Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 09 ม.ค. 10, 11:19
|
|
จบแ้ล้วครับ แต่ร่องรอยศิลปะไทยในพม่ายังมีอีกเยอะเชียว บางอย่างเขาก็รับไปแล้วเปลี่ยนให้เป็นของตัวเอง แต่ก็ดูออกชัดเจนว่าน่าจะมีที่มาจากศิลปะไทย เช่น เีครื่องทรงพระพุทธรูปต่างๆ จิตรกรรมบางอย่างเป็นไทยจ๋าทีเดียว รวมทั้งภาพจับจากเรื่องรามเกียรติ์ด้วย
ลองถามนักโบราณคดีพม่าดู เขาก็ว่าไทยกับพม่ามีคอนเนคชั่นทางวัฒนธรรมกันตลอด (ซึ่งเรื่องนี้ คนไทยไม่ค่อยคิด คิดแต่ว่าเราเกลียดพม่าเพราะเขาเผา้บ้านเมืองเรา หรือไม่ก็คิดว่าอะไรๆในเมืองไทยได้อย่างมาจากเขมร)
นักโบราณคดีคนนี้แกบอกต่อไปอีกว่า แกคิดว่า หลังพุกามแตก คนพม่าก็แตกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งอพยพไปยะไข่ อีกกลุ่มอพยพไปสุโขทัย เพราะฉะนั้น ทั้งสองที่จึงมีอิทธิพลศิลปะพุกามค่อนข้างมาก ซึ่งอันนี้ผมก็เห็นจริงด้วยส่วนหนึ่ง
แกยังแนะนำให้ไปดูเจดีย์ไทยที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ห่างจากเมือง Halin ซึ่งเป็นไซท์ปยู ไปประมาณ 24 กิโล แต่ถนนแย่มาก ต้องใช้รถจิ๊ปไป พวกเราเลยหมดปัญญา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 09 ม.ค. 10, 11:21
|
|
ติดตามเข้ามาดูที่นี่ด้วยครับ
เป็นกระทู้ที่ยอดเยี่ยมจริงๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 09 ม.ค. 10, 11:24
|
|
ขอบคุณที่ติดตามมานานครับ คุณนวรัตน์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 09 ม.ค. 10, 11:43
|
|
สุดยอดเลยครับ ขอบคุณมากๆที่นำมาให้ชมกับข้อมูลละเอียดๆนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
manit peuksakondh
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 09 ม.ค. 10, 12:28
|
|
ดีจังครับผม คิดถึงกระทู้เรื่องเที่ยวพม่าของท่านวิทยากรบางท่าน ครับผม มานิต
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 09 ม.ค. 10, 13:40
|
|
อันนี้เริ่มคล้ายไทยครับ ใช้ก้านพุ่มข้าวบิณฑ์คั่นระหว่างอดีตพุทธ ผมก็ลืมนับจำนวนมาด้วยว่ากี่องค์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
yutthana
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 09 ม.ค. 10, 15:52
|
|
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ฉันรักบางกอก
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 11 ม.ค. 10, 11:09
|
|
อ่านเพลินเลยค่ะ เคยอ่านเจอในเมืองโบราณ แต่คราวนี้ได้ชมภาพเต็มๆ ขอบคุณมากเลยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กนก นารี กระบี่ คชะ
|
|
|
manit peuksakondh
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 11 ม.ค. 10, 12:55
|
|
สนใจคห.15 ที่ว่า "หลังพุกามแตก คนพม่าก็แตกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งอพยพไปยะไข่ อีกกลุ่มอพยพไปสุโขทัย" อยากหาความรู้ต่อเรื่อง กลุ่มที่อพยพมาสุโขทัย ครับผม โปรดแนะนำเอกสารด้วยครับผม มานิต
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 11 ม.ค. 10, 17:35
|
|
ที่บอกว่าหลังพุกามแตกแล้วคนพุกามไปอยู่ที่ยะไข่กับสุโขทัยนั้น เป็นความคิดของนักโบราณคดีท่านนั้นเองครับ แกบอกว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ได้
ส่วนตัวก็เห็นด้วยเล็กน้อย เพราะในเอกสารทางเหนือยังมีตำนานเกี่ยวกับพญามังรายเสด็จไปได้ช่างจากเมืองพุกามมาสร้างเมืองเชียงใหม่
ทั้งศิลปะสุโขทัยและล้านนาก็มีัอิทธิพลศิลปะพุกามอยู่ไม่ใช่น้อย
ในศิลปะสุโขทัยเห็นได้ชัดๆก็เช่น วัดเก้ายอด ที่ศรีสัชนาัลัย วัดศรีชุม etc. ที่อนันทะเจดีย์ก็มีจารึกสุโขทัย
ในศิืลปะล้านนาก็เช่น วัดอุโมงค์ทั้ง 2 แห่้ง วัดล่ามช้าง วัดป่าสัก วัดสองพี่น้อง etc.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 11 ม.ค. 10, 20:09
|
|
สมชิกชมรมของเราเริ่มมีมากขึ้นแต่โอกาสพบปะกันยังน้อยมาก เพราะต่างมีภาระกิจกันมากมาย แต่หลายๆท่านก็มีของดีของงามมาอวดกันอยู่เสมอๆ รายละเอียดของที่นี่ผมเคยโพสต์จากข้อมูลในหนังสือเมืองโบราณไปแล้ว นี่มาได้จากสมาชิกที่ไปเห็นกับตาถ่ายจากสถานที่จริงด้วยตนเอง ต้องขอชมเชยว่าเยี่ยมยอดครับ ตอนนี้หัวหน้าชมรมการงานรัดตัว หนี้สินรุงรัง555555555555 เลยต้องขอมุ่งหากินก่อน แต่ข้อมูลยังมีอยู่เพียบรอวันว่างเมื่อไร ทริป4คงเกิดขึ้น แต่กำลังงอนๆอยู่ว่าสมาชิกที่เคยไปด้วยกันหนีไปเที่ยวปักษ์ไต้กันมาเงียบเลย อิจฉาๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ฉันรักบางกอก
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 12 ม.ค. 10, 04:07
|
|
ก็หัวหน้าชมรมทำตัวลึกลับนี้นา....ช่วงนี้เลยกระจายเท่ียวกันเองก่อน
หวังว่าหัวหน้าฯสบายดีนะคะ.
ยังไงก็สวัสดีปีใหม่ย้อนหลังด้วยนะคะ ขอให้ปลดหน้ีได้ไวๆจะได้รวมตัวกันอีกสักทีคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กนก นารี กระบี่ คชะ
|
|
|
manit peuksakondh
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 12 ม.ค. 10, 12:23
|
|
ขอบพระคุณครับผม ผมขอเข้าสมาคมคนเป็นหนี้ ด้วยคนซิครับ มานิต
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
asia
มัจฉานุ
 
ตอบ: 78
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 12 ม.ค. 10, 23:35
|
|
วันหลัง เราจัดทัวร์ไปเมืองพม่ารามัญมั่งดีมัยครับ จะได้ไปตามหาเชื้อสายชาวกรุงศรี ที่ถูกเทครัวไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 13 ม.ค. 10, 10:08
|
|
ไปดูกันต่อดีกว่าครับ คราวนี้จะเป็นเรื่องของฝีมือตกทอดของช่างครั้งกรุงเก่า คงไม่ใ่ช่ช่างครูไทยแท้ๆแล้ว แต่เป็นรุ่นลูกศิษย์ที่รับวิชาต่อๆกันมา ยังรักษาเอกลักษณ์บางอย่างที่ดูเป็นไทยไว้ ในพม่าเอง ยังมีศัพท์ที่ใช้เรียกลายไทยเหล่านี้ ว่า กนกโยเดีย ส่วนใหญ่ศิลปกรรมเหล่านี้จะอยู่ในสมัยราชวงศ์คองบอง หลังพระเจ้าช้างเผือกมังระชินพยูชินตีกรุงศรีอยุธยาได้ในพ.ศ.2310 และกวาดต้อนช้างม้าผู้คน รวมทั้งช่างฝีมือกลับกรุงรัตนปุระอังวะ
งานช่างของไทยคงเป็นของประณีตมากในอุษาคเนย์สมัยนั้น จึงปรากฏว่า ศิลปะพม่าหลายแขนงมีอิืทธิพลไทยปรากฏอยู่ ทั้งระบำรำฟ้อน งานเขียนงานวาด งานแกะสลัก หลายๆอย่างยังปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้
ตามไปดูของคุ้นหูคุ้นตากันดีกว่าครับ
อันนี้น่าจะเป็นของไม่เก่ามากครับ คุ้นๆไหมครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|