย

ในความเป็นจริงนั้นสยามมิอาจหาญต่อกรอังกฤษแม้แต่น้อย   เรื่องพระอภัยมณีประดุจดั่งความฝันของสุนทรภู่ที่หมายพลิกสถานการณ์ในชีวิตจริงให้กลับสู่อีกด้านหนึ่ง พระอภัยมณี (รัชกาลที่ ๔) ยกทัพเมืองผลึก (สยาม) ไปโจมตีลังกา (อังกฤษ) จนถึงถิ่น ได้รับชัยชนะ ทั้งยังได้นางละเวง (ควีนวิคตอเรีย) มาเป็นพระมเหสีเสียอีก

เป็นการ แปลงสนามรบให้เป็นสนามรัก

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 18 ม.ค. 10, 11:39

เหตุการณ์จริงไม่อิงนิยาย

พระยามนตรีสุริวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) ราชทูตสยามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เข้าเฝ้าฯถวายราชสาสน์สมเด็จพระราชินีวิคตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรอังกฤษ ณ พระราชวังวินเซอร์ ในวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๐

ภาพวาดสีน้ำมันไม่ปรากฏนามศิลปิน จากหนังสือ จิตรกรรมและประติมากรรมแบบตะวันตกในราชสำนัก ๑ หน้า ๓๗ 
 
 

 
 


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 20 คำสั่ง