ถ้าเป็นกรณีภาษาบาลีสันสกฤต ไม่มี present continuous tense มีแต่ present tense เท่านั้น
รูปประโยคกริยาปัจจุบันกาลในภาษาบาลี เมื่อแปลประโยคเป็นภาษาไทย จะแปลอย่างนี้
ตัวอย่างประโยค กุมาโร เคหํ คจฺฉติ. แปลว่า อันว่าเด็ก ย่อมไป สู่บ้าน
ปุริสา อาหารํ ภุญฺชนฺติ. แปลว่า อันว่าบุรุษทั้งหลาย รับประทานอยู่ ซึ่งอาหาร
อหมฺปิ อารามํ คจฺฉติ. แปลว่า แม้ อันว่าเรา จะไป สู่อาราม
ประโยคปัจจุบันกาล (วัตตมานา) แปลแล้ว ต้องมี คำว่า ย่อม- หรือ -อยู่ หรือ -จะ ประกอบคำกริยาเพื่อบ่งบอกกาลของประโยค ส่วนจะใช้คำไหนเมื่อไร เป็นรายละเอียดสำหรับผู้เรียนภาษาบาลีจะต้องพิจารณาและจดจำ เมื่อจะแปลบาลีเพื่อให้ความสละสลวยและสอดคล้องกับบริบท
แต่ปกติ เมื่อแปลประโยคภาษาบาลีประโยคปัจจุบันกาล จะแปลโดยใช้คำว่า ย่อม- และ -อยู่ เป็นหลัก
นอกจากนี้ก็มีกริยากิตต์ปัจจุบันกาล เวลาแปลก็แปลว่า - อยู่ แต่วิธีการใช้จะต่างกันกับกริยาอาขยาตข้างต้น
เท่าที่ไปค้นดู หนังสือไทยเก่าๆ ก่อนรัชกาลที่ ๕-๖ ก็ปรากฏใช้คำว่า อยู่ ต่อท้ายคำกริยาเพื่อแสดงกริยาปัจจุบันกาล แต่คำว่า กำลัง หรือ กำลัง-อยู่ ยังไม่พบที่ใช้ที่ชัดเจน
