เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 16970 ไปชมร่องรอยฝีมือช่างครั้งกรุงเก่า ณ มรัมเทศครับ
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



 เมื่อ 09 ม.ค. 10, 10:29

ขออนุญาตเปิดกระทู้แรกหลังจากสมัครสมาชิกห้องชมรมอนุรักษ์จิตรกรรมไทยเลยนะครับ สืบเนื่องจากช่วงปีใหม่ผมมีโอกาสได้ไปเที่ยวพม่า ที่คนโบราณท่านเรียก "มรัมเทศ" คู่กับ "รามัญเทศ" คือเมืองมอญ ได้เห็นอะไรหลายต่อหลายอย่าง โดยเฉพาะฝีมือช่างไทยที่ตกค้างมาตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 กระทู้นี้ผมเคยเปิดมาแล้วในพันทิป แต่ไม่ได้ัจัดรายละเอียดมาก เพราะความสนใจที่นั่นค่อนข้างกว้าง ถ้าเป็นบอร์ดเฉพาะกิจอย่างที่นี่ น่าจะลงรายละเอีัยดได้มากกว่าครับ


สำหรับวัดที่ไปชมมาครั้งนี้ ชื่อ มหาเต่งดอจี อยู่ที่เมืองสะกาย (Sagaing) ครับ ใครที่เป็นแฟนพันธุ์แท้จิตรกรรมไทย น่าจะเคยรู้จักมาก่อน หลังจากเป็นข่าวโด่งดังมาเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา อันนี้ก็ต้องยกเครดิตให้กับหนังสือของ ม.ร.ว. สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ เรื่อง “ชาวอยุธยาที่เมืองสะกาย” ที่จุดประกายประเด็นเกี่ยวกับจิตรกรรมฝีมือช่างไทยในพม่าขึ้น รวมทั้งรายงานข่าวของคุณอรวินท์ ลิขิตวิเศษกุล ที่สำรวจพบจิตรกรรมลักษณะแบบสกุลช่างอยุธยา ที่เมืองสะกายและเมืองมินบู เคยลงในวารสารเมืองโบราณมาก่อน โดยได้กล่าวว่า โบสถ์นี้เดิมชื่อ ยวนเต่ง หรือ โบสถ์ของชาวยวน  (ยวนคือ โยนกล้านนานั่นเอง) แต่ฝีมือช่างข้างในเป็นฝีมือแบบกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย อาจจะช้าไปบ้างถ้าเอามารีวิวกันตอนนี้ แต่เห็นใจเถอะครับว่ากว่าจะไปได้ก็ต้องรอว่างเว้นจากงานการเสียก่อน
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 09 ม.ค. 10, 10:30

ทิวทัศน์แม่น้ำเอยาวดี หรืออิรวดี เมืองสะกายครับ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 09 ม.ค. 10, 10:32

ที่เมืองสะกาย (Sagaing) มณฑลมัณฑะเลย์ มีวัดเล็กๆวัดหนึ่ง ชื่อมหาเต่งดอจี มองข้างนอกก็คล้ายๆกับวัดพม่าทั่วๆไป ถ้าไม่ได้เข้าไปข้างในจะไม่รู้เลยว่า ภายในมีร่องรอยที่เลือนรางของวิญญาณจากกรุงศรีอยุธยาติดค้างอยู่ กว่าจะหาวัดเจอได้ก็นานโขเหมือนกัน เนื่องจากสะกายมีเจดีย์จำนวนมหาศาล แล้วแต่ละวัดแม้จะมีขนาดใหญ่อลังการแค่ไหน ก็มีชื่อซ้ำๆกันไปหมด ก็เหมือนกับบ้านเรานั่นเอง เพราะเขามีชื่อยาวหลุดโลกไว้ชื่อหนึ่ง ปากชาวบ้านจำไม่ได้ เรียกไม่ถนัด ก็ตั้งให้อีกชื่อ เหมือนวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ใครๆก็เรียกวัดโพธิ์กันทั้งนั้น (ซึ่งทั้งชื่อวัดพระเชตุพน และวัดโพธิ์ ก็เป็นชื่อโหลทั้งคู่) เพราะฉะนั้น ใครไปพม่าก็จะเจอวัดชื่อโหลทั้งสิ้น อย่าง จ๊อกตอจี กูบยวกจี ชเวกูจี ยาดานาเซดีย์ ต้องกำหนดให้แน่ว่าอยู่จังหวัดไหน หมู่บ้านไหน มหาเต่งดอจี แห่งนี้ก็เป็นชื่อโหลๆเหมือนกัน พอหาวัดเจอก็ขอให้คนขับรถชาวพม่าไปขอกุญแจโบสถ์ ซึ่งพระคุณเจ้าปองคยีท่านทั้งหลายก็อำนวยให้แต่โดยดี


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 09 ม.ค. 10, 10:35

โบสถ์ ภาษาพม่าคือเต่ง เพี้ยนมาจากคำว่า สีมา เขาออกเสียง ส ไม่ได้จะออกเป็น ท สีมาเวลาเรียกเร็วๆเข้าก็จะกลายเป็ย สิม เหมือนที่ตามภาคอีสานใช้คำนี้เรียกโบสถ์ แล้วทีนี้ พม่าออกเสียงตัวสะกด ม แม่กมไม่ได้อีก จากสิมก็กลายเป็น “เต่ง” จนได้ สำหรับวัดนี้ ชื่อว่า มหาเต่งดอจี แปลไทยพอกล้อมแกล้มได้ว่า วัดมหาอุโบสถาราม เรียกบ้านๆ ก็วัดโบสถ์ใหญ่ อะไรทำนองนั้น


ในพม่า โบสถ์จะมีขนาดเล็ก และมีไม่กี่วัดที่มีโบสถ์ เนื่องจากใช้เป็นที่ทำสังฆกรรมของพระสงฆ์เท่านั้น บางครั้งหลายๆวัดจะมีโบสถ์สักวัด ถ้าตุ๊เจ้าจะทำสังฆกรรมก็เดินมาจากวัดข้างเคียง มาลงอุโบสถได้ทันเวลา ลักษณะนี้ก็คล้ายๆบ้านเราสมัยก่อน แถวล้านนาหรือสุโขทัย แม้แต่สมัยอยุธยาตอนต้น โบสถ์แทบไม่มีความสำคัญ มีขนาดเล็ก บางวัดก็ไม่มี หรือมีก็โยกย้ายไปอยู่นอกแผนผังหลัก กลับไปให้ความสำคัญกับวิหาร อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เปิดให้สาธุชนกราบไหว้มากกว่า เพราะการสร้างโบสถ์สักหลังนั้น มีพิธีกรรมยุ่งยากซับซ้อนยิ่งนัก กว่าจะผูกพัทธสีมาเรียบร้อย หากผูกไม่เรียบร้อยก็ต้องรื้อแก้ จัดการผูกใหม่อีก บางครั้งมีเจ้ากูนิกายใหม่มา ก็จัดการผูกซ้ำเข้าไป กลายเป็นมีเสมาของหลายนิกายปะปนกันในโบสถ์เดียว

 
มีเรื่องที่ขำไม่ออกอยู่ในตำนานมูลศาสนาวัดป่าแดง เชียงตุงว่า วัดสวนดอก เชียงใหม่ เป็นวัดที่ต้องผูกและแก้พัทธเสมากันถึง 4 รอบ ด้วยเหตุผลต่างๆกัน ผมจำได้แค่เหตุผลประการเดียว คือ มีพระรูปหนึ่งมาลงอุโบสถไม่ทัน เนื่องจากท้องเสีย แล้วปิดบังความอำยวนไว้ถึง 16 ปี จึงสารภาพ ปรากฏว่าสังฆกรรมที่ทำมาตลอด 16 ปีก็ต้องกลายเป็นโมฆะหมด พระที่บวชในโบสถ์นั้นก็ถือว่าเป็นพระไม่สมบูรณ์ไป แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องของเจ้ากูสมัยโบราณท่านกระทบกระทั่งกันด้วยต่างนิกาย เราเป็นฆราวาสผู้ครองเรือนไม่พึงไปเกี่ยวข้อง พอแค่นี้ดีกว่าครับ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 09 ม.ค. 10, 10:37

เอาล่ะ ตุ๊เจ้าท่านเปิดประตูให้แล้ว เข้าไปก็เป็นห้องเล็กๆธรรมดา ก่ออิฐถือปูน แต่ที่ไม่ธรรมดาคือมีตามเพดานเขียนภาพจิตรกรรมโบราณเอาไว้ทั้งสิ้น แม้บริเวณผนังจะลบเลือนไปแล้วตามกาลเวลา ก็ยังเหลือลมหายใจเอาไว้บ้างบนพื้นเพดาน มันน่าประหลาดเหมือนกับว่าเป็นการสื่อสารระหว่างคนสองยุคที่พยายามบอกอะไรบางอย่างแก่เรา น่าเสียดายที่เห็นได้ชัดว่า ช่างที่สร้างสรรค์งานชิ้นนี้ ไม่น่าจะเป็นช่างกรุงศรีอยุธยาแท้ๆแล้ว แต่น่าจะเป็นช่างรุ่นลูกหรือลูกศิษย์มากกว่า เนื่องจากกระบวนลายที่แตกออกมาบางลาย แม้ว่าจะพยายามทำให้เป็นลายกนก แต่ก็ไม่เหมือน ยังแข็งๆและผิดรูปแบบไปบ้าง ขณะเดียวกัน ก็มีลายพม่าปะปนเข้ามามาก แต่เราก็ยังเห็นเชื้อไฟบางอย่างที่แสดงถึงศิลปกรรมเฉพาะของสยามได้เป็นอย่างดี อาจจะเป็นไปได้ว่ามีครูช่างคอยควบคุมอีกที จะเหมือนจะต่างยังไงนั้น ลองมาดูกันครับ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 09 ม.ค. 10, 10:39

อันแรกเลยที่เป็นไทยแท้ๆพม่าไม่มีแน่ๆ คือยอดปรางค์ครับ เห็นนพศูลชัดเจน เสียดายที่ภาพลบเลือนไปมาก แต่เห็นได้ชัดเจนเลยว่า ปรางค์ครั้งกรุงเก่าของเรา นอกจากยอดเป็นนพศูลแล้ว ด้านบนสุดยังมีฉัตรวลี ซ้อนชั้นเล็กๆประดับอยู่

ช่างครูท่านคงคิดถึงบ้านครับ ที่เมืองม่านไม่มีปรางค์ให้ไหว้


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 09 ม.ค. 10, 10:44

อันนี้เป็นลายกนกเปลวไหลเลื้อยตามโครงกรอบของเพดานหน้าจั่ว อยู่ด้านหลังพระประธาน ปกติแล้ว เท่าที่เราพบเห็นในประเทศไทย ผนังหลังพระประธาน (สกัดหลัง) มักนิยมเขียนภาพโลกสัณฐาน มีเขาพระสุเมรุ สัตตบริภัณฑ์ สวรรค์ นรก อะไรทำนองนั้น แต่ที่นี่เขียนลายกนกเปลวพลุ่งพล่าน ไม่ใช่ภาพเล่าเรื่อง ทำนองเดียวกับวิหารวัดใหม่ประชุมพล อยุธยา มีแกนกลางเป็นช่อหางโตประกาบลายสิงห์คาบ นกคาบ แต่ที่วัดใหม่ประชุมพลเป็นกนกแบบที่ น.ณ ปากน้ำท่านเรียกว่า กนกไฟพะเนียงแตก พื้นที่วัดใหม่ก็ลงสีแดงฉ่ำ ผิืดกับที่ีนี่ซึ่งเ้ป็นพื้นขาว

ที่กรอบล่าง พยายามทำกระจังเลียนแบบไทย แต่กลิ่นก็เป็นพม่าไปมากแล้ว โดยรวมฉากนี้สวยครับ ยกเว้นกนกบางตัวยังเก้งก้างอยู่บ้าง คงเป็นช่างชั้นศิษย์ที่ไม่เคยเห็นของจริงในเมืองไทย


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 09 ม.ค. 10, 10:47

ดูกันชัดๆนะครับ (หรือไม่ชัดหว่า) ใต้ลายกนกเป็นสังเวียนคั่น พื้นสังเวียนเขียนลายก้านขดทำนองเดียวกับวัดเกาะ เมืองเพชรเลย (แต่คิดว่าที่ไหนๆก็ทำ เพราะมันได้แบบมาจากลายผ้า)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 09 ม.ค. 10, 10:51

ฉลองครบ 200 anniversary ครับ อิอิอิ

สังเวียนลายก้านขดครับ สังเกตว่าจะมีลายนกหงอน หันหน้าไปทางด้านซ้าย กับกระรอกเงยหัว ซ้ำกันไปซ้ำกันมาทั้งวัด กระรอกตัวไหนก็เงยหัวชูหาง นกก็หันเหมือนกัน สงสัยช่างท่านจะปรุฉลุลายเอาบนกระดาษแล้วค่อยแจกเด็กลูกศิษย์ไปทาบเอาเอง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 09 ม.ค. 10, 10:59

สุดยอดของที่นี่ครับ บริเวณผนังเหนือประตูทางเข้า เป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับในปราสาท 7 ยอด ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะคล้ายคลึงกับสถาปัตยกรรมอยุธยาตอนปลาย โดยเฉพาะยอด 7 ยอดนั้น ดูคล้ายคลึงกับมณฑปพระพุทธบาทก่อนที่จะรวมให้เป็นกระพุ่มยอดเดียวในสมัยพระเจ้าเสือ ปัจจุบันจะหาอาคารทรงอย่างนี้คงมีแต่พระที่นั่งมหิศรปราสาท แต่ก็เป็น 5 ยอด หรือธรรมาสน์ต่างๆตามวัด กับตู้มุกในหอพระมณเฑียรธรรม สังเกตดูฐานแอ่นโค้งเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะอยุธยาตอนปลายทีเดียวครับ

กาบล่างของปราสาทหลังนี้ ยังเป็นกาบไผ่อยู่ มิได้สะับัดเป็นเปลวเหมือนกาบพรหมศร ด้านข้างขนาบด้วยเครื่องสูงอย่างไทย ทั้งฉัตร 5 ชั้น กรรชิง บังแทรก ส่วนตุงหรือพระบฏนั่นคงฝีมือมอญ ยอดเป็นหงษ์ด้วย ช่างเขียนองค์ประกอบต่างๆของสถาปัตยกรรมได้ถูกต้อง จนสงสัยว่าพม่าจะยกธรรมาสน์กลับมาด้วยหรือเปล่า แต่ของยังงี้ก็อยู่ในหัวจิตหัวใจช่างครูอยู่แล้ว โดยเฉพาะคนที่พลัดบ้านพลัดเมืองมาไกลขนาดนี้


โดยปกติ ในพม่าที่ร่วมสมัยกับอยุธยาตอนปลาย นิยมเขียนภาพโลกสัณฐาน (เขาพระสุเมรุ) ไว้ที่ผนังด้านหน้าพระประธาน สลับกับบ้านเราที่นิยมเขียนภาพมารวิชัยหรือกองทัพมาร ที่มหาเต่งดอจีนี้ แม้จะไม่เขียนภาพโลกสัณฐาน ที่มีภาพพระพุทธเจ้าประทับอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ ในพุทธประวัติตอนโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แต่การเขียนภาพพระพุทธเจ้าประทับในปราสาท ที่มีฐานเป็นชั้นๆ ประดับด้วยครุฑ นาค เทวดา อาจหมายถึงภพภูมิของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ที่อยู่ตีนเขาพระสุเมรุ และแทนปราสาทนี้ในฐานะไพชยนต์ของพระอินทร์ที่อยู่บนเขาพระสุเมรุนั่นเอง


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 09 ม.ค. 10, 11:02

ดูยอดปราสาทชัดๆ มีเหมปลีซุ้มรังไก่หลังคาลาดครบครัน แถมตกท้องช้างอีก


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 09 ม.ค. 10, 11:04

อ๊ะลืม เอาลายไทยๆมาเปรียบเทียบให้ดู ขอแทรกนะครับ วัดไผ่ล้อม ศรีวัชรปุระครับ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 09 ม.ค. 10, 11:05

ภาพอดีตพุทธประทับนั่งบนฐานบัวผ้าทิพย์ครับ ผ้าทิพย์นี้เราได้แบบอย่างมาจากเขมรตอนปลาย ซึ่งในพม่าไม่มี หน้าตาท่าทางพุทธลักษณะต่างๆเป็นแบบไทยทั้งสิ้น ยกเว้นการขัดสมาธิเพชรเพียงอย่างเดียวที่เป็นแบบพม่า หลังพระเศียรจะเห็นฉพรรณรังสี หรือรังสี 6 สีที่เปล่งออกมาจากพระวรกาย ก็เป็นแบบไทยแท้เช่นกัน


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 09 ม.ค. 10, 11:08

ของพม่ากั้นระหว่างอดีตพุทธด้วยกรรชิงครับ บ้านเราคั่นด้วย ก้านพุ่มข้าวบิณฑ์ในกระโถน (ไม่คิดว่าน่าจะเป็นพัดยศ สมัยนั้นคงยังไม่มีพัดทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ น่าจะเป็นเพียงพัดหน้านาง)

วัดช่องนนทรีครับ ุถ่ายไม่ชัดเลย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 09 ม.ค. 10, 11:09

เทียบกับพม่าดู จิตรกรรมสมัยนยองยานครับ ก่อนหน้าที่มหาเต่งดอจีนิดนึง เขาใช้กรรชิงคั่น


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 19 คำสั่ง