เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 17654 สนุกนิ์นึก ต้นและจบ
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 03 ธ.ค. 09, 11:53

กล่าวเช่นนี้ ก็ทำให้นึกถึงในการ์ตูนญี่ปุ่นหลายๆ เรื่องที่ใช้ฉากเป็นเมืองจริงๆ แต่ตัวละครและเนื้อเรื่องเป็นของแต่งขึ้น 
เขาจะระบุข้อความประมาณว่า เรื่องเป็นแต่งขึ้นเพื่อความบันเทิงหรือเป็นเรื่องสมมติขึ้น
บุคคลและสถานที่จริงที่ปรากฏในเรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องอย่างใด 
แสดงว่า จริงๆ การใช้ฉากเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริงในการแต่งเรื่องอ่านเล่นก็เป็นเรื่องที่ผู้แต่งพึงต้องระมัดระวังมาก


เรื่องบางเรื่อง แม้ว่าจะเกิดจริงเมื่อนานมากแล้ว คนยังไม่ลืม  หรือพยายามลืมไปแล้ว หรือลืมไปแล้ว
แต่มีคนเอามานำเสนออีก บางทีก็กลายเป็นการสะกิดรอยแผลเป็นให้กลายเป็นแผลสดขึ้นได้อีก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 04 ธ.ค. 09, 09:22

สวัสดีค่ะ  คุณวันดี
ดิฉันเขียนบทวิเคราะห์ไว้ ๒ บท คือการวิเคราะห์จากมโนทัศน์ของนักวิชาการ     กับการวิเคราะห์จากมโนทัศน์ของนักเขียน
น่าเสียดายว่าอย่างแรกหาไม่เจอ  เจอแต่อย่างหลัง

อย่างแรก จำได้รางๆว่า เป็นการวิเคราะห์ว่าทำไมสมเด็จพระสังฆราชถึงกริ้วเอาเสียมากมาย    แค่เรื่องพระสงฆ์คุยกันในวัดบวรนิเวศ
ก็สันนิษฐานว่ามาจากข้อความที่สนทนากัน  ว่าไม่เหมาะแก่พระสงฆ์จะพูด

"เพราะอย่างนั้นจึงไม่อยากสึก ด้วยเหนแท้แน่แก่ใจว่า ผ้ากาษาวพัตรเปนที่พึ่งของคนยาก     ถึงไม่ทำให้ดี  ก็ไม่ทำให้ฉิบหาย    ไม่ดิ้นขวนขวาย แล้วไม่มีทุกข์    เปนที่พักที่ตั้งตัวของผู้แรกจะตั้งตัวดังนี้"

ทัศนะของพระสมบุญที่ว่ามา แสดงว่าบวชทั้งทีมองไม่เห็นความดีของพุทธศาสนามากไปกว่า  เป็นที่อาศัยอยู่ฟรีกินฟรี ในวัด      ถึงไม่ทำให้ชีวิตได้ดีนัก อย่างน้อยก็ไม่ทำให้ชีวิตเลวไป     อยู่ไปวันๆก็สบายแล้ว ไม่ลำบาก       ถ้ายังตั้งตัวไม่ได้ก็อาศัยพักตรงนี้ก่อน  มีหนทางเมื่อไรค่อยไป

จริงอยู่ว่าตามประเพณีไทย  ผู้ชายไทยบวชกันระยะเดียวก็สึก    ไม่ถือว่าการบวชคือตั้งใจจะอยู่ในศาสนาอย่างถาวร     คนที่สึกออกไปแล้ว  สังคมไทยก็ยกย่องมากกว่าคนที่ยังไม่ได้บวช
แต่ค่านิยมนี้ก็ไม่ได้รวมว่า  บวชเพราะขี้เกียจจะทำอะไรให้เหนื่อยยากกว่านี้    หรือว่าบวชเพราะยังหาทางไปไม่ได้   หาทางดีกว่านี้ได้แล้วค่อยสึก
ความคิดแบบพระสมบุญ ค่อนไปในทาง "เหลือบ" เกาะกินเลือดศาสนา มากกว่าคนที่ตั้งใจบวชเรียนเพื่อเรียนรู้ทางธรรม    สึกไปก็ยังเป็นคนเต็มคนมากกว่าคนที่ยังดิบอยู่

กรมหลวงพิชิตฯ ท่านสมมุติให้พระสมบุญเป็นพระสงฆ์วัดบวรเสียด้วย    สมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ ท่านเป็นเจ้าอาวาสปกครองอยู่วัดนี้
มิกลายเป็นว่าท่านปกครองไม่ดีหรือ   พระลูกวัดถึงได้ไม่ซึมซับรสพระธรรมและความหมายของการบวชเรียนเอาเสียเลย
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 04 ธ.ค. 09, 10:17

ขอบคุณคุณเทาชมพูค่ะ

การอ่านเมื่อได้รับฟังการวิเคราะห์จากนักเขียนผู้เป็นนักวิชาการด้วย  ทำให้เข้าใจเพิ่มขึ้น



ชอบการบรรยายหลายตอน

...พระสมบุญนี้เป็นบุตรคนมีตระกูลสูงแต่ตกยาก  ด้วยติดมากับมารดา  ซึ่งต้องออกมาจากตระกูลแต่พระสมบุญยังเล็ก ๆ อยู่
มาบวชเณรอยู่วัด   มารดาตายไปก็เป็นคนสิ้นญาติที่อุปถ้มภ์   แต่ญาติฝ่ายบิดานั้นไม่รู้จักหรือเขาทำไม่รู้จัก


อยากเป็นคนดีคนวิเศษ มียศ มีทรัพย์ มีชื่อที่สุดก็เพียงเสมอหน้าพี่น้องที่ชั้นเดียวกัน  
แต่ทำอย่างไรถึงจะได้อย่างนั้น  นั่นแหละเป็นความยากที่หนักที่ติด




น่าเสียดายที่ กรมหลวงพิชิตปรีชากร มิได้ทรงสร้างสรรค์วรรณกรรมอีกเลย
งานบุกเบิกวรรณกรรมสมัยใหม่ก็ชะงักไปเป็นเวลาปีกว่า



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 04 ธ.ค. 09, 11:06

กรมหลวงพิชิตปรีชากร ทรงเป็นกวีสำคัญท่านหนึ่งในรัชกาลที่ ๕ 
ถ้าไม่ทรงถูกเบรคด้วยปัญหา "สัจนิยม" ในนิยาย    เราคงจะได้พระนิพนธ์ "โนเวล" มาอีกหลายเรื่อง

โคลงและฉันท์จารึกอนุสาวรีย์พระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาส ได้รับยกย่องว่าเป็นพระนิพนธ์โคลงที่แต่งได้ดีที่สุด  แต่งถวายพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาส  หนึ่งในพระราชธิดาแฝด ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งสิ้นพระชนม์เมื่อปี  พ.ศ. ๒๔๒๙  พระชันษา  ๑  ปี ๓ เดือน
ดิฉันพยายามจะไปลอกพระนิพนธ์มาจากเว็บที่เจอในกูเกิ้ล แต่หลุดทุกที   เข้าไปไม่ได้

คงต้องขอพึ่งคุณเพ็ญชมพู   เผื่อจะมีพระนิพนธ์บทนี้มาให้อ่านกัน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 09 ธ.ค. 09, 11:47

พระประวัติและพระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางค์ยุคล  กรมหลวงพิชิตปรีชากร

(เอามาจากหนังสือ ประชุมพระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร (พระองค์เจ้าคัคณางค์ยุคล)  หม่อมราชวงศ์หญิงรสลิน  คัคณางค์ พิมพ์สนองพระคุณคุณย่า  หม่อมสุ่น  คัคณางค์ ณ อยุธยา  วันที่ ๕ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓)

พระประวัติ

นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  ประสูติเมื่อวันจันทร์ แรม ๓ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด ปีเถาะ สัปตศก จ.ศ. ๑๒๑๗ ตรงกับวันที่ ๒๗ ตุลาคม ร.ศ. ๗๔ (๒๓๙๘) เป็นปีที่ ๕ ในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชนิพนธ์คาถาพระราชทานพระนามเมื่อครั้งสมโภช ๓ วัน ว่า

คคณางฺคยุคโลยํ         สุขิโต  โหตุ  กุมาโร
ทีฆายุโก  จิรญฺชีวี        ชินาตุ  สพฺพสตฺตเว
อยมฺปิ  ราชกุมาโร        อโรโค   นิรุปทฺทโว
โหตุ  วุฑฺฒิญฺจ  ปปฺโปตุ   วิภเว  กุลสนฺตตเก ฯ

แปล  กุมารน้อยนี้ชื่อว่าคัคณางคยุคลนี้  จงมีสุข มีอายุยืน  มีชีวิตนาน  ชนะศัตรูทั้งปวง  อนึ่งราชกุมารนี้  จงไม่มีโรค  ไม่มีอุปัทว  ถึงซึ่งความเจริญในสมบัติอันเป็นของตระกูล เทอญฯ  นอกจากคาถาพระราชทานพระนามแล้ว ยังพระราชวิจารณ์รัชกาลที่ ๔ ที่ทรงพระราชนิพนธ์ขับดวงพระชันษาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  ไว้อย่างละเอียดด้วย

มีเรื่องเล่าว่า  เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  ยังทรงพระเยาว์ว่า ครั้งหนึ่งได้ตามเสด็จออกขุนนาง ณ ท้องพระโรง ทรงเห็นกรมหมื่นภูเรศธำรงศักดิ์ซึ่งมีพระชนมายุรุ่นราวคราวเดียวกับพระองค์ไปประทับกับเจ้าพระยาภูธราภัยซึ่งเป็นคุณตาอยู่เนืองๆ  จึงทรงน้อยพระทัยประทับเหงาอยู่  จนรัชกาลที่ ๔ ทรงสังเกตเห็น  ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  ได้รับสั่งถามเจ้าจอมมารดาพึ่งต่อหน้าพระที่นั่งว่า ใครเป็นคุณตาฉัน เจ้าจอมมาดาประหลาดใจที่รับสั่งเช่นนั้น รัชกาลที่ ๔ จึงตรัสเล่าพระอาการของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  ให้เจ้าจอมารดาพึ่งทราบ  เจ้าจอมมารดาพึ่งจึงกราบทูลว่า เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์นั่นและเป็นคุณตา  รัชกาลที่ ๔ ได้มีรับสั่งเล่าเรื่องให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ทราบ  ท่านก็รับเป็นคุณตาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  และได้ท่านเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ยังได้รับธุระอุปการะแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  แต่นั้นมา ถึงกับทูลขอพาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  ไปเมืองสิงคโปร์ด้วย เมื่อครั้งเดินทางไปกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร  และเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ยังได้หาที่ดินและสร้างวังที่ริมประตูสามยอดถวายพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  อีกด้วย

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  ได้เสด็จเข้าพระราชพิธีโสกันต์เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ร.ศ. ๘๖ (๒๔๑๐) พร้อมกับกรมหมื่นอดิศรอุดมเดช และกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ รวม ๓ องค์ และได้ทรงผนวชเป็นสามเณรใน ร.ศ. ๘๗ (๒๔๑๑) โปรดให้เสด็จไปประทับที่พระปั้นหยา วัดบวรนิเวศ ซึ่งเป็นที่ประทับของรัชกาลที่ ๔ เมื่อทรงพระผนวชที่วัดบวรนิเวศนั้น   วันที่ ๑ ตุลาคม ร.ศ.๘๗ (๒๔๑๑) รัชกาลที่ ๔ เสด็จสวรรคต รุ่งขึ้นวันที่ ๒ ตุลาคม สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้กราบทูลให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  ทรงลาผนวชมาทรงประคองพระโกศพระบรมศพ  กับกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ด้วยกัน  จากนั้นได้เสด็จออกมาประทับที่วังริมประตูสามยอด
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 11 ธ.ค. 09, 13:56

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  ทรงเจริญพระชันษาพอที่จะทำราชการได้  รัชกาลที่ ๕จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเป็นนายด้านทำการสร้างหอพระคันธารราฐในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งค้างมาแต่รัชกาลที่ ๔   นอกจากนี้  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  มีพระอัธยาศัยนิยมในการศึกษากฎหมายและอรรถคดีเป็นพิเศษ รัชกาลที่ ๕ ทรงสังเกตเห็นเช่นนั้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  ไปทรงศึกษากฎหมายและการหัดพิจารณาความในสำนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์  ซึ่งในขณะนั้นทรงบัญชาการศาลรับสั่ง

ปี ร.ศ.๙๓ (๒๔๑๗)รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งองคมนตรีสภาขึ้น  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  ได้ทรงเป็นองคมนตรีในคราวแรกโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง  และเมื่อตั้งรัฐมนตรีเป็นกรรมการชำระความรับสั่งบางเรื่อง ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีพิจารณษความรับสั่งด้วย  ครั้นตั้งศาลฎีกาขึ้นอีก ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  ทรงบัญชาการในตำแหน่งอธิบดีคนแรกของศาลฎีกา

ปี ร.ศ. ๙๔ (๒๔๑๘)พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  ทรงเจริญพระชันษาครบที่จะทรงผนวชเป็นพระภิกษุ  รัชกาลที่ ๕ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ทรงผนวชปีนั้น แล้วเสด็จไปประทับจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศ ๑ พรรษา แล้วทรงลาผนวชออกมาทรงรับราชการเช่นเดิม

ปี ร.ศ. ๙๕ (๒๔๑๙) รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอิสริยยศพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  ให้เป็นกรมหมื่นพิชิตปรีชากร  โดยรัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จฯ ไปพระราชทานพระสุพรรณบัฏที่วังริมประตูสามยอดตามธรรมเนียมการตั้งกรมแต่ก่อน  จากนั้นมาก็ทรงรับราชการในตำแหน่งอื่นๆเพิ่มขึ้นอีก คือ ทรงเป็นอธิบดีศาลแพ่งเกษม และทรงเป็นอธิบดีศาลแพ่งกลาง  เมื่อได้ทรงว่าราชการศาลแพ่งนั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  ได้ทรงมีส่วนในการสำคัญ ๒ ประการ คือ ทรงช่วยเหลือเรื่องพระบรมราโชบายเลิกทาสของรัชกาลที่ ๕ โดยได้ทรงชำระคดีความเรื่องทาศให้เป็นไปตามพระราชประสงค์พระราชบัญญัติที่รัชกาลที่ ๕ ทรงประกาศเรื่องการเกษียณอายุทาสให้ลุล่วงไปด้วยดีประการ ๑ และได้ทรงพระดำริออกแบบแผนวิธีทำบริคณห์สัญญาให้เป็นหลักฐานใช้ทั่วทั้งพระราชอาณาจักรมาจนปัจจุบัน

ปี ร.ศ. ๑๐๓ (๒๔๒๗) รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  เสด็จขึ้นไปจัดการศาลต่างประเทศและการปกครองแบบใหม่ที่หัวเมืองเชียงใหม่ โดยใช้วิธีตั้งเสนา ๖ ตำแหน่ง  จากนั้นได้ขยายไปใช้ยังหัวเมืองอื่นๆทั่วมณฑลพายัพ  พอถึง ร.ศ. ๑๐๔ (๒๔๒๘) ได้เสด็จกลับมาที่กรุงเทพฯ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนกรมเป็นกรมหลวงพิชิตปรีชากร  ในระยะนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  ได้มีพระดำริเรื่องรวมศาลต่างๆ ที่อยู่ต่างกระทรวง เข้าไว้ในกระทรวงยุติธรรมทั้งหมด เพื่อให้อำนาจหน้าที่กระทรวงต่างๆ เป็นเฉพาะเรื่องไปไม่ปะปนกัน  พระองค์ได้ทรงทำความเห็นทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๕ ได้โปรดเกล้าฯ ให้นำเข้าที่ประชุม เจ้ากระทรวงต่างๆ เห็นว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะทำการเช่นนั้น  ความคิดเรื่องจัดตั้งกระทรวงยุติธรรมของพระองค์เป็นอันพับไป

ปี ร.ศ. ๑๑๐ (๒๔๓๔) เกิดปัญหาเรื่องการปกครองหัวเมืองอีสาน ที่เป็นหัวเมืองชั้นนอกบ้างและหัวเมืองประเทศราชบ้าง  รัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  เสด็จไปจัดการหัวเมืองอีสานในฐานะข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการมณฑลอีสาน  และเผอิญเกิดเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ขึ้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  ก็ทรงรับพระภาระจัดการหัวเมืองอีสานให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี  จนเมื่อเหตุการณ์ทางอีสานเรียบร้อยมากขึ้น รัชกาลที่ ๕ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  เสด็จกลับมากรุงเทพฯ  ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฏ์ ต้องเสด็จไปราชการ ณ ต่างประเทศ ทำให้ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมว่างลง  จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และได้ทรงชำระคดีพระยอดเมืองขวางในฐานะหัวหน้าผู้พิพากษาฝ่ายไทยด้วย

ปี ร.ศ.๑๑๓ (๒๔๓๗) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เริ่มมีพระอาการประชวรด้วยพระโรคชนิดหนึ่ง  พอปี ร.ศ. ๑๑๕ พระอาการพระโรคนั้นกำเริบหนัก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม  ซึ่งรัชกาลที่ ๕ ก็พระราชทานพระบรมราชานุญาตตามที่ทรงขอ  แต่ยังโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเป็นกรรมการศาลฎีกาอยู่ ด้วยรัชกาลที่ ๕ ทรงเสียดายพระปรีชาและพระเกียรติคุณของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร    กระนั้นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  ก็ทรงปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเป็นครั้งคราว เพราะต้องเสด็จไปประทับรักษาพระองค์ที่หัวเมืองชลบุรี  จนกระทั่งพระอาการพระโรคกล้ามากขึ้นจึงเสด็จกลับมาประทับที่วังริมประตูสามยอด

วันที่ ๑๑ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๘ (๒๔๕๒) เวลา ๔ โมงเช้าเศษ  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  สิ้นพระชนม์  สิริพระชันษาได้ ๕๔ ปี ๔ เดือน ๑๕ วัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 11 ธ.ค. 09, 15:46

โคลงและฉันท์จารึกอนุสาวรีย์พระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาส ได้รับยกย่องว่าเป็นพระนิพนธ์โคลงที่แต่งได้ดีที่สุด  แต่งถวายพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาส  หนึ่งในพระราชธิดาแฝด ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งสิ้นพระชนม์เมื่อปี  พ.ศ. ๒๔๒๙  พระชันษา  ๑  ปี ๓ เดือน
ดิฉันพยายามจะไปลอกพระนิพนธ์มาจากเว็บที่เจอในกูเกิ้ล แต่หลุดทุกที   เข้าไปไม่ได้

คงต้องขอพึ่งคุณเพ็ญชมพู   เผื่อจะมีพระนิพนธ์บทนี้มาให้อ่านกัน

พระนิพนธ์ ภุชงคประยาตฉันท์ และโคลงสี่สุภาพ โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร บนแผ่นจารึกใต้ปราสาทอนุสาวรีย์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาศ ในสุสานวัดราชบพิธ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 11 ธ.ค. 09, 15:49

.


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 11 ธ.ค. 09, 15:51

..


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 11 ธ.ค. 09, 15:52

...


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 11 ธ.ค. 09, 16:04

คำจารึกข้างบนนี้นำมาจากหนังสือ ชุมนุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ ภาคปกิณณกะ ภาค ๑
http://161.200.145.33/rarebook-ft/toc.asp?dirid=I0034&dirname=ชุมนุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่%20๕%20ภาคปกิณณกะ%20ภาค%20๑
http://161.200.145.33/rarebook-ft/doc.asp?dirid=I0034&page=0000_10&dirname=ชุมนุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่%20๕%20ภาคปกิณณกะ%20ภาค%20๑



บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 11 ธ.ค. 09, 16:20

ขออนุญาตเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับพระนิพนธ์ฉันท์และโคลงจารึกอนุสสาวรีย์พระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาศเล็กน้อยครับ

"...ฉันท์แลธดคลงจารึกอนุสาวรีย์นี้  ใครได้อ่านมีความเห็นเป็นอันเดียวกันว่าแต่งดีที่สุดในกลอนไทย  ไม่มีกวีคนใดที่ปรากฏมาแต่ก่อนแต่งดีกว่านี้ได้  มีคำกระซิบกล่าวกันในเวลานั้นว่า  กรมหลวงพิชิตฯ ทรงแต่งดีได้อย่างนี้อาจจะร้อนพระทัยในภายหน้า  เมื่อโปรดฯ ให้แต่งสำหรับจารึกอื่นซึ่งสำคัญยิ่งขึ้นไป  กรมหลวงพิชิตฯ จะไม่สามารถทรงแต่งได้ดีถึงอนุสสาวรีย์นี้  คำที่กล่าวนี้ทราบถึงกรมหลวงพิชิตฯ ครั้นภายหลังมาก็เป็นจริงอย่างเขาว่า  เคยตรัสแก่ข้าพเจ้าว่า "มันจริงของเขาเสียแล้วนะน้องเอ๋ย"..."

ข้อความนี้เป็นคำของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงเล่าไว้ในหนังสือประชุมพระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เมื่อพิมพ์ครั้งแรก ปี ๒๔๗๒ ในคราวฉลองอายุครบ ๗๐ ปี หม่อมสุ่น คัคณางค์ ณ อยุธยา โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี โปรดให้พิมพืแจกในงานดังกล่าว แล้วได้พิมพ์อีกครั้งในในปี ๒๔๙๓ ในงานศพหม่อมสุ่นฯ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 12 ธ.ค. 09, 21:24

ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูค่ะ   ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 20 คำสั่ง