เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 9816 "กำลัง" "อยู่" "กำลัง...อยู่"
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 13 ม.ค. 10, 16:27

เป็นไปได้หรือไม่ว่า  การใช้คำว่า กำลัง-อยู่  กำลัง และ อยู่ ในภาษาไทย เป็นอิทธิพลมาจากภาษาอื่นที่มีการแบ่งกาลของประโยคยิ่งกว่าภาษาไทย  เมื่อภาษาเหล่านั้นเข้ามาภาษาไทยจากเดิมที่มีเพียงกาลในประโยค เพียง อดีต ปัจจุบัน และอนาคต  ต้องแบ่งซอยกาลในภาษาเท่าภาษาที่เข้ามาใหม่   พอใช้ไปใช้มา  ความเคยชินก็จึงติดเข้ามาใช้ในภาษาไทยไป   ลังเล
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 13 ม.ค. 10, 18:16

ลอกเอามาน่ะครับ

englishforums.com
I am going to go to


Anonymous wrote:

Is the following correct?
E.g.: I'm going to go to the beach.


Possible to have two "go"s in this sentence The tense is correct: It's the so called "going-to-Future".
The 1st "to" (I'm going TO go to the beach) is part of the following infinitive "go";
the 2nd "to" (I'm going to go TO the beach) is a preposition, expressing movement towards the beach.
 
Cheers
-Pemmican
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 13 ม.ค. 10, 18:48

เป็นการถามว่า ประโยคนี้ถูกหรือไม่
คนตอบตอบว่าถูกตาม tense  น่ะค่ะ  เป็นไปได้ที่จะมีประโยคใช้ to สองครั้ง  เพราะคำแรกเป็น infinitive  ส่วนคำหลังเป็น preposotion
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 14 ม.ค. 10, 21:27

นอกจาก -อยู่ ยังมีอีกกริยาอีกสองสามคำที่มาช่วยในการบ่ง "กาล" (กริยาบ่งกาล ?)

-มา   เช่น
ก. ไปไหนมาเหรอ ?
ข. อ๋อไปกินข้าวมา   (แสดงว่า ได้กินข้าวเรียบร้อยแล้ว เป็นการกระทำในช่วงเวลาหนึ่งในอดีต แต่ผลมีต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน อาจเทียบได้กับ present perfect tense ของภาษาอังกฤษ)

-เคย (+ -มาแล้ว หรือ -มา) เช่น
ก. เคยไปเที่ยวกาฬสินธุ์หรือเปล่า ?
ข. เคยไปเมื่อสามปีที่แล้ว หรือ เคยไปมาแล้ว เมื่อสองสามปีก่อน หรือ เคยไปมาเมื่อสามปีก่อน
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 14 ม.ค. 10, 21:56

มาช่วยคุณ Ho หาอีก
- เพิ่ง   บ่งว่ากาลนั้นเพิ่งจะจบสิ้นลงใหม่ๆ  จะว่าเป็น perfect tense ก็คงได้   แต่เป็น perfect ที่เจาะจงว่า ถอยหลังไปในอดีตเพียงนิดเดียว
ก.มารอนานแล้วหรือ?
ข.เปล่า  เพิ่งมาถึง
- ก่อน  เป็น past tense เต็มตัว
ก. ได้รับพัสดุตั้งแต่เมื่อไร
ข. ก่อนหน้านี้สักชั่วโมงเดียว
บันทึกการเข้า
manit peuksakondh
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 15 ม.ค. 10, 13:53

เรื่องภาษานี่สนุกจริงๆ แต่ยอมรับว่าไม่ทราบแล้วว่า เปอร์ฝก เปยร์เฟ็ค มันเป็นยังไง จำได้แต่ว่า เคยโดนท่าน อ.เสนาะ ตันบุญยืน ต้อน ตอนบังอาจไปลองสอบเล่นมาแล้วครับ ภาษาไทยนี้ยากจริงๆ อ้อพรุ่งนี้วันครู คิดถึงบุญคุณ คุณครูทั้งหลายของผมครับ ไม่ได้ท่านป่านนี้ผมเป็นตาแก่ นั่งขอทานอยู่เชิงสะพานแข่งกับเขมร ไปแล้วละกระมัง อ้อ ใครทราบบ้างว่า ครูที่สวยที่สุดเท่าที่ผมจำได้คือ คุณครู มาลี สมาหาร ท่านสอนอยู่คณะอักษร แล้วมาสอนภาษา..ผม น่ะท่านยังอยู่ไหมครับผม 
มานิต
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 15 ม.ค. 10, 14:54

ถ้าเป็นกรณีภาษาบาลีสันสกฤต  ไม่มี present continuous tense มีแต่  present tense เท่านั้น

รูปประโยคกริยาปัจจุบันกาลในภาษาบาลี  เมื่อแปลประโยคเป็นภาษาไทย จะแปลอย่างนี้

ตัวอย่างประโยค   กุมาโร  เคหํ  คจฺฉติ.  แปลว่า  อันว่าเด็ก ย่อมไป สู่บ้าน

ปุริสา  อาหารํ  ภุญฺชนฺติ. แปลว่า  อันว่าบุรุษทั้งหลาย รับประทานอยู่ ซึ่งอาหาร

อหมฺปิ  อารามํ  คจฺฉติ. แปลว่า แม้ อันว่าเรา จะไป สู่อาราม

ประโยคปัจจุบันกาล (วัตตมานา) แปลแล้ว ต้องมี คำว่า  ย่อม- หรือ -อยู่ หรือ -จะ ประกอบคำกริยาเพื่อบ่งบอกกาลของประโยค  ส่วนจะใช้คำไหนเมื่อไร  เป็นรายละเอียดสำหรับผู้เรียนภาษาบาลีจะต้องพิจารณาและจดจำ  เมื่อจะแปลบาลีเพื่อให้ความสละสลวยและสอดคล้องกับบริบท

แต่ปกติ  เมื่อแปลประโยคภาษาบาลีประโยคปัจจุบันกาล  จะแปลโดยใช้คำว่า ย่อม- และ -อยู่ เป็นหลัก

นอกจากนี้ก็มีกริยากิตต์ปัจจุบันกาล  เวลาแปลก็แปลว่า - อยู่   แต่วิธีการใช้จะต่างกันกับกริยาอาขยาตข้างต้น 

เท่าที่ไปค้นดู  หนังสือไทยเก่าๆ ก่อนรัชกาลที่ ๕-๖ ก็ปรากฏใช้คำว่า อยู่ ต่อท้ายคำกริยาเพื่อแสดงกริยาปัจจุบันกาล  แต่คำว่า กำลัง หรือ กำลัง-อยู่  ยังไม่พบที่ใช้ที่ชัดเจน    เจ๋ง
บันทึกการเข้า
Thida
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 16 มี.ค. 10, 02:28

แน่ะ ดูสิ เด็กกำลังยืน

อ้าว มีเด็กยืนอยู่ตรงนั้น ยืนอยู่ตั้งแต่เมื่อไหร่น่ะ

อ๋อ ตอนที่เห็นเด็กก็กำลังยืนอยู่แล้ว

ใช้ได้ไหมคะ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 16 มี.ค. 10, 10:09

ยังแปร่งๆค่ะ

คำว่า กำลัง ใช้ได้กับคำกริยาบางคำ ที่แสดงอิริยาบถที่ต่อเนื่อง แต่ไม่ใช่ทุกคำ
กำลังกิน  กำลังนอน  ใช้ได้   แต่กำลังยืน กำลังนั่ง ต้องมีบริบทมาขยายความถึงจะใช้ได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง