เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 8271 ๙๐ ปี อาจิณ จันทรัมพร ตามรอยคนรักและเก็บหนังสือ
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 11 ธ.ค. 09, 13:16

ไม่มีโอกาสได้ใกล้ชิดคุณลุง  อาจิณ  จันทรัมพร    เหมือนเพื่อนๆนักเขียนเพราะเป็นแต่นักอ่านหนังสือเก่าไร้ชื่อเสียงเรียงนาม
แต่ความเคารพรักคุณลุงผู้สะสมและคืนชีวิตให้กับหนังสือเก่าก็คงไม่น้อยกว่าใคร ๆ


ขอคัดลอกตัดทอนประวัติของคุณลุง และ  วิ่งตามการสะสมหนังสือของคุณลุงด้วยดวงใจที่ระทึก
ระทึกจริง  ไม่ได้พูดเล่น   เพราะขณะที่อ่านก็โทรศัพท์ไปหาเพื่อนๆในชมรมนักอ่านหลายคน   อ่านความสำคัญของข้อมูลให้ฟัง


สหายเจ้าของโรงพิมพ์แจ้งมาว่าเก็บหนังสือ ๙๐ ปีของคุณลุงไว้ให้เล่มหนึ่งแล้ว  อ่านหรือยัง
ไม่ใช่สหายถามแบบนี้   ต้องดักตีด้วยก้านมะละกอไปแล้ว
ยังไม่ได้ให้หนังสือ   มาถามว่าอ่านหรือยัง


ตอบอย่างทรนงไปว่า     อ่านแล้ว
สหายงงงันไปชั่วขณะ    ใครเอามาให้ล่ะ
วันดี                       หลานท่าน          จาน.........(ที่เราบูชาเรื่องสั้นของท่าน นายจิตรนายใจ)
สหาย                      ตกลงเล่มนี้ไม่เอาใช่ไหม
วันดี                       เรื่องหนังสือ เราไม่หยิ่ง   คนอยากได้ใจแทบขาดรอนมีถมไป

สหาย(บ่น)               ที่จริงลูกสาวคุณลุงบอกให้หยิบไปหลาย ๆเล่ม   ก็เกรงใจสายตาคนอื่น
วันดี(ถอนหายใจ)        อย่าหยิ่งกับหนังสือ  บอกกี่หนแล้ว     ทีหลังเอามือปิดหน้าเวลาหยิบหลายเล่มนะ
สหาย                      แล้วจะเก็บไว้ให้นะ....




ย่อประวัติที่คุณลุงเขียนเองและที่วงการเขียนถึง


คุณลุง อาจิณ  จันทรัมพร  เกิด เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๔๖๒  ที่ ตำบลหน้าเมือง  อำเภอเกาะสมุย  สุราษฎร์ธานี
พี่น้อง ๙ คน  คุณลุงเป็นคนที่ ๕

บิดามารดาเป็นชาวสวนมะพร้าว

คุณลุงและน้องชายคนหนึ่งได้เรียนถึงมัธยม ๖    ที่แถวบ้านคุณลุงไม่ค่อยจะมีโอกาส   อย่างมากก็จบ ป. ๔



ในปีพ.ศ. ๒๔๗๐  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระราชินี พระนางเจ้ารำไพพรรณีเสด็จประพาสเกาะสมุย
ทางอำเถอจัดรับเสด็จที่ปลายทางคือบริเวณน้ำตาหน้าเมือง   กำหนดให้นั่งเป็นกลุ่มสองข้างทางเสด็จ
เมื่อกระบวนผ่านตรงจุดนั่งขอไม่ให้ก้มหน้าไม่ให้มองตรง ๆ  ซึ่งเป็นประเพณีโบราณ

คุณลุงเป็นเด็กไม่ยอมก้มหน้าและมองอย่างเต็มตา
จำได้ว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงม้าชื่องแสงทองหรือร่องมดตัวใดตัวหนึ่ง


ช่างเล่าจริง ๆ  คุณลุงฉัน    จำชื่อม้าได้ด้วย    ชื่อแสงทองพอจะเข้าใจได้ค่ะ  แต่ร่องมดมีประวัติไปมาอย่างไรคะ
การตามอ่านเรื่องโบราณต้องสงสัยแล้วถามไว้เรื่อยๆ



เรื่องนี้สงสัยยาวเพราะคุณลุงเล่าเรื่องการเก็บหนังสือด้วย
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 11 ธ.ค. 09, 14:17

ลัดนิ้วมือเดียว  คุณลุงอาจิณเรียนจบประถม ๖  ออกมาช่วยพ่อแม่ทำงานไปตามพื้นเพของชาวบ้าน  คือทำสวนมะพร้าว
ถางสวน  สอย และเก็บมะพร้าว  ปอกมะพร้าว

การขนมะพร้าวไปขายแก่พ่อค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนจีน  จะต้องขนใส่ยานพาหนะซึ่งเรียกว่าล้อใช้ควายเทียม
ล้อมีขนาดเล็กว่าเกวียน   ส่วนล้อนั้นทำด้วยไม้แผ่น  เอามาตัดให้กลมเป็นล้อ หรือเป็นวงล้อ(หน้า ๑๐)

ลูกพี่ลูกน้องชวนไปเรียนหนังสือต่อที่โรงเรียนประจำอำเภอปากพนัง  เรียนเก่งสอบได้ที่หนึ่งทุกครั้ง
จบชั้นมัธยม ๖ เมื่อปี ๒๔๘๑

คุณลุงไปเป็นครูที่โรงเรียนราษฎร์หน้าตลาดอยู่ปีสองปี  แล้วไปเป็นสารวัตรศึกษาที่อำเภอ  เงินเดือน ๑๖ บาท
ช่วงนี้ได้บวชตามประเพณี  แล้วก็เบียด


โปรดสังเกตว่า จะเอ่ยถึงรายได้ทุกครั้งที่มีข้อมูล เพราะต้องการแสดงรายจ่ายในการสะสมหนังสือต่อมา


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 11 ธ.ค. 09, 15:18

จังหวัดสุราษฎร์ธานีประกาศสอบแข่งขันเสมียนแผนกสรรพาสามิต ๓ ตำแหน่ง
คุณลุงสอบได้ และบรรจุเมื่อ ๒๔๘๔  อายุ ๒๑ ปี   เงินเดือนตั้งต้น ๒๐ บาท

ข้าราชการจัตวาสมัยนั้น  ขึ้นเงินเดือนปีละ ๑ ขั้น  ขั้นละ ๒ บาท

ญี่ปุ่นบุก

โดนย้ายไปเป็นเสมียนที่อำเถอเกาะสมุย     

คุณลุงใช้เวลา ๑๐ - ๑๕ ปีก็พ้นชั้นตรี
สอบชั้นโทได้ที่ระนอง  ผู้สอบทั้งประเทศ ๖๐๐ - ๗๐๐ คน  ตำแหน่งที่จะบรรจุชั้นแรกมีเพียง ๒๘ ตำแหน่ง

ต่อมาย้ายไปกองสุราและยาสูบ(หน้า ๒๙)     คุณลุงไปฉะเชิงเทราแล้วไปสุรินทร์   ลงมานครศรีธรรมราช  ไปสตูล  นราธิวาส  แล้วสุราษฎร์ธานีบ้านเกิด
เกษียณในปี ๒๕๒๓




การหมกมุ่นอ่านหนังสือและการเก็บหนังสืออย่างจริงจัง  หัวใจของเรื่อง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 11 ธ.ค. 09, 15:35

ที่กัดฟันเล่ามาตั้งนานนี้ก็เพื่อจะเล่าว่าคุณลุง อ่าน อะไร  และ เก็บ  เล่มไหน


   คุณลุงเล่าว่าพอหายตื่นเมืองแล้วก็ไปอ่านหนังสือที่หอสมุดแห่งชาติ   เคยอ่าน เสนาศึกษาและแผ่วิทยาศาสตร์มาแล้ว
ที่คุณหลวงสารานุประพันธ์ เป็นบรรณาธิการ

คุณลุงเล่าอย่างเปิดเผยว่า อยากอ่านเรื่อง ยอห์น เดวา จนเนื้อเต้น  จนได้ติดตามไปรู้จักทายาท
ทราบว่า  คุณจำรัส  สายะโสภณได้เขียนนิราศที่ค้นพบแล้ว ๓ เรื่อง  คือ

นิราศนครสวรรค์

นิราศคลองไผ่

และ นิราศลพบุรี



คุณลุงเล่าถ้าไม่ไปหอสมุดก็อยู่บ้านอ่านหนังสือ     จะว่าไปก็ค่อนข้างหนัก
คืออ่านงานของกรมพระยาดำรง
เสถียรโกเศศ - นาคะประทีป
ร.​๖
แสงทอง
กุหลาบ  สายประดิษฐ

คุณลุงบอกว่าหลงนิยายของ อิงอร  และ พอใจตึกกรอสส์ของ อ. อุดากรมากที่สุดเรื่องหนึ่ง(หน้า ๕๕)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 11 ธ.ค. 09, 22:11

หน้า ๕๖



        "หนังสือทั่ว ๆ ไปที่ผมอ่านมีมากจนจำแทบไม่ได้     แต่การอ่านออกจะเน้นไปที่เรื่องเป็นสาระและให้ความเพลิดเพลินทั้งให้ความรู้
การอ่านหนังสือของผมในช่วงต้น ๆ  รู้สึกจะเป็นหนังสือประเภทกวีนิพนธ์  คือหนักไปในแนวนั้น   ด้วยว่าเมื่อผมเริ่มจะฝึก
เขียนหนังสือผมก็เริ่มต้นมาที่บทกวีก่อน   คือหัดแต่งโคลงสี่สุภาพ  บทกลอน  หนัก ๆเข้าหัดแต่งฉันท์  โดยเกาะฉันทลักษณ์อย่างเหนียวแน่น  
จึงในระยะนั้นผมจะอ่านโคลงนิราศนรินทร์   พระอภัยมณีของท่านสุนทรภู่  นิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัย   สามัคคีเภทคำฉันท์ของ
ท่านชิต  บุรทัต   และหนังสืออื่นอีกจนถึงลิลิตพระลอ  ระเด่นลันได  และเอ๋งติ๋งห้าวก็เคยอ่านอย่างฝังจิตฝังใจ


         ยังมีหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่ผมพอใจและชอบอ่านเอามาก ๆนั่นคือหนังสือเรื่อง "กนกนคร" บทประพันธ์ของน.ม.ส.
หนังสือเล่มนี้ผมได้พบและอ่านครั้งแรกตั้งแต่ปี ๒๔๘๔     เพื่อนคนหนึ่งเขารับราชการอยู่แผนกสรรพากร  ได้มาเล่าให้ฟังว่า
เขาได้อ่านหนังสือเล่มนี้มีความดีอย่างนั้นอย่างนี้     ผมก็เกิดสนใจใคร่ได้อ่านบ้างก็ไม่มีทางเพราะหนังสือเล่มนั้นเป็นสมบัติของสโมสร
ข้าราชการจังหวัดสุราษฎรธานี   และผมเพิ่งเข้ารับราชการยังไม่ได้เป็นสมาชิกสโมสรแห่งนั้น         จำเป็นต้องขอแรงเพื่อนคนนั้น
ยืมในนามของเขา  เอามาให้ผมอ่าน       ผมขอสารภาพว่า  ผมได้อ่านด้วยความสุขใจและพอใจเอามาก ๆ
ประการหนึ่งเพราะเป็นหนังสือกวีนิพนธ์  จึงชอบอ่านเป็นพิเศษ  และเริ่มจดจำนามผู้แต่งคือน.ม.ส.ไว้แนบแน่นในหัวใจมาแต่บัดนั้น  


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 11 ธ.ค. 09, 22:35

  
         ตอนหลังเมื่อเวลาล่วงมาหลายปี  เห็นจะเป็นสิบ ๆ ปี   ผมเวียนหาหนังสือเล่มนั้นมาเป็นสมบัติของตนเองบ้าง  
โชคดีที่ไปได้ที่นครศรีธรรมราช  ในโอกาสไปราชการที่นั่น  แต่เป็นคนละฉบับพิมพ์กับฉบับที่เคยอ่านที่สโมสรข้าราชการสุราษฎรธานี
เล่มที่ผมซื้อที่นครศรีธรรมราชที่กล่าวเป็นฉบัยพิมพ์ซึ่งระบุว่า  พิมพ์ครั้งที่ ๒  พ.ศ. ๒๕๐๓  พิมพ์โดยคลังวิทยา  กรุงเทพฯ
...........................................
...........................................
ตอนหลังเมื่อผมเกษียณราชการแล้วเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ   ได้มีโอกาสพบและคุ้นเคยกับคุณชาลี  เอี่ยมกระสินธุ์  นักเขียนสารคดีชื่อดัง  
ทั้งเป็นนักสะสมหนังสือด้วย    ท่านมีหนังสือเรื่อง "กนกนคร" ฉบับพิมพ์ครั้งแรกหรือครั้งที่ ๑   ซึ่งผมได้เห็นก็ตื่นเต้นและสนใจมาก
แต่แล้วด้วยไมตรีจิตรคุณชาลีก็มอบให้มา  ผมเก็บสมบัติอย่างถนอมไว้จนบัดนี้    


ฉบับพิมพ์ครั้งแรกนี้ทำปกแข็งเดินทอง  โดยเฉพาะส่วนที่เดินทองที่ปิดไว้ที่สันปกเขียวเป็นแผ่นหนังเล็กสีแดงแปะไว้ที่สันหนังสือส่วนบน
ใบรองปกพิมพ์ว่า  พิมพ์ครั้งที่ ๑ จำนวน ๕๐ ฉบับ   โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร  กรุงเทพฯ  พ.ศ.​๒๔๖๕"

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 12 ธ.ค. 09, 00:02

คุณลุงอาจิณเล่าต่อว่า

พระนลคำฉันท์ครั้งแรกพิมพ์เสร็จในเดือนกันยายน พ.ศ.​๒๔๖๙   พิมพ์ ๖๓ ฉบับเท่านั้นเพื่อใช้เป็นต้นร่าง

คุณลุงบอกว่า  "ขึ้นชื่อว่าบทประพันธ์ของน.ม.ส. ไม่ว่าพระองค์ท่านจะทรงนิพนธ์เป็นร้อยกรองหรือร้อยแก้ว 
ล้วนน่าอ่าน  น่าศึกษาและน่าสนใจทั้งสิ้น   ขอไล่มาแต่

จดหมายจางวางหร่ำ
นิทานเวตาล     

อ่านกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ   นับเป็นหนังสือชวนอ่านอยู่เสมอ

ผมเป็นแฟนอย่างเหนียวแน่นขององค์นิพนธ์  เพราะไม่ว่าภาษาในด้านร้อยแก้วหรือร้อยกรอง   พระองค์ท่าน
จะทรงเลือเฟ้นแต่คำที่มีน้ำหนักล้ำลึกในความหมาย   และแต่งเติมด้วยภูมิปัญญาของท่านลงไปด้วย
บางทีแทรกอารมณ์ขันลงไป   ทำให้อ่านเพลินและได้ความรู้เหลือหลาย

บทความสั้น ๆ ที่องค์นิพนธ์ได้ทรงนิพนธ์ขึ้นอย่างเช่นเรื่อง  "ความนึกในฤดูหนาว"  ก็น่าอ่านและน่าสนใจเอามาก ๆ
แม้นว่าบทประพันธ์ของน.ม.ส.ได้ประพันธ์ฝากไว้ในโลกวรรณกรรมมาช้านานแล้ว   แต่เมื่อหยิบขึ้นมาอ่าน
ไม่ว่าเล่มใด ๆ ดูเหมือนจะยังสดและใหม่อยู่เสมอ  ประหนึ่งว่าองค์นิพนธ์จะได้ทรงนิพนธ์และพิมพ์ขึ้นเผยแพร่เมื่อวานหรือวันนี้นี่เอง

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 12 ธ.ค. 09, 06:47

คุณลุงอาจิณเล่าต่อไปว่า คุณลุงอ่านหนังสือมาตลอดอายุ  จำนวนที่อ่านมหาศาล   จึงจะขอเล่าแต่หนังสือที่ชอบอ่าน(หน้า ๕๘)


ท่านชอบงานเขียนของ ท่านอาจารย์สุกิจ  นิมมานเหมินทร์  เริ่มจากงานเขียนเบ็ดเตล็ดก่อน


"อาจารย์สุกิจ  นิมมานเหมินทร์ เขียนหนังสือแบบประหลาด  คือประมาณว่า  ท่านจะเขียนถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้
แต่ท่านจะเขียนออกนอกลู่นอกทาง  เชื่อมโยงเกี่ยวพันกับเรื่องนั้นเรื่องนี้คล้ายแบบลูกระนาด   แต่ให้ความรู้ได้อย่างน่าพิศวง"

"เรื่องของคนแซ่อื่น"  ท่านเขียนควบคู่มากับ  "คนแซ่หลี"   ลงเป็นประจำใน สยามิศร์ตั้งแต่ กันยายน ๒๕๑๘    เขียนได้เพียง ๒๐ ฉบับ


คุณลุงสมบัติ  พลายน้อย เขียนใน "เดือนเพ็ญ" รายเดือนว่า
"เมื่อคนชื่อนั้นได้หันมาเขียนหนังสือ   เขากลับได้ชื่อว่าเป็นคนเขียนหนังสือแปลก  ตั้งชื่อเรื่องก็แปลก
อ่านแล้วได้รสขาติประหลสด  สนุก  แหย่ให้คิด  แทรกความรู้ไว้อย่างกว้สงขวาง  จนได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์คนหนึ่ง
ในปัจจุบันหาคนที่เขียนหนังสือทำนองนี้ได้ยาก"


"คนแซ่หลี" เขียนลงหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตยฉบับพิเศษ ตามคำเชิญของคุณสนิท  ธนรักษ์     ต่อมาได้ลงพิมพ์ใน "กรุงเทพฯ แมคกาซิน"
ต่อมา สำนักพิมพ์ประพันธสาส์น เวิ้งนาครเกษม ได้พิมพ์เป็น ๒ เล่มใหญ่เมื่อ ๒๕๑๙     ขายดีและพิมพ์ซ้ำ  เป็นหนังสือหายากไปแล้ว
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 12 ธ.ค. 09, 06:54

งานเขียนอื่น ๆ ของท่านสุกิจ  นิมมานเหมินทร์  ที่คุณลุงอาจิณอ่านมี

รวมเรื่องเขียน  เป็นบทความสั้น ๆ  คุรุสภาพิมพ์    ในเล่มมีชื่อประหลาดอย่างเช่น
"อันน้องนี้แต่กำเนิดเกิดมา  เรื่องหุงข้างหุงปลาก็มิเคย"  อย่างนี้เป็นต้น

ผ่านพืภพลีลาและอื่น ๆ

สี่ปีในสหรัฐและอื่น ๆ

บุพการีบูชา

ว่าพลางทางชมคณานก

ฟุกฟิดฟอไฟพูดไทยดีกว่า

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 12 ธ.ค. 09, 15:12

การอ่านของคุณลุงกว้างไกล     ท่านอ่าน แข ณ วังน้อย    ศรีบูรพา     สด กูมะโรหิต      ม.จ. อากาศดำเกิง ระพีพัฒน์


ท่านไม่ลืมงานของ กาญจนาคพันธ์
ดวงกมลนำ หลักไทย มาพิมพ์ซ้ำ
ท่านติดใจ "ภูมิศาสตร์วัดโพธิ์"    ชุดคอคิดขอเขียน  และเรื่องปลีกย่อยเหลือคณานับ
งานเขียนของท่าน กาญจนาคพันธุ์ เป็นสารคดีที่ให้ความรู้อย่างกว้างขวาง


งานของคุณหลวงวิจิตรวาทการ  คุณลุงชอบ "วิธีทำงาน" อย่างที่สุด
เล่มนี้สำนักพิมพ์อุดมพิมพ์ครั้งแรกเป็นเล่มเล็กบางๆในราวปี ๒๔๘๕ -  ๒๔๘๖



พูดถึงหนังสือที่ชอบ     คุณลุงอาจิณบอกว่ามีอยู่มากมาย  ชักมันมือขอเพิ่มเติมว่า  งานพระราชนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
หากใครใดไม่อ่านหรือไม่เคยอ่านจะเป็นที่น่าเสียหาย
งานนิพนธ์ของพระองค์เป็นเสมือนขุมวิทยาการ
หากจะยกตัวอย่างว่า  มีเรื่องใดที่น่าอ่านและน่าศึกษา   ก็คงจะเลือกยากเพราะวิเศษไปเสียทั้งนั้น



งานประพันธ์ของ เสฐียรโกเศศและนาคะประทีป  มีมากมายสุดที่จะพรรณนา(หน้า ๖๒)
เรื่อง "กามนิต"   ใครจับขึ้นอ่านจะวางไม่ลง เพราะดีเยี่ยมทั้งการใช้ถ้อยคำภาษาและการเดินเรื่อง  ชวนให้ตื่นเต้นและติดตาม

"เรื่องแปลอย่างโซไรดา  ก็อ่านสนุกไม่รู้เบื่อ

อีกเล่มคือ "ลัทธิของเพื่อน"  เรื่องนี้มีความเป็นมาว่า   เขียนให้เพื่อนต่างศาสนาให้ได้เข้าใจในลัทธิและแนวทางศาสนาของแต่ละกลุ่ม
เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเป็นมิตรต่อกัน
ในชั้นแรกเขียนเป็นตอน ๆ พิมพ์ในงานศพใครต่อใครเป็นส่วนมาก  และพิมพ์เป็นเล่มเล็ก ๆ จบในตอนนั้น
ภายหลังเห็นสำนักพิมพ์ อุดม  รวมพิมพ์เป็นเล่มใหญ่เมื่อหลายปีก่อน
ฉบับพิมพ์นี้กลายเป็นหนังสือหายากไปแล้ว" 
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 12 ธ.ค. 09, 15:21

"ย้อนมาพูดถึงหนังสือประเภทนวนิยายอีกที   งานประพันธ์ของ ก. สุรางคนางค์เรื่อง "หญิงคนชั่ว"ก็ไม่เลว
เรื่องนี้ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ฯ  ทรงให้ความสนใจและทรงวิจารณ์ไว้อย่างน่าฟัง
เรื่องสั้นขนาดยาวเช่น "ปู่บุญ", "ปลายเนิน"  ก็น่าอ่านพอควร
เรื่องสั้นของนักประพันธ์ท่านนี้ที่ไม่ควรพลาดคือเรื่อง "ยาย"
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 12 ธ.ค. 09, 21:24

คุณลุงอาจิณ  จันทรัมพร   ได้พูดถึงนักประพันธ์อีกประมาณ ๑๖ - ๑๗ รายและงานสำคัญของท่านเหล่านั้น



จะขอคัดลอกชีวิตนักสะสมหนังสือ  ที่เริ่มไว้ใน หน้า ๖๕     คือบรรยายเองบ้างและนำข้อเขียนที่ประทับใจมาลง
ในพ.ศ. ๒๔๗๙       คุณลุงมาเรียนชั้นมัธยม ๔ ที่โรงเรียนประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี  อาศัยวัด
มีเงินค่าใช้จ่ายที่ต้องดูแลให้อยู่รอดไปจนสิ้นเดือน   แต่  คุณลุงก็เจียดเงินซื้อหนังสือบ้าง

           "ขณะนั้นที่ตลาดบ้านดอน  ผมจำได้ว่า  มีผู้นำหนังสือต่าง ๆ ทั่วไป ไปวางขายแบบแบกะดิน
จำได้ว่าได้เคยซื้อหนังสือ "ลัทธิของเพื่อน"  ซึ่งเขียนโดยเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป  ที่พิมพ์ในงานศพคนสำคัญ
พิมพ์เป็นเล่มบาง ๆได้หลายเล่ม   เล่มละไม่กี่สตางค์   แต่เด็กบ้านนอกเงินไม่กี่สตางค์ย่อมมีค่าและมีความหมาย
แต่ด้วยใจรักหนังสือจริง ๆจึงกล้าลงทุน
.........................................(พูดถึงสำนักพิมพ์อุดม)
ส่วนเล่มเล็กๆที่เก็บสะสมมาจนได้หลาย ๆตอน  ผมได้นำไปให้ช่างรวมเล่มทำปกแข็งขึ้นไว้หลังจากที่ได้สะสมต่อเนื่องเป็นเวลานานถึง ๖๐ กว่าปี"




      คุณลุงเริ่มสะสมอย่างจริงจังตั้งแต่ปี ๒๔๘๔ เป็นต้นมาเพราะรับราชการแล้ว  มีเงินเดือน ๆละ ๒๐ บาท

ซื้อ

วิธีทำงานของหลวงวิจิตร

ครอบจักรวาล  ของท่านอากาศฯ

ขงเบ้งผู้พนมมือให้กับคนทุกชั้นของยาขอบ

มาดามโบวารี แปลโดยวิทย์  ศิวะศริยานนท์


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 12 ธ.ค. 09, 21:35

พอย้ายไปท่าฉาง  คุณลุงรับ ปาริชาต  ที่อาจารย์ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์เป็นบรรณาธิการ
ที่ตลาดบ้านดอน  คุณลุงซื้อ พระนลคำหลวงฉบับพิมพ์ครั้งแรก ๒๔๕๙  ปกผ้าสีน้ำเงินแก่ สันเดินทอง  มีสองเล่ม  ยังอยู่กับคุณลุงจนทุกวันนี้

วันหนึ่งคุณลุงซื้อ "โรสเวลต์" ซึ่งไสว สุทธิพิทักษ์เป็นผู้แปลและเรียบเรียง
เหมเวชกรวาดปก  ราคาเล่มละ ๒๒ บาท


คุณลุงบันทึกไว้ว่า  "๑๙ ​ธันวาคม ๒๔๙๒   หนังสือเล่มนี้ผมบ้าบิ่นซื้อมาได้อย่างไรขณะนั้นผมได้รับเงินเดือนเพียง ๒๔ บาทเท่านั้น
จนบัดนี้หนังสือเล่มนี้ยังคงอยู่กับผม  เป็นเพื่อนผมมานานเกือบจะ ๖๐ ปีแล้ว"




บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 12 ธ.ค. 09, 21:50

หน้า ๖๗
คุณลุงเล่ารายละเอียดประวัติการพิมพ์สาส์นสมเด็จ

เล่าว่าได้พยายามเก็บมาตั้งแต่ จำลองสารเริ่มพิมพ์

คุณลุงบอกด้วยว่าหนังสือชุดประชุมพงศาวดารก็สนใจมาก



วาจาอันห้าวหาญของคุณลุงอาจิณก็คือ การเก็บหนังสือเพื่อการสะสมของท่านไม่มีการหยุดยั้ง(หน้า ๖๘)



ชีวิตราชการของคุณลุงย้ายบ่อยมาก   ลูกน้องที่มาช่วยย้ายฉงนเพราะไม่มีเครื่องเรือนและเครื่องใช้มากนัก  เก้าอี้ชุดรับแขกก็ไม่มี  
ใช้โต๊ะอาหารเป็นชุดเอนกประสงค์   ตู้เตียงก็มีจำกัดพอเหมาะกับครอบครัวเล็ก ๆ

แต่คุณลุงมีหีบหนังสือ ทำด้วยไม้สนอันเป็นไม้เนื้อแข็ง  มีฝาปิดเปิดใส่กุญแจ ๒๐ - ๓๐ หีบหรือลัง


เฮ้อ!   ลังคงหนักมากทีเดียว




จบแล้วค่ะ  ขอบคุณที่ตามอ่าน
ขาดตกบกพร่องเป็นความผิดของดิฉันเองที่คัดลอกพลาดไป

หนังสือ ๙๐ ปี  อาจิณ  จันทรัมพร  ที่อาจจะได้มาเป็นเล่มที่สอง  คงเสี่ยงพวงมาลัยแถว ๆนี้ล่ะค่ะ


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 14 ธ.ค. 09, 08:20

คุณวันดีครับ  เอ...คุณอาจิณ  ได้เล่าเรื่องการทำวารสาร"สวนหนังสือ"ไว้บ้างหรือเปล่าครับ    ผมกำลังตามเก็บให้ครบ ๓๒ ฉบับ  (ใกล้ครบแล้วครับ) เสียดายว่า สวนหนังสือได้ยุติการออกไปแล้ว  ทั้งที่เป็นวารสารดีที่ให้ความรู้เรื่องหนังสือเก่าๆ มากทีเดียว  คุณอาจิณเป็นบรรณาธิการวารสารนี้ร่วมกับคุณช่วย  (จำนามสกุลไม่ได้)   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง