เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11
  พิมพ์  
อ่าน: 33248 รุ้ง จิตเกษม
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 02 ก.พ. 10, 09:48

" ผมคิดว่าคนไทยต้องการความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน และปัญญาของพวกเขาด้วย"

" ท่านจอมพลท่านก็ไม่ได้ปิดกั้นเรื่องการศึกษา      ลูกหลานพวกเราก็ได้เรียนหนังสือกันทั้งนั้น  ถ้ามีสติปัญญาพอจะเรียน   มหาวิทยาลัยมาตั้ง ๕ แห่ง   โรงเรียนอาชีวะ  โรงเรียนฝึกหัดครู   มีให้เลือก    ประเทศชาติกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว  เราต้องการเยาวชนที่มีความรู้มากกว่าคนรุ่นเรา เพื่อจะไปสร้างความเจริญให้ทั่วถึงทั้งประเทศ
     คุณคิดดูนะ    ตอนผมเด็กๆ  ถ้าจะไปนนทบุรี  ผมลงเรือที่ท่าช้าง นั่งไปครึ่งวันกว่าจะไปเยี่ยมญาติที่เมืองนนท์ได้    แต่เดี๋ยวนี้ ถนนตัดจากกรุงเทพไปนนท์  สะดวกสบาย  เด็กเมืองนนท์เข้ามาเรียนหนังสือในกรุงเทพ ไปเช้าเย็นกลับได้ทุกวัน    ต่อไปการเดินทางระหว่างจังหวัดมันจะรวดเร็วยิ่งกว่านี้อีก     เราอาจจะไปกลับจากโคราชภายในวันเดียวก็ได้     เวลานี้ถนนมิตรภาพก็ทำให้เราไปอีสานได้สะดวกสบาย  ไม่ต้องเดินทางเกวียนนอนกลางป่าอย่างเมื่อคุณกับผมยังเล็กๆ      ทั้งหมดนี้  ไทยเจริญได้โดยไม่ต้องพึ่งรัฐสภาหรือผู้แทน"

" ผมไม่ได้พูดถึงการศึกษา หรือความเจริญทางวัตถุ    ผมพูดถึงความเจริญทางสติปัญญา   ซึ่งจะเกิดได้เมื่อมนุษย์มีเสรีภาพที่จะคิด และเลือกเส้นทางของตนเอง"    
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 02 ก.พ. 10, 19:08

" ท่านจอมพลท่านก็ไม่ได้ห้ามเรื่องเสรีภาพ   นิสิตนักศึกษาจะคิดทำกิจกรรมอะไร  อธิการบดีก็อนุมัติทุกอย่าง     เว้นอย่างเดียวคือเรื่องการเมือง   เมื่อเรียนจบไปแล้ว เขาจะไปประกอบอาชีพอะไร ก็ทำได้อย่างเสรี  ไม่มีใครบังคับ"
" เว้นแต่คิดอย่างผม  และประกอบอาชีพอย่างผม"
" ใช่  เสรีภาพไม่ได้หมายความว่าจะทำอะไรได้ทุกอย่าง    ถ้าคุณไม่เข้าใจข้อนี้   ก็ต้องได้รับโทษ   ผมไม่อยากจะลงโทษคุณเลยนะ คุณรุ้ง" รองอธิบดีเปลี่ยนเสียงเป็นเสียงแข็งขึ้น "แต่ผมไม่เข้าใจเลยว่าทำไมคุณเข้าใจอะไรได้ยากนัก  น่าเสียดาย    คุณน่าจะเอาอย่างคุณผ่องเพื่อนของคุณบ้าง  ทำงานเป็นผู้จัดการบริษัทรถยนต์ของอเมริกาอย่างเต็มความสามารถ   ไม่สนใจการเมือง ไม่ทำอะไรผิดกฎหมาย       ผลคือ ครอบครัวสุขสบาย  ลูกได้เล่าเรียนดีๆกันทุกคน     เขาไม่หาเรื่องใส่ตัว     ประเทศต้องการประชาชนแบบนี้   ไม่ใช่คนที่ทำให้รัฐบาลยุ่งยากอย่างคุณ"
รุ้งได้คำตอบทันทีว่า งานของตำรวจคือสอดส่องความเคลื่อนไหวของประชาชน    แม้แต่ผ่องเองก็ไม่พ้นข้อนี้ไปได้
" ผมเข้าใจครับ    เข้าใจว่าประชาชนจะต้องอยู่อย่างเด็กดี   แต่คุณไม่คิดหรือว่าแม้แต่เด็กก็ต้องโตเป็นผู้ใหญ่ในวันหนึ่ง      ถ้าคุณเอาแต่ป้อนให้เขากินอิ่มไปวันๆ   ไม่ฝึกให้เขารู้จักคิด  เป็นตัวของเขาเอง  รู้จักเลือกทางที่เขาต้องการ    เขาจะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้อย่างไร"
รองอธิบดีตำรวจโบกมือเป็นเชิงตัดบท   เหมือนเขาเริ่มหมดสนุกที่จะโต้แย้งกับรุ้ง
" ผมขี้เกียจเถียงกับคุณอีกแล้ว    ถามคำเดียว คุณจะเขียนอย่างที่ผมต้องการให้เขียนหรือเปล่า"
" ถ้าผมไม่เขียนยกย่องสรรเสริญรัฐบาลตามที่คุณต้องการ    คุณจะทำอะไร" เขาถาม
" คุณก็เดาคำตอบได้แล้วไม่ใช่หรือ"

จากวันนั้น   รุ้งถูกส่งตัวไปเรือนจำลาดยาว ไม่มีกำหนดว่าจะพ้นโทษเมื่อใด
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 02 ก.พ. 10, 21:36

ถ้ารุ้งมาพูดเรื่อง "ความเจริญทางปัญญา" ในสมัยนี้ จะโดนข้อหา "ดูถูกชาวรากหญ้า" ด้วยอีกกระทงหนึ่ง

 รูดซิบปาก
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 03 ก.พ. 10, 11:31

เมื่ออยู่ในคุกลาดยาว    รุ้งไม่รู้เลยว่าจะมีวันไหนที่ผู้คุมมาปลุกเขา แล้วนำไปที่หลักประหาร  หรือมาแจ้งข่าวดีว่าเขาได้รับอิสรภาพแล้ว
ทั้งสองอย่างเป็นไปได้เท่าเทียมกัน    ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจ
เขาได้แต่เศร้าใจว่า  รัฐบาลของมนุษย์ยิงเป้าพลเมืองของตน    แต่มันสมองของมนุษย์ไม่เคยสังหารจุลินทรีย์ (เซลส์) ในร่างกายของตนเลย    ถ้าหากจุลินทรีย์แม้แต่ตัวเดียวต้องประสบภัย    มันสมองก็จะจัดการให้อวัยวะอื่นช่วยเหลือ   เช่นถ้าจุลินทรีย์ที่เท้าถูกแทงด้วยหนาม   มันสมองก็จะสั่งกล้ามเนื้อที่ขาให้ยกเท้าหนีหนาม   แล้วสั่งมือให้ถอนหนามทิ้งเสีย   มนุษย์จะมีความสุขได้ ก็มีรัฐบาลที่ดี

อย่างไรก็ตาม  รุ้งไม่ต้องทนทรมานอยู่ในลาดยาวนานนัก   เพราะจอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่  8 ธันวาคม  2506  หลังจากรุ้งอยู่ในลาดยาวเพียงสองสามเดือน
อำนวย เจ้าของหนังสือพิมพ์ผดุงวิทยาใหม่  ให้ทนายความยื่นคำร้องต่ออธิบดีตำรวจคนใหม่ ขอให้ปล่อยตัวรุ้งเป็นอิสระ   แค่หนึ่งเดือนต่อมา   รุ้งก็ถูกปล่อยตัวกลับบ้านได้อีกครั้ง

หวังว่าแฟนๆของรุ้งคงจะโล่งใจกับพระเอก   ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 03 ก.พ. 10, 12:12

ยุคของจอมพลสฤษดิ์ ที่มีคำขวัญว่า "น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทำ "จบลงพร้อมกับอสัญกรรม  แต่ปัญหาที่ก่อตัวขึ้นในยุคนั้นยังไม่จบ
เรื่องแรกคือ
ผู้ที่ถูกข้อหาคอมมิวนิสต์ส่วนหนึ่ง หนีเข้าป่าไปสมทบกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย  ซึ่งเป็นพรรคเล็กๆ ในตอนนั้น ไม่มีศักยะภาพพอจะเคลื่อนไหวในเมืองได้  
ต่อมา พรรคคอมมิวนิสต์ก็เริ่มเติบโตขึ้น จนกลายเป็นกองกำลังจับอาวุธขึ้นต่อสู้กับฝ่ายบ้านเมือง    กลายเป็นปัญหาเรื้อรังแก่รัฐบาลไทย  สืบต่อกันมายาวนานอีกหลายทศวรรษ

อีกเรื่องหนึ่งคือ
หนึ่งเดือนหลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ทายาททั้งหลายต่างก็เริ่มวิวาทแก่งแย่งทรัพย์มรดกมหาศาลของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 บุตรทั้ง 7 คนของจอมพลสฤษดิ์ได้ฟ้องท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ที่พยายามจะตัดสิทธิในส่วนแบ่งอันถูกต้องของทายาท


เนื่องจากเป็นเรื่องอื้อฉาวมาก ประชาชนจึงต่างให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งในคดีนี้และสื่อมวลชนก็ยกให้เป็นคดีที่อื้อฉาวที่สุดในเมืองไทยปัจจุบัน การที่ประชาชนให้ความสนใจในการพิจารณาคดีนี้ จึงเป็นการบังคับให้รัฐบาลจอมพลถนอมต้องเข้าแทรกแซงและสอบสวนเบื้องหลังความมั่งคั่งของจอมพลสฤษดิ์

ได้มีการเปิดพินัยกรรมของจอมพลสฤษดิ์ที่บ้านของจอมพลถนอม ต่อหน้าทนายความและนายทหารคนสำคัญๆ ที่เป็นผู้ใกล้ชิดจอมพลสฤษดิ์ ตัวพินัยกรรมเองลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 หลังจากจอมพลสฤษดิ์ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงเล็กน้อย ข้อสำคัญในพินัยกรรมกล่าวว่าทรัพย์สินทั้งหมดของจอมพลสฤษดิ์ให้ตกแก่ท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์แต่เพียงผู้เดียว โดยมีข้อแม้ว่าท่านผู้หญิงต้องให้ลูกเลี้ยง คือพันตรีเศรษฐา ธนะรัชต์และร้อยโทสมชาย ธนะรัชต์ คนละ 1 ล้านบาท พร้อมทั้งบ้านหนึ่งหลังที่เหมาะสมกับฐานะของบุคคลทั้งสอง อย่างไรก็ตาม จะเป็นไปตามเงื่อนไขนี้ก็ต่อเมื่อทรัพย์สินทั้งหมดที่เป็นเงินสดมีมากกว่า 10 ล้านบาท นอกจากนี้ที่นาของจอมพลสฤษดิ์จะต้องแบ่งให้แก่บุตรชายคนโตทั้งสองคนจำนวนเท่าๆ กัน

โจทย์ร้องเรียนว่าจอมพลสฤษดิ์ได้เขียนพินัยกรรมขึ้นอีกฉบับหนึ่งซึ่งถูกท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ทำลายไปแล้วหลังจากที่เข้าบุกบ้านส่วนตัวของจอมพลสฤษดิ์ในค่ายกองพลที่ 1 บุตรชายทั้งสองกล่าวหาท่านผู้หญิงวิจิตราว่าได้พยายามจะรวบรวมทรัพย์สินทั้งหมดของจอมพลสฤษดิ์ไว้โดยอ้างว่ามีเงินจำนวนถึง 2,874,009,794 บาท รวมกันอสังหาริมทรัพย์อีกมากมายที่ไม่สามารถจะประมาณได้ ตรงกันข้ามท่านผู้หญิงวิจิตรากลับกล่าวว่าตนรู้เพียงว่ามีเงินเพียง 12 ล้านบาทเท่านั้น

ขณะที่รอคอยผลการตัดสินจากศาล บุตรของจอมพลสฤษดิ์ก็ได้ร้องเรียนจอมพลถนอมให้ใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ในการสอบสวนเรื่องราวนี้ทั้งหมด หลังจากที่พิจารณาอย่างคร่าวๆ แล้ว รัฐบาลรู้สึกว่าหากมิได้ลงมือกระทำการอย่างรวดเร็วแล้ว ก็จะทำให้ฐานะของรัฐบาลไม่ดีในสายตาของประชาชน ดังนั้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2507 จอมพลถนอมจึงออกประกาศว่าตนจะได้นำมาตรา 17 มาใช้ในการยึดทรัพย์จอมพลสฤษดิ์และตั้งคณะกรรมการสอบสวนขอบข่ายการฉ้อราษฎร์บังหลวงของจอมพลสฤษดิ์

จากงานของคณะกรรมการคณะนี้ ปรากฏว่าจอมพลสฤษดิ์ได้ใช้เงินแผ่นดินเพื่อเลี้ยงดูนางบำเรอและลงทุนในธุรกิจ เงินผลประโยชน์ที่สำคัญๆ 3 แหล่งที่รัฐบาลสนใจคือ เงินงบประมาณ 394 ล้านบาทที่เป็นเงินสืบราชการลับของสำนักนายกรัฐมนตรี เงิน 240 ล้านบาทจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาล และประมาณ 100 ล้านบาทซึ่งควรที่จะให้แก่กองทัพบกซึ่งได้เปอร์เซนต์จากการขายสลากกินแบ่ง

ในระหว่างการสอบสวน อธิบดีกรมทะเบียนการค้าเปิดเผยว่า จอมพลสฤษดิ์และท่านผู้หญิงวิจิตรามีผลประโยชน์จากบริษัทต่างๆ ถึง 45 แห่ง การถือหุ้นที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งก็คือในบริษัทกรุงเทพกระสอบป่าน ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 20 ล้านบาท ต่อมาสมาชิกผู้หนึ่งในคณะกรรมการบริษัทได้ให้ปากคำว่า หุ้นส่วน้เหล่านี้ได้โอนไปให้น้องชายจอมพลสฤษดิ์สองคน ซึ่งทั้งนี้ก็หมายความว่า จอมพลสฤษดิ์ได้ผลประโยชน์มหาศาลจากอุตสาหกรรมข้าว ซึ่งกฎหมายบังคับให้ซื้อกระสอบป่านจากบริษัทนี้ นอกจากจำนวนหุ้นและบัญชีเงินฝากในธนาคารจำนวนมากมายแล้ว จอมพลสฤษดิ์ยังมีที่ดินอีกจำนวนมหาศาล ดังที่อธิบดีกรมที่ดินกล่าวว่า จอมพลสฤษดิ์มีที่ดินมากกว่า 20,000 ไร่ในต่างจังหวัด และที่ดินอีกนับแปลงไม่ถ้วน  ทั้งในและทั่วพระนคร ส่วนเงินสดที่เก็บไว้ในธนาคารต่างๆ นั้น จอมพลสฤษดิ์มีอยู่ประมาณ 410 ล้านบาท ซึ่งถูกยึดไว้เพื่อพิจารณาว่าเงินส่วนใดเป็นของรัฐบาลหรือไม่

ในที่สุดศาลก็ได้พิจารณาคดีวิวาทเกี่ยวกับทรัพย์สินของจอมพลสฤษดิ์ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2507 ศาลแนะนำให้ประนีประนอมกันโดยที่ให้ท่านผู้หญิงวิจิตราและพันโทเศรษฐาเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน และให้ตกลงกันเองต่อเมื่อปรากฏผลขั้นสุดท้ายของการสอบสวนของรัฐบาลแล้ว

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C_%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%95%E0%B9%8C
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 03 ก.พ. 10, 21:27

พลเอกถนอม กิตติขจร รองนายกรัฐมนตรี  ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีต่อจากจอมพลสฤษดิ์   และได้รับพระราชทานยศจอมพลในเวลาต่อมา
จอมพลถนอม เป็นนายทหารที่มีบุคลิกสุภาพเรียบร้อย    มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เป็นที่นับถือของกองทัพ    การปกครองของจอมพลถนอม ดูจะยืดหยุ่นประนีประนอมมากกว่ายุคที่ผ่านมา     
รัฐบาลชุดใหม่มีท่าทีอนุโลมต่อแรงกดดันจากประชาชนที่อยากมีส่วนร่วมในการบริหาร  เพื่อเปิดทางสู่ระบอบประชาธิปไตยอีกครั้ง  เห็นได้จากพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พุทธศักราช 2511 ที่เปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้งทั่วไป
แต่รัฐบาล ก็อยากจะคุมเสียงข้างมากในรัฐสภา   จึงมีการตั้งพรรค "สหประชาไทย"ขึ้นมา เพื่อรักษาอำนาจของนายกรัฐมนตรีคนเดิมและรัฐบาลชุดเดิมไว้

พ.ศ. 2512  พรรคสหประชาไทยได้คะแนนเสียงมากเป็นอันดับหนึ่งในการเลือกตั้ง    แต่ก็ยังไม่มากพอจะเป็นพรรคเสียงข้างมากพรรคเดียวได้   ต้องผสมกับพรรคการเมืองอื่นๆเพื่อจะได้มีเสียงเกินครึ่งในรัฐสภา
แต่การต่อรองเพื่อผลประโยชน์จากบรรดาส.ส.พรรคอื่นๆ  ทำให้เกิดความยุ่งยากวุ่นวาย ไม่รู้จบ   รัฐบาลคุมเสียงในพรรคร่วมรัฐบาลไม่ได้จนแล้วจนรอด

ในที่สุด จอมพลถนอม กิตติขจร จึงตัดสินใจทำการรัฐประหารตัวเอง ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ยึดอำนาจตัวเองเหมือนจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่เคยกระทำในปี พ.ศ. 2494
พร้อมทั้งประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ, วุฒิสภา, สภาผู้แทนราษฎรและคณะรัฐมนตรี, ยกเลิกพรรคการเมืองและประกาศห้ามมั่วสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
พรรคสหประชาไทยสลายตัวไป    จอมพลถนอมเปลี่ยนตำแหน่งจากนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ   บริหารประเทศต่อไป   พร้อมกับรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้ง   ไม่ใช่เลือกตั้ง   ความวุ่นวายจากรัฐสภาก็จบลง

รุ้งเฝ้ามองความวุ่นวายทางการเมืองด้วยความสนใจ      เขามองเห็นวงจรการเมืองที่หมุนวน ซ้ำแล้วซ้ำอีก ในการเมืองไทย
ราวกับว่าเป็นวงกลมที่จะต้องเดินวนกันไปไม่รู้จักจบ

รุ้งเพิ่งมาเห็นว่า คราวนี้ไม่เหมือนคราวก่อนๆ ก็เมื่อเวลาผ่านไป 2 ปี    เริ่มต้นด้วยการชุมนุมใหญ่ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
ที่เรียกกันว่า "วันมหาวิปโยค" ของไทย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 03 ก.พ. 10, 21:33

ถึงเวลารุ้งจูเนียร์จะเปิดตัว แล้ว ยิ้ม
ขอออกตัวอีกครั้งว่า  แม้ว่าเขียนตามใจคนเขียน   แต่จะเปิดโอกาสให้ผู้ถือลิขสิทธิ์ "ความฝันของนักอุดมคติ"  แสดงความเห็นได้โดยเสรี
รวมทั้งท่านอื่นๆด้วย
ว่า
อยากจะเห็นคุณรุ้งจูเนียร์ เล่นบทไหนในยุค 14 ตุลา 16 - 6 ตุลา 19
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 03 ก.พ. 10, 22:51

รุ้งจูเนียร์ ติต่างว่า ชื่อ  วิน    เรียนมหาวิทยาลัยแล้ว ปีสามก็แล้วกัน      มีเพื่อนสนิทสองสามคนที่รู้จักกันมาตั้งแต่โรงเรียนประจำ
แล้วรุ้งก็มีเพื่อนที่ไม่รู้ที่มาอีกสองสามคน   

คณะของวินต้องทำงานกลุ่มร่วมกันเสมอ  คือไปค้างที่บ้านของเพื่อนแล้วช่วยกันทำงาน
เพื่อนเก่าของวินนั้นมาจากครอบครัวเก่าของประเทศ  เรียนหนังสือเก่งมาก  เรียนได้เป็นเลิศ

เพื่อนใหม่ของวินที่น่าสนใจมีอยู่สองคน ชื่อ เสก  กับยุทธ์(นึกชื่อที่ดีกว่านี้ไม่ออกค่ะ)
เสกเป็นนักเขียนและรับจ้างทำงานที่โรงพิมพ์แห่งหนึ่ง     ยุทธ์มาจากสลัมครอบครัวคนจีนที่เตี่ยเสียชีวิตไปนานแล้ว(ขืนไม่เสียชีวิตก็ต้องตั้งชื่อกันอีก)
วินสนิมกับเสกเพราะเสกพูดเก่ง มีความเป็นผู้นำ        ยุทธ์เรียนพอใช้ได้  แต่งตัวสกปรก แต่สนิทสนมรับใช้งานของอาจารย์หลายคน

เสกนำใบเรียกร้องรัฐธรรมนูญมาให้ วินเซ็น    ยุทธ์มองแต่ไม่ว่าอะไร   ทั้งยุทธ์ เสก และเพื่อนเก่าของวิน ไม่มีใครเซ็นชื่อสักคน

เมื่อเกิดกรณี ๑๔ ตุลาขึ้น     เพื่อนๆของวินก็แบ่งกลุ่มกัน
เสกกลายเป็นผู้นำนักศึกษา
เพื่อนเก่าของวิน ชักอยากเป็นผู้นำนักศึกษาบ้างแต่ไม่มีใครเลือก
ยุทธร่วมกิจกรรมกับเพื่อน ๆ   และเมื่อหลายคนหนีเข้าป่า  ยุทธ ช่วย วินไว้ให้กลับไปหาครอบครัว

ยุทธบอกวินว่า  ภาระกิจทางประวัติศาสตร์ เป็นหน้าที่ของทุกคน   พ่อและแม่ของวินทำหน้าที่มามากแล้ว
ยุทธเตือนวินว่า ระวังเพื่อนเก่าไว้ดี ๆ เพราะทะเยอทะยาน
เสกไม่เป็นไรหรอกเพราะเสกเป็นนักเขียน  อยากแต่จะเขียนบทความ


ยุทธสารภาพว่าชอบหมี่กรอบที่คุณยายวินทำให้กินมาก  ไม่มีใครเคยดีกับยุทธเลย 
ที่จริงยุทธคือหัวหน้าเยาวชนพรรคผู้ได้รับการคัดสรรจากคณะกรรมการบริหาร.......และคณะกรรมการ...............
(รับเขียนบท   อาจเพิ่มบทอาจารย์กี่คนก็ได้  ถ้ามีคนอ่าน)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 04 ก.พ. 10, 08:53

ช่วยขยายความเรื่องเพื่อนเก่าของวินหน่อยได้ไหมคะ
เหมือนตัวละครตัวนี้จะสำคัญ

ดิฉันยังต่อเรื่องไม่ถูก  ขอนั่งพัก  เป็นฝ่ายฟังคุณวันดีต่อเรื่องนะคะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 04 ก.พ. 10, 09:20

กลุ่มเพื่อนเก่าของวินที่เรียนมัธยมมาด้วยกันมีสองสามคน  มาจากตระกูลขุนนางเก่า สตางค์พอมีใช้
แน่นอนที่ชายหนุ่มอายุ ยี่สิบต้นๆ เหล่านี้ อ่านวรรณกรรมของโลกมาแล้วจากตู้หนังสือในบ้าน
เข้าใจทฤษฎีการเมืองทุกรูปแบบในโลก
บิดามารดามีการศึกษาดี

เด็กหนุ่มที่ชีวิตไม่ต้องต่อสู้ดิ้นรนหารายได้  ย่อมพอใจกับชีวิตที่ตื่นเต้นของมหาวิทยาลัย
อยากจะก้าวหน้า
ความอยากเป็นผู้นำนั้นอยู่ในสายเลือดอันรุนแรงเข้มข้นว่า ตน อยู่เหนือผู้อื่น


คนพวกนี้ไม่สามารถเข้าใจมนุษย์อย่างเสก และ ยุทธได้

ในกิจกรรมร่วมกับกรรมกรหญิงทอผ้า     เพื่อนกลุ่มนี้รับหน้าที่ประสานงาน  เสกเป็นหัวหน้าตามเคย  ยุทธเป็น รปภ
ครั้งนี้  วินและยุทธ จับมือกันล้อม กรรมกรหญิง เพื่อให้ความปลอดภัย

วินเป็นผู้ดูและซึมซาบเหตุการณ์

เพื่อนเก่าของวินผลักดันให้กรรมกรหญิงกรีดข้อมือเพื่อเอาเลือดไปเขียนจดหมายประท้วง

ยุทธปล่อยมือจากวงล้อมทันที ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปรักษาความสงบ
ยุทธพูดกับวินว่า  กูทนไม่ได้

วินกลับไปบ้าน เล่าให้รุ้งฟัง
รุ้งบอกวินว่า  ลูกโตแล้ว

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 04 ก.พ. 10, 09:26

ช่วยขยายความเรื่องของเสก

เสกก็เข้าป่าเช่นเดียวกับยุทธ์ มีลูกชาย ๒ คนขณะอยู่ในป่า กับภรรยาซึ่งเคยเป็นผู้นำนักศึกษาด้วยกัน  วันที่เสกซมซานออกมามอบตัวในเมืองอย่างผู้แพ้  เขาขนานนามตนเองในเวลานั้นว่า "สิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์"

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 04 ก.พ. 10, 09:43

คุณเพ็ญสหายที่นับถือ

วันเสาร์มาฟังอาจารย์พูดไหมคะ

มีเพื่อนจากวงการหนังสือเก่ามาคนหนึ่ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 04 ก.พ. 10, 15:29

อ้างถึง
รุ้งบอกวินว่า  ลูกโตแล้ว
ตกลงว่า คุณวินจะเข้าป่าไหมคะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 04 ก.พ. 10, 16:09

ไม่ค่ะ   วินเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ผ่านไป


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 04 ก.พ. 10, 16:15

ดิฉันก็ไม่อยากให้คุณวินเข้าป่า   คุณรุ้งจะได้มีโอกาสคุยกับลูกชายได้หลายประเด็น
ตอนนี้ ดิฉันขอฟังอย่างเดียว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 ก.พ. 10, 15:21 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.08 วินาที กับ 20 คำสั่ง