เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 24654 นามสกุล ชูกระมล และ ตะละภัฏ
pomsang
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


 เมื่อ 09 ธ.ค. 09, 17:39

อยากทราบว่าตอนนี้ยังมีคนใช้นามสกุล 2 นามสกุลนี้หรือเปล่าซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนีทรงเคยใช้มาก่อน ก่อนที่จะมาเป็นหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา
ปล.ไม่รู้ว่า ใช้คำศัพท์ถูกเปล่า สำหรับนามสุกล หรือว่าใช้ราชนิกุล
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 09 ธ.ค. 09, 18:45

เท่าที่ทราบ
ชูกระมล มีผู้ที่ใช้นามสกุลนี้ได้คนเดียวคือคุณถมยา  พระอนุชาในสมเด็จพระศรีนครินทรฯ แต่ท่านก็ถึงแก่กรรมเมื่ออายุแค่ ๑๗ ปี  ไม่ได้สมรส     จึงไม่มีผู้ใดใช้นามสกุลนี้อีก
ส่วนตะละภัฏ เป็นนามสกุลของเจ้ากรมหลี  (ขุนสงขลานครินทร์) เจ้ากรมในเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลาฯ(พระยศในขณะนั้น)
สมเด็จพระศรีฯ ในตอนนั้นคือน.ส.สังวาลย์   ทรงขอยืมมาใช้เพื่อลงนามสกุลในพาสปอร์ตให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์ม  เพราะท่านยังไม่ทรงมีนามสกุลของตนเองในขณะนั้น

พวกตะละภัฏ    ไม่ได้เป็นพระญาติกับท่าน  

ถ้าจะมีคนใช้นามสกุลนี้ ก็คือลูกหลานของเจ้ากรมหลี    คุณลองค้นในกูเกิ้ลดู น่าจะยังมีลูกหลานที่ใช้นามสกุลนี้อยู่นะคะ

ถ้าใครมีข้อมูลแตกต่างจากนี้ หรือจะเพิ่มเติม ก็เชิญเข้ามาเล่าด้วย
บันทึกการเข้า
เงินปุ่นสี
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 09 ธ.ค. 09, 21:47

เจ้ากรมหลีนั้น เมื่อตอนได้รับประทานนามสกุลนั้น มีบรรดาศักดิ์เป็นขุนสงขลานครินทร์
ต่อมาภายหลังได้เลื่อนขึ้นเป็นหลวงสงขลานครินทร์ครับ
เจ้ากรมท่านมีบุตรและธิดากับคุณจำเริญทั้งหมด ๑๒ คน
อย่างเช่น คุณท้่าวพิทักษ์อนงค์นิกร, นายเดช, นายโสฬส เป็นต้น



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 10 ธ.ค. 09, 05:52


โอ....น่าสนใจมากค่ะ คุณเงินปุ่นศรี

เรียนเชิญ แวะที่กระทู้ ขอถามเรื่องกรมโหร ด้วยนะคะ



เมื่อสิบกว่าวันมาแล้ว  มีหนังสือพจนานุกรมทางวรรณคดีเล่มหายากที่สุด(เพราะไม่มีใครรู้จัก)เล่มหนึ่งออกมาจากแหล่งอรุณอัมรินทร์
คำนำเกี่ยวพันไปถึงเจ้านายฝ่ายวังหน้า เจ้าจอมมารดาเอม และพระธิดาพระองค์หนึ่ง
เป็นประโยคสั้น ๆ สองประโยค   แต่คงเปิดประตูความรู้ได้อีกมากด้านศัพท์วรรณคดีที่สมเด็จพระปิ่นเกล้าทรงใช้
ต้องคอยอีก แปดวัน จนว่าจะได้เห็น

น่าเสียดายที่จะปล่อยให้ความรู้อันประเสริฐถูกเก็บในตู้หนังสือของนักสะสมแล้วหายไป
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 16 ธ.ค. 09, 11:43

หลักฐานเรื่องเจ้ากรมหลีขอประทานนามสกุล ตะละภัฏ จากสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยิกาเจ้า


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 16 ธ.ค. 09, 13:23

ขอถามนอกเรื่องหน่อยนะคะ    คิดว่าคงมีผู้รู้ตอบได้
ตะละภัฏ  แปลว่าอะไร 
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 16 ธ.ค. 09, 14:55

ไม่นอกเรื่องหรอกครับ  ตรงประเด็นทีเดียวคุณเทาชมพู

ผมสันนิษฐานว่า  นามสกุล ตะละภัฏ สมเด็จพระพันวัสสาฯ น่าจะทรงผูกขึ้น โดยใช้ความหมายดังนี้

ตะละ  ตรงกับคำว่า ตล ในภาษาบาลี แปลว่า พื้น พื้นดิน  ซึ่งน่าจะตัดเอามาจากพระนามสมเด็จพระบรมราชชนก  ว่า  มหิดลอดุลเดช  มหิดล เขียนแบบบาลี ได้เป็น มหิตล  (แปลว่าพื้นแผ่นดิน พื้นโลก) แล้วตัดเหลือ ตล  ที่เขียนว่า  ตะละ  อาจจะเพื่อต้องการให้อ่านได้อย่างเดียวว่า ตะ-ละ  ถ้าเขียนว่า ตละ หรือ ตล บางคนอาจจะอ่านว่า ตน-ละ  ซึ่งไปพ้องกับคำว่า ตนละ ซึ่งความหมายจะเปลี่ยนไปทันที

ภัฏ  มาจาก ภฏฺฏ แปลว่า คนรับใช้  ข้าบริพาร ฯลฯ  บางทีอาจแปลว่า มหาดเล็ก ก็น่าจะได้

รวมความ ตะละภัฏ  น่าจะมีความหมายว่า  สกุลของผู้รับใช้หรือข้าราชบริพารในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช  ซึ่งก็เป็นนามสกุลประทานที่เหมาะสมกับหน้าที่ราชการของหลวงสงขลานครินทร์ (หลี  ตะละภัฏ) อย่างยิ่ง
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 17 ธ.ค. 09, 07:54

อ้างถึง
อ้างถึง
ภัฏ  มาจาก ภฏฺฏ แปลว่า คนรับใช้  ข้าบริพาร ฯลฯ  บางทีอาจแปลว่า มหาดเล็ก ก็น่าจะได้[/quo

ขออภัย   ที่ถูกต้อง  ภัฏ มาจากคำภาษาบาลีวสันสกฤตว่า ภฏ  ไม่ใช่ ภฏฺฏ  ภฏฺฏ แปลว่า เจ้าหรือเจ้านาย
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 18 ธ.ค. 09, 12:04

เชื้อสายหลวงสงขลานครินทร์ (หลี  ตะละภัฏ)

ในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพท้าวพิทักษ์อนงคนิกร (คุณจรูญ  ตะละภัฏ) เล่าว่า

หลวงสงขลานครินทร์ (หลี  ตะละภัฏ) ซึ่งเป็นบิดาของท้าวพิทักษ์อนงคนิกรนั้น  เป็นหลานของเจ้าจอมมารดาเที่ยงในรัชกาลที่ ๔ พระธิดาพระยาอัพภันตริกามาตยื (ดิศ  โรจนะดิษ)   เจ้าจอมมารดาเที่ยงเกี่ยวข้องเป็นหลานของจางวางท้วม  จางวางท้วมเป็นจางวางในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงสมรรัตน์สิริเชษฐ์  และมีฐานะเป็นปู่ของหลวงสงขลานครินทร์ (หลี  ตะละภัฏ)   พระราชโอรสพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๔ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมาดาเที่ยงนั้นมีทั้งหมด ๙ พระองค์ ทรงพระเมตตาแก่หลวงสงขลานครินทร์มาตั้งแต่ท่านยังเป็นเด็ก 

ต่อมา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงสมรรัตน์สิริเชษฐ์  ได้ทรงนำท่านหลีมาถวายตัวรับราชการกับสมเด็จพระศรีสวรินทิรา พระบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยิกาเจ้า  ในครั้งนั้นสมเด็จพระพันวัสสาฯ ได้โปรดให้ท่านหลีทำหน้าที่มหาดเล็กในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร  ครั้นเมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร  เสด็จสวรรคต  สมเด็จพระพันวัสสาฯ จึงโปรดให้ท่านหลีมาทำหน้าที่เป็นพระพี่เลี้ยงสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช 

ต่อมาเมื่อ สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช ได้ทรงรับการสถาปนาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมเป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์  ท่านหลี ก็ได้รับตำแหน่งเป็นขุนสงขลานครินทร์เจ้ากรม  เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์  สิ้นพระชนม์เมื่อปี ๒๔๗๒ และรัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระเกียรติพระนามขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์  ท่านหลีก็ได้เลื่อนเป็นหลวงสงขลานครินทร์ด้วย

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง