เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 21505 เพราะเหตุใด ทำไม คณะราษจึงต้องจับตัวทูลกระหม่อมบริพัตรด้วยครับ ในปี 2475
manit peuksakondh
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 04 ก.ค. 10, 20:08

ใครเคยได้ยินเพลง " 24 มิถุนา ยนมหาศรีสวัสดิ์ ......เริ่มระบอบแบบอา ระยะประชาธิปไตย ทั่วราษฏรไทย ได้สิทธิสมบูรณ์... " มั่งเอ่ย แหมตอนเด็กๆร้องได้คล่อง ตอนนี้ลืมไปเกือบหมดแล้วครับ
มานิต
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 04 ก.ค. 10, 22:40

ยี่สิบสี่มิถุนา….ยนมหาศรีสวัสดิ์….ปฐมฤกษ์ของรัฐ..ธรรมนูญของไทย

เริ่มระบอบแบบอารยะ....ประชาธิปไตย……ทั่วราษฎรไทยได้สิทธิ์เสรี

สำราญ สำเริง บันเทิงเต็มที่ เพราะชาติเรามีเอกราชสมบูรณ์

ไทยจะคงเป็นไทย โปรดร่วมใจ…เทอดไทย ไชโย……..
บันทึกการเข้า
manit peuksakondh
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 05 ก.ค. 10, 15:45

ขอบพระคุณครับ อยากฟังจังเลยครับ
มานิต
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 05 ก.ค. 10, 15:59

ผมกำลังร้องให้ฟังอยู่ ได้ยินไหมครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 05 ก.ค. 10, 16:31

ถ้าคุณมานิตฟังคุณนวรัตนร้องจบแล้ว  encore แล้ว ก็ยังไม่จุใจ เชิญเข้าไปฟังในเว็บนี้ได้ค่ะ
http://www.talkingmachine.org/
ลากเม้าส์ลงไปเรื่อยๆจะเจอลิ้งค์ เพลงชาติ ๒๔ มิถุนา

ป.ล. จำเพลงนี้ไม่ได้เลย   ไม่น่าเชื่อ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 05 ก.ค. 10, 16:50

อ้าว เมื่อกี้ที่ร้องออกอากาศให้คุณมานิตฟัง ปรากฏว่าร้องผิดไปคนละทำนอง ถูกแค่ ยี่สิบสี่มิถุนา...ยนมหา...ศรีสวัสดิ์ ที่เหลือผิดหมด

ขออภัยนะครับ
บันทึกการเข้า
djkob
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 26 ส.ค. 10, 11:34

สวัสดีค่ะ เพิ่งเป็นสมาชิกได้ไม่นาน ขอคุยด้วยคนนะคะ

กบได้อ่านหนังสือของ มจ.หญิงพูนพิศมัย  ดิสกุล  เกี่ยวกับเรื่องราวช่วงปลายรัชกาลที่ 7 เป็นช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่เป็นช่วงที่เศร้ามากค่ะ  อ่านไปก็ร้องไห้ไปด้วย  ชื่อหนังสือ "สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น"  ร้องไห้

อ่านแล้วทำให้คิดไปว่า ทำไมพวก............เขาถึงใจร้ายกับเจ้าของแผ่นดินได้ขนาดนั้น ถ้าไม่มีบรรพบุรุษของท่านแล้วพวกเขา............เหล่านั้นจะได้มีแผ่นดินให้อยู่ดีมีสุข ระเริงกับอำนาจได้หรือ ?

พวกเขาใจร้อนไปหรือปล่าว  ประชาธิปไตยของเราถึงได้ไม่มั่นคงเหมือนทุกวันนี้  ไปถามตามบ้านนอกบ้านนา บางคนยังไม่เข้าใจเลยว่าคืออะไร รู้แต่ว่าเขาบอกให้ทำ เขาบอกให้เลือก เขาให้.................จึงไปเลือก

แต่อ่านว่าบางช่วงก็ต้องเดาเอาเอง เพราะผู้เขียนคงเอ่ยชื่อไม่ได้ได้แต่...........เหมือนกบนี่แหละ  แต่คิดไปคิดมาถ้าเดาส่งเดช ก็จะทำให้คนผิดเป็นคนถูก หรือคนถูกเป็นคนผิดได้ เพราะเกิดไม่ทัน  ก็เลยไม่เดาแต่อ่านเพื่อให้ได้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ดีกว่า  ถ้าท่านใดได้อ่าน แล้วบอกด้วยนะคะ เพื่อจะได้สอบถามเป็นการส่วนตัวว่าที่ ผู้เขียน........ไว้เป็นใครกันบ้าง  ฮืม

ด้วยความเคารพ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 26 ส.ค. 10, 11:49

อ่านบันทึกของท่านหญิงพูนแล้ว ต้องอ่านตรงนี้ด้วยครับ

http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K9577433/K9577433.html
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 27 ส.ค. 10, 13:57

อ้างถึง
ผู้คนในวังวรดิศล้วนสังเกตเห็นสันติบาลมาเฝ้าอยู่ที่หน้าวังตลอดเวลา

แขกที่ไม่ได้รับเชิญแบบนี้  ลูกหลานนักโทษการเมืองรู้จักดีค่ะ
และทำให้ผู้ต้องสงสัย หรือ อดีตผู้ต้องหา กลายเป็นบุคคลน่ารังเกียจ
ไปไหนมาไหน ไม่มีใครเสวนาด้วย บางคนหันหน้าหนี และแอบปาดน้ำตาไปด้วย
งานการ ธุรกิจก็ทำไม่ได้ ล้มละลายเหมือนตกนรกทั้งเป็นอยู่นาน

กว่าฟ้าจะเปลี่ยนสี บางคน ก็เส้นเลือดในสมองแตก จำอะไรไม่ได้
นั่นแหละ คือ วันที่ สันติบาล คืนสันติภาพให้อย่างแท้จริง

นี่คือชะตากรรมของชาวบ้านธรรมดาที่ยืนอยู่คนละฝ่ายกับผู้มีอำนาจ ยังขนาดนี้
เจ้าฟ้าบริพัตร ทรงลี้ภัยไปบันดุง เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจและ น่าเคารพยกย่องในความเสียสละเป็นอย่างยิ่ง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 24 มิ.ย. 20, 11:25

ใครเคยได้ยินเพลง " 24 มิถุนา ยนมหาศรีสวัสดิ์ ......เริ่มระบอบแบบอา ระยะประชาธิปไตย ทั่วราษฏรไทย ได้สิทธิสมบูรณ์... " มั่งเอ่ย แหมตอนเด็กๆร้องได้คล่อง ตอนนี้ลืมไปเกือบหมดแล้วครับ
อยากฟังจังเลยครับ
มานิต

จัดให้ตามคำขอ  ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 24 มิ.ย. 20, 12:50

  ย้อนหลังไป 88 ปี เช้าวันเดียวกันนี้   คือวันที่ 24 มิถุนายน 2475    นายทหารกลุ่มหนึ่งนำโดย นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาหารทหารโรงเรียนนายร้อย กับสมัครพรรคพวก ได้ทำการยึดการปกครองแผ่นดินได้เป็นผลสำเร็จ  โดยวางอุบายให้ทหารส่วนใหญ่ซึ่งไม่ได้รู้เห็นด้วย มาชุมนุมกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ตรงหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม แล้วประกาศการยึดพระราชอำนวจ ในนามของ "คณะราษฎร์"

  ในจำนวนทหารที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ด้วยนี้ มีนายทหารหนุ่มยศนายพันตรีชื่อหลวงราญรณกาจ เป็นผู้บังคับการกองพันมหาดเล็กกองพันที่ 3  เป็นกองพันอยู่ใกล้ชิดกับเขตพระราชฐาน มีหน้าที่รักษาองค์พระมหากษัตริย์ เห็นว่าเป็นการกบฏ จึงได้สั่งการป้องกันกองพันของตนไว้ โดยให้ทหารตั้งปืนกลจุกช่องทางที่จะเข้ามาในกองพันทุกจุด ทั้งสั่งทหารให้สู้
    แต่ผู้ก่อการฯ ได้ยึดอำนาจไว้ได้แล้ว  รวมทั้งผู้บังคับบัญชาของหลวงราญรณกาจก็ไม่คิดต่อสู้    หลวงราญฯจึงต้องยกเลิกคำสั่ง    ถึงกระนั้น  ชะตากรรมของคุณหลวงก็ไม่ได้ดีขึ้น   เพราะนายทหารหลายคนฝ่ายผู้ก่อการถือว่าคุณหลวงไม่ได้ร่วมมือด้วยแต่แรก   ซ้ำยังกระทำการขัดขวางในการตั้งกองพันเตรียมต่อสู้   จึงได้บีบบังคับจนคุณหลวงต้องลาออกจากราชการ       มาทำงานเอกชนเป็นผู้จัดการโรงภาพยนตร์เฉลิมนคร
   เวลาผ่านไป บุคคลชั้นผู้นำของคณะราษฎร์แตกคอกันเอง   จนนายทหารรุ่นน้องนามพันตรีหลวงพิบูลสงครามก้าวขึ้นสู่อำนาจ    ในปี 2482  ห่างจากวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง 7  ปี   เขาได้กวาดล้างฝ่ายผู้ก่อการฯ รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์อย่างรุนแรง  มีทั้งจับเป็นและจับตาย 
     หลวงราญรณกาจถูกหมายหัวมาตลอด 7 ปีว่าเป็นฝ่ายสนับสนุนเจ้า   ประกอบกับเป็นเพื่อนนายทหารร่วมรุ่นของพระยาทรงสุรเดช หนึ่งในผู้ก่อการผู้ถูกโค่นอำนาจไปแล้ว   จึงถูกยัดเยียดข้อหากบฏ  และถูกตำรวจในยุคของหลวงอดุลเดชจรัส  ไปจับกุมถึงบ้าน   ยิงทิ้งคาบ้านตัวอง ด้วยปืนกลมือในระยะเผาขน นับรูลูกกระสุนจากแผ่นหลังได้ถึง 14 รู   หลักฐานของตำรวจคือปืนพก 1 กระบอก ถูกทิ้งไว้ใกล้ศพ   เพื่อเป็นหลักฐานในข้อหาต่อสู้เจ้าพนักงานอีกกระทงหนึ่ง  แทนที่จะเป็นคดีฆ่าคนตายของตำรวจเอง

    วันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปี จึงเป็นวันที่เตือนใจให้ลูกหลานของหลวงราญรณกาจ รำลึกถึงนายทหารเล็กๆคนหนึ่ง ที่ตายไปอย่างไม่เสียชาติเกิด และไม่เสียหน้าที่ต่อแผ่นดินของปู่ย่าตายาย
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 24 มิ.ย. 20, 15:59

พึ่งเห็นภาพนี้ อยากเรียนถามผู้รู้ว่ามาจากหนังสือเล่มไหนครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 24 มิ.ย. 20, 17:00

ดิฉันจำไม่ได้ค่ะ  เห็นจะต้องถามผู้รู้ท่านอื่น

แต่จำข้อความข้างล่างนี้ได้ว่าใครพูด

""ในปี ค.ศ. 1925 (พ.ศ. 2468) เมื่อเราเริ่มจัดตั้งกลุ่มแกนของพรรคอภิวัฒน์ในปารีส ข้าพเจ้ามีอายุเพียง 25 ปีเท่านั้น หนุ่มมาก หนุ่มทีเดียว ขาดความจัดเจน แม้ว่าข้าพเจ้าได้รับปริญญาแล้ว และได้คะแนนสูงสุด แต่ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าทางทฤษฎี ข้าพเจ้าไม่มีความจัดเจน และโดยปราศจากความจัดเจน บางครั้งข้าพเจ้าประยุกต์ทฤษฎีอย่างนักตำรา ข้าพเจ้าไม่ได้นำความเป็นจริงในประเทศของข้าพเจ้ามาคำนึงด้วย ข้าพเจ้าติดต่อกับประชาชนไม่พอ ความรู้ทั้งหมดของข้าพเจ้าเป็นความรู้ตามหนังสือ ข้าพเจ้าไม่ได้เอาสาระสำคัญของมนุษย์มาคำนึงด้วยให้มากเท่าที่ข้าพเจ้าควรจะมี  ในปี ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) ข้าพเจ้าอายุ 32 ปี พวกเราได้ทำการอภิวัฒน์ แต่ข้าพเจ้าก็ขาดความจัดเจน และครั้นข้าพเจ้ามีความจัดเจนมากขึ้น ข้าพเจ้าก็ไม่มีอำนาจ  "
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 25 มิ.ย. 20, 22:52

ดิฉันจำไม่ได้ค่ะ  เห็นจะต้องถามผู้รู้ท่านอื่น

แต่จำข้อความข้างล่างนี้ได้ว่าใครพูด

""ในปี ค.ศ. 1925 (พ.ศ. 2468) เมื่อเราเริ่มจัดตั้งกลุ่มแกนของพรรคอภิวัฒน์ในปารีส ข้าพเจ้ามีอายุเพียง 25 ปีเท่านั้น หนุ่มมาก หนุ่มทีเดียว ขาดความจัดเจน แม้ว่าข้าพเจ้าได้รับปริญญาแล้ว และได้คะแนนสูงสุด แต่ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าทางทฤษฎี ข้าพเจ้าไม่มีความจัดเจน และโดยปราศจากความจัดเจน บางครั้งข้าพเจ้าประยุกต์ทฤษฎีอย่างนักตำรา ข้าพเจ้าไม่ได้นำความเป็นจริงในประเทศของข้าพเจ้ามาคำนึงด้วย ข้าพเจ้าติดต่อกับประชาชนไม่พอ ความรู้ทั้งหมดของข้าพเจ้าเป็นความรู้ตามหนังสือ ข้าพเจ้าไม่ได้เอาสาระสำคัญของมนุษย์มาคำนึงด้วยให้มากเท่าที่ข้าพเจ้าควรจะมี  ในปี ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) ข้าพเจ้าอายุ 32 ปี พวกเราได้ทำการอภิวัฒน์ แต่ข้าพเจ้าก็ขาดความจัดเจน และครั้นข้าพเจ้ามีความจัดเจนมากขึ้น ข้าพเจ้าก็ไม่มีอำนาจ  "

กราบสวัสดีครับอาจารย์เทาชมพู นานๆแวะมาที ช่วงนี้มีการพูดถึง 2475 ก็รำลึกได้ว่าฐานความรู้ของผมเกี่ยวกับเรื่องนี้เกือบทั้งหมดมาจากห้องสมุดเรือนมยุราที่อาจารยเทาชมพู อาจารย NAWARAT C. เล่าเอาไว้เมื่อนานมาแล้ว เดี๋ยวคงต้องอ่านกระทู้เหล่านั้นอีกสักรอบ อ่านรอบใหม่อาจจะมีความเข้าใจหรือมุมมองใหม่ตามวัยที่เปลี่ยนไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 26 มิ.ย. 20, 13:27

มาทักทายคุณผกานินีค่ะ   หายไปนานมากจนเกือบลืมชื่อไปแล้ว
ดีใจที่แวะเข้ามาอีกค่ะ 
ถ้าอ่านเสร็จแล้วจะออกความเห็นก็เชิญนะคะ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.154 วินาที กับ 20 คำสั่ง