Kris
อสุรผัด

ตอบ: 14
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 11 ธ.ค. 09, 09:46
|
|
คิดแล้วก็ใจหายวาบ เป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน เผลอไผลไม่ได้การ เหล่ายังเตริ์กลุกขึ้นกระตุกหนวดเสือ ยังผลให้เจ้านายเสด็จพลัดถิ่นที่อยู่ไปตามๆ กัน
เมื่อได้อ่านบันทึกความทรงจำบางเรื่อง ของ มจ.หญิงประสงค์สม บริพัตร ในสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระนครสวรรค์วรพินิตฯ ทรงเล่าว่านายทหารหนุ่มของผู้ก่อการอยากได้โน่นนี่สารพัด ราวกับตายอดตายอยากมาจากขุมไหนไม่ปาน รู้สึกสลดใจในชะตากรรมของพระบรมวงศานุวงศ์ที่พลิกผันเช่นนี้
อย่างน้อยหลังจากที่พระองค์ทรงจบการศึกษาและเสด็จนิวัติพระนคร เข้ารับราชการช่วงปี พ.ศ. 2446-2475 พระองค์ทรงทำประโยชน์แก่บ้านเมืองมากมาย การที่ท่านต้องใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างว้าเหว่ไกลบ้าน ลงท้ายด้วยสิ้นพระชนม์ในต่างแดน รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ทารุณจิตใจเหลือเกิน
สงสัยว่าข้าเก่าเต่าเลี้ยงของท่านนั้น หายไปไหนหมด!
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 11 ธ.ค. 09, 11:21
|
|
อ่านค.ห.คุณหลวงแล้วนึกถึงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ใครมาเป็นเจ้าเข้าครอง คงจะต้องบังคับขับไส เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำกรำไป ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย เขาจะเห็นแก่หน้าค่าชื่อ จะนับถือพงศ์พันธุ์นั้นอย่าหมาย ไหนจะต้องเหนื่อยยากลำบากกาย ไหนจะอายทั่วทั้งโลกา สงสัยว่าข้าเก่าเต่าเลี้ยงของท่านนั้น หายไปไหนหมด! เห็นอยู่คนหนึ่งที่จงรักภักดี เสมอต้นเสมอปลาย ก็ตกระกำลำบากแทบเอาชีวิตไม่รอด http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3025.msg58352;topicseen#msg58352
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kris
อสุรผัด

ตอบ: 14
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 17 ธ.ค. 09, 10:37
|
|
ท่านไม่ใชแพทย์ประจำพระองค์ดอกครับ แต่ทรงใฝ่พระทัยทางนี้และเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมสถาปนาโรงพยาบาลศิริราชด้วย คุณ pomsang ลองสังเกตที่ชื่อศูนย์นเรนทรซิว่าตั้งขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติท่านผู้ใด?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
manit peuksakondh
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 17 ธ.ค. 09, 18:13
|
|
ผมชอบอ่านเรื่องที่ท่าน"คุย ?"กันนี่มาก อ่านแล้วได้ข้อมูลมากมาย ครับผม อยากเพิ่มอะไรที่มีหลายท่านนอกเว็บ"ให้ข้อสังเกตุไว้" ลงไปจังเลยครับ แต่คิดไปคิดมาแล้ว อย่าดีกว่า ฮิ ฮิ มานิต
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
samun007
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 18 ธ.ค. 09, 11:34
|
|
ถ้าอ่านหนังสือของลุงสรศัลย์ แพ่งสภา ผู้ล่วงลับแล้ว จะพบว่า เสด็จฯ ท่านน่าจะทรงตรอมพระทัยล่ะครับ เพราะ หัวหน้าเสธฯ (ที่อยู่เบื้องหลัง) ไม่ใช่ใครที่ไหน ก็คือท่านหัวหน้าคณะฯ ผู้ก่อการปี พ.ศ. ๒๔๗๖ นั่นเอง แถมยังเป็นรุ่นพี่รุ่นน้องที่ กรอซลิซ เทอะ เฟลเดอร์ เหมือนกันเสียด้วยนี่สิครับ
ที่น่าเจ็บใจกว่า คือบรรดาเพื่อนร่วมอุดมการณ์ ในภายหลังต้องมาฆ่ากันเอง เพราะเด็กรุ่นน้องที่มาจากฝรั่งเศส ด้วยเหมือนกันครับ
สรุป ฝรั่งเศส เขามาแรงจริง ๆ เยอรมันหายจ้อยเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
manit peuksakondh
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 21 ธ.ค. 09, 09:58
|
|
พยายามจะนึกว่าการไป"เรียน" ต่างด้าวนี่จะมีผลต่อแนวความคิดของเราหรือไม่ อย่างไร และการไป "เรียน" ในรร.ระดับที่ท่านเหล่านั้นไปเรียนกันนั้น ซึ่งสมัยนั้นถือว่าเด่นมากนั้น จะมีผลกระทบถึงอย่างอื่นหรือไม่ ครับผม มานิต
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 21 ธ.ค. 09, 11:11
|
|
ดิฉันไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ช่วงนี้อย่างลึก ก็ต้องรอผู้รู้มาตอบคุณมานิตต่อไป มาตอบเพื่อกระตุ้นกระทู้ให้เดิน เท่านั้นค่ะ
เข้าใจเพียงว่า การที่นักเรียนไทยมีโอกาสไปศึกษาต่อที่ยุโรป ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงระบอบบการปกครองจากระบอบราชาธิปไตยมาเป็นสาธารณรัฐ อย่างฝรั่งเศส จะเป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนไทยบางคนเห็นว่าระบอบกษัตริย์ของไทย ไม่ทันสมัยเสียแล้ว บ้านเมืองควรจะมีปัญญาชนที่เป็นสามัญชน เป็นผู้กำหนดทิศทาง
ความคิดนี้ เริ่มเค้าให้เห็น ตั้งแต่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ในปลายรัชกาลที่ ๕ แต่ไม่มีการสานต่อ กบฎทหารหนุ่มเมื่อ ร.ศ. ๑๒๐ ในรัชกาลที่ ๖ เป็นการไม่พอใจตัวบุคคลมากกว่าจะกว้างไปถึงไม่พอใจระบอบการปกครอง
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ เป็นจุดจบของราชาธิปไตย แต่จะเรียกว่าเริ่มต้นประชาธิปไตย ดิฉันก็ยังไม่อยากเรียกเช่นนั้น เพราะอำนาจยังอยู่ในมือคนกลุ่มเดียว เป็นศูนย์กลางการบริหาร โดยส่วนตัว คิดว่าเป็นคณาธิปไตย
ต่อมาคณาธิปไตยก็แตกแยกกัน ล้มล้างกันเอง ก่อนจะกลายเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จในมือคนเดียว เมื่อปี ๒๔๘๒ ระบบผู้นำ แม้ว่ามีสภาผู้แทน ก็ยังถูกปกครองโดยฝ่ายผู้นำ สามารถล้มล้างอำนาจเก่าของเจ้านาย และกลุ่มอำนาจใหม่ด้วยกันแต่เป็นฝ่ายตรงข้าม ลงได้ ผู้นำแม้หลุดจากอำนาจในช่วงสั้นๆก็กลับมาได้อีกจน ๒๕๐๐ จึงจบลงไป แล้วเริ่มต้นการปกครองด้วยอำนาจทหาร จนถึงพ.ศ. ๒๕๑๔
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
manit peuksakondh
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 21 ธ.ค. 09, 15:18
|
|
เรื่องนี้น่าสนใจ เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง แต่ก็ต้องรอบคอบเป็นอย่างมากเช่นกัน ทำให้ผมแสดงความคิดเห็นอะไรลำบาก เพราะหลายท่านคงเข้าใจว่านี่คือ ความคิดเห็น ถูกก็ได้ ผิดก็ได้ ของธรรมดา แต่ก็กริ้งเกรง อยู่ครับ กลัวเสียของ ครับผม มานิต
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Lonelybankz
มัจฉานุ
 
ตอบ: 62
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 10 ม.ค. 10, 01:08
|
|
ได้ความรุ้เยอะแยะเลยครับ รออ่านต่อครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Anna
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 05 เม.ย. 10, 19:10
|
|
[เห็นอยู่คนหนึ่งที่จงรักภักดี เสมอต้นเสมอปลาย ก็ตกระกำลำบากแทบเอาชีวิตไม่รอด]
ขอเรียนถามอาจารย์ค่ะ ท่านผู้นี้คงเป็นผู้ที่เปิดเผยชื่อไม่ได้ใช่ไหมคะ เพราะถ้าได้อาจารย์คงบอกแล้ว
พระยาโยธาบดีใน 'มาลัยสามชาย' คือตัวแทนของท่านผู้นี้ใช่ไหมคะ และคำถามสุดท้ายที่คาใจมานาน
หลังจากอ่าน'มาลัยสามชาย' (ตอนนั้นมัวแต่งมโข่งค่ะ ไม่รู้ว่ามีเว็บไซท์นี้ที่อาจารย์เข้ามาตอบคำถาม)
พระยาโธยาบดีที่เป็นราชองค์รักษ์ในกรมพระนครสวรรค์มีตัวตนจริงๆตามประวัติศาสตร์หรือไม่คะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 05 เม.ย. 10, 19:24
|
|
มาลัยสามชายเป็นนวนิยาย แม้มีที่มาจากเหตุการณ์จริงในอดีตบ้าง แต่ก็ไม่อาจนำมาอ้างอิงได้ว่าเป็นเรื่องจริง หรือบุคคลจริง ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
mr.eakaluck_tum
อสุรผัด

ตอบ: 5
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 02 ก.ค. 10, 23:21
|
|
แล้วผู้ว่าคนล่าสุดเกี่ยวข้องกับทูลกระหม่อมบริพัตรละครับ...ผมอยากรู้ครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 03 ก.ค. 10, 07:48
|
|
ภาษาชาวบ้านใช้ว่าท่านเป็น"หลานปู่"น่ะครับ
เรื่องที่ควรรู้เกียวกับม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตรอยู่ในเวปมากมาย คุณเข้าไปหาเองได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
mr.eakaluck_tum
อสุรผัด

ตอบ: 5
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 03 ก.ค. 10, 18:52
|
|
ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
teerat1
อสุรผัด

ตอบ: 16
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 03 ก.ค. 10, 22:01
|
|
แล้วเป้นยังไงละครับ ประชาธิปไตย ที่อยากได้กันนักหนา เอามาเป้นเครื่องมือให้นักการเมือง ผลาญประเทศแบบทุกวันนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
เกิดเป็นคนไทย ตายก็คนไทย สำนึกในบรรพบุรุษราชวงศ์จักรี ทำให้มีแผ่นดินไทยเหยียบกันทุกวันนี้
|
|
|
|