เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 8267 ๙๐ ปี อาจิณ จันทรัมพร ตามรอยคนรักและเก็บหนังสือ
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 14 ธ.ค. 09, 09:47

ประเดี๋ยวจะคัดเรื่อง สวนหนังสือ  ให้นะคะ
อยากจะร้อง กรี๊ด เพราะดิฉันมีอยู่ไม่กี่เล่ม  เห็นจะต้องพาเพื่อนพ้องไปร้อง ไอ้เสือเอาวา ตามแหล่งหนังสือหลาน ๆ คุณลุงนั่นแหละค่ะ
ส่งสายไปปักหนังสือที่ชายทุ่งแล้วค่ะ


หน้า ก ๓
คุณ สุชาติ  สวัสดิ์ศรี เขียนถึงคุณลุงไว้ว่า

          "หัวใจทางหนังสือของเขากลับยังแข็งแกร่ง  มีชีวิตชีวา  และยังให้ความสำคัญกับ "อำนาจวรรณกรรม" 
ที่มีคุณค่าทั้งอดีตและปัจจุบันอย่างไม่เสื่อมคลาย

           ข้างหลังภาพของความเป็นอาจิณ  จันทรัมพร   อาจกล่าวได้ว่า   คือตัวอย่างที่แสดงให้เราเห็นวิถีชีวิต
และวิธีปฎิบัติในชีวิตที่รักชอบภาษาไทยและหนังสือไทยอย่างหมดจิตหมดใจ       รากเหง้าของคำว่า "นักเขียน  นักประพันฐ์"
ไม่ว่าในยุคไหนก็ตาม  จะไม่มีวันตาย  ถ้าหากมีบุคคลแบบนี้"

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 14 ธ.ค. 09, 13:57

หน้า ก ๘       คุณชมัยพร   แสงกระจ่าง    นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย  เขียน  แด่  พี่ชายมหัศจรรย์ชีวิต "อาจิณ   จันทรัมพร"



"คารวะอาจิณ   จันทรัมพร
ผู้มาก่อนด้วยคารวะยิ่ง
กราบที่ท่านสอนให้รู้ชูความจริง
กราบที่ท่านทำทุกสิ่งให้พิจารณา
มีชีวิตเรียบง่ายสมถะ
ยึดธรรมะถ่อมตนคนเห็นค่า
ช่วยดูแลเชิดชูผู้ก่อนมา
เป็นนักอ่านหาญกล้าเห็นค่าคน
หนังสือเก่ามีคุณค่าและหายาก
สู้บั่นบากเก็บไว้จนได้ผล
คนรุ่นหลังอาศัยได้เปิดกมล
รุ่นพี่ค้นรุ่นน้องรับประทับใจ

คารวะ "อาจิณ  จันทรัมพร"
ผู้มาก่อนแต่ยังคงร่วมสมัย
เก้าสิบปีเต็มฝันบันดาลใน
น้องขอให้ยิ่งสว่างบนทางธรรม
สุขภาพยิ่งดีมีใจอิ่ม
ล้อมไปด้วยรอยยิ้มอันชื่นฉ่ำ
เป็นผู้ใหญ่เป็นหลักขวัญวรรณกรรม
งามทุกคำงามทุกทางกระจ่างเทอญ"

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 14 ธ.ค. 09, 14:28

หน้า ๙๙ -  ๑๐๑        สวนหนังสือ


         "สวนหนังสือ"  ฉบับปฐมฤกษ์ (พ.ศ. ๒๕๓๒)ก็พลันอุบัติมา   ทันทีที่โผล่โฉมหน้าก็ได้รับความสนใจ
จากนักอ่านพอสมควร           รูปร่างหรือบุคลิกของ "สวนหนังสือ"  คือนำเรื่องเก่า ๆมาพิมพ์เป็นหลัก
แต่ก็มีเรื่องที่เขียนกันใหม่ ๆ มาเสริมด้วย        โดยเฉพาะปกจะอนุรักษ์จากปกหนังสือเก่าเป็นส่วนใหญ่  
โดยเฉพาะฉบับที่ ๑  เรานำปกหนังสือศัพท์ไทยมาทำเป็นปก  ดูโอ่อ่าและค่อนข้างจะคลาสสิกพอควรทีเดียว"



คัดย่อความ

ระยะการออกของหนังสือเป็นรายสะดวก         บางฉบับทำเป็นพิเศษ  เรียกว่าฉบับ นักเขียน  โดยจะเน้นผลงาน
ของท่านนั้นๆเป็นการเฉพาะ  มีฉบับ

ก. สุรางคนางค์
ฮิวเมอริสต์
ชิต บุรทัต
ประยูร  จรรยาวงษ์
เปลื้อง ณ นคร


         เมื่อทำไปได้สองสามฉบับ  คุณลุงสมบัติ พลายน้อยก็ถอนตัวเพราะมีภาระด้านอื่น
คุณลุงก็ทำไปกับคุณช่วย พูลเพิ่ม       มีนักเขียนเช่น

สุชาติ  สวัสดิ์ศรี
ศรีดาวเรือง
สมบัติ  จำปาเงิน
และ ใครต่อใครจำไม่ได้หมดเขียนเรื่องมาให้

รายสะดวกของคุณลุงที่เล่ามาบางทีก็ยืดเป็นหลายเดิอน      คุณลุงไม่เคยท้อถอยมุ่งมั่นทำด้วยใจรักและอดทน
รักษาคุณภาพ

ทำได้ ๓๒ เล่มก็จำเป็นต้องวางมือ


มีนักอ่านมาตามขอซื้อครบชุดอยู่หลายราย  บางเล่มก็หาไม่ได้เพราะได้จำหน่ายไปหมดแล้ว

มีผู้มาให้กำลังใจว่า   สวนหนังสือทั้ง ๓๒ ฉบับ  จะเป็นหนังสือที่นักเลงหนังสือเสาะหากัน
และนานวันจะกลายเป็นหนังสือหายากไปในที่สุด

คุณลุงอาจิณบอกว่ารับฟังแล้วก็ชื่นใจ  ไม่เสียทีที่ได้ปลุกปล้ำขึ้นมา




ขอแสดงความยินดีกับคุณหลวงเล็กที่มีสายตาอันยาวไกล
ดิฉันก็จำเป็นที่จะต้องวิ่งแข่งกับคุณหลวงเสียแล้วในเรื่องนี้

อิอิ....คอยดูนะ

คนที่นึกว่าเต่าวิ่งช้า  ไม่เคยจับเต่ามาเล่น
พอออกสตาร์ท  มันจะวิ่งโครม ๆ ปัง ๆ    เลี้ยวไปตามสนามและพุ่มไม้  วิ่งหากลิ่นน้ำแล้วพุ่งหลาวลงสระไป

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 14 ธ.ค. 09, 16:27

ขอบคุณคุณวันดีที่คัดตอนที่ว่าด้วยสวนหนังสือที่คุณอาจิณทำด้วยความรักหนังสือเก่า มาให้อ่าน

ใครจะเชื่อว่าหนังสือที่เพิ่งออกมา เล่มแรกอายุเพียง ๒๐ ปีเท่านั้น จะกลายเป็นหนังสือหายากไปได้
ที่สำคัญเป็นหนังสือดีที่น่าอ่าน น่าเก็บสะสม  มีประโยชน์แก่คนที่ศึกษาหนังสือเก่าเกือบทุกประเภท

ยังไม่ช้าไปหรอกครับที่คุณวันดีจะเริ่มเสาะแสวงหาสวนหนังสือ 
แต่การจะตามเก็บให้ครบท่าจะยาก (แต่อาจจะไม่ยากสำหรับคุณวันดี?)
ผมเก็บมาหลายปี  จนบัดนี้ก็ยังมีไม่ครบทั้ง ๓๒ เล่ม  เจอแต่ที่ซ้ำกับที่มีแล้วโดยมาก

เอาแค่สวนหนังสือ เล่ม ๑-๑๐ เดี๋ยวนี้หาไม่ง่าย พอๆ กับช่อการะเกดเล่มแรกๆ ทีเดียว ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 14 ธ.ค. 09, 21:37

           ลุงอาจิณ  จันทรัมพร         วรรณกรรมเหนือชีวิต

           พิทยา   ว่องกุล    เขียน

           หน้า ก ๙  -  ๑๖



           รับฟังมานานแล้ว  ว่าอาจารย์ พิทยา  เป็นหลาน คุณลุงอาจิณ เพราะมาจากที่เดียวกันคือเกาะสมุย
อาจารย์เล่าว่า ลุงกำเนิดที่หน้าเมือง    อาจารย์เกิดที่โจ้งคลำ(ไม่ใช่  "โจรคล่ำ"  ที่ทางการเปลี่ยนชื่อให้ใหม่)




          "ผมขออนุญาตที่จะย้อนอดีตไปไกล    เพื่อจะขยายความให้คนรุ่นหลังได้ข้อมูลลึก ๆ ส่วนหนึ่งว่าทำไมคนที่อยู่ห่างไกลปืนเที่ยง  
ไกลความเจริญ   มิหนำซ้ำต้องข้ามน้ำข้ามทะเลอย่างยากลำบาก    เช่นลุงอาจิณ  จันทรัมพร  ถึงเป็นนักอ่าน
รักหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ        แล้วตามมาด้วยหลานอีกคนหนึ่ง  ซึ่งในแวดวงวรรณกรรมหรือพ่อค้าแม่ค้าหนังสือเก่าที่จตุจักรรู้จักว่ารักหนังสือ
สะสมหนังสือ     รวมถึงอาจจะมีคนอื่น ๆ อีกหลายคนที่ผมไม่รู้จัก        

นอกจากนี้ยังจะเล่าความเป็นมาทางประวัติศาสตร์เรื่องเกาะสมัยที่ไม่มีบันทึกประกอบ   เพื่อจะบอกว่า    ในอดีตเกาะสมุยไม่ใช่บ้านป่าเมืองเถื่อน
แต่มีรากเหง้าทางวัฒนธรรมก่อนที่ชาวจีนจะเข้ามาตั้งรกราก   และเชื้อสายจีนแพร่ขยายไปทั่วเช่นปัจจุบัน   โดยเฉพาะวัฒนธรรมทางภาษา  
และประเพณีการเรียนรู้ที่สืบทอดกันมา

..........................................
..........................................

         ในที่นี้จะขอเล่าอย่างรวบรัด    ชุมชนเกาะสมุยเดิมไม่ใช่ตัวอำเภอหน้าทอนในปัจจุบัน   แต่เรียกกันว่า บ้านเก่า
และบริเวณหน้าเมืองที่ หมื่นทา และครอบครัวอยู่ที่นั่น

แม่เล่าว่าเทียดจะเป็นผู้ส่งข่าวโดยใช้สัญญาณไฟในยามสงบ   ปล่อยควันขึ้นเป็นลูก ๆไปให้ที่ไชยาเห็น   หรือตีกลองมโหระทึกส่งสัญญาณบอกข่าว
เพราะบ้านเก่าอยู่ตรงข้ามและใกล้กับพุมเรียง  ไชยา   และเป็นสถานที่ลมสงบ     จากนั้นทางเมืองไชยก็ก็จัดม้าเร็วแจ้งข่าวแก่เจ้าเมืองนคร
เท็จจริงอย่างไรไม่ทราบเพราะเล่าต่อกันมา



จะพบว่า   ชาวสมุยที่ผิวคล้ำ   ไม่ใช่เชื้อสายจีน     จะอาศัยทำนาทำสวนอยู่ในบริเวณนี้  เป็นแหล่งน้ำท่าอุดมสมบูรณ์  มีพรุและนารอบ ๆ(ใกล้ท่าเรือเฟอรี่)
บริเวณนี้จึงเป็นปหล่งชุมชนและวัฒนธรรมเกาะสมุยไปจนถึงบ้านเก่า  ชื่อบ่งบอกไว้อย่างชัดเจน



           อีกทั้งลุงเคยเล่าให้ฟังว่า   ในการขุดทำถนนแรก ๆที่หน้าเมือง   ได้พบสุพรรณบัฏถ้วยชามและกลองมโหระทึก

           แต่ไม่รู้ว่าใครเอาไปเก็บไว้ที่ไหน

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 14 ธ.ค. 09, 21:51

คัดมาแบบสมควรเปิดเครื่องหมายคำพูดอยู่แล้วค่ะ



          อาจารย์พิทยาเล่าว่าเคยใช้เวลาในวันเสาร์หรืออาทิตย์  นัดกันไปเดินสวนจตุจักร 
โดยมีหนังสือเก่าที่มีเป้าหมายเหมือนกัน     ต่างคนต่างซื้อหา   จ่ายเงินไปตามที่ตนต้องการ

อาจารย์มีหน้าที่ขับรถ  ลุงถือสิทธิ์ขาดในเรื่องอาหารการกิน

ของโปรดคือ   พระรามลงสรง   ซาลาเปา   ขนมจีบ   กาแฟโบราณ
จิบน้ำชาจีนที่ตลาดอ.ต.ก. หรือกลับมาทานก๋วยเตี๋ยวชื่อดังย่านวังหิน   แล้วก็คุยแต่เรื่องวรรณกรรม



         
         อาจารย์บอกว่า    "คุณลุงอาจิณ  ใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างเริงร่า  เร่าร้อน  และหลงรักหนังสือเก่าหนักหน่วง
กอปรด้วยจิตใจที่เปิดกว้่าง   ไม่ปิดบังในสิ่งที่เรียนรู้            ค้นพบอะไรได้มาลุงเปิดเผยถ่ายทอดให้คนอื่นหมด"


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 16 ธ.ค. 09, 04:42

                    คนสวนผู้ปลูกอักษร

                    อำนวย   จริงจิตร      สำนักพิมพ์ ฅอหนังสือ        หน้า ก ๓๓ - ๓๔



         คุณอำนวย  เล่าว่า    "เคยอ่าน "เดือนเพ็ญ" จากการเดินซื้อหนังสือเก่า  พร้อม ๆมากับนิตยสารโลกหนังสือ, ถนนหนังสือ, ปาจารยสาร,
เศรษฐศาสตร์การเมือง ฯลฯ       ที่ต้องซื้อหนังสือเก่าเพราะผมไม่ทันหนังสือเหล่านั้นในขณะที่ยังออกอยู่     ในส่วนของ "โลกหนังสือ"  ขณะนั้น
ออกมาบางเล่มแล้ว  และผมได้อ่านมาทุกเล่ม   ซึ่งช่วง ๕ - ๖ เล่มแรกสำนักพิมพ์ดอกหญ้าอภินันทนาการให้แก่สมาชิกสำนักพิมพ์  ส่วนที่เหลือ
นำมาเลขายเล่มละ ๑๐ บาทในงานสัปดาห์หนังสือฯที่ข้างกระทรวงศึกษา

นักอ่านผู้ยากจนอย่างผมจึงได้ซื้อ ๖ เล่มแรกไว้ครอบครอง"


"คุณลุงมีส่วนสำคัญที่สุดในการชักนำให้ผมได้พบได้รู้จักหนังสือเก่า ๆ  นักเขียนเก่า ๆที่ลึกไปกว่าหนังสือเก่าที่ผมเคยอ่าน  ซึ่งหมายถึงงานเก่า ๆ
ของนักเขียนที่มีชื่อเสียงอยู่ในขณะนั้นและยังมีชีวิตอยู่  ยังมีผลงานอยู่"



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 16 ธ.ค. 09, 05:17


                      การเขียนหนังสือของคุณลุง

                      หน้า ๔๙ - ๕๓

         
            คุณลุงอาจิณเป็นคนรักการอ่านหนังสือมาอย่างโชกโชน

            คุณลุงเล่าว่า  "อยากเขียนบ้าง  ถ้าได้ลงพิมพ์ก็จะเป็นที่น่าเสน่หายิ่งนัก"


            ในปลายปี ๒๔๘๐   ขณะที่เรียนอยู่ชั้นมัธยม ๕   ได้แต่งโคลงกระทู้ขึ้นบทหนึ่ง

            จน    เงินสุดเคียดแค้น                   แสนเข็ญ
            จน    จิตแสนยากเย็น                    ยิ่งแล้ว
            จน    มิตรฤห่อนเห็น                     ใจเพื่อน
            จน    รักจึ่งให้แคล้ว                      คลาดผู้พึงสงวน

            ใช้นามปากกาพจนธรรม  และยังใช้อยู่บ้าง  ใช้มา ๖๗ ปีแล้ว

            คุณลุงเขียนลงไปรษณียบัตร  ส่งไปที่ นิตยสารลูกเสือสยาม     บรรณาธิการชื่อ ขุนสุนทรปริวรรต
หนังสือเป็นของศึกษาธิการอำเภอซึ่งขณะนั้นเรียกธรรมการอำเภอ   ที่ลูกเป็นเพื่อนนักเรียนนำไปอ่านที่วัดที่คุณลุงพักอยู่
คุณลุงยืมอ่าน

ในฉบับต่อไป  ดูเหมือนจะเป็น ๓ เดือนต่อเล่ม  โคลงกระทู้ก็ลงพิมพ์

คุณลุงเล่าว่า   "สุขใจอยู่เป็นอาทิตย์"


            จากนั้นคุณลุงก็ย่ามใจ  เขียนส่งไปอีก  และได้ลงอยู่ ๒ หรือ ๓ ชิ้น

            ต่อมานิตยสาร "ท่องเที่ยวรายสัปดาห์" จัดประกวดเรื่องสั้นประเภทท่องเที่ยว   คุณลุงได้รับรางวัลชมเชย
และนิตยสารได้ส่งหนังสือมาให้อ่านฟรีอยู่หลายปี     คุณลุงก็ส่งไปอีกและได้ลงพิมพ์อีกหลายเรื่อง    "ซึ่งถ้านำมาอ่าน
ในวันนี้อาจจะคลื่นไส้   เพราะสำนวนยังเชยแหลกอยู่"
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 16 ธ.ค. 09, 06:00

         ในปี ๒๔๙๓    คุณลุงเขียนสักวาลงใน สยามรัฐ    ใช้นามปากกาว่า "เดือนดวงเดิม"
เขียนสักวาอยู่หลายปี  รวมแล้วเกินร้อยบท

อาจารย์ฉันทิชย์  กระแสสินธุ์ ชมว่าคุณลุง เขียนกลอนแปดได้ดี  "กลกลอนพราว เผยเรื่องราวแบบฉบับตำรับครู"
เมื่อส่งสารไปยัง "เจ้าหญิงจันทิมา" ใน "ปาริชาติ"     อาจารย์ฉันทิชย์ตอบจดหมายทุกฉบับ
(อยากอ่านอีกทีจัง  เก็บไว้ที่ไหนหนอ)




ขอบางตอนยก นิราศเกษียณ ที่พิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์ดอกหญ้า ๒๕๔๕

หน้า ๔๕


เราเป็นชั้นอำเภอเสมอเสมียน                   ต้องแนบเนียนนอบน้อมค้อมประสาน
เอาสองมือเกาะกระดุมคุมอาการ                ถูกระรานติติงต้องนิ่งฟัง
ความรู้สึกของตัวกับหัวหน้า                      เหมือนแผ่นฟ้ากับดินไกลสิ้นหวัง
มีปากเหมือนปากหอยด้อยพลัง                  มิให้พลั้งขัดใจภัยจะมา

เหมือนต้นอ้อกอน้อยคอยโยกไหว               ลู่ลมไปตามกระแสแน่นักหนา
เพื่ออยู่รอดปลอดภัยในพารา                    คิดขึ้นมาถอนสะอื้นไม่ชื่นชู
ในสังคมอยู่ขั้นชั้นเสมียน                         ย่อมหมุนเวียนแกมกดน่าอดสู
บ้างถูกเพื่อนรังแกไม่แลดู                        บ้างถูกขู่คำรามเอาตามใจ

บ้างอิจฉาตาร้อนตอนเรารุ่ง                      เมื่อโชคพุ่งพาชีวิตน่าพิสมัย
บ้างคอยฟ้องแต่งเติมข้างเสริมภัย               ให้บรรลัยย่อยยับไปกับมือ
ส่วนเพื่อนผู้หวังดีก็มีมาก                         ใช่ถากถางแถมวจีผีกระสือ
อีกเจ้านายหลายหน้าเคยหารือ                   กลับดึงดื้อเกลียดชังก็ยังมี

ที่กลายเป็นคู่คิดเหมือนปิตุเรศ                    ไม่หาเหตุรังเกียจและเสียดสี
อุปถ้มภ์ค้ำชูอยู่ในที                                คอยแนะชี้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อมา
ภาพเหล่านี้เกาะสนิทติดใจแน่น                   ไม่คลอนแคลจำลึกไว้ศึกษา
มุมานะเป็นแรงหนุนอุ่นอุรา                        จนถึงคราเป็นเจ้านายช่วงปลายวัย


ตอนจบคุณลุงเขียนว่า

          สำนึกแน่วแล้วหนอต่อหัวโขน            ที่หยิบโยนใส่หัวไม่มั่วเขลา
อันอำนาจราชศักดิ์เหมือนหลักเงา                 วันหนึ่งเขาก็จะปลดลดราคา
ทำหน้าที่ดีเลิศเปิดโอกาส                          ลูกน้องอาจสบทบเข้าพบหา
จะต้อนรับนับญาตืผูกขาดมา                       กติกาพรหมวิหารประสานทาง
บันทึกการเข้า
kulapha
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 14 มี.ค. 15, 20:15

เอ..สงสัยหลายท่านคงยังไม่ทราบข่าวนี้
เพราะในสื่อต่างๆก็ไม่พูดถึงนอกจากเวปนี้
https://www.facebook.com/preedakowbor/posts/793564294053419

คุณอาจิณ จันทรัมพร ได้เสียชีวิตแล้วเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา 12/3
ด้วยอาการสงบที่บ้านพัก ค่อยๆสิ้่นลมหายใจทีละแผ่วจนหมดลม
สวดพระอภิธรรมศพถึงวันที่ 18/3 ศาลา 11 วัดพระศรีมหาธ่าตุ บางเขน เริ่มสวด 18.30 น.
เผาวันอาทิตย์ที่ 22/3 เวลาสี่โมงเย็นค่ะ

แจ้งข่าวสำหรับมิตรรักนักเขียนรุ่นเก่า

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 15 มี.ค. 15, 07:37

 ร้องไห้


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 15 มี.ค. 15, 09:24

ท่านเป็นคนทำหนังสือ "สวนหนังสือ" พกเก็ตบุ๊ค รายเดือน
ผมเก็บได้แค่  5-6 เล่ม ชอบอ่านแนวแบบนี้ด้วย 
ยังน่าจะหาได้เพราะไม่เก่ามากแค่  20ปี  +-
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง