เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 11025 อยากทราบเรื่องกรมโหรค่ะ
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 15 ธ.ค. 09, 16:21

เอาเป็นว่า  จะพยายามหาข้อมูลให้ก็แล้วกันนะครับ

ตำแหน่งขุนเทพพยากรณ์เป็นตำแหน่งขุนนางกรมโหรระดับต้น  คนที่ได้รับราชทินนามนี้อาจจะได้เลื่อนไปรับราชทินนามอื่นที่สูงขึ้นไปต่อมา  ซึ่งถ้าจะค้นกันจริงต้องไปดูหลักฐานการโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรแต่งตั้งขุนนางสมัยรัชกาลที่ ๔-๕-๖ เอกสารที่จะค้นก็พอมี  แต่ต้องใช้เวลาค้นพอสมควร  เอาเป็นว่า  ถ้ามีข้อมูลคืบหน้า  จะเอามาลงให้ก็แล้วกันนะครับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 16 ธ.ค. 09, 08:22

ประวัติพระโหราธิบดี (คำ)

พระโหราธิบดี (คำ) เดิมเป็นขุนหมื่นในกรมโหร    ต่อมาได้เป็นที่ขุนอินทจักษ์ เจ้าหมู่ปฏิทิน   ปีขาล สัมฤทธิศก ๑๒๔๐ ได้เป็นที่ขุนเทพพยากรณ์ ปลัดกรมโหรหลัง ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด ปีละ ๑๕ ตำลึง  ปีกุน นพศก ๑๒๔๙ เป็นที่หลวงโลกทีป  เจ้ากรมโหรหลัง  ไรบพระราชทานเบี้ยหวัดตามเดิม    ร.ศ. ๑๑๓ (ปีที่ ๒๗ ในรัชกาลที่ ๕) ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระโหราธิบดี  เจ้ากรมโหรหน้า  ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก และมงกุฎสยามชั้นที่ ๕ (ทิพยาภรณ์ กับวิจิตราภรณ์) เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา   เดือนมกราคม ร.ศ. ๑๑๓ พระโหราธิบดี (คำ) ป่วยเป็นไข้พิษ   พระสิทธิสารประกอบยารักษาให้รับประทาน  อาการไข้ไม่คลาย  วันที่ ๒๑ มกราคม ร.ศ. ๑๑๓ เวลา ๑ ทุ่ม พระโหราธิบดี (คำ) ถึงแก่กรรม  อายุได้  ๔๗ ปี.
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 27 ม.ค. 10, 11:54

ข้อมูลเกี่ยวกับขุนเทพพยากรณ์(ทัด)

ขุนเทพยากร(ทัด) เปนบุตรขุนเทพจัก (เกด) เดิมขุนเทพยากร ได้รับราชการ รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละหกตำลึงแต่ในแผ่นดินพระบาทสมเดจพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ครั้นมาถึงแผ่นดินปัตยุบันนี้   พระราชทานวสัญญาบัติให้เปนขุนเทพยากร ปลัดกรมโหรหลัง  พระราชทานเบี้ยหวัดขึ้นอีกเก้าตำลึง  รวมเปนปีละสิบห้าตำลึง  ครั้นถึง ณ วันเดือนเก้า  แรมสี่ค่ำ  ปีฉลู นพศก  ให้เมื่อยทั่วทั้งกาย  ร้อนๆ หนาวๆ รับประทานอาหารไม่ใคร่จะได้ นอนไม่ใคร่จะหลับ  ได้หาหมอเชลยศักมาดูว่าเปนโรคริศดวง  ประกอบยาให้รับทาน  อาการทรงอยู่เก้าวันสิบวันแล้วกลับซุดไป  ครั้นถึง ณ วันเดือนสิบแรมค่ำหนึ่ง  อาการให้บวมมือบวมเท้า  ให้ใอเปนกำลัง  รับประทานอาหารได้มื้อละถ้วยชา   ป่วยมาได้เดือนหนึ่ง กับยี่สิบวัน  ครั้นถึง ณ วันพุฒ เดือนสิบเอจ ขึ้นสิบค่ำ  อาการให้ร้อนเสมหปะทะขึ้นมา  จนถึงเวลาย่ำรุ่งถึงอนิจกรรม  อายุได้ห้าสิบหกปี  พระราชทานหีบเชิงชายพื้นแดง สพลงในหีบเปนเกียรติยศ ฯ

คัดลอกรักษาอักขรวิธีตามต้นฉบับ จาก ข่าวตาย ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔ น่า ๒๗๖  วันอาทิตย์ แรมสิบสามค่ำ เดือนสิบเอ็ด ปี จ.ศ. ๑๒๓๙
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 27 ม.ค. 10, 15:21

อ่านมาเรื่อยๆ ขอตั้งข้อสังเกตนอกเรื่องว่า
๑) โหร ๔ คนในนี้  อายุไม่ค่อยยืนนัก  มีคนเดียวถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๗๖  ที่เหลืออายุ ๖๐ กว่าอย่างเก่ง
๒) อาการป่วย ด้วยไข้พิษ   ไม่ทราบว่าโรคอะไร  ไข้ทรพิษ  หรือว่าเป็นไข้สูงเฉยๆ แล้วไข้ไม่ลด  ก็เลยถึงแก่กรรม
๓   โรคริศดวง   หมายถึงริดสีดวงหรือเปล่าคะ   แต่ดูจากอาการ แล้วไม่ค่อยเหมือนริดสีดวงกำเริบเลย
"ให้เมื่อยทั่วทั้งกาย  ร้อนๆ หนาวๆ รับประทานอาหารไม่ใคร่จะได้ นอนไม่ใคร่จะหลับ  อาการให้บวมมือบวมเท้า  ให้ไอเปนกำลัง  รับประทานอาหารได้มื้อละถ้วยชา"
เหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่   และต่อมา ไตไม่ทำงาน  ทางเดินหายใจอาจติดเชื้อ อักเสบ ถึงได้ไป   

ถ้ามีหมอประจำอยู่แถวเรือนไทยสักคนก็จะดีหรอก
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 27 ม.ค. 10, 15:48

ตอบตามเรื่องครับ ยิงฟันยิ้ม

๑. อายุคนไทยสมัยก่อน  โดยมากก็เฉลี่ยอยู่ประมาณนี้  ๕๐ - ๖๐ ปี  เหตุหนึ่งก็คือการแพทย์ไทยสมัยก่อนยังไม่ค่อยก้าวหน้า  การกินอยู่ยังไม่สู้ถูกสุขอนามัยนัก  การรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย  ใช้การรับประทานยาเป็นหลัก  ในขณะที่โรคบางโรคต้องใช้วิธีการผ่าตัดหรือวิธีการอื่นๆ รักษาจึงจะได้ผล  การรักษาโรคของคนไทยสมัยก่อนบางทีก็เป็นไปตามยถากรรม และความเชื่อส่วนบุคคล  นี่เป้นเหตุหนึ่งที่ทำให้คนอายุไม่ยืนยาวอย่างคนปัจจุบัน  แต่ขอให้สังเกตว่า เมื่ออายุเฉลี่ยสมัยก่อนไม่ยาวเท่าคนปัจจุบัน  คนสมัยก่อนจึงมีครอบครัวเร็ว   ผิดกับสมัยนี้ยาวยืนขึ้นเลยมีครอบครัวช้าลง

๒.โรคริศดวง  เข้าใจว่าไม่ใช่ โรคริดสีดวง ตามที่คนสมัยนี้เข้าใจกัน   เรื่องโรคที่คนสมัยก่อนเรียกชื่อกันนั้น  แม้จะเหมือนกันหรือคล้ายกันกับชื่อโรคในปัจจุบัน  แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นชื่อโรคที่มีอาการเหมือนกันเสมอไป  ถ้าอยากทราบว่าโรคของคนสมัยก่อนมีลักษณะ อาการอย่างไร  ต้องอ่านดูจากตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์  หรือตำราแพทย์ของหลวง   อย่างเช่น วรรณโรค  คนสมัยก่อนเขาคงหมายเรียกเอาโรคบางอย่างที่เป็นแล้วผิวพรรณของคนไข้เป็นเปลี่ยนไป เช่น ผอมคล้ำ ซีดขาว เป็นต้น  ท่านจึงให้ว่า วรรณ   การที่ท่านเรียกว่าวรรณโรค  ก็เพราะจะเลี่ยงไม่ระบุโรคที่เป็นโดยตรง  เพราะบางทีก็เป็นโรคที่สังคมเวลานั้นรังเกียจ หรือเพื่อจะให้เกียรติคนไข้ด้วย  บางทีอาจจะเป็นฝีอะไรสักอย่าง ท่านก็เรียกว่าวรรณโรค  คนสมัยก่อนท่านเป็นฝีกันมาก  สังเกตจากที่ตำรายารักษาฝีมีมากตำรับมากขนาน  ผิดกับวัณโรค ของคนสมัยนี้  ที่เป็นชื่อของโรคปวด มีอาการไอมาก

ไม่ใช่หมอ  ผมตอบได้เท่านี้แหละครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 27 ม.ค. 10, 15:59

ขอบคุณค่ะคุณหลวงหมอ  ยิ้มเท่ห์
นึกได้อย่างเดียว  วัณโรค เมื่อก่อนเขาเรียก ฝีในท้อง   ไม่รู้ว่าทำไม
เดาว่าคงไอออกมาเป็นเลือด  คนเลยนึกว่ามีฝีที่แตกแล้วอยู่ในท้อง  ขึ้นมาตามทางเดินอาหาร

ที่ว่าคนสมัยนี้อายุยืนกว่าเมื่อก่อน  เห็นด้วย
นึกได้ว่า ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ฯ  และท่านผู้หญิงยศวดี อัมพรไพศาล อายุยืนเกิน ๑๐๐ ปีแล้วทั้งสองท่าน
บันทึกการเข้า
pa15
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 19 ก.พ. 10, 21:07

ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ได้ให้ข้อมูลและความเห็นนะค่ะ ทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมได้บ้าง ขอรบกวนสอบถามในเรื่องการค้นคว้าข้อมูลเรื่องประวัติศาสตร์ราชทินนามต่าง ๆ ของผู้ที่รับราชการในวัง ถ้าหากไปค้นข้อมูลที่หอสมุดแห่งชาติจะต้องไปสืบค้นจากแผนกไหนค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 22 ก.พ. 10, 08:34

ไปค้นที่หอจดหมายเหตุดีกว่าครับ ในส่วนเอกสารของกระทรวงวัง  นอกจากนั้นยังสามารถไปค้นได้จากกระทรวงมุรธาธรและกรมราชเลขานุการ(ราชเลขาธิการ)  (แต่ขอแนะนำได้อย่างหนึ่งว่าเอกสารที่ว่าด้วยการแต่งตั้งขุนนางนั้น มีความหนาหลายหน้า  ถ้าจะค้นต้องใช้เวลาค้นพอสมควรทีเดียว) อันนี้หมายถึงการแต่งตั้งข้าราชการในสมัยรัชกาลที่ ๕- ๗  ถ้าตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ ขึ้นไป คงตัองไปค้นที่ส่วนเอกสารโบราณ ชั้น ๔ หอสมุดแห่งชาติ  และไม่รับประกันว่าจะมีหรือไม่ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.657 วินาที กับ 19 คำสั่ง