เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 11175 ชาวนาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงอยุธยาเค้ามีความเป็นอยู่อย่างไรกันนะ
อ่ำแมน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 01 ก.พ. 01, 01:04

แล้ตกลงภาคอีสานปลูกข้าวมาก่อนภาคกลางจริงเหรอ แล้วควายล่ะ มาจากภาคอีสานเช่นกันหรือไม่
บันทึกการเข้า
แจ้ง ใบตอง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 01 ก.พ. 01, 19:54

อารยธรรมโบราณในประเทศไทย ผมคิดว่าบ้านเชียงน่าจะเป็นที่แรกที่พบหลักฐานว่า
คนสมัยนั้นดำรงชีพด้วยการกินข้าว ข้าวที่คนบ้านเชียงกินคงจะเป็นข้าวเหนียวครับ หลายร้อยปีก่อน
คนไทยทั้งประเทศก็กินข้าวเหนียว พอเรารับวัฒนธรรมการกินมาจากอินเดีย ก็เริ่มเปลี่ยนมา
เป็นกินข้าวเจ้า โดยเริ่มจากชนชั้นสูงคือกษัตริย์ก่อน จึงเรียกว่าข้าวเจ้า ต่อมาข้าราชบริพาร
ก็เริ่มกินข้าวเจ้าบ้าง จนมาถึงชนชั้นล่างในที่สุด  (ตรงนี้ไม่ยืนยันความถูกต้องครับ เคยอ่าน
ผ่านมานานมากแล้ว จำชื่อหนังสือไม่ได้ด้วย)

ภาคกลางปลูกข้าวเจ้าไว้กิน  แต่ปลูกข้าวเหนียวไว้ทำขนม
ภาคอีสานปลูกข้าวเหนียวไว้กิน แต่ปลูกข้าวเจ้าไว้ทำขนม (ขนมจีน/ข้าวปุ้น)

ข้าวเจ้าสามารถมาทำเป็นขนมได้หลายชนิดเหมือนกันเช่น ขนมปลากริม (ไม่รู้เขียนอย่างนี้หรือเปล่า)
น่าจะใช้แป้งข้าวเจ้าทำ แต่ที่แน่ๆ คือข้าวพญาคู ข้าวพญาคูนั้น ผมเคยทำกินเล่นระหว่างพี่ๆน้องๆ
ครั้งไหนไปเที่ยวบ้านคุณตา (ตอนที่ข้าวเริ่มตั้งท้องเป็นน้ำนม) ผมจะออกไปเกี่ยวข้าว  แล้วก็
ขอยืมครกตำข้าวของคุณลุง มาตำข้าวโดยใส่ลงไปทั้งรวง ตำไปเรื่อยๆจนเมล็ดข้าวเริ่มแตก
น้ำนมข้าวสีขาวก็จะออกมา ผสมกับสีเขียวของใบข้าวเปลือกข้าว พอถึงตอนนี้ต้องตำเบาๆ
มิฉะนั้นน้ำนมข้าวจะกระฉอกหกหมด ตำหลายรอบกว่าจะได้น้ำนมข้าวสีเขียวหนึ่งกาละมังย่อมๆ
เสร็จแล้วก็นำน้ำนมข้าวมากรองเศษใบข้าวเปลือกข้าวออก  แล้วก็ใส่หม้อตั้งไฟ สักพักก็เติม
น้ำตาลให้หวานมากน้อยตามใจชอบ ต้มข้าวไว้ซักครู่พอเริ่มข้น (อย่าให้ข้นมาก) ก็ยกลงเป็นอันเสร็จ
เราจะได้ข้าวพญาคูที่หอมหวาน นำมาแบ่งกันกินระหว่างพี่ๆ น้อง

ขอโทษเจ้าของกระทู้ครับที่ออกนอกเรื่องไปนิดนึง อยากเล่าอะไรๆให้ฟังเป็นการแก้เหงาไปในตัว
ที่บ้านคุณตาผมทำนาครับ ตอนนี้ก็ยังทำอยู่ที่หนองจอก ผมจึงค่อนข้างคุ้นเคยกับชีวิตชาวนาพอสมควร
ถ้าอยากได้รายละเอียดเกี่ยวกับการทำนามากๆ    ผมแนะนำให้อ่านหนังสือเรื่อง"หนุ่มชาวนา"
ของนิมิตร ภูมิถาวร ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 01 ก.พ. 01, 20:28

ข้าวพญาคูของคุณแจ้ง เคยได้ยินเขาเรียกว่าข้าวยาคูค่ะ ทำอย่างที่ว่า  บางคนก็ใส่ใบเตยลงไปให้สีออกเขียวและหอมใบเตยด้วย
เขาว่ามันเหมือนพุดดิ้ง  ใครเคยกินทั้งสองอย่าง ตอบได้ไหมคะ
อยากฟังเรื่องชีวิตชนบทจากคุณแจ้งอีกค่ะ ยังไงถ้ามีเวลา ก็ช่วยไปตั้งกระทู้ใหม่ด้วยได้ไหมคะ

เรื่องโจร ได้ยินมาคล้ายๆกับคุณแจ้งค่ะ   เป็นสังคมสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒
พวกนี้เขาอยู่กันเป็นหมู่บ้าน  พี่น้องเครือญาติกันหัวบ้านท้ายบ้าน  พอรวมกำลังกันได้บางทีก็เลิกทำไร่ทำนา  ปล้นเขากินสะดวกกว่า
มหาดไทยยุคสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เคยปราบโจรพวกนี้มามาก   บางคนพออายุมากเข้าก็เกษีนณตัวเอง  กลายมาเป็นฝ่ายมหาดไทย ช่วยปราบโจรรุ่นหลังก็มี
บันทึกการเข้า
แจ้ง ใบตอง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 01 ก.พ. 01, 23:18

ความจริงก็ไม่ค่อยชนบทมากเท่าไหร่ครับ   อยู่ชานๆ กรุงเทพนี่เอง ถิ่นฐานทางแม่อยู่หนองจอก
ทางพ่ออยู่ตลิ่งชัน ทั้งสองที่ก็ยังเป็นชนบทของกรุงเทพอยู่ ฝั่งธนทำสวน ฝั่งพระนครทำนา แต่ผม
ใช้ชีวิตอยู่ที่สวนฝั่งธนมากกว่า เพิ่งย้ายมาเรียนหนังสือที่ขอนแก่นไม่กี่ปีนี้เอง ถ้ามีโอกาสเหมาะๆ
จะหาเรื่องชนบทๆ มาเล่าให้ฟังครับ

เรื่องโจรที่อยู่กันเป็นหมู่บ้าน หรือเป็นซ่องโจร ที่ขึ้นชื่อก็มี ซ่องดำหัวแพร (น่าจะอยู่ที่พัทลุง คุณ นกข.
คงทราบดี  พวกนี้ไม่ทำนาครับ ปล้นอย่างเดียว) ดำหัวแพรจะโหดร้ายมาก ถ้าปล้นบ้านไหนแล้วเจ้าของบ้าน
ไม่เอาเงินติดบ้านไว้ให้เลย(เช่นเอาไปฝากธนาคารหมด) จะโดนฆ่าทั้งบ้าน  ชาวบ้านก็กลัวต้องเก็บเงินไว้ที่บ้านบ้าง
เผื่อดำหัวแพรมาปล้นจะได้มีให้ (สมัยนั้น ชาวบ้านพึ่งตำรวจไม่ได้เลย เนื่องจากเหตุผลทางการเมือง)
โจรกลุ่มของดำหัวแพรจะมีสัญลักษณ์คือการเดินถือพร้าบังหู ถ้าใครเดินถือพร้าบังหูก็เป็นอันรู้กันว่าเป็นพวก
เดียวกัน แต่ก็มีพวกที่อยากเลียนแบบ ชอบเดินถือพร้าบังหู  ถูกลูกน้องของดำหัวแพรตบเดี้ยงไปหลายราย...

ออกนอกประเด็นของกระทู้อีกแล้ว ขออภัยอีกครั้งครับ พอดีติดพัน
บันทึกการเข้า
สำรวย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 02 ก.พ. 01, 01:23

จริงๆแล้วหลักฐานที่ถ้ำผีแมน จ.แม่ฮ่องสอน มีหลักฐานเกี่ยวกับการเพาะปลุกที่สันนิษฐานได้ว่ามนุษย์อาจเริ่มมีการเพาะปลูกเกิดขึ้นแล้ว เพียงแต่เราไม่พบเมล้ดข้้าว พบแต่เมล็ดพันธ์พืชอื่นๆ ถ้ามีการเพาะปลูกข้าวขึ้นจริง แล้วพบหลักฐาน ที่นี้ก็จะมีอายุที่เก่าที่สุด เพียงแต่ในขณะนี้ก็ยังไม่มีใครยืนยันได้ คงต้องให้ข้าวที่บ้านเชียงมีค่าอายุที่เก่าที่สุดไปก่อนนะครับ
บันทึกการเข้า
ชาวนาไทย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 02 ก.พ. 01, 01:26

ดีมากเลยครับคุณแจ้ง ใบตอง ไม่ถือว่าออกนอกเรื่องเลยครับ อยากให้คุรแจ้ง และคนอื่นๆช่วยเล่าเรื่องชาวนา บ้านเราอีกเยอะๆจังเลยครับ
บันทึกการเข้า
แจ้ง ใบตอง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 02 ก.พ. 01, 13:23

เรื่องอาหารการกินของชาวนา ก็เป็นเรื่องที่น่าพูดถึงครับ    ชาวนากินอยู่ง่ายๆ สมัยก่อนชาวนา
ไม่ต้องซื้อกับข้าวกิน    ทุกอย่างหาเอาตามท้องทุ่ง   อยากจะกินอะไรก็หาเอา  อาหารหลักจะเป็น
พวกปลา เกือบทุกบ้านจะมีเครื่องมือหาปลาอยู่แล้วเช่นพวก ลอบ ลัน ไซ แห เบ็ด  พวกนี้เป็น
เครื่องมือที่สามารถหยิบฉวยไปกับตัวได้  แต่ถ้าเป็นยอจะต้องทำให้มั่นคง ไม่สามารถเคลื่อนย้าย
ได้(ยอบางชนิดมีขนาดเล็ก สามารถเคลื่อยย้ายได้เช่นกัน)  ยกยอให้สนุกต้องหน้าหนาว หลังจาก
นวดข้าวเสร็จแล้ว ยกกันตลอดคืนเพราะว่าช่วงนี้ปลาเยอะครับ ดึกๆถ้าหนาวนักก็เอาฟางมาสุมไฟ
แก้หนาว ปลาที่ยกได้ก็จะเอาใส่กระชังไว้ข้างยอก่อน ถ้าได้ปลามากๆ ก็เอาไปทำปลาร้าบ้าง ทำน้ำปลา
บ้าง(ชาวนาไม่ซื้อน้ำปลากิน ทำน้ำปลากินเอง) ตากแห้งบ้าง จนบางทีกินปลากันจนเบื่อ ต้องเปลี่ยน
ไปกินอย่างอื่น...

ของหวานก็มีกินไม่ได้ขาดครับ โดยเฉพาะช่วงเทศกาล เดือนสามนี่จะมีการกวนกาละแม ที่ขึ้นชื่อก็คือ
การกวนกระยาสารทเดือนสิบ กวนกระยาสารทนี่ต้องใช้ฝีมือครับ เพราะต้องประกวดประขันกันด้วย
ส่วนผสมต่างๆ ต้องพอเหมาะ น้ำอ้อยกี่ส่วน แบะแซกี่ส่วน ถั่วลิสง งาข้าวตอก ใช้อย่างละเท่าไหร่
(ผมจำรายละเอียดได้ไม่หมด) ต้องคำนวณให้ดี บ้านไหนครอบครัวใหญ่ก็กวนกันหลายกระทะอย่าง
บ้านคุณตาของผมก็ประมาณ ๓ กระทะเพราะลูกหลายคน  พอกวนเสร็จก็เอาไปทำบุญ แจกลูกๆ หลานๆ
แล้วก็เอาไปแจกเพื่อนบ้าน ความจริงทุกบ้านก็กวนกินเองอยู่แล้ว แต่ที่ต้องเอาไปแจก เพราะเป็นธรรมเนียม
ว่าของใครกวนดีไม่ดี เป็นการอวดฝีมือไปในตัว บ้านที่กวนแล้วแฉะ หรือเหนียวก็จะถูกล้อ ไม่เป็นไรปีหน้าแก้ตัวใหม่...

ช่วงออกพรรษาที่ก็จะมีการทำข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มลูกโยนก็เหมือนกับข้าวต้มผัดนั่นแหละแต่ไม่ได้ใส่กล้วย
ทานกับน้ำเชื่อม วิธีการห่อก็แปลก ใช้ใบมะพร้าวที่ยังไม่แก่(ใบยังเป็นสีขาวเอามาจากทางมะพร้าวที่เพิ่งแทง
ออกจากคอ ) เวลาห่อก็ทำเป็นห่อกลมๆ ย่อมกว่าลูกปิงปองหน่อย ห่อเสร็จแล้วก็ให้เหลือใบมะพร้าวเอาไว้
ซักคืบหนึ่งเป็นหาง เอาไว้ถือไปไหนมาไหนได้ (ประเพณีการทำข้าวต้มลูกโยนจะอยู่แถวฝั่งธนครับ)

บางครั้งผมอยากกินข้าวหลาม ก็อ้อนลุงไปตัดไม้ไผ่ ทำกันทีเป็นสิบกระบอก อร่อยตามประสาเด็กๆ
ข้าวต้มผัดก็ได้กินบ่อยจนเบื่อ (บ้านผมเรียกข้าวต้มมัด)  ขนมปลากริม บัวลอย ไข่หวาน เป็นพื้น

ชาวนาแถวบ้านผมจะทำอาหารมื้อใหญ่ คือมื้อเย็น ตอนกลางวันออกไปนาก็หากับข้าวกลับมาด้วยเพื่อทำ
กับข้าวตอนเย็น แล้วก็อุ่นกินมื้อเช้ากับมื้อเที่ยงด้วย  ตอนเย็นทำกับข้าวหรือมีของหวานอร่อยๆ ก็จะตัก
ไปฝากเพื่อนบ้านด้วย เป็นธรรมเนียมถ้าเอากับข้าวไปให้แล้ว เพื่อนบ้านจะไม่ล้างถ้วยชามคืนทันที วันต่อไป
หากมีอะไรอร่อยๆบ้างก็จะตักใส่ถ้วยคืนไปให้ ตอนผมเด็กๆมีอยู่ครั้งหนึ่ง ข้างบ้านตักแกงมาให้ ผมล้าง
ถ้วยคืนทันที โดนแม่ดุแทบแย่ว่าไม่รู้จักมารยาท

เสียดายธรรมเนียมเหล่านี้ได้เลือนหายไปจากสังคมไทยไปเกือบหมดแล้ว เพราะขาดคนสืบทอด รุ่นลูกก็
แยกย้ายกันไปตั้งครอบครัวใหม่ รุ่นหลานก็เริ่มใช้ชีวิตเมืองกรุง กลายเป็นคนเมืองไปหมด เหลือแต่เพียง
ความทรงจำที่ดีๆ เท่านั้น
บันทึกการเข้า
B
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 02 ก.พ. 01, 20:05

Khun Jang ka, what  you wrote make me think of "Pooyai Lee" ka. I am waiting to read more ka.
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 19 คำสั่ง