เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 11176 ชาวนาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงอยุธยาเค้ามีความเป็นอยู่อย่างไรกันนะ
ชาวนาไทย
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 02 ก.พ. 01, 08:05

อยากรู้ว่าวิถีชีวิตของชาวนาในสมัยก่อนเค้าจะมีความเป็นอยู่อย่างไร ท่านทั้งหลายมีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้างครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 26 ม.ค. 01, 08:02

ในแง่ความอุดมสมบูรณ์นั้นคงจะดีมาก มีเอกสารจีน(จิตรว่าไว้นะครับ ไม่ได้ผมว่า) ว่า ดินแดนแถบนี้ ทำนาปีหนึ่งพอกินถึง 3 ปี
แต่ไอ้ทำแล้วจะได้กินเท่าไร คงขึ้นกับระบอบการปกครองแรงงาน ถ้าเป็นระบบศักดินาก็คงพอลืมตาอ้าปาก แต่ถ้าเป็นระบบทาสแบบขอมก็ลองจินตนาการดูแล้วกันครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 26 ม.ค. 01, 09:31

ถ้ายึดศิลาจารึกเป็นหลัก ว่า " ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" ชาวนาสุโขทัยคงไม่อดอยาก  มีข้าวมีปลากินอุดมสมบูรณ์ดี
นอกจากนี้ ยังเป็นการค้าเสรี  ใครใคร่ค้าช้าง ค้าวัว ค้าควาย ก็ทำได้เสรี  วัว ควายนี่เกี่ยวกับไถนา  ชาวนาเลี้ยงวัวควายมีลูกออกมา ก็จูงวัวควายไปซื้อขายตามเมืองต่างๆกันได้สะดวก  เจ้าเมืองบ่เอา จกอบลู่ทาง คือไม่คิดค่าภาษีผ่านด่าน

พอมาถึงอยุธยา เรามีระบบ ไพร่ กับเจ้า   เพราะสังคมอยุธยาเป็นสังคมแรงงาน  ไม่ใช่แรงเงินอย่างในยุคโลกาภิวัตน์  
ชาวนาก็ต้องสละเวลาปีละ ๖ เดือนบ้าง น้อยกว่านั้นบ้าง มาเป็นไพร่หลวงหรือไพร่หลวง  มาทำงานให้เจ้านายขุนนาง แล้วแต่ใครสังกัดที่ไหน
แรงงานชาวนาก็ไปในด้านการขุดคลอง สร้างป้อมค่าย  ก่อสร้างสถานที่เช่นวังและวัดวาอาราม  
ครบกำหนดแล้วกลับไปทำนาเหมือนเดิม  แต่ชาวนาไทยก็ไม่ได้ทำนาทั้งปี   หมดหน้านา ผู้หญิงก็ทอผ้า ผู้ชายก็ตีเหล็ก  หรือจะหย่อนใจ พนันปลากัด ตีไก่ ชกมวย ไปบ้างก็ได้
เมื่อเกิดศึกสงคราม   ทางเมืองหลวงก็ระดมคนเข้าเป็นทหารหมด ไม่แบ่งเป็นทหารและพลเรือนอย่างทุกวันนี้   มีหน้าที่ป้องกันเมืองหรือยกไปทำศึกกับที่อื่น
หมดศึกแล้วกลับไปทำนา

ความเป็นอยู่ของชาวนาสมัยอยุธยา  ถ้าพูดว่าไม่มีเงินก็ใช่ค่ะ  แต่จะว่าอดอยากไหม-ไม่นะคะ  เว้นแต่ปีไหนข้าวยากหมากแพงเพราะฝนแล้ง   เกิดโรคระบาด
อยู่ได้เพราะที่ดินอุดมสมบูรณ์มาก โดยเฉพาะภาคกลาง   ทำนาก็พอกิน  อาหารการกินหาได้จากแผ่นดินและน้ำ ทุกอย่าง

คนจีนและคนที่อพยพจากถิ่นอื่นมาอยู่ จึงตั้งตัวทำมาหากินได้ดีบนผืนแผ่นดินไทย
ไม่เคยอ่านพบในประวัติศาสตร์ว่าชาวนาไทยทิ้งถิ่นอพยพไปอยู่ประเทศอื่นแบบไปตายเอาดาบหน้าค่ะ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 26 ม.ค. 01, 18:29

สมัยก่อนประวัติศาสตร์นี่หาหลักฐานยากหน่อยครับ ก็ยังไม่มีประวัติศาสตร์จารึกเป็นตัวอักษรน่ะ คงต้องใช้หลักฐานทางโบราณคดีแทน
มีใครบอกผมว่าอารยธรรมบ้านเชียง หรืออย่างไร เป็นที่แรกๆ ในโลกที่มนุษย์รู้จักปลูกข้าว (เจ้า) อยู่ในเมืองไทยนี่เองครับ ต้นตระกูลชาวนา แต่ข้อนี้ก็ยังถกเถียงกันอยู่ เห็นบางสำนักว่าเป็นอารยธรรมโบราณในดินแดนที่เป็นเมืองจีนเดี๋ยวนี้
บันทึกการเข้า
Oatmeal
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 26 ม.ค. 01, 23:58

ในสมัยอยุธยา  แนะนำให้ลองอ่านใน
จดหมายเหตุลาลูแบร์ดูครับ
ค่อนข้างกล่าวไว้อย่างละเอียด
อีกเล่มคือ ประวัตฺสาสตร์แห่งพระราชอาณาจักรสยาม  โดย ตุรแปง
เอาไว้แล้วผมจะพิมพ์ มา Post ลงในนี้ให้อีกทีนะครับ
บันทึกการเข้า
Oatmeal
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 27 ม.ค. 01, 00:00

ขอโทษครับ กำลังง่วงเลยพิมพ์คำว่า ประวัติศาสตร์ผิด อิอิ
บันทึกการเข้า
ชาวนาไทย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 27 ม.ค. 01, 02:04

แล้วคิดว่าชาวนาเค้าจะทำนากันอย่างไรอะครับ มีควายไถนาหรือป่าว เกี่ยวข้าวอย่างไงอะครับ  แล้วเค้าทำอย่างไรกะข้าวบ้างอะครับ
บันทึกการเข้า
Oatmeal
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 27 ม.ค. 01, 11:40

ขออนุญาตยกข้อความในบทที่เกี่ยวกับชาวนาไทย  จากจดหมายเหตุลาลูแบร์  มาตามที่สัญญาไว้ครับ
เป็นฉบับแปลโดยกรมพระยานริศรา ปี ๒๔๕๔

“ชาวสยามปลูกข้าวในที่นาดอน  ในพระราชอาณาจักร ซึ่งน้ำฝนไม่ไหลท่วม  นาอย่างนี้มั่นคงมากกว่านาลุ่มดังกล่าวแล้ว  และได้เมล็ดข้าวดีกว่าด้วย  เก็บไว้ได้นานกว่า  เมื่อข้าวกล้างอกงามอยู่ในเทือกตกกล้าที่หว่านเพาะไว้นานพอแล้ว  ก็ถอนมาดำใหม่ในที่นาอื่นซึ่งได้ไถคราดทำเทือกเตรียมไว้  เสร็จแล้วระบายน้ำเข้าไปท่วมอย่างเราทำนาเกลือ  กระทั่งน้ำเพียงพอนวดดินให้น่วม  เพราะต้องการเช่นนี้จึงต้องหาที่ดอนหน่อยและนาอย่างนี้ต้องขังน้ำฝนไว้ในนาเอง  จึงยกคันนารอบๆเป็นกะทงๆ  และระบายน้ำเข้าไปเลี้ยงพื้นดินได้ระดับ   เมื่อมีน้ำท่วมแม้เพียงเฉาะแฉะแล้วก็เอาต้นข้าวกล้าที่ถอนมาดำรากมิดลงไปในดินทีละกอๆ  ด้วยใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงไป”

ผมว่าวิธีการของชาวนาไทยในสมัยอยุธยากับปัจจุบันนั้นไม่แตกต่างกันสักเท่าไร

และใช้วัวควายเหมือนเดี๋ยวนี้ละครับ
เอาไว้จะคัดบทที่เกี่ยวกับวัวควายสมัยนั้นมาฝากอีกทีครับ
บันทึกการเข้า
คุณพระนาย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 28 ม.ค. 01, 00:58

แล้วการที่ชาวนาหลาย ๆ บ้านมาช่วยกันเกี่ยวข้าว แบบที่เรียกว่า การลงแขก (ไม่น่ากลายเป็นความหมายอื่นไปเลย) นี่มีหลักฐานมาตั้งแต่สมัยไหนครับ พอจะทราบมั้ยครับ
บันทึกการเข้า
ชาวนาไทย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 28 ม.ค. 01, 03:12

แล้วพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำนาหละครับ เค้าทำอะไรกันบ้าง ทั้งในสมัยก่อนและปัจจุบัน ผมก็อยากทราบครับว่าการลงแขกมีแต่สมัยไหน
บันทึกการเข้า
Oatmeal
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 28 ม.ค. 01, 14:00

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนี่มีมาแต่ สมัยอยุธยาแล้วครับ
ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ก็กล่าวถึงอยู่หลายตอน
บันทึกการเข้า
คุณพระนาย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 29 ม.ค. 01, 00:19

อย่างนั้นสนามหลวงในสมัยอยุธยานี่คือ ที่ไหนครับ ใช่ทุ่งพระเมรุหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
สำรวย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 30 ม.ค. 01, 04:58

อ่านแล้วชวนสงสัยหลังจากว่างจากการทำงานแล้วชาวนาเค้าทำอะไรกันค่ะ
บันทึกการเข้า
แจ้ง ใบตอง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 30 ม.ค. 01, 13:09

ชนบทสมัยก่อนชาวนาทำนาได้เฉพาะในฤดูทำนาเท่านั้น บางที่ก็ปีละครั้ง บางที่ก็ปีละสองครั้ง
เมื่อหมดจากหน้านาชาวนาก็ว่าง มีเวลาว่างมากก็ต้องหาอะไรทำเพื่อให้แก้เซ็ง ชาวนาที่มีฝีมือ
ทางด้านศิลปะ หรือทางด้านช่างก็อาจจะเข้าวัดเข้าวา สร้างสรรค์ศิลปะที่เป็นโบราณสถาน
โบราณวัตถุในเวลาต่อมา ตามแต่กำลังฝีมือ คนที่ไม่มีฝีมือทางศิลปะ ก็หาอะไรทำที่มันสนุกสนาน
ตามเทศกาลหรือขี้เกียจหน่อยก็เล่นการพนัน ต้มเหล้ากินกันบ้าง ที่ยิ่งกว่านั้น อาจจะรวบรวมพวก
ออกปล้น คุณชายคึกฤทธิ์ท่านว่าการปล้นสมัยก่อนเป็นกีฬาของลูกผู้ชายอย่างหนึ่ง ก่อนปล้นก็ต้อง
มีการแจ้งเจ้าทรัพย์ล่วงหน้าว่าเสือจะเหยียบแดนเมื่อไหร่ เจ้าทรัพย์จะได้เตรียมตัวป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ
พอปล้นได้ก็เอาทรัพย์สินมาแบ่งพวกพ้องลูกเมีย  ปล้นก็มิได้เอาทรัพย์สินไปหมดเหลือติดบ้านไว้ให้
เจ้าของทรัพย์ทำทุนบ้าง เป็นสปริตของโจรน่ะครับ ความจริงผมก็ไม่ค่อยทราบรายละเอียดมาก
เพราะยังไม่เคยเป็นโจร ฟังจากคุณตาเล่าให้ฟังอีกที...
บันทึกการเข้า
สำรวย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 01 ก.พ. 01, 00:36

ไม่มีเรื่องเล่าจากคุณตาอีกแล้วเหรอครับ อยากฟังอีก ครับคุณแจ้ง ใบตอง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 19 คำสั่ง