ผีเสื้อสมุทรดูเหมือนจะได้รับอิทธิพลจากอินเดียและจีน
ส่วนเงือกน้อยของสุนทรภู่เห็นได้ชัดว่าได้รับอิทธิพลจากฝรั่งแน่นอน
ในวรรณคดีไทยโบราณ เงือกไม่ได้มีความหมายอย่างที่เราเข้าใจในปัจจุบัน
ลิลิตโองการแช่งน้ำ ตอนบรรยายลักษณะของพระอิศวร เงือก = งู
ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง อ้างทัดจันทรเป็นปิ่น
ทรงอินทรชฎา สามตาพระแพร่ง แกว่งเพชรกล้า ฆ่าภิฆนจัญไร ลิลิตพระลอ เงือก = ผีชนิดหนึ่งอยู่ในน้ำ ผมยาว (อันนี้ใกล้เคียงกับเงือกของสุนทรภู่เข้ามาหน่อย)
เอ็นดูสองนางตกใจกลัว รรัวหัวอกสั่น ลั่นททึกททาว
สราวตามหมอผะผ้ำ เห็นแนวน้ำบางบึง ชรทึงธารห้วยหนอง
จระเข้มองแฝงฝั่ง สรพรั่งหัวขึ้นขวักไขว่ ช้างน้ำไล่แทงเงา
เงือกเอาคนใต้น้ำ กล่ำตากระเลือก กระเกลือกกลอกตากลม ผมกระหวัดจำตาย ก่อนหน้าเงือกน้อยของสุนทรภู่จะปรากฏโฉม เงือกน้อยนางหนึ่งได้ปรากฏตัวขึ้นแล้วในนามว่าสุพรรณมัจฉาแห่งรามเกียรติ์ เธอเป็นธิดาของทศกัณฐ์ (เจ้าของฉายาเจ้าชู้ยักษ์) กับนางปลา และเป็นมารดาของมัจฉานุ ทั้งแม่และลูกคู่นี้ว่าไปแล้วต้องถือสัญชาติไทยเพราะไม่ปรากฏในรามายณะของอินเดีย
แต่จินตภาพของเงือกน้อยในความคิดของคนไทยแล้วเงือกน้อยของสุนทรภู่ดูจะเจิดจ้าอยู่มากกว่า
และสุนทรภู่ก็นับเป็นคนแรกที่บัญญัติคำว่า เงือก = merman-mermaid (ครึ่งคนครึ่งปลา) ของฝรั่ง

ฟังคุณเทาชมพูคุยต่อเรื่องเงือก
http://vcharkarn.com/reurnthai/mermaid.php