เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 14932 ราชทินนามกับงานที่ทำ
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 15 ธ.ค. 09, 10:50

ต่อไปราชทินนามข้าราชการชั้นประทวนในกรมพระคชบาล กระทรวงกระลาโหม พ.ศ.๒๔๕๕ รัชกาลที่ ๖

บรรดาศักดิ์ขุน-พิบาลคชศักดิ์-พิทักษ์คชยุทธ-บริรักษ์คชรุด-บริคุตคชสาร-คชาธารพิทักษ์-บริรักษ์คชเรศร์-ทรงสิทธิบาศ-คชศักดิ์ชาญวิทย์-คชสิทธิชาญเวช-คชฤทธิ์พิเชต-คชเดชพิไชย-คเชนทรสันทัด  ศักดินาคนละ ๓๐๐

บรรดาศักดิ์หมื่น-ไสคชยาน-บริหารกุญชร-ปรนนิบัติคชสาร-ปรุงปรนไอยเรศ-ผดุงเดชไอยรา-พิเศษคชสิทธิ์-พิจิตร์คชสาร-คชพลบริบาล-วรหัตถาภิบาล-มนินคชรักษ์-สมัคโพนกุญชร-สัญจรโพนช้าง-ชาญทางคชจร-ชำนาญกะรีฤทธิ์-ครรชิตคเชนทร์รณ-ทรงประกัน-อนันตโยธา-สิทธิคชสาร-หาญคชกัน-รามคชไกร-ไกรคชสาร-วิเศษคชสาร

-ศรีคชสาร-ศรีชุมพล-ศรีสิทธิกัน-ชำนิคชสาร-คเชนทร์ทวยหาญ-พิทักษ์คชสาร-จ่ารัตนาเคนทร์-กลางกเรนทศักดิ์-ไชยมนตรี-ชำนาญ-ศรีคชเคนทร์-วิไชยจำนงค์-วิไชยสงคราม-จ่าคชประสิทธิ์-จ่าคชประเสริฐ-อาจคชกัน-กลางรวางคชนารถ-กลางรวางคชรักษา-ก้อนแก้ว-กระสันนาเคนทร์-นุภาพเรืองภพ-จบไตรจักร์-พิทักษ์ไอยเรศ-วิเศษอัยรา-คชาชาญภพ-นพกุญชร-กำจรคชฤทธิ์-อิศรเทพ-นรินทร์คชลักษณ์-จักรคชประจง

-จำนงสระประจอง-จำนองนาเคนทร์-จิตรคชสาร-ชำนาญคชศิลป์-คชินทร์บริรักษ์-ภักดีคีรีคช-สนิทคชลักษณ์-ชนะคชกัน-เสพสรศิลป์-กรินภัชชา-เชี่ยวหัศดินทร์-ชินคชบาล-ชาญคชไพร-ไชยโขลงคช-พยศคชฝึก-ตฤกตรวจคชสาร-คชฤทธิ์ทรมาน-บริบาลคชพลัง-ประคองคชผดุง-บำรุงคชรักษ์-พำนักคชพล-อนนต์คชพ่าย-นิกายกรีเวท-สังเกตกรีการ

-คชยานสำรวจ-สกัดกวดคชวัช-คชาชำนิศิลปื-คชินทร์ชำนิสาร-กรินทร์สิทธิการ-กรีชาญศุภลักษณ์-บริคุตหัศดี-กรีพนศักดิ์-หัศดีรักษ์รณไชย-เกรียงไกรกระบวนคช-หัตถาจารโกศล-สาธรคชลักษณ์-ชำนาญหัศดิน-คชเศรษฐ์พิทักษ์

เฮ่อ...รวม ๑๐๒ นาย (กว่าจะพิมพ์เสร็จ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 15 ธ.ค. 09, 11:42

ในรัชกาลที่ ๖    กรมคชบาล ทำหน้าที่อะไรบ้างคะ
ชั้นประทวน มีเป็นร้อย  น่าจะเป็นกรมใหญ่
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 15 ธ.ค. 09, 11:59

ในสมัยอยุธยากรมพระคชบาลขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ แบ่งการบังคับบัญชาเป็น ๒ กรมย่อยคือ

๑.กรมพระคชบาลขวา มี ออกพระเพทราชาธิบดีศรีสุริยาภิชาติ สุริวงษ์องคสมุหพระคชบาล ว่าที่ตำแหน่งจางวางขวา

๒.กรมพระคชบาลซ้าย มี ออกพระสุรินทราชานราบดีศรีสุริยศักดิสมุหพระคชบาล ว่าที่ตำแหน่งจางวางซ้าย

ข้าราชการในกรมพระคชบาล ประกอบด้วยจางวาง เจ้ากรม และปลัดกรม แบ่งเป็นฝ่ายต่าง ๆ คือ

๑. ฝ่ายคชศาสตร์ คือครูผู้สอนเกี่ยวกับการฝึกช้าง

๒. ฝ่ายควาญช้าง มีรายนามพนักงานคล้องจองไพเราะน่าฟัง เช่น นายเสพกะเชน นายกะเรนทภัชชา นายมหาคชรัตน์ นายสวัสดิคชฤทธ์ นายจิตรคชลักษณ์ นายจักคชศรี นายคีรีคชแกว่น นายแม่นคชสาร นายบาลกีรีอาจ นายราชกีรียง เป็นต้น

๓. ฝ่ายหมอปะกำหรือผู้ประกอบพิธีกรรม

๔.ฝ่ายกำลังพลหรือทหารที่ติดตามในกระบวนช้าง

นอกจากกองทหารช้างชาวสยามแล้วยังมีกองทหารช้างข้างฝ่ายมอญด้วย โดยแบ่งเป็น ๒ กรมย่อยเหมือนกันคือ กรมโขลงขวา มีพญาอนันตโยทังเป็นเจ้ากรม และกรมโขลงซ้าย มีพระยาอนันตจ่อสู่เป็นเจ้ากรม มีหน้าที่ควบคุมไพร่พลกองทหารช้างที่น่าจะได้แก่พวกมอญและกะเหรี่ยงที่มีความชำนาญในการใช้ช้าง

ข้อมูลจากบทความเรื่อง ช้างเป็นสินค้า ค้าช้าง ในสมัยอยุธยา โดย ดร.จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์
http://www.thaichang.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=480828
  

บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 15 ธ.ค. 09, 21:42

ราชทินนาม สุรินทราชา  ในรัชกาลที่ ๖ กลายมาเป็นราชทินนามสำหรับตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต
มีผู้ที่ได้ครองราชทินนามนี้ ๒ ท่าน คือ

พระยาสุรินทราชา (ม.ร.ว.สิทธิ์  สุทัศน์)  ท่าผ฿นี้เดิมเป็น นายพลตรี พระยาพิไชยสงคราม  แล้วเลื่อนเป็นนายพลโท พระยาสุรินทราชา เมื่อเป็นเทศามณฑลภูเก็ตแล้ว 

พระยาสุรินทราชา (นกยูง  วิเศษกุล) เปลี่ยนราชทินนามจากพระยาอจิรการประสิทธิ์ อธิบดีกรมไปรษณย์โทรเลข  เมื่อย้ายมาดำรงตำแหน่งเทศามณฑลภูเก็ต  ส่วนพระยาสุรินทราชาคนเดิมที่ย้ายมาเป็นแม่ทัพน้องที่ ๑ (ปัจจุบันคือ แม่ทัพภาคที่ ๑) เปลี่ยนราชทินนามเป็น พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร ซึ่งเป็นราชทินนามเฉพาะบุคคลในราชสกุล สุทัศน์
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 16 ธ.ค. 09, 15:35

อ้างถึง
ในรัชกาลที่ ๖    กรมคชบาล ทำหน้าที่อะไรบ้างคะ
ชั้นประทวน มีเป็นร้อย  น่าจะเป็นกรมใหญ่

กรมพระคชบาลในสมัยรัชกาลที่ ๖ น่าจะมีหน้าที่จับช้าง เลี้ยง ดูแล และฝึกช้าง สำหรับใช้งานในราชการ  แต่คงไม่ได้เอาช้างไปใช้ในการรบอย่างยุทธหัตถีอย่างเก่า  สมัยรัชกาลที่ ๖ คงน่าจะเอาช้างไว้สำหรับใช้บรรทุกหรือเป็นพาหนะเดินทางระหว่างหัวเมืองไกลๆ  เพราะช่วงต้นรัชกาลที่ ๖ ถนนหนทางและทางรถไฟยังมีไม่มาก รถที่จะใช้เป็นพาหนะตามกระทรวงยังไม่มีมากอย่างสมัยหลัง การเดินทางไปหัวเมืองไกลๆ น่าจะต้องอาศัยช้างเป็นพาหนะสำคัญ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นทางที่ต้องผ่านป่าฝ่าดง  แต่พอพ้นกลางรัชกาลไปแล้วกรมพระคชบาลในกระทรวงกระลาโหมน่าจะมีบทบาทความจำเป็นลดลง
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 17 ธ.ค. 09, 06:23

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ กรมพระคชบาลย้ายมาสังกัดกีทรวงวัง  และลดบทบาทลงเป็นอย่างมากแล้วครับ  ราชทินนามที่มีอยู่จำนวนมากนั้นน่าจะเป็นข้าราชการที่ตกค้างมาแต่รัชกาลก่อน  เมื่อเสียชีวิตหรือลาออกจากราชการก็ยุบเลิกตำแหน่งและราชทินนามนั้นไป เพราะแม้แต่บรรดาศักดิ์พระยาสุรินทราชา ยังเปลี่ยนไปเป็นราชทินนาเทศาฯ มณฑลภูเก็ต  ส่วนพระยาเพทราชานั้นคงมีตัวอยู่  แต่เมื่อหมดตัวแล้วก็ไม่มีการตั้งใครแทน

ในรัชกาลที่ ๖ กรมพระอัศวราชซึ่งมี พระยาอัศวบดีศรีสุรพาหน เป็นอธิบดี  มีส่วนราชการในสังกัด คือ กรมอัศวราช  กรมรถยนต์หลวง และกรมเรือยนต์หลวง เริ่มมีบทบาททดแทนกรมพระคชบาล
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 17 ธ.ค. 09, 08:45

ตำแหน่ง ออกพระเพทราชา ลาลูแบร์เขียนไว้ในจดหมายเหตุว่าเป็นตำแหน่งเดียวกับ ออกพระพิพิธราชา แต่เรียกเพี้ยนเป็น เพทราชา (Petratcha) เป็นเจ้ากรมพระคชบาล มีหน้าที่บังคับบัญชาเหล่าช้างและเหล่าม้าทั้งปวง กรมพระคชบาลสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนับเป็นกรมที่ใหญ่โตกรมหนึ่ง เนื่องด้วยช้างเป็นกำลังสำคัญของพระมหากษัตริย์ ลาลูแบร์กล่าวว่ามีบางคนอ้างว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเลี้ยงช้างไว้ถึงหมื่นเชือก ซึ่งลาลูแบร์ก็ไม่ค่อยเชื่อเสียทีเดียว โดยให้เหตุผลว่าด้วยความทะนงในศักดิ์ศรีทำให้คนเหล่านั้นกล่าวเท็จต่อตนอยู่บ่อย ๆ การเลี้ยงช้างแต่ละเชือกต้องใช้คนถึง ๓ คน ถ้าหากมีช้างถึงหมื่นเชือกจริง เฉพาะคนเลี้ยงก็ต้องใช้ถึง ๓๐,๐๐๐ คนแล้ว

ออกพระพิพิธราชาแม้มีบรรดาศักดิ์เป็นเพียงออกพระ ก็ยังมีอำนาจยิ่งใหญ่ ประชาชนพลเมืองก็รักมา เพราะเป็นคนรู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา และเชื่อว่าอยู่ยงคงกระพันด้วย และด้วยความแกลัวกล้าในการศึกทำให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดปรานยิ่งนัก
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 17 ธ.ค. 09, 12:02

อ้างถึง
ในสมัยรัชกาลที่ ๖ กรมพระคชบาลย้ายมาสังกัดกระทรวงวัง  และลดบทบาทลงเป็นอย่างมากแล้วครับ  ราชทินนามที่มีอยู่จำนวนมากนั้นน่าจะเป็นข้าราชการที่ตกค้างมาแต่รัชกาลก่อน  เมื่อเสียชีวิตหรือลาออกจากราชการก็ยุบเลิกตำแหน่งและราชทินนามนั้นไป เพราะแม้แต่บรรดาศักดิ์พระยาสุรินทราชา ยังเปลี่ยนไปเป็นราชทินนาเทศาฯ มณฑลภูเก็ต  ส่วนพระยาเพทราชานั้นคงมีตัวอยู่  แต่เมื่อหมดตัวแล้วก็ไม่มีการตั้งใครแทน

๑.กรมพระคชบาลที่ผมเอาราชทินนามข้าราชการมาลงนี่  สังกัดกระทรวงกระลาโหม  ดูแลเรื่องช้างที่ให้เป็นพาหนะในราชการฝ่ายกระทรวงกระลาโหม และคงอยุ่สังกัดกับกระทรวงกระลาโหมจนกระทั่งถูกยุบรวมกับกรมที่ดูแลสัตว์พาหนะอื่นๆที่อยู่ในสังกัดกระทรวงกระลาโหม  แล้วเรียกชื่อใหม่เป็นกรมจเรสัตว์พาหนะทหารบกและการทหารม้าสมัยต่อมา  กระนั้นก็ยังคงมีข้าราชการที่ทำหน้าที่ดูแลช้างพาหนะอยู่ เพียงแต่ความสำคัยในระยะหลังอาจจะลดลงไปเมื่อมีรถเข้าแทนที่   นอกจากนี้กรมพระคชบาลหรือกรมจเรสัตว์พาหนะฯ ยังมีหน้าที่ดูแลช้างป่าด้วย   ภายหลัง หน้าที่ดูแลช้างป่าถูกโอนไปให้กระทรวงมหาดไทยดูแลแทน เมื่อ ปี ๒๔๖๗   ส่วนกรมช้างต้น ซึ่งสังกัดกระทรวงวังนั้นดูแลเฉพาะช้างสำคัญ และแยกกรมกันกับกรมพราหมณ์พฤฒิบาศด้วย แต่สังกัดกระทรวงวังเหมือนกัน   การแยกกรมที่มีหน้าที่ดูแลช้างออกไปอยู่ตามกระทรวงทั้งสองนี้ คงเป็นมาแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อทรงจัดราชการกรมกองต่างๆ ให้เป็นกระทรวงอย่างใหม่เมื่อ ปี ๒๔๓๕

๒.ราชทินนามข้าราชการในกรมพระคชบาลนี้ ไม่ใช่ข้าราชการที่ตกค้างมาแต่รัชกาลก่อน แต่เป็นข้าราชการที่รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กระทรวงกระลาโหมออกตราประทวนตั้งข้าราชการ เมื่อปี ๒๔๕๕ ดังปรากฏในราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศมีวันเดือนปียืนยันเป็นหลักฐาน (กรูณาดูภาพประกอบ)  หลังจากนั้ก็มีการออกประทวนตั้งข้าราชการดูแลช้างในกระทรวงกระลาโหมอยู่บ้างแต่ไม่มากเท่านี้
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 17 ธ.ค. 09, 12:05

เอกสารการออกประทวนตั้งข้าราชการในกรมพระคชบาล กระทรวงกระลาโหม จากราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๙ เอามาเฉพาะหน้าแรกและหน้าท้ายสุดของประกาศ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 24 มิ.ย. 15, 16:02

ผู้อ่านท่านหนี่งได้อ่านกระทู้นี้ ต่อมาได้อ่านบทความเกี่ยวกับเรือนไทย  ส่งคำถามผ่านบรรณาธิการนิตยสารสกุลไทยมาให้ดิฉัน ว่า

" เรือนไทยนี้มีมนต์ขลัง ฉบับที่ 3152 หลังจากอ่าน ได้มีโอกาสเข้าไปสมัคร และอ่านกระทู้ "ราชทินนามกับงานที่ทำ" เขียนโดย Wandee (เมื่อ 13 ธ.ค.09) พบราชทินนาม อ.ต.หลวงสรกิจเกษตรการ เป็นล่ามในกรมสารบรรณ กระทรวงเกษตราธิการ อยากถามผู้เขียนกระทู้เพิ่มเติม แต่สารภาพว่าไม่ทราบว่าจะทำได้อย่างไร จึงเรียนถามมาทางคุณหญิง เผื่อจะมีคำตอบ


คำถาม
;-  ราชทินนามสมัย ร.7 นั้น ได้มาอย่างไร (เช่น มารับตำแหน่ง ก็ได้นามตามตำแหน่ง หรือเป็นขั้นเหมือนข้าราชการในปัจจุบัน เป็นต้น)
;- อ.ต. ย่อมาจากอะไร และ หลวงสรกิจเกษตรการ มีความหมายว่าอะไร
;- ขอคำแนะนำว่าจะค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากที่ไหน หรือใครคะ


พอตอบได้ แต่สั้น   จึงขอแรงท่านสมาชิกที่มีความรู้ด้านนี้มาช่วยขยายความให้ผู้ถามได้รับทราบด้วย  แล้วจะส่งผ่านบรรณาธิการไปให้เธอ
ที่จริงเธอจะสมัครเข้ามาถามโดยตรงก็ยินดีค่ะ

ราชทินนาม ในสมัยรัชกาลที่ 7 หรือก่อนนี้  มีควบมากับตำแหน่ง     ใครมีตำแหน่งอะไรก็ได้ราชทินนามที่แสดงความรับผิดชอบในตำแหน่งนั้น   บางทีตำแหน่งบวกกับราชทินนามมีอยู่ในทำเนียบเรียบร้อยแล้ว ใครเลื่อนขึ้นมารับตำแหน่งก็จะได้ราชทินนามพร้อมบรรดาศักดิ์ที่กำหนดไว้ ไปด้วย 
อ.ต. ย่อมาจาก อำมาตย์ตรี เป็นยศทางพลเรือน  ยกเลิกไปแล้วค่ะ
หลวงสรกิจเกษตรการ  ราชทินนามแสดงว่าท่านมีหน้าที่การงานเกี่ยวกับการเกษตร   ในกระทู้บอกว่าท่านอยู่กรมสารบรรณ กระทรวงเกษตราธิการ

ปลัดกรม                                                       อ.ต. พระนิติเกษตรสุนทร
ล่าม                                                            อ.ต. หลวงสรกิจเกษตรการ
นายเวรเก็บ                                                    ร.อ.ท. ขุนโกวิทเกษตรสาส์น
นายเวรรับส่ง                                                  ร.อ.ท. ขุนสารบรรณเกษตรกิจ

ใครพอทราบบ้างว่า ทำไมกรมชลฯ มีล่ามด้วย ?
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 25 มิ.ย. 15, 07:40

ที่กรมชลประทานต้องมีล่าม  เพราะในยุคก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นนายช่างในกรมชลฯ มีทั้งที่เป็นชาวต่างประเทศและชาวไทยครับ
และในการสำรวจวางแผนระบบชลประทานในเวลานั้นยังต้องพึ่งพานายช่างชาวต่างประเทศอยู่ครับ  จึงต้องพึ่งล่ามในการเจรจากับชาวบ้าน

ส่วนที่ถามมาว่า อ.ต.คืออะไร?
คำตอบ คือ คำย่อสำหรับยศข้าราชการพลเรือน  ย่อมาจากอำมาตย์ตรี ซึ่งเทียบเท่าพันตรีของทหารบก

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ - ๗ ข้าราชการพลเรือนนั้นมียศเช่นเดียวกับข้าราชการทหาร
ยศข้าราชการพลเรือนเรียกว่า อำมาตย์  เมื่อเทียบกับยศทหารจะเป็นดังนี้
มหาอำมาตย์นายก  เทียบ  จอมพล
มหาอำมาตย์ เอก โท ตรี  เทียบ  นายพล เอก โท ตรี
อำมาตย์  เอก โท ตรี  เทียบ  นายพัน เอก โท ตรี
รองอำมาตย์ เอก โท ตรี  เทียบ  นายร้อยเอก โท ตรี
ราชบุรุษ  เทียบ  นายดาบ

ยศ บรรดาศักดิ์และตำแหน่งเป็นของคู่กัน  เช่น เป็นเสนาบดีจะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา  ได้รับพระราชทานยศเป็นมหาอำมาตย์เอก 
เป็นปลัดทูลฉลองหรือปลัดกระทรวงในปัจจุบัน  และอธิบดี  มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา  มียศเป็นมหาอำมาตย์โท หรือตรี แล้วแต่กรณี  แล้วก็ลดหลั้นกันลงไป

ยศนั้นในสมัยก่อนผูกติดกับตำแหน่งและเงินเดือน  กล่าวกันว่าในสมัยรัชกาลที่ ๖ ข้าราชการไม่ได้รับเงินเดือนเพิ่มกันทุกปีเช่นปัจจุบัน  บางปีรับพระราชทานยศแล้ว  พอถัดมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์  ถัดมาได้รับเครื่องราชอิิสริยาภรณ์  แล้วจึงจะได้เลื่อนเงินเดือน  เรียกว่าเงินไม่ได้แต่ได้รับเกียรติยศก็เป็นที่พอใจแล้ว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.113 วินาที กับ 19 คำสั่ง