เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7
  พิมพ์  
อ่าน: 16964 ไปชมร่องรอยฝีมือช่างครั้งกรุงเก่า ณ มรัมเทศครับ
Agonath
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 21 ม.ค. 10, 13:59

เข้ามาติดตามชมครับ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 21 ม.ค. 10, 20:13

สวัสดีครับคุณ Agonath ดีใจที่เข้ามาชมกันมากๆครับ

อันนี้เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง เครื่องทรงมงกุฏ ชายผ้าหน้านาง มีรัดประคดปั้นเหน่ง คล้ายพระทรงเครื่องไทยมาก (แต่ก็ไม่เหมือนเสียทีเดียว) เจ๋ง


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 21 ม.ค. 10, 20:15

องค์ข้างบนอยู่ที่เมือง Halin เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญของพม่า

เทียบกับพระทรงเครื่องพม่าแท้ๆ อันนี้เป็นพระกรุงอังวะครับ ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะทิเบต ฮืม


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 21 ม.ค. 10, 23:20

โอ้โห.. ตกใจ อย่างกับพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาตอนปลายเลยครับ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 21 ม.ค. 10, 23:41

ที่พม่ามีหลายองค์ที่เหมือนพระทรงเครื่องสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่องค์นี้ผมคิดว่าเหมือนสุด เลยเอามาให้ชมกัน
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 03 ก.พ. 10, 23:15

วันนี้มีพาดพิงถึงจิตรกรรมสมัยราชวงศ์ตองอู-นยองยาน ซึ่งเป็นจิตรกรรมร่วมสมัยอยุธยาตอนกลาง-อยุธยาตอนปลาย คือราชวงศ์ของพระเจ้าบุเรงนอง ถึงหลานของบุเรงนอง ที่พม่าส่วนใหญ่จะเหลือแต่สมัยหลังบุเรงนองครับ บางวัดจะมีจารึกว่าสร้างเก่าถึงร่วมสมัยสุโขทัย (ราวๆพญาลิไท) แต่ไม่ทราบว่าจะหมายถึงตัวจิตรกรรมด้วยหรือไม่

จิตรกรรมพวกนี้เอามาลงให้ลองเปรียบเทียบกับจิตรกรรมสมัยราชวงศ์คองบอง ซึ่งตีกรุงศรีอยุธยาแตก และเกิดการปฏิวัติจิตรกรรมขึ้นในพม่าทีเดียว รูปแบบนี้จะสูญไปหมด กลายเป็นเขียนหน้า เขียนมงกุฏแบบไทยแทน (แต่ยังติดเค้าพม่า)

รูปแรก พระเจ้าตรัสใต้ต้นอัสสัตถพฤกษ์ครับ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 03 ก.พ. 10, 23:18

พม่าเขาจัดองค์ประกอบให้สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ปูนปั้น ประติมากรรม สัมพันธ์กันหมด ซึ่งเป็นเรื่องที่สมัยอยุธยาเคยให้ความสำคัญ แต่ไม่ค่อยพบในสมัยรัตนโกสินทร์

ไม่ทราบว่าเป็นสัตตมหาสถานสัปดาห์ที่เท่าไหร่ อาจเป็นสัปดาห์ที่ 2 พระเป็นเจ้าประทับยืนจ้องต้นโพธิ์


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 03 ก.พ. 10, 23:20

พระพรหมถือแส้ ที่นี่พรหมมีหน้าเดียวครับ คติพรหมในพุทธศาสนามีหน้าเดียว แต่เวลาแสดงออกเป็นศิลปกรรมมักสับสนกับพราหมณ์ พรหมทั้งในพม่าและไทยจึงมีทั้งหน้าเดียวและสี่หน้าปะปนกัน แล้วแต่ยุคสมัย แต่บางสมัยก็ปนๆกัน


ข้างล่างมีคนเป่าแคนด้วยครับ แต่แคนพม่าสูญไปแล้ว ของเรายังพบอยู่ในสมุทรโฆษบ้าง ว่าใช้ในภาคกลางด้วย


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 03 ก.พ. 10, 23:23

พระวิสยันดรหลั่งทักษิโณทกยกรถให้พราหมณ์..


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 03 ก.พ. 10, 23:25

พระเจ้าตัดเกศ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 03 ก.พ. 10, 23:26

ดาวเพดานลายงูไขว้กันเป็นตะแหลว ดูเหมือนพวกอาหรับๆยังไงไม่รู้


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 03 ก.พ. 10, 23:30

เหมือนการ์ตูนซะจริงด้วย  ก็ดูน่ารักดี  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
asia
มัจฉานุ
**
ตอบ: 78


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 03 ก.พ. 10, 23:50

แอบมาเที่ยมชม ครับ สนุกมากๆๆ ยังไม่นอนกันหรือครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 04 ก.พ. 10, 02:33

เห็นจิตรกรรมที่โพวินตองแล้วนึกขึ้นได้ว่าเขาลงสีได้เรียบมาก
บางทีแทบจะไม่เห็นรอยทีแปรงเลย ว่าลูบพู่กันยังไง
ในขณะที่จิตรกรรมไทยหลายที่ เช่น วัดเกาะแก้วสุทธาราม
เวลาเข้าไปดูใกล้ๆจะเห็นรอยแปรงเวลาทาสีชัดมาก
เลยสงสัยว่าทำไมรอยพวกนี้ถึงมีมาก-น้อยต่างกัน

แต่โดยส่วนตัวเขียนภาพสีฝุ่นไม่เป็นครับ
เลยขออนุญาตเรียนถามเพื่อนสมาชิกในห้องท่านอื่นๆ
ที่เขียนภาพเป็นแทนจะดีกว่า เพราะคาใจมานานแล้วครับ
บันทึกการเข้า
ohm md
มัจฉานุ
**
ตอบ: 87



ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 19 ก.พ. 10, 18:49

ขาสิงห์มาจากไหน เปอร์เซียโบราณก็มีภาพสลักหิน พระราชานั่งเก้าอี้ แต่ขาเก้าอี้ทำเป็นแข้งสิงห็นะคับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 19 คำสั่ง