ตอบตามเรื่องครับ

๑. อายุคนไทยสมัยก่อน โดยมากก็เฉลี่ยอยู่ประมาณนี้ ๕๐ - ๖๐ ปี เหตุหนึ่งก็คือการแพทย์ไทยสมัยก่อนยังไม่ค่อยก้าวหน้า การกินอยู่ยังไม่สู้ถูกสุขอนามัยนัก การรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย ใช้การรับประทานยาเป็นหลัก ในขณะที่โรคบางโรคต้องใช้วิธีการผ่าตัดหรือวิธีการอื่นๆ รักษาจึงจะได้ผล การรักษาโรคของคนไทยสมัยก่อนบางทีก็เป็นไปตามยถากรรม และความเชื่อส่วนบุคคล นี่เป้นเหตุหนึ่งที่ทำให้คนอายุไม่ยืนยาวอย่างคนปัจจุบัน แต่ขอให้สังเกตว่า เมื่ออายุเฉลี่ยสมัยก่อนไม่ยาวเท่าคนปัจจุบัน คนสมัยก่อนจึงมีครอบครัวเร็ว ผิดกับสมัยนี้ยาวยืนขึ้นเลยมีครอบครัวช้าลง
๒.โรคริศดวง เข้าใจว่าไม่ใช่ โรคริดสีดวง ตามที่คนสมัยนี้เข้าใจกัน เรื่องโรคที่คนสมัยก่อนเรียกชื่อกันนั้น แม้จะเหมือนกันหรือคล้ายกันกับชื่อโรคในปัจจุบัน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นชื่อโรคที่มีอาการเหมือนกันเสมอไป ถ้าอยากทราบว่าโรคของคนสมัยก่อนมีลักษณะ อาการอย่างไร ต้องอ่านดูจากตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ หรือตำราแพทย์ของหลวง อย่างเช่น วรรณโรค คนสมัยก่อนเขาคงหมายเรียกเอาโรคบางอย่างที่เป็นแล้วผิวพรรณของคนไข้เป็นเปลี่ยนไป เช่น ผอมคล้ำ ซีดขาว เป็นต้น ท่านจึงให้ว่า วรรณ การที่ท่านเรียกว่าวรรณโรค ก็เพราะจะเลี่ยงไม่ระบุโรคที่เป็นโดยตรง เพราะบางทีก็เป็นโรคที่สังคมเวลานั้นรังเกียจ หรือเพื่อจะให้เกียรติคนไข้ด้วย บางทีอาจจะเป็นฝีอะไรสักอย่าง ท่านก็เรียกว่าวรรณโรค คนสมัยก่อนท่านเป็นฝีกันมาก สังเกตจากที่ตำรายารักษาฝีมีมากตำรับมากขนาน ผิดกับวัณโรค ของคนสมัยนี้ ที่เป็นชื่อของโรคปวด มีอาการไอมาก
ไม่ใช่หมอ ผมตอบได้เท่านี้แหละครับ
