Wandee
|
อ่านมาจาก มหามุขมาตยานุกูลวงศ์ เล่ม ๑ ว่าด้วยลำดับวงศ์ตระกูลขุนนางไทยทั้งสิ้นในแผ่นดินสยาม
นายก.ศ.ร. กุหลาบ อายุศม์ ๗๒ ปี เป็นผู้เรียบเรียงข้อความตามต้นฉบับเดิม
ลงพิมพ์ครั้งที่ ๑ พันฉบับ ตีพิมพ์ที่โรงพิมพ์สยามประเภท หน้าวัดราชบพิธ ถนนเฟื่องนคร กรุงเทพฯ
เมื่อรัตนโกสินทรศก ๑๒๔(พ.ศ.๒๔๔๘) ราคาเล่มละ ๑๐ บาท
เก็บความมาจากหน้า ๓๑ - ๔๗
ประวัติเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิง)
นายสิงเป็นบุตรคนที่ ๔ ของเจ้าพระยาอภัยราชา(ปิ่น)กับ ท่านผู้หญิงนิ่มนวลหรือฟัก เกิดเมื่อ จ.ศ.๑๑๒๙ ปีที่ ๑๐ ในแผ่นดินพระเจ้าตากกรุงธนบุรี
เมื่ออายุ ๑๖ ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ใน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ในรัชกาลที่ ๑ โปรดฯ ให้เป็นมหาดเล็กรายงานการต่อสำเภาเพื่อจะบันทุกสินค้าไปขายเมืองจีน
นายสิงรับราชการเรื่อยมาโดยได้รับตำแหน่งเป็นนายนรินทรธิเบศร์มหาดเล็กหุ้มแพรฝ่ายพระราชวังบวร
ในรัชกาลที่ ๒ นายนรินทรธิเบศร์(สิง)ได้เลื่อนเป็น จมื่นศรีบริรักษ์ ปลัดกรมพระตำรวจนอกขวาฝ่ายพระราชวังบวร อายุได้ ๓๓
ในสงครามเมืองถลาง จมื่นศรีบริรักษ์เป็นปลัดรองนายเรือลาดตระเวณ กองนี้มีเรือรบ ๙ ลำ เป็นเรือลาดตระเวณกองหน้า (รายละเอียดเรื่องการรบขอผ่านไปก่อนนะคะ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 04 ธ.ค. 09, 23:10
|
|
ท่านผู้อ่านอยากปาดเมื่อใดก็เชิญนะคะ เพราะคงเล่าอีกนานกว่าจะไปถึง ค่าขมิ้นสีเท้า ๕ ชั่ง
ขออนุญาตยังไม่ตอบคำถามเพราะเกรงจะเลี้ยวลงจากถนนใหญ่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 04 ธ.ค. 09, 23:29
|
|
ได้เลื่อนเป็นพระพรหมสุรินทร์เจ้ากรมพระตำรวจใหญ่ขวา ฝ่ายในพระราชวังบวร
กองทัพไทยไปฟังข่าวราชการเมืองเขมร พระพรหมสุรินทร์(สิง)ได้เป็นนายทัพกองนำ (เรื่องการรบมีกลอุบายน่าฟังอยู่ ขออนุญาตข้ามไป)
กลับมาได้เป็นพระราชโยธา แล้วเลื่อนเป็น พระยาเกษตรรักษา อธิบดีกรมนาฝ่ายพระราชวังบวร
เกิดการตัดหน้าฉาน โดนถอด และจำอยู่ได้ ๔ เดือน
พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กราบบังคมทูลขอพระเกษตรรักษาให้มาช่วยราชการ
ทรงใช้สอยต่อสำเภาหลายลำเพราะเป็นผู้ชำนาญ
ได้เป็นพนักงานตรวจตราศาลฎีกา ได้ช่วยดูแลการก่อภูเขาขุดสระน้ำทำเก๋งจีนในพระราชอุทยาน
ได้เทียบที่พระท้ายน้ำ แต่ยังเป็นพระยาเกษตรรักษานอกราชการอยู่
โดนฟ้องเรื่องส้องสุมผู้คน เพราะไปทำนาใหญ่โที่ตำบลบางยี่โท ในแควแม่น้ำสีกุกแขวงกรุงเก่า ปลูกโรงใหญ่โตล้อมด้วยไม่ไผ่ทั้งลำ พูนโคกขุดคูทำสนามเพลาะ เกลี้ยกล่อมผู้คนไว้มากมาย สะสมศาตราวุธ ซื้อโคกระบือของผู้ร้าย
โดนจำไว้ในทิมตำรวจริมกำแพงด้านเหนือวัดพระแก้ว ภายในพระบรมมหาราชวัง รอพิจารณาความ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 04 ธ.ค. 09, 23:38
|
|
นายเถื่อนบุตรพระหฤไทย เป็นมหาดเล็กรายงาน กำกับศาลรับสั่งกรมพระตำรวจทั่งแปดศาล เวลานั้นเขาเรียกนายเถื่อนคางแพะ
วันหนึ่งบ่าวมาแจ้งพระยาเกษตรรักษาว่า ท่านนิ่มนวลหรือท่านผู้หญิงฟักมารดากำลังจะถึงอนิจกรรมวันนี้แล้ว มีความกตัญญูต่อมารดา จึงขอให้ผู้คุมรองไปเรียนเจ้ากรมปลัดกรมตำรวจผู้บังคับทิมตรางว่า ขออนุญาตออกไปอาบน้ำศพมารดา
เจ้ากรมปลัดกรมพระตำรวจ สังเวชเพื่อนมนุษย์ หาได้คิดว่าเป็นความผิดต่อราชการ จึงอนุญาต
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 04 ธ.ค. 09, 23:48
|
|
นานเถื่อนมหาดเล็กรายงานได้ยินเข้า จึงส่งทนายไปเรียกหมื่นหาญผู้คุมใหญ่มาถาม ว่าทำไมไม่บอก มีความผิดรู้ไหม แล้วสั่งเฆี่ยนหมื่นหาญ ๓๐ ที
นายเถื่อนสั่งให้เสมียนเขียนรายงานว่าจะนำขึ้นกราบบังคมทูล
นายเถื่อนนั้นมีบุญยิ่งกว่าเจ้ากรมพระตำรวจ มีวาศนายิ่งกว่าหัวหมื่นมหาดเล็ก คนทั่วไปเรียกต่อหน้าว่า ใต้เท้ากรุณาเจ้า(เท่าเจ้าพระยาพานทอง) นายเถื่อนหมอบเฝ้าท้ายพระแท่นหน้าหัวหมื่นมหาดเล็ก เวลาตามเสด็จกฐินหลวงนั่งเรือกันยาฝีพาย ๕๐ คน
ในบ่ายวันนั้น เจ้ากรมพระตำรวจให้หมื่นหาญไปตามตัวพระยาเกษตรรักษากลับมาขังไว้ในทิมดั่งเดิม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 04 ธ.ค. 09, 23:52
|
|
เวลานั้นพระเกษตรรักษา(สิง)อาบน้ำศพมารดาแล้วแต่ยังไม่ทันจะนำศพลงหีบไม่ ตกใจกลัวราชทัณฑ์ ก็รีบกลับเข้ามาอยู่ในทิม
ได้เรียกเงินสองชั่งจากทางบ้านมาทำขวัญหมื่นหาญตามมีตามเกิด
ถึงตอนสำคัญแล้วค่ะ....
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 04 ธ.ค. 09, 23:59
|
|
ค่ำวันนั้นพระยาเกษตรรักษาใช้คนสนิทไปพูดจาอ่อนน้อมกับนายเถื่อน ขอความกรุณาอย่านำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอให้งดไว้
จะให้เงิน ๕ ชั่งเป็นค่าขมิ้นสีเท้า ก.ศ.ร.กุหลาบวงเล็บไว้ว่าเงิน ๕ชั่งสมัยดน้นมีค่าเท่ากับเงิน ๕๐ ชั่งสมัยนี้(สมัยก.ศ.ร.เล่าเรื่อง)
นายเถื่อนรับเงินแล้ว รับรองว่าจะไม่กราบทูล(ตกลงเงิน ๕ ชั่งปิดปากบอนผู้มีบุญหยุด)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 05 ธ.ค. 09, 00:18
|
|
อิอิ รู้สึกชอบวลี ค่าขมิ้นสีเท้า จังเลย นอบน้อมถ่อมตนดีมาก
ถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
นายเถื่อนได้เป็นหลวงชาติสุริยง ข้าราชการฝ่ายพระราชวังบวร สมทบในวังหลวง
พระยาเกษตรรักษาได้เป็น เจ้าพระยาบดินทรเดชา แม่ทัพใหญ่ไปทำศึกญวน หลวงชาติสุริยง(เถื่อน)ถูกเกณฑ์ไปกับกองทัพ
ณ เมืองระสือ เขตแดนเขมร เจ้าพระยาบดินทรเดชามีบัญชาให้หลวงชาติสุริยง(เถื่อน) คุมทหารไปทำสะพานเชือกข้ามคลองกระพงปลัก เป็นที่ล่อแหลม เพราะอยู่ในระยะปืนจากญวนยิงได้ตรง ๆ ง่าย ๆ
ชาติสุริยงไม่สามารถจะทำตามคำสั่งได้ ญวนยิงออกมาจากค่ายได้ถนัด และยิงปืนหน้าเรือมาเป็นห่าฝน จึงถอยทัพมาฟังข่าวใต้คลองกะพงปลัก รายงานเข้ามาว่าทำสะพานเชือกไม่ได้ ไม่มีปืนใหญ่จะยิงสู้ เหลือกำลังที่จะทำ
เจ้าพระยาบดินทรเดชามีบัญชาว่า หลวงชาติสุริยงเป็นคนขลาด ขักคำสั่งแม่ทัพใหญ่ ผิดไอยการศึก ให้ทะลวงฟันพาตัวไปประหาร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 05 ธ.ค. 09, 00:27
|
|
หลังจากนั้นท่านก็ไม่ได้ใช้ใครไปทำสพานเชือกอีกต่อไป เมื่อจะไปรบ ท่านก็หาไปทางที่สั่งหลวงชาติสุริยงไปไม่ ท่านเลือกไปทางอื่น
นำมาเล่าเพราะเกร็ดประวัติศาสตร์ลงตำแหน่งขุนนางผู้ใหญ่ไว้ละเอียดดีมาก เมื่อออกจากที่คุมขังท่านได้เป็นพระยาราชสุภาวดี แล้วเป็นเจ้าพระยาราชสุภาวดีก่อนได้เป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 05 ธ.ค. 09, 09:10
|
|
สนุกมากค่ะ ราวกับดูละครย้อนยุค เดาว่านายเถื่อนน่าจะเป็นมหาดเล็กคนโปรดของรัชกาลที่ ๒ หมอบเฝ้าใกล้ชิด จะเพ็ดทูลอะไรก็ได้ ไม่ต้องรายงานตามขั้นตอน ใกล้ชิดพระองค์ แบบเดียวกับสุนทรภู่ คือ " เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตรลบ ละอองอบรสรื่นชื่นนาสา" แต่สุนทรภู่คงจะหมอบเฝ้าใกล้ชิดเฉพาะบางโอกาสที่ทรงกลอนวรรณคดี หรือในงานพระราชพิธีที่โปรดให้อาลักษณ์ตามเสด็จ ส่วนนายเถื่อนคงได้หมอบเฝ้าตลอดเวลาออกทรงว่าราชการ เลยสามารถกร่างได้เหนือขุนนางที่ใหญ่กว่า
พอสิ้นรัชกาลที่๒ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ไม่ได้โปรดมหาดเล็กของพระราชบิดาเป็นพิเศษ ก็เลื่อนขึ้นให้เป็นขุนนางตามลำดับขั้นตอน เลยได้เป็นแค่คุณหลวง ส่วนพระยาเกษตรรักษา ได้เป็นใหญ่ถึงเจ้าพระยา สมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงถือว่าเป็นขุนพลแก้ว เจ้าพระยาท่านก็เลยได้โอกาสเอาคืนคุณหลวง แบบเนียนๆเสียด้วย ไม่มีใครตำหนิได้เลย สำหรับขุนนางที่กระทำผิดคำสั่งราชการเมื่อไปทัพ ก็ต้องถูกประหารเป็นธรรมดา
โดยส่วนตัว ดิฉันเคยสงสัยหนังสือเล่มนี้ว่านายกุหลาบอ้างอิงเรื่องจริงที่รู้มา หรือว่าแต่งตำนานให้เราอ่านกัน แบบเดียวกับซินแสทำนายพระภิกษุสินและภิกษุทองด้วง สมัยปลายอยุธยา กันแน่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 05 ธ.ค. 09, 09:53
|
|
หน้า ๔๗
มีผู้หลักผู้ใหญ่ที่ไปในกองทัพครั้งนั้น พากันเห็นเหตุว่า ท่านฆ่าหลวงชาติสุริยง(เถื่อน)เสียครั้งนี้เพราะมีเหตุอาฆาฏพยาบาทมาแต่ก่อน แม้นจะฆ่าหลวงชาติสุริยงในครั้งนี้ก็ไม่ผิดต่อกฎไอยการศึกเลย
ถ้าไม่ฆ่ายกโทษไว้ครั้งหนึ่งก็จะดี คงมีคำสรรเสริญว่า ท่านไม่มีความอาฆาฏพยาบาท(รักษาตัวสะกดเก่า)
หน้า ๕๒ อีกหนึ่งตำราที่ ก.ศ.ร.กุหลาบใช้แต่ไม่ได้ระบุชื่อ
เมื่อมีโจทก์มาฟ้องกล่าวโทษว่าพระยาเกษตรรักษาทำการทุจริตผิดจากธรรมดา คือไปตั้งทำนาที่ตำบลบางยี่โทแขวงกรุงเก่า ตั้งค่าย ขุดคู พูนมูลดินทำสนามเพลาะ ดูท่าทางเหมือนจะคิดเป็นขบถต่อแผ่นดิน
ให้มีตระลาการสืบพยานรางวัดชัณสูตรมาพิจารณาก็หาสมจริงตามคำกล่าวของโจทก์ไม่
สืบได้ความจริงแต่เพียงพูนมูลดินทำโคกโรงนาใหญ่โตกว่าธรรมดาจริง ทำโรงนาด้วยไม้ไผ่ทั้งลำคล้ายค่ายจริง ๆ และขุดคูรอบโรงนาเหมือนสนามเพลาะจริง แลซ่องสุมผู้คนมากเกินปรกติจริง มีกระบือเป็นพาหนะมากจริง ที่พระยาเกษตรรักษาจัดการนั้น ก็ล้วนเป็นการทำนาทุกอย่างทั้งสิ้น
แต่ผิดที่ทำท่าทางเกินกว่าทำนาไป พิจารณาจึ่งไม่ใช่การเปนขบถต่อแผ่นดินได้ ตกลงเป็นแต่ตั้งซ่องมั่วสุมผู้คนทำนาเกินกว่าปรกติไป หาได้บอกกับเจ้าบ้านผ่านเมืองไม่ จึงตกอยู่ในความผิดต่อราชการมากอยู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 05 ธ.ค. 09, 10:24
|
|
มีรายละเอียดเรื่องที่ตั้งของบ้านเรือนน่าฟังอยู่ค่ะ
เมื่อท่านผู้หญิงฟักถึงแก่กรรม บ้านเรือนของเจ้าพระยาอภัยราชาที่ถึงพิราลัยก็ตกมาเป็นของหลวง เพราะบุตรก็ต้องโทษ บ้านช่องใหญ่โตกว้างขวางไม่มีผู้อยู่รักษา รังจะเปนรังฟืนเชื้อไฟ บ้านก็ตั้งอยู่ใกล้กับตึกดินน่ากลัวนัก (ตึกดินในสมัยโน้นอยู่ที่กลางสระน้ำ ตรงหอสี่มุขหลังโรงเรียนนายร้อยทหารบก หรือหลังพระราชวังสราญรมย์ หรือหน้าวัดราชประดิษฐ์)
เมื่อเจ้าอุปราชเมืองนครจำปาศักดิ์ วิวาทบาดหมางกันกับเจ้านครจำปาศักดิ์หนีมาอยู่กรุงเทพ ก็ได้รับพระราชทาน บ้านเรือนหลังนี้ให้อาศัย
ภายหลังเจ้าอุปราชกลับบ้านเมืองไปแล้ว บ้านก็กลายเป็นบ้านรับแขกเมืองประเทศราช มีเจ้าลาวหลวงพระบางหรือลาวเมืองน่าน แลลาวเมืองเชียงใหม่ลาวเมืองนครลำปางลำพูน แลเจ้าเมืองไทรบุรี ตานีกลันตันลังกานู ได้พักอยู่ที่บ้านนี้เป็นเวลาช้านาน
ในรัชกาลที่สาม โปรดเกล้าพระราชทานบ้านให้พระบวรวงศ์เธอชั้น ๓ พระองค์เจ้าสว่างพระราชบุตรที่ ๓ในพระบวรราชเจ้ามหาศักดิเสพ กรมพระราชวังบวร
(ในรัชกาลที่ ๕ ได้รื้อวัง แบ่งทำเปนตึกแถวห้างแบดแมนแอนโกบ้าง ทำเปนศาลโปริสสภาบ้าง ทำเปนกระทรวงเมืองบ้าง)
พระยาเกษตรรักษา(สิง)หลังจากพ้นโทษและโปรดฯให้เปนพระยาราชสุภาวดี ไม่มีบ้านอยู่ ไปอาศัยวังเก่าของกรมขุนสุนทรภูเบศร์ อยู่ริมคลองหลอดครงกับโรงช้างแโรงไหม หรือ ตรงกับวัดพระแก้ววังหน้าด้วย)(หน้า ๕๕)
ต่อมาพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพตรัสสั่งให้เจ้าพนักงานซ่อมวังเพื่อจะให้พระองค์เจ้าน้อย(เจ้าฟ้าอืศราพงศ์)
พระยาราชสุภาวดี(สิง)จึงลงไปอยู่ในแพจอดอยู่หน้าบ้านพระยาพิไชยวารี(โต)เพราะสนิทสนมกันมาก (หน้า ๕๖)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 05 ธ.ค. 09, 11:23
|
|
ต่อเรื่องเจ้าพระยาบดินทรเดชาค่ะ
ท่านมรกฏบุตรีคนที่ ๙ ของท่านผู้หญิงใหญ่เพ็ง มีความเสน่หาสวามิภักดิ์ยินยอมพร้อมใจตนเอง เปนภรรยาพระยาวิบูลย์สงคราม(นุ้ย)ผู้ว่าราชการเมืองนครนายก
พ่อตาไม่สู้จะชอบลูกเขย เพราะไม่ได้รับอนุญาตบิดาให่ทำการวิวาหะมงคล
เจ้าพระยาบดินทร์(สิง)จึ่งมีใบบอกกราบบังคมทูลพระกรุณา จะขอรับพระราชทานพระยาพิบูลย์สงคราม(นุ้ย)บุตรเขย แต่ยังเปนข้าราชการชั้นผู้น้อยอยู่นั้น ให้ออกไปรับราชการในกองทัพ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่โปรด ให้พระยาสีสหเทพ(ทองเพ็ง)มีท้องตราพระราชสีห์น้อยว่า "ทรงพระกรุณาขอพระยาพิบูลย์สงครามไว้ใช้สอยราชการในกรุงเทพฯ"
ทรงพระราชปรารภเกรงว่า เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิง)จะฆ่าบุตรเขยในระหว่างศึก เพราะเคยเห็นน้ำใจมามากมายหลายครั้งแล้ว
๑. ครั้งนายแสงหลานชายหลบกระสุนปืนญวนมาแอบหลักจังกูดหางเสือเรือรบนั้น ท่านทรางท่านก็ฆ่าเสียว่าเป็นคนขลาด หลานแท้ๆก็ฆ่า ไม่ภาคทัณฑ์ไว้เลย
๒. เรื่องหลวงชาติสุริยง(เถื่อน) ที่เล่าไปแล้วข้างบน
๓. เมื่อนายสนิท(แสง)มหาดเล็กหุ้มแพรบุตรชายลักลอบขายฝิ่น เพราะเป็นของต้องห้าม จมื่นไชยพร(พิน)มากราบเรียน ท่านให้นำคามาสวมคอนายสนิท มัดมือมัดเท้าโยงกับหลักปักคา ให้เฆี่ยนนายสนิทที่หน้าหอนั่งในจวน ๑๐๐ ที
พอเฆี่ยนได้ ๘๔ ที นายสนิทก็สลบอยู่กับคา
เจ้าหมื่นสรรพเพ็ธภักดี(ปาน)บุตรเขยนำความมากราบเรียนท่าน ขอแก้ไขให้หายก่อนจึ่งจะเฆี่ยนต่อภายหลัง ท่านกลับถามว่ายังเหลืออีกกี่ทีให้เฆี่ยนต่อจนกว่าจะครบตามบัญชา
พอเฆี่ยนครบก็กลับมารายงาน ท่านถามว่า ตายแล้วหรือยัง กราบเรียนว่า ยัง มีบัญชาว่า ปล่อยตัวไปรับราชการดั่งเก่า
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสถาม พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี(ทัด) ว่าวันนี้ทำไมมาเฝ้าดึก
เจ้าคุณกราบทูลว่า(หน้า ๖๓ ขออนุญาตย่อความ/วันดี) ได้ข่าวว่า พณท่านสมุหนายกมีบัญชาสั่งให้เฆี่ยนนายสนิท(แสง)ร้อยที จึงชวนพระยาราชนิกูล(เสือ) กับพระยาอภัยโนริด(บุนนาก) กับ พระยาศรีสหเทพ(ทองเพง) ซึ่งเปนผู้ที่ชอบพอกับ พณ สมุหนายก เพื่อจะขอโทษนายสนิท ขอไม่ได้ ขอเดชะ
พระเจ้าอยู่หัวทรงถามพระยาราชนิกูล(เสือ) "อ้ายเสือ เองไปขอโทษอ้ายแสงต่อพี่บดินทร์ ๆ ให้หรือเปล่า?"
กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า "ไม่ให้หามิได้ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม"
แล้วมีพระราชดำรัสถามพระยาอภัยโนริด(บุนนาก)
"เจ้าบุญนาก เจ้าไปพูดกับพี่บดินทร์ว่าอย่างไร?" "ข้าพระพุทธเจ้าทราบเกล้าทราบกระหม่อมว่า ท่านเจ้าคุณแม่ทัพกำลังโกรธหนัก ก็เกรงบารมีท่าน หาได้พูดจาปราไศรยอันใดไม่ เปนแต่ตามเจ้าคุณพระคลังสินค้าไปเท่านั้น ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม"
มีพระดำรัสถามพระยาศรีสหเทพ(ทองเพ็ง)ว่า "เจ้าศรี เจ้าก็ไปกับเขาด้วยหรือ?" "ข้าพระพุทธเข้าขัดบัญชาเจ้าคุณพระคลังสินค้าไม่ได้ก็ต้องตามไปอย่างนั้นเอง เมื่อไปถึงจวนแล้ว เห็นว่าเปนการใหญ่โตเกินกว่าการที่จะขอคงไม่ให้ จึ่งมิได้พูดจากล่าวขอร้องประการใดมิได้ เปนแต่กราบแล้วก็หมอบนิ่งอยู่ที่เชิงบันไดอัฒจันท์ศิลาเป็นช้านาน จนเฆี่ยนเสร็จแล้ว ท่านเจ้าคุณแม่ทัพก็ลุกขึ้นเข้าข้างใน มิได้ทักทายพูดจากับใครไม่ แต่เจ้าคุณพระคลังสินค้าก็พูดได้คำเดียวเท่านั้น ขณะนั้นเจ้าคุณสัสดีก็นั่งอยู่ที่นั่นก่อนแล้ว ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม"
ดำรัสถามพระยาราชสุภาวดี(โต)ว่า "เจ้าสัวเหยียบหัสตะเภา ไปกับเขาด้วยหรือ?"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 05 ธ.ค. 09, 11:43
|
|
พระยาราชสุภาวดี(โต) ต่อมาคือ เจ้าพระยานิกรบดินทร์ กราบทูลว่า "หลวงนายสิทธิ์(เกด) ไปพูดจาอ้อนวอนข้าพระพุทธเจ้าให้มาขอโทษน้องชายด้วย ข้าพระพุทธเจ้าขัดไม่ได้ก็ต้องไป ขอลองดูตามบุญตามกรรม แต่คิดด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมว่า คงขอไม่ได้
พอมาถึงจวนเจ้าคุณผู้ใหญ่ ท่านก็พูดว่า
"เราเปนเสนาบดีผู้ใหญ่ ต่างพระเนตรพระกรรณล้นเกล้าล้นกระหม่อม เราเห็นว่าผู้ใดเปนเสี้ยนหนามหลักตอ ต่อราชการแผ่นดินแผ่นทราย ประพฤติผิดพระราชกำหนดกฎหมายแล้ว เรามีอำนาจอันชอบธรรมที่จะลงโทษผู้กระทำผิดได้
ครั้งนี้อ้ายแสงประพฤติผิดกฎหมาย ลักลอบขายฝิ่นที่เปนของต้องห้ามตามพระราชประสงค์นั้น เราจึ่งจะลงโทษเฆี่ยนหลังอ้ายแสง ๑๐๐ ที ตามมีในพระราชบัญญัติในรัชกาลปัจจุบันนี้
ถ้าผู้ใดไม่เปนคนทนสาบาลต่อน่ำพระพิพัฒน์สัตยาแล้ว คงจะไม่มาเกี่ยวข้องขัดขวางทางที่จะลงโทษอ้ายแสงนี้
ถ้าผู้ใดเปนใจร่วมคิดด้วยอ้ายแสงผู้กระทำความผิดแล้ว ผู้นั้นคงมากีดขวางขัดข้องด้วยการจะลงโทษอ้ายแสงนี้บ้าง"
ข้าพระพุทธเจ้าก็นั่งดูอยู่ที่นั้จนเฆี่ยนครบร้อยที จะได้พูดจาว่ากล่าวขอร้องประการใดไม่ ด้วยเปนการจนใจ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 05 ธ.ค. 09, 16:18
|
|
ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึ่งมีพระบรมราชดำรัสว่าดั่งนี้
"เจ้สัวพูดไม่ออก พี่บดินทร์แกฉลาดล้นเหลือ แกพูดเผื่อแผ่เกียจกันกั้นกลางเสียก่อนหมดแล้ว"
มีพระราชดำรัสเท่านี้ก็ทรงพระสรวล แล้วจึ่งมีพระราชดำรัสให้หานายสนิท(แสง)ให้เข้าไปเฝ้าใกล้ ๆ นายสนิท(แสง)มหาดเล็กหุ้มแพรจึ่งคลานเข้าไปใกล้
ทรงทอดพระเนตรเห็นแผลที่หลังนายสนิท(แสง)ถูกเฆี่ยนมาก เปนรอยยับเหมือนสับฟากแลสับเขียง จึ่งทรงพระสังเวชสลดพระราชหฤไทย
จึ่งมีพระราชดำรัสสั่งขุนธนสักดิ์(ม่วง)ให้นำเงินในคลัง ๕ ชั่งมานายสนิธไปเจียดยามารักษาแผลที่หลัง
(ผู้เรียบเรียงอธิบายว่าได้ค้นตำราต่าง ๆ ทางราชการหลายฉบับ รวมตำราของเจ้าพระยามุขมนตรี(เกด)ด้วย)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|