virain
|
ความคิดเห็นที่ 60 เมื่อ 20 ม.ค. 10, 17:25
|
|
ครับผม.. ผมเองก็ไม่ได้รู้มากอะไรหรอกครับ ยังคงต้องใช้เวลาศึกษาต่อไปอีกนาน ขอเข้ามาเดาว่าเขาปั้นลายคล้ายๆลายหน้ากระดานของไทยครับ ...?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 61 เมื่อ 20 ม.ค. 10, 19:59
|
|
ผมว่ามันเหมือนขาสิงห์นะครับ แต่เอาไปดัดๆให้เป็นพม่าแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 62 เมื่อ 20 ม.ค. 10, 20:38
|
|
น่าสนใจมากครับ
ขอเอาภาพปากแม่น้ำอิรวดีจากทางอากาศมาแจมครับ เพิ่งจะถ่ายมาช่วงหลังปีใหม่นี้เอง เห็นแล้วไม่สงสัยเลยที่เขาว่ากันว่าพื้นที่นี้มีศักยภาพในการผลิตข้าวสูงกว่าลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเสียอีก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 63 เมื่อ 20 ม.ค. 10, 20:43
|
|
ก็ใช่นะครับ แต่รวมๆแล้วก็ดูเหมือนแนวความคิดจะไปแนวๆเดียวกันนะครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 64 เมื่อ 20 ม.ค. 10, 20:50
|
|
แม้ว่าทุกวันนี้ จะยังสรุปไม่ได้ว่าขาสิงห์มาจากไหน ทั้งจีน อินเดีย เขมร (ส่วนตัวเชื่อว่าค่อนไปทางเขมร) แต่ก็ไม่มีใครบอกว่ามาจากพม่า ก็เลยเชื่อว่าพม่าน่าจะรับจากไทยช่วงกรุงแตกนี่เอง แต่ก็เห็นอยู่น้อยมาก
สวัสดีครับ คุณ CrazyHOrse ดีใจที่ได้คุยกันอีก พม่ามีศักยภาพปลูกข้าวสูงครับ ในสมัยเมืองพุกามเอง เขาไม่ได้ปลูกข้าวในบริเวณเมืองพุกามครับ เขามีแหล่งปลูกข้าวเฉพาะของเขา ที่เมืองจ๊อกเซ และมินบู ซึ่งอยู่ทางเหนือขึ้นไปอีก 60 กิโล ถือเป็นอู่ข้าวอู่น้ำโบราณของพม่า
ที่เมืองมินบูนี่้สำคัญ เพราะมีจิตรกรรมไทยที่คล้ายคลึงวัดช่องนนทรีมาก ถ้ามีโอกาสก็อยากไปสักครั้ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Chaichana-13
อสุรผัด

ตอบ: 25
|
ความคิดเห็นที่ 65 เมื่อ 20 ม.ค. 10, 22:40
|
|
ภาพจาก คห59 มีความเห็นว่าคล้ายลวดลายพันธ์ุพฤกษาในศิลปะไทยช่วงพุทธศตวรรษท่ี่ 21-22 ซึ่งได้รับความนิยมในศิลปะ ล้านนา อยู่ก่อนโดยมีศิลปะจีนปะปนอยู่ไม่น้อยส่งต่อมาที่ สุโขทัย อยุธยา ตามลำดับ สรุปเเล้วภาพลายปูนปั้นจากที่ไหน ยุคไหน เเปลกดี ลายปูนปั้นจาก วัดเจ็ดยอด เชียงใหม่ ต้นพุทธศตวรรษท่ี่ 21ในรัชกาลพระเจ้าติโลกราช
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Chaichana-13
อสุรผัด

ตอบ: 25
|
ความคิดเห็นที่ 66 เมื่อ 20 ม.ค. 10, 22:58
|
|
ไปถึงพุกามมองไปด้านไหนก็เจอเเต่เจดีย์ วิหาร เเทบทุกเเห่งมีจิตรกรรมอยู่ภายใน มากบ้าง น้อยบ้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Chaichana-13
อสุรผัด

ตอบ: 25
|
ความคิดเห็นที่ 67 เมื่อ 20 ม.ค. 10, 23:09
|
|
บางแห่งถึงแม้จะอยู่ไกลสักแค่ไหน เเทบทุกที่ก็จะมีคนเฝ้าดูเเลอยู่ ดอกไม้ไม่เคยแห้งคาเเจกัน เข้าชมภายในต้องถอดรองเท้า เดินเท้าเปล่าทุกที่ และเค้ารักษาสภาพแวดล้อมได้ดีมาก ไม่ให้ปลูกสรร้างบ้านเรือนใกล้ชิด บดบังโบราณสถานเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Chaichana-13
อสุรผัด

ตอบ: 25
|
ความคิดเห็นที่ 68 เมื่อ 20 ม.ค. 10, 23:11
|
|
วิหาร และลายปูนปั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Chaichana-13
อสุรผัด

ตอบ: 25
|
ความคิดเห็นที่ 69 เมื่อ 20 ม.ค. 10, 23:20
|
|
ซุ้มประตู ประกอบจากวงโค้งวซ้อนกัน (เคล็ก)ประดับด้วยใบระกาทรงสูง ( ฝักเพกา )
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Chaichana-13
อสุรผัด

ตอบ: 25
|
ความคิดเห็นที่ 70 เมื่อ 20 ม.ค. 10, 23:24
|
|
ฝักเพกา แทรกลายปูนปั้นรูปเทวดาภายใน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Chaichana-13
อสุรผัด

ตอบ: 25
|
ความคิดเห็นที่ 71 เมื่อ 20 ม.ค. 10, 23:29
|
|
ปลายกรอบซุ้ม มกร นึกถึง สุโขทัย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Chaichana-13
อสุรผัด

ตอบ: 25
|
ความคิดเห็นที่ 72 เมื่อ 20 ม.ค. 10, 23:42
|
|
เข้าเรื่อง..รูปเเบบดังกล่าวปรากฏอยู่ใน ศิลปะหริภุญชัย อย่างชัดเจนเเสดงว่าทั้งสองอณาจักรมีความเกี่ยวข้องศิลปกรรมร่วมยุคกันอย่างน้อย พุทธศตวรรษที่ 16
ซุ้มจระนัม เจดีย์กู่กุด วัดจามเทวี ลำพูน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Chaichana-13
อสุรผัด

ตอบ: 25
|
ความคิดเห็นที่ 73 เมื่อ 20 ม.ค. 10, 23:46
|
|
ฝักเพกา....ที่ซุ้มจระนัม (เคล็ก) เจดีย์กู่กุด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 74 เมื่อ 21 ม.ค. 10, 00:12
|
|
ขอบคุณคุณ Chaichana-13 ที่ช่วยมาแต่งเติมกระทู้กันนะครับ
สำหรับปูนปั้นนั้นมาจากวัดมหาธาตุ เมืองอมรปุระ (จริงๆมันไม่ได้ชื่อมหาธาตุ แต่เป็นวัดประจำเมืองขนาดใหญ่ที่สุด เลยของเรียกมหาธาตุ)
อายุสมัยก็ประมาณอยุธยาตอนปลาย ถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น น่าจะหลังเสียกรุงครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|