เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
กำลังเล่าเรื่องพราหมณ์กันอยู่ใน กระทู้ชาติพันธุ์วรรณา ใน พระอภัยมณี คุณหลวงมาขอให้ตั้งกระทู้ เล่าถึงฝรั่ง ก็ได้ค่ะ เปิดเวทีให้แล้ว ใครจะเริ่มรำเบิกโรง ก็เชิญตามสบาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 13 ม.ค. 10, 23:12
|
|
ความคิดแรกที่เข้ามาก็คือ อุศเรน ฝรั่งผู้คนไทยยืมชื่อมาใช้เรียกชื่อหมวกทหารเรือฝรั่งโบราณ
เครื่องแบบทหารเรือฝรั่งใครใส่แล้วก็หล่อไปหมด
พระบิดาของอุศเรนได้ขอหมั้น นางสุวรรณมาลีไว้ให้ลูกชาย ในการนี้ก็หวังได้เมืองผลึกมากองทุนเพราะท้าวสิลราชกลัวนางมณฑามากจึงมีลูกคนเดียว
เมื่อท้าวสิลราชกับธิดาหายไป นางมณฑาก็ทำสิ่งที่แปลกประหลาดมาก คือไปขอคู่หมั้นของลูกสาวมาครองเมือง
อุศเรนรำพันว่า
เสียสวาทมาดหมายเหมือนวายวาง จะตามนางกว่าจะพบประสบกัน
แสดงว่าอุศเรนเป็นสุภาพบุรุษ ไม่ได้หวังสมบัติคู่หมั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 13 ม.ค. 10, 23:46
|
|
อุศเรนได้รับพระอภัยติดเรือมาด้วยจากเกาะแห่งหนึ่ง เมื่อเจอกับสินสมุทรก็พยายามขอนางสุวรรณมาลีคืน สินสมุทรไม่ยอม เพราะรักนางสุวรรณมาลีจริง อยากได้เป็นแม่ สินสมุทรจับอุศเรนได้ พระอภัยมณีขอโทษแทน
อุศเรนตามตีสินสมุทรอีก ถูกปืนเข้าที่ขา ขาหัก
อุศเรนเสียดายนางสุวรรณมาลีมาก รู้ว่าถ้าปล่อยมือก็เสร็จพระอภัยแน่นอน
ทหารฝรั่งอยากกลับบ้านเต็มทนแล้ว อาหารการกินก็คงไม่สมบูรณ์ คงเป็นโรคเลือดออกตามไรฟันไปโดยถ้วนหน้า จึงพูดจาให้อางขนาง
อันรูปทรงองค์พระอภัยมณี ดูท่วงทีเธอทายาดชาติเจ้าชู้ อนึ่งนางอ้างเอาเขาเป็นผัว เหมือนหญิงชั่วช่างกระไรไม่อดสู ทั้งลูกเขาเข้าสนิทข้าคิดดู คงเป็นชู้กันเสียแล้วไม่แคล้วเลย พระเป็นคู่สู่ขอนางก็รับ มากลายกลับแกล้งอยู่กับชู้เฉย พระอภัยใช่เช่นเป็นกระเทย จะละเลยไว้หรือนานจนป่านนี้
เสนาฝรั่งคนนี้ใช้มาตราฐานหญิงในลังกาเข้าวัดความประพฤติราชธิดาเมืองผลึกได้ง่ายไปหน่อย อุศเรนเลยยอมกลับบ้าน
เสนาร่ายต่อว่า
แม้นนงลักษณ์รักพระองค์เหมือนทรงรัก ควรสมัครแลกชีวิตรไม่คิดหนี จะมาม้วยด้วยนางเหมือนอย่างนี้ จะเป็นที่ครหาในสามัญ ฯ
คุณเพ็ญคะ สามัญ ในที่นี้ แปลว่าอะไรคะ ไม่แน่ใจว่า สามนต์ ที่แปลว่า รอบ ๆ หรือรอบข้างหรือไม่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 14 ม.ค. 10, 07:28
|
|
เมื่ออุศเรนกลับไปบ้านเมือง รักษาตัว แล้วกลับป่วยเป็นไข้ เวลาผ่านไป ๕ ปี จึงรวบรวมทัพมหึมา เรียกว่าศึกกษัตริย์ ทหารเกณฑ์ ๕ แสน กองหลังรั้งท้าย หลายแสน โอ้โฮ...ใครรับหน้าที่ส่งเสบียงคงแบกภาระหนัก
ในการรบฝ่ายฝรั่งและแขกพ่ายแพ้ นางวาลียิงเกาทัณฑ์(ไม่ทราบไปหัดมาจากไหน)ถูกพระเจ้าลังกา สามดอก ที่สำคัญคือแขนขวา
อุศเรนนั้นเรือโดนปืนใหญ่ ล่ม อุศเรนก็ลงไปว่ายน้ำ กองเรือพระอภัยที่เป็นทัพหนุนช่วยไว้ได้ เพราะพระอภัยจำเสียงอุศเรนได้ แสดงว่าอุศเรนคงร้องเสียงดังอยู่ในทะเล ต้องร้องดังมากทีเดียว
เมื่อหนังสือ พระอภัยมณี พิมพ์แพร่หลายโดยครูสมิท ภาพมหาอำนาจทางทะเลของฝรั่งอังกฤษที่แผ่อิทธิพลก็โดนลบไปไม่น้อยด้วยฝีมืออาลักษณ์ผู้ก้าวหน้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 14 ม.ค. 10, 08:00
|
|
พยายามคิดว่าทำไมอุศเรนถึงตายได้
อุศเรนเป็นเจ้าชายรัชทายาท องอาจ มาด้วยความแค้น หมายเอาเลือดเนื้อ อยากตัดหัวพระอภัยและนางสุวรรณมาลีเปลี่ยนหัวกัน อาการไข้คงยังมีอยู่เรื่อย ๆ เมื่อลงไปแช่น้ำ อาการคงแย่ อายด้วย อัปยศเพราะโดนจับมา เสียยศเสียศักดิ์เป็นหนักหนา
คนโบราณนั้นความละอายเป็นเรื่องใหญ่
เมื่อโดนเยาะเย้ยจากนางวาลี จึงรากเลือดตาย สงสัยว่าเส้นโลหิตในสมองแตก
กลอนพระอภัยมณีนั้นเป็นกลอนง่าย สอนใจ เรื่องยาวขนาดนั้นก็สอนไว้หลายสิบหลายร้อยแห่ง คนอ่านก็ถูกอกถูกใจกันคนละหลาย ๆ บท
กลอนตอนนี้ืี่ชอบคือ "แสนระกำช้ำอกเหมือนตกเหว" ได้ข่าวว่ามีหนังสือหายากหลุดออกมา แล้วพลาดโอกาสได้อ่าน ช้ำค่ะ คุณหลวงเล็กคงเข้าใจ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
luanglek
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 14 ม.ค. 10, 09:10
|
|
กลอนตอนนี้ืี่ชอบคือ "แสนระกำช้ำอกเหมือนตกเหว" ได้ข่าวว่ามีหนังสือหายากหลุดออกมา แล้วพลาดโอกาสได้อ่านช้ำค่ะ คุณหลวงเล็กคงเข้าใจ เข้าใจครับ เข้าใจดีทีเดียว เพราะแต่ก่อนเป็นบ่อย แต่กลอนของสุนทรภู่ยังไม่ซึมทราบเท่ากลอนในบทละครอิเหนา ร. ๒ ที่ว่า " ฉุกใจได้คิดสิการแล้ว ดังดวงแก้วตกต้องแผ่นผา ร้าวระยำช้ำจิตเจ็บอุรา ประหนึ่งว่าจะวายชีวี " เด๊ยวไม่ใคร่เป็นอย่างนี้แล้วครับ เพราะถือว่า หนังสือเล่มนั้นวาสนาไม่ต้องกันกับเรา คิดอย่างนี้แล้วสบายใจขึ้นครับ เอ...ในพงศาวดารจีน เคยมีเรื่องเยาะเย้ยจนรากเลือดตายบ้างไหมนี่ นึกออกแต่สามก๊กตอนจิวยี่เสียกลขงเบ้ง จนรากเลือดตาย 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 14 ม.ค. 10, 09:14
|
|
คุณเพ็ญคะ สามัญ ในที่นี้ แปลว่าอะไรคะ ไม่แน่ใจว่า สามนต์ ที่แปลว่า รอบ ๆ หรือรอบข้างหรือไม่ คำว่า สามัญ ในความหมายปัจจุบันแปลว่า ปรกติ, ธรรมดา คำ ๆ นี้มาจากภาษาสันสกฤตว่า สามานฺย คำว่าสามานย์นี้มีความหมายอีกอย่างหนึ่งคือเลวทรามต่ำช้า บางทีสุนทรภู่อาจนึกถึงความหมายที่สองนี้ ศัตรูตัวจริงของอุศเรนไม่ใช่พระอภัยมณีแต่นางวาลี เพราะท่านเป็นสุภาพบุรุษจับได้แต่ไม่ฆ่าเพราะนึกถึงคติที่ว่า บุญคุณต้องทดแทน นางวาลีเตือนสติพระอภัยมณี เริ่มต้นด้วยสุภาษิตที่เรารู้จักกันดี ประเวณีตีงูให้หลังหัก มันก็มักทำร้ายเมื่อภายหลัง จระเข้ใหญ่ไปถึงน้ำมีกำลัง เหมือนเสือขังเข้าถึงดงก็คงร้าย อันแม่ทัพจับได้แล้วไม่ฆ่า ไปข้างหน้าศึกจะใหญ่ขึ้นใจหาย ต้องตำรับจับให้มั่นคั้นให้ตาย จะทำภายหลังยากลำบากครัน จะพลิกพลิ้วชิวหาเป็นอาวุธ ประหารบุตรเจ้าลังกาให้อาสัญ ต้องตัดศึกลึกล้ำที่สำคัญ นางหมายมั่นมุ่งเห็นจะเป็นการขอเชิญคุณวันดีไปแนะนำตัวคุณวาลีต่อที่กระทู้พระอภัยหมายเลข ๑
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 14 ม.ค. 10, 13:46
|
|
เห็นใจอุศเรน ไม่ได้ทำผิดตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นผู้ชายดี ซื่อสัตย์ต่อคู่หมั้น เป็นชายชาติทหารด้วย ถูกจับเป็นฝ่ายศัตรู และพ่ายแพ้ไปง่ายๆ ทั้งๆพระอภัยมณี นั่นแหละ ฝ่ายผู้ร้ายตัวจริง แย่งทั้งคู่หมั้น แย่งทั้งเมือง สงสัยขึ้นมาว่าอุศเรนแต่งตัวแบบไหน เลยไปค้นยูนิฟอร์มนายพลสมัยศตวรรษที่ ๑๘ มาได้สองรูป ขอส่งให้ดูกันว่าใช่หรือไม่ ขอผู้รู้ช่วยอธิบายด้วยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 14 ม.ค. 10, 14:34
|
|
บันทึกหัวใจ...เจ้าชายอุศเรน http://arshura09.exteen.com/20060430/entry....โดยไม่คาดคิดว่าความวิปโยคครั้งที่ ๒ ...จะเกิดขึ้นกับผมในเวลาต่อมา เมื่อ สุวรรณมาลี ปฏิเสธการแต่งงานกับผมอย่างไม่มีเยื่อใยด้วยเหตุผลที่ผมแทบหัวใจสลายว่าเธอไปรักผู้ชายอื่นแล้ว และชายคนนั้นก็ไม่ใช่ใครอื่น ก็คือคนที่เธอคนนั้นจงรักที่สุด พระอภัยมณี ชายคนนั้น...หักหลังเพื่อนอย่างผมได้ลง ผมทั้งเจ็บทั้งแค้นจนต้องยกทัพมาเพื่อแย่งชิงของผมคืน เหนือสิ่งอื่นใดผมอยากถามเขาว่าทำไมถึงทำกับผม...แบบนั้นได้ แต่แล้วแทนที่ผมจะได้คำตอบผมกลับสูญเสียกองทัพทั้งหมดไปพร้อมกับบิดาที่เคารพรักยิ่งและอิสรภาพของตัวเอง ระหว่างถูกคุมขังผมเฝ้าคิดถึงวันคืนเก่า ๆ อยู่เสมอ วันคืนที่เคยมีความสุขจนถึงวันนี้ที่ความคั่งแค้นสุมหัวใจผมจนทำลายร่างกายผมทรุดโทรมลงเรื่อย ๆ ผมรู้ชีวิตผมใกล้ถึงจุดจบแล้ว ก่อนที่สติผมจะขาดลง ในใจผมแค้นผู้หญิงคนหนึ่งที่ทิ้งผมไปอย่างที่สุด.... อ่านแล้วสงสารเจ้าชายอุศเรนจับจิตจับใจ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 14 ม.ค. 10, 14:49
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 14 ม.ค. 10, 16:53
|
|
ขอคั่นความเศร้าด้วยเรื่อง ฝรั่งอังกฤษคุกคามเอเชีย ครับ
คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ได้เสนอความคิดว่า พระอภัยมณีเป็นนิทานคำกลอนต่อต้านการล่าอาณานิคมของอังกฤษ ในรัชสมัยควีนวิคตอเรีย (ที่คุณสุจิตต์ว่าคือ นางละเวง) ด้วยการเสนอแนวคิด make love, not war ความโดยตัดต่อมีว่า เชื่อกันว่าสุนทรภู่แต่งพระอภัยมณีตอนบวชเป็นพระอยู่วัดเทพธิดาราม ราว พ.ศ.2376 (ในแผ่นดินรัชกาลที่ 3) ขณะนั้นสุนทรภู่มีอายุราว 47 ปี (บวชเมื่ออายุ 38 ปี)
ส่วนอังกฤษนั้นยึดครองอินเดียตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาแล้วยึดครองลังกาเป็นอาณานิคม ตั้งแต่ พ.ศ.2338 ในแผ่นดินรัชกาลที่ 1 ขณะที่สุนทรภู่อายุ 9 ขวบ (เกิด พ.ศ.2329) อังกฤษยังได้ขยายอิทธิพลเข้ามาในแหลมมลายูสมัยรัชกาลที่ 1 เริ่มด้วยการเช่าเกาะหมาก (ปีนัง) แล้วพยายามขยายไปที่อื่นๆ อีกล้วนเป็นอันตรายต่อกรุงสยามทั้งนั้น อังกฤษสั่งกองทัพยึดเมืองหงสาวดี เมื่อ พ.ศ.2368 พฤติกรรมล่าเมืองขึ้นของอังกฤษด้วยการสงครามเป็นที่รับรู้ในหมู่คนชั้นนำของกรุงสยามตั้งแต่แรก สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ จนถึงแผ่นดินรัชกาลที่ 3 สุนทรภู่ซึ่งเป็นปราชญ์ราชสำนักในรัชกาลที่ 2 มาก่อนก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจ เลยจินตนาการสร้าง เป็นนิทานกลอนขึ้นมาชื่อพระอภัยมณี ใช้ปี่เป็นสัญลักษณ์ของวิชาความรู้ให้แก้ปัญหาด้วยปัญญา ด้วยสันติภาพ ในลักษณะเดียวกับคำขวัญของคนรุ่นต่อต้านสงครามเวียดนามว่า make love, not war
ผู้ร้ายในพระอภัยมณีคือโจรสุหรั่ง สุนทรภู่ระบุให้เป็นอังกฤษ เมืองลังกาในเรื่องพระอภัยมณีคือเกาะลังกาซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ทำให้สุนทรภู่วางตัวละครในลังกาเป็น "ฝรั่ง" ชาวยุโรป มีกษัตริย์เป็นผู้หญิงเหมือนพระราชินีวิคตอเรียของอังกฤษ
พอมีเวลา ได้ค้นวิกิ ดูการขยายอำนาจล่าอาณานิคมของอังกฤษในยุคนั้นมาแสดง ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 14 ม.ค. 10, 16:55
|
|
เริ่มจากควีนวิคตอเรีย (1819 – 1901 ตรงกับ พ.ศ. 2362 - 2444) ขึ้นครองราชย์ในปี 1837 -พ.ศ. 2380 ทรงเป็นมหาราชินีแห่งยุคที่อังกฤษ British Empire ได้แผ่ขยายอิทธิพลไปกว้างไกลสุดไพศาล กลายเป็นจักรวรรดิที่ตะวันไม่ตกดิน รัชสมัยของพระนางตรงกับช่วงเวลาที่นักประวัติศาสตร์บางคนเรียกว่า Britain's imperial century (1815–1914 คือ พ.ศ. 2358 -2457) ช่วงศตวรรษนี้ จักรวรรดิอังกฤษได้ครอบครองพื้นที่เพิ่มเติมอีก 10,000,000 ตร.ไมล์ (25,899,881 ตร.กม.) และประชากรในดินแดนนั้นซึ่งมีจำนวนประมาณ 400 ล้านคน
ก่อนหน้านั้น เมื่อปลายศตวรรษที่ 16 อังกฤษร่วมกับเนเธอร์แลนด์ก่อการท้าทายการผูกขาดการค้าของโปร์ตุเกสในเอเชีย โดยการก่อตั้งบริษัท English, ต่อมาเป็น British, และ Dutch East India Companies ในปี 1600 - พ.ศ.2143 และ 1602 - พ.ศ. 2145 ตามลำดับ
( Indies - ดินแดนแถบ South and Southeast Asia คำ "Indies" มาจากชื่อแม่น้ำ Indus ซึ่งปัจจุบันอยู่ใน Pakistan.)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 14 ม.ค. 10, 16:57
|
|
บริษัทจัดดำเนินการค้าเครื่องเทศแถบ Indonesia โดยมี hub ของเครือข่ายการค้าอยู่ที่ India ต่อมาเกิดการขัดผลประโยชน์ระหว่างงสองชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนเธอร์แลนด์คุมการค้าเครื่องเทศที่ Indonesia เป็นหลัก ส่วนอังกฤษเพลิดเพลินกับการกอบโกย ในอินเดียหลังการสร้างโรงงานขึ้นที่ Surat ในปี 1613 - พ.ศ. 2156 อินเดีย ที่ซึ่งราชวงศ์ Mughal ได้ทรงมอบสิทธิการค้าให้อังกฤษในปี 1617 - พ.ศ. 2160 จึงเป็นฐานที่มั่นในการแผ่ขยายอิทธิพลของอังกฤษ ความขัดแย้งของสองชาติยุติลงเมื่ออังกฤษตกลงแบ่งผลประโยชน์กับเนเธอร์แลนด์ ฝ่ายหลังได้แหล่งเครื่องเทศ ที่ Indonesia ไป ส่วนอังกฤษครอบครองอุตสาหกรรมสิ่งทอในอินเดียที่ทำกำไรให้อย่างมากมายเหนือการค้าเครื่องเทศ
เมื่อราชวงศ์เสื่อมอำนาจลง อังกฤษได้ทำสงครามกับคู่แข่ง-ฝรั่งเศส โดยฝ่ายอังกฤษมีชัยเหนือฝรั่งเศสและ พันธมิตรอินเดียในปี 1757 - พ.ศ. 2300 ส่งผลให้อังกฤษได้ครอง Bengal และมีอำนาจทั้งทางการทหารและการเมือง ในอินเดีย ช่วงเวลาทศวรรษต่อมา อังกฤษค่อยๆ ขยายอาณาเขตปกครองโดยการสนับสนุนกำลังจากกองทหาร British Indian Army ที่มีไพร่พลส่วนใหญ่เป็นชาวพื้นเมือง Indian sepoys
ถึงปี 1856 - พ.ศ. 2399 ชมพูทวีปเกือบทั้งหมดก็อยู่ภายใต้การควบคุมของ British East India Company บริษัทพิชิตอินเดียสำเร็จสมบูรณ์ในปี 1857 - พ.ศ. 2400 แต่ต่อมาในปีเดียวกันเกิด Indian Rebellion ที่นำไปสู่การสิ้นสุด East India Company และ India ถูกปกครองโดย British Raj (ปกครองอินเดียต่ออีกร่วมร้อยปี ระหว่าง ค.ศ. 1858 - 1947 - พ.ศ. 2401 - 2490)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 14 ม.ค. 10, 17:01
|
|
นอกจากนี้ East India Company ซึ่งเป็นตัวการแผ่ขยายอาณานิคมของอังกฤษในเอเชีย โดยการร่วมมือระหว่างกองทัพของบริษัทกับกองเรืออันเกรียงไกร ยังได้เผด็จศึกและขับ Napoleon ออกจาก Egypt (1799 พ.ศ. 2342) ยึดชวามาจาก Netherlands (1811 - พ.ศ. 2354) ครอบครอง Singapore (1819 - พ.ศ. 2362) และ Malacca (1824 - พ.ศ.2367) แล้ว พิชิต Burma (1826 - พ.ศ. 2369) จากฐานที่มั่นอินเดีย บริษัททำการค้าฝิ่นในจีนแผ่นดินใหญ่ตั้งแต่ทศวรรษ 1730 - พ.ศ. 2273 ซึ่งนำไปสู่สงครามฝิ่นในปี 1839 - พ.ศ. 2382 และจบลงที่อังกฤษได้เกาะฮ่องกง
ส่วนลังกานั้นเป็นเมืองท่าการค้าสำคัญมาแต่โบราณ เรือสินค้าล่องมาสู่ทั้งจากตะวันออกกลาง เปอร์เซีย และจากแถบอุษาคเนย์ มีพ่อค้าจากอาหรับและมาเลย์เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ส่วนชาติตะวันตกนั้นมีโปร์ตุเกสเข้ามาก่อน ในปี 1505 - พ.ศ. 2048 แล้วตามมาด้วยเนเธอร์แลนด์ในศตวรราที่ 17 British East India Company เข้ายึดครองลังกาในปี 1796 - พ.ศ. 2339 และประกาศเป็น Crown Colony (อาณานิคมซึ่งปกครองโดย governor แต่งตั้งโดย Crown) ในปี 1802 - พ.ศ. 2345
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 14 ม.ค. 10, 22:18
|
|
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ สยาม ตระหนักถึงภัยจากมหาอำนาจล่าอาณานิคมมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๓ เห็นได้จากพระปัจฉิมดำรัส ก่อนเสด็จสวรรคต
"การศึกสงคราม ข้างญวณกับพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดีอย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่คิด ควรจะเรียนเอาไว้ ก็ให้เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว "
ฝรั่งร้ายสุดในเรื่อง เห็นจะเป็นสังฆราชบาทหลวง ส่วนนางละเวง น่าจะเป็นนางเอกตัวจริงของพระอภัยมณี บทเธอมากกว่าเพื่อน และมีรสชาติที่สุดด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|