เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 33329 รุ้ง จิตเกษม
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 11 ม.ค. 10, 13:39

คุณครูคับ

ผมขออนุญาตไปห้องน้ำคับ

คืนนี้จึงจะกลับคับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 11 ม.ค. 10, 17:20

ระหว่างรอชื่อรุ้งจูเนียร์    ขอเล่าปูพื้นไปพลางๆก่อน

ปี ๒๔๙๑  เป็นปีแห่งการจดจำรำลึกอีกปีหนึ่งของรุ้ง     มีเหตุการณ์ดีที่สุดและร้ายที่สุด เกิดขึ้นพร้อมกัน    เหตุการณ์ดีที่สุดคืออุไรวรรณได้มอบของขวัญล้ำค่าที่สุดในชีวิต ให้สามี  คือทารกน้อยเพศชาย ทำให้ชีวิตรุ้งมีความหมายเต็มเปี่ยม
ส่วนเหตุการณ์ร้ายที่สุดคือการปฏิวัติที่ทำให้จอมพลป. กลับมามีอำนาจในการบริหารประเทศอีกครั้ง
เป็นอันว่าความฝันของนักอุดมคติ ก็ล่องลอยถอยห่างออกไปอีกครั้ง ที่จะเห็นสยามมีระบอบประชาธิปไตย   แต่วุฒิภาวะทำให้รุ้งทำใจได้ที่จะตั้งอยู่ในอุเบกขา  ทำหน้าที่ปัญญาชนของเขาไป โดยไม่ต้องเสี่ยงที่จะกีดหน้าขวางตาผู้มีอำนาจอย่างเมื่อก่อน

รุ้งได้ดำเนินชีวิตอย่างสงบตามแนวอหิงสา   มาจนถึงพ.ศ. ๒๔๙๕    ล่วงมาถึงปลายปี  อากาศกำลังหนาวเย็นในพระนคร    ความร้อนจัดทางการเมืองก็ปะทุขึ้น เมื่อเกิดเหตุการณ์กวาดล้างผู้มีความเห็นแตกต่างทางการเมืองกับจอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้นำรัฐบาล อีกครั้ง
เรียกกันว่า กบฏสันติภาพ

กรมตำรวจได้ออกแถลงการณ์ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 ว่าได้จับกุมบุคคลต่างๆ เป็นจำนวนถึง 104 คน
ด้วยเหตุผลว่า
 "ด้วยปรากฏจากการสอบสวนของกรมตำรวจว่า มีบุคคลคณะหนึ่งได้สมคบกันกระทำผิดกฎหมาย ด้วยการยุยงให้มีการเกลียดชังกันในระหว่างคนไทย เพื่อก่อให้เกิดการแตกแยก เกิดการทำลายกันเอง โดยใช้อุบายต่างๆ เช่น ปลุกปั่นแบ่งชั้น เป็นชนชั้นนายทุนบ้าง ชนชั้นกรรมกรบ้าง ชักชวนให้เกลียดชังชาวต่างประเทศที่เป็นมิตรของประเทศบ้าง อันเป็นการที่อาจจะทำให้เสื่อมสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ยุยงให้ทหารที่รัฐบาลส่งออกไปรบในเกาหลี ตามพันธะที่รัฐบาลมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติ ให้เสื่อมเสียวินัย เมื่อเกิดการปั่นป่วนในบ้านเมืองได้ระยะเวลาเหมาะสมแล้ว ก็จะใช้กำลังเข้าทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบอื่น ซึ่งมิใช่ระบอบประชาธิปไตย ด้วยการชักจูงชาวต่างประเทศเข้าร่วมทำการยึดครองประเทศไทย..."

การจับกุม มีเป็นระลอก   ข้ามปี มาจนกลางปี พ.ศ. 2496  แม้แต่พระภิกษุบางรูปก็ถูกจับสึกเพื่อรับโทษ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 11 ม.ค. 10, 20:52

รุ้งติดตามความเคลื่อนไหวของการเมืองระหว่างประเทศมาหลายปีแล้ว     พื้นฐานภาษาอังกฤษที่ดีเยี่ยมทำให้เขามีเพื่อนฝูงชาวยุโรปและเอเชียด้วยกันหลายคน ติดต่อส่งข่าวถึงกันอยู่เสมอ
รุ้งมองเห็นมหาอำนาจที่เกิดใหม่จากสงครามโลกครั้งที่ ๒ คือสหรัฐอเมริกา  แผ่ขยายอำนาจมาทางเอเชีย-แปซิฟิก     กลายเป็นลูกพี่ใหญ่ที่ประเทศในเอเชียไม่มีทางหลีกเลี่ยง นอกจากให้ความร่วมมือ
สงครามเกาหลีที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้   อเมริกาก็เข้าสนับสนุนฝ่ายใต้     รัฐบาลไทยส่งทหารไปร่วมรบในฐานะมิตร   ทำให้ประชาชนคนไทยส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วย ก็รวมตัวกัน ชื่อว่า " คณะกรรมการสันติภาพแห่งประเทศไทย" มีปัญญาชนอย่าง นายแพทย์เจริญ สืบแสง เป็นประธานคณะกรรมการ นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ และพระมหาดิลก สุวรรณรัตน์ เป็นรองประธาน นาย ส. โชติพันธุ์ (สิบโทเริง เมฆประเสริฐ) เป็นเลขาธิการ
คณะกรรมการสันติภาพ เรียกร้องอย่างสงบ ให้รัฐบาลไทยถอนตัวจากสงครามเกาหลี และเตรียมตัวเข้าร่วมประชุมกับนานาชาติในประเทศจีนเพื่อต่อต้านสงครามเกาหลี
การปราบปรามจับกุม ก็เรียกว่ากวาดล้างระลอกใหม่ สำหรับผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ก็เกิดขึ้นอีกครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

อำนวย เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนคณะกรรมการสันติภาพ   ในเรื่องต่อต้านสงคราม    แต่เขาก็เห็นเช่นเดียวกับรุ้ง คือไม่นิยมระบอบคอมมิวนิสม์    จึงปฏิเสธคำเชิญไปประชุมในจีน
รุ้งเอง ก็เห็นอย่างที่คุณตัวแทนรุ้งบอกไว้ในค.ห. ก่อนนี้ คือไม่เห็นด้วยกับระบอบคอมมิวนิสม์   รุ้งเขียนไว้ชัดเจนว่า ลัทธิคอมมิวนิสม์คือการกดขี่ชนทุกชั้นที่มิใช่กรรมกร โดยหัวหน้ากรรมกร

นักเขียนหนังสือพิมพ์ในยุคนั้น ที่เดินทางไปประชุมในจีน  ถูกรวบตัวกันเป็นทิวแถว  เช่นกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา)  อารีย์ ลีวีระ เจ้าของหนังสือพิมพ์สยามนิกร  สุภา ศิริมานนท์ เจ้าของและบรรณาธิการนิตยสารอักษรสาส์น  อุทธรณ์ พลกุลบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ข่าวภาพ  แสวง ตุงคะบริหาร บรรณาธิการหนังสือพิมพ์สยามนิกร  บุศย์ สิมะเสถียร บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทย  นายฉัตร บุณยศิริชัย บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ข่าวภาพ  สมุทร สุรักขกะ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์เกียรติศักดิ์  สมัคร บุราวาศ  เปลื้อง วรรณศรี และอีกหลายคน

บรรดาปัญญาชนอื่นๆที่คัดค้านรัฐบาล ก็โดนเข้าในข้อหาเดียวกัน  เช่น มารุต บุนนาคประธานกรรมการสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   ลิ่วละล่อง บุนนาค ผู้นำนักศึกษา  สุวัฒน์ วรดิลก (รพีพร), สุพจน์ ด่านตระกูล  และคนอื่นๆอีกมาก   หลายคนที่ถูกจับกุม รวมผู้ที่เลื่อมใสในลัทธิคอมมิวนิสม์   จนร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยด้วย

ผู้ถูกจับกุมนี้  เรียกกันว่า "กบฏสันติภาพ"

อำนวยและรุ้งถูกตำรวจเรียกตัวไปสอบสวน   แต่ในเมื่อมีหลักฐานลงหนังสือพิมพ์ ผดุงวิทยา ใหม่ ว่ารุ้งเคยเขียนว่าไม่เห็นด้วยกับระบอบคอมมิวนิสม์     ทั้งสองก็ถูกปล่อยตัวหลังจากถูกสอบสวนครั้งเดียว
และได้รับคำขอบใจจากอธิบดีตำรวจด้วย ว่า
" ขอบคุณมากที่ร่วมมือให้ปากคำด้วยดี   ผมยินดีที่ทราบว่าคุณไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์"
" ผมไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์ หรือฟาสซิสต์ หรืออะไรทั้งสิ้น "รุ้งตอบ " ผมแน่ใจว่าคนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลก็มี   แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาจะต้องเป็นคอมมิวนิสต์โดยอัตโนมัติ"
อธิบดีตำรวจตอบด้วยเสียงขึงขัง
" พวกคอมมิวนิสต์ ต่อต้านรัฐบาลประชาธิปไตย    พวกนี้ต่อต้านรัฐบาล ถ้าไม่เรียกว่าคอมมิวนิสต์ จะให้เรียกว่าอะไร"

รุ้งเรียกว่า คนที่มีความคิดเห็นแตกต่างทางการเมือง      คนที่ต่อต้านรัฐบาลและเป็นคอมมิวนิสต์ก็มี  คนที่ต่อต้านแต่ไม่คิดจะเป็นคอมมิวนิสต์ก็มีอีกเหมือนกัน
แต่เขาก็รู้ดีว่า พูดให้นายตำรวจใหญ่ฟังไปก็เท่านั้น   ดีไม่ดี เขาอาจจะกลายเป็นคอมมิวนิสต์ไปทั้งๆไม่เห็นด้วยกับลัทธิคอมมิวนิสต์    อะไรก็เกิดได้เสมอในยุคนั้น
เขาก็ได้แต่ยิ้ม ไม่พูดอะไรอีก  
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 12 ม.ค. 10, 08:12

ผู้ต้องหาที่สันติบาลเชิญตัวไปตั้งข้อหากบฏสันติภาพในภาพข้างล่างคือกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือที่รู้จักกันในนามปากกา "ศรีบูรพา" อันอุโฆษ

ส่วนอีกหนึ่งนั้นเป็นของแถม คือ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ตำรวจเอาตัวไปเขย่าขวัญ พร้อมๆกับนายปาล พนมยงค์ บุตรชายคนโตแทนหลวงประดิษฐ์มนูธรรม คู่รักคู่อริทางการเมืองของจอมพล ป. พิบูลสงครามที่หนีไปอยู่เมืองจีนก่อนหน้าหลายปีในคดีกบฏวังหลวง ทั้งคู่โชคไม่ดีเท่ารุ้งเพราะอธิบดีกรมตำรวจกักขังไว้ถึง84วัน ก่อนที่จะจำใจปล่อยเพราะอัยการสั่งไม่ฟ้อง



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 12 ม.ค. 10, 22:23

คดีกบฏสันติภาพ  อัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหารวมทั้งสิ้น 54 ราย   ได้รับโทษมากน้อยต่างกันไป
บางคนก็เจอเข้าหนักๆ  ศาลได้พิพากษาจำคุก 10 ปีขึ้นไป   บางราย 20 ปี
ได้รับการประกันตัวและพ้นโทษตาม พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เนื่องในโอกาสพุทธศตวรรษที่ 25 ใน พ.ศ. 2500

ทุกคนในกบฏสันติภาพ ล้วนเป็นเพื่อนฝูงในแวดวงหนังสือพิมพ์   รุ้งรู้จักดี 
ในเมื่อสยามมีผู้บริหารประเทศ ที่มีนโยบายกวาดล้างจับกุมผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล   รุ้งก็ทำหน้าที่แค่ผู้สังเกตการณ์สังคมไทย  ด้วยเสียงถอนใจยาวอยู่หลายครั้ง   
เขาตระหนักว่า อุดมคติที่เขามีตั้งแต่ยังหนุ่ม   จนบัดนี้เวลาผ่านไปหลายปี ก็ยังไม่มีวี่แววว่าประเทศไทยจะก้าวเข้าไปใกล้แม้แต่หนึ่งก้าว
จริงอย่างที่รุ้งคิด    ยุคสมัยที่สองของจอมพล ป. ยาวนานถึง  9 ปี ผ่านวิกฤตและเหตุการณ์กบฏจนเกือบจะเอาชีวิตไม่รอดหลายครั้ง เช่น กบฏเสนาธิการ  กบฏวังหลวง  กบฏแมนฮัตตัน รวมทั้งยังเคยยึดอำนาจตัวเองด้วย
จึงได้รับฉายาว่า "นายกฯตลอดกาล"
ตลอดเวลา ๙ ปี  รุ้งเคยรู้สึกอยู่หลายครั้งว่าอุดมคติของเขา ก็อาจเป็นเพียงความฝันเท่านั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 12 ม.ค. 10, 22:38

ตอนต่อๆไป จะมาถึงยุค ๑๔ ตุลา ๑๖   รุ้งจูเนียร์เติบโตขึ้นเป็นหนุ่มเต็มตัวแล้ว   เข้าเรียนมหาวิทยาลัย   ก็น่าจะมีชื่อจริงเสียที
ไม่รู้ว่าหลวงพ่อ N.C. ท่านจะเจิมชื่ออะไรให้  รอลุ้นชื่ออยู่ค่ะ

ชื่อผู้ชายสมัยรุ้ง  สมัยนี้มีแต่เป็นชื่อผู้หญิง  ผู้ชายสมัยนั้นเขาก็ชื่อกันหน้าตาเฉย   ไม่มีใครเห็นว่าแปลก  ไม่ว่ารุ้ง หรือ ผ่อง   หรือกุหลาบ (สายประดิษฐ์)  ทำให้คนเขียนภาค ๒ ตั้งชื่อได้ยากมาก

ป.ล.จะให้รุ้งจูเนียร์ชื่อ "สายรุ้ง"  (แปลว่าเชื้อสายของรุ้ง  ไม่ได้แปลว่า rainbow)  อ่านแล้ว ผู้อ่านยุค 2010 อาจจะเห็นสีสันสเปคตรัม   พรรณรายเกินเหตุ    ไม่สมกับความล่ำสันทะมัดทะแมงของตัวละครเอกฝ่ายชาย  จึงของดชื่อนี้ไว้โดยไม่มีกำหนด
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 13 ม.ค. 10, 07:07

ตัวแทนของรุ้งก็ต้องขอตัว

ขอประทานอภัย ให้ท่านอาจารย์ตั้งให้เขาเองจะดีกว่ามั้งครับ
รู้สึกเขินเต็มกำลัง 
เดี๋ยวนี้ จะตั้งชื่อให้ใครต้องทราบวันเดือนปีเกิด

ถ้าจะให้ดีต้องขอทราบทั้งของบิดามารดาด้วย
ต่อจากนั้น ต้องใช้เวลาอีกสักเดือนหนึ่งที่จะหาชื่อประหลาดๆไม่ซ้ำกับชื่อบุคคลทั้งหลายที่มีอยู่แล้ว และมีอักษรผสมที่นำมาจากชื่อบิดามารดาเฉพาะอักษรที่เป็นมงคล แต่ต้องมีศรีนำหน้าเดชจึงจะใช้ได้

บางทีเดือนหนึ่งแล้วยังหาที่ถูกใจไม่ได้ ก็ต้องผลัดผ่อนไปเรื่อยๆ
เกรงว่ากระทู้นี้จะรอไม่ได้น่ะซีครับ
กว่าตัวแทนของรุ้งจะคิดออกอาจจะเป็นช่วงกลางๆของตอนที่3 ซึ่งเป็นภาคสวรรค์
หลังจากที่รุ้งและอุไรวรรณที่ได้กลิ่นดอกปาริชาตแล้วทั้งคู่จึงนึกถึงลูกขึ้นมาได้ว่าชื่ออะไร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 13 ม.ค. 10, 20:23

ระหว่างรอปาริชาติบาน      ก็ขอเล่าถึงเหตุการณ์บ้านเมืองผ่านมุมมองของรุ้งไปพลางๆก่อน

ล่วงถึงพ.ศ2500  คนไทยเตรียมฉลองกึ่งพุทธกาลกันเป็นงานใหญ่   พร้อมกับเหตุการณ์ใหญ่ทางการเมืองซ้อนขึ้นมา คือการเลือกตั้งทั่วไปที่ ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500

อำนวยสรุปให้รุ้งฟังว่า
"ว่ากันว่า เป็นการเลือกตั้งที่สกปรกที่สุดเป็นประวัติการณ์"
เป็นการต่อสู้ระหว่างพรรคเสรีมนังคศิลาของจอมพล ป.   และพรรคประชาธิปัตย์     เบื้องหลังการเลือกตั้ง คือมีการใช้เครื่องบินโปรยใบปลิวโจมตีฝ่ายตรงข้าม ข่มขู่ชาวบ้าน ประชาชน ให้เลือกแต่ผู้สมัครของพรรคเสรีมนังคศิลาของรัฐบาล หรือ การเวียนเทียนมาลงคะแนน การสลับหีบบัตร การแอบหย่อนบัตรคะแนนเถื่อนเข้าไปในหีบ

" อย่างที่เห็นนั่นแหละ  ใช้เวลานับคะแนนกันนานถึง 7 วัน ด้วยกัน ผลการเลือกตั้ง พรรคเสรีมนังคศิลา ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เสียงข้างมาก ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ พรรคฝ่ายค้านคู่แข่งได้เพียง 5 ที่นั่ง เท่านั้น"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 14 ม.ค. 10, 21:50

" ผมยังเชื่อว่า คนทุกคนย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของชาติร่วมกัน" รุ้งตอบ " ถ้าอุปสรรคเกิดขึ้นในหนทางความเจริญก้าวหน้าของชาติ   ไฉนเล่าลูกชายหญิงที่ซื่อสัตย์ต่อชาติ  จึงจะยอมทอดทิ้งดูดาย"
"คุณหมายถึงใคร?" อำนวยถามด้วยความพิศวง " ประชาชนก็พอรู้ๆกันอยู่   แต่ใครจะพูดอะไรได้"
"ใครก็ได้ที่ไม่ทอดทิ้งดูดาย" รุ้งตอบ มีความมั่นใจในน้ำเสียง " ผมพอมองเห็นว่าตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๗๕ มาจนถึง ๒๕๐๐  เป็นเวลา ๒๕ ปี เข้าไปแล้ว  ถ้าเด็กทารกคนหนึ่งเกิดเมื่อวันปฏิวัติ   ขณะนี้เขาก็เป็นชายฉกรรจ์อายุ ๒๕   เรียนหนังสือจบถึงวัยทำงานแล้ว   มีสมองและความคิดอ่านอย่างผู้ใหญ่      หนุ่มสาวในปีกึ่งพุทธกาลเป็นผลผลิตของคนรุ่นใหม่ที่เป็นอนาคตของชาติ   พอจะมีความรู้ความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยไม่มากก็น้อย  ไม่ใช่คนรุ่นผมที่ส่วนใหญ่ยังไม่รู้อะไรเลย"
" คุณฝากความหวังไว้กับหนุ่มสาว" อำนวยเพิ่งจะเข้าใจ   เขาคล้อยตามว่า "ผมเอาใจช่วย หวังว่าคุณจะพูดถูก"

รุ้งพูดถูก   เขาคะเนความเป็นไปของบ้านเมืองได้แม่นยำ   หลังจากผลการเลือกตั้งประกาศออกมา   ประชาชนที่โดดออกมาคัดค้านก็คือนิสิตนักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆ   ดาหน้ากันออกมาเดินขบวนคัดค้าน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 19 ม.ค. 10, 16:54

ไม่กี่วันหลังประกาศผลเลือกตั้ง   ความไม่พอใจของคนหนุ่มสาวในสังคมก็ปะทุขึ้น   เริ่มด้วยนิสิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกันเดินขบวนประท้วงการเลือกตั้ง     และมีประชาชนเข้าร่วมสนับสนุนด้วย    มีการลดธงเหลือแค่ครึ่งเสาเป็นการไว้อาลัย
ความเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบนี้ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน  เป็นเรื่องใหญ่สำหรับรัฐบาลมาก  จนจอมพล ป. นายกรัฐมนตรี สั่งประกาศภาวะฉุกเฉินทันที   
นายทหารใหญ่ที่จอมพล ป. แต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพ ปราบปรามสลายการเดินขบวน   คือ พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์

แต่เหตุการณ์กลับพลิกล็อค  เมื่อนิสิตนักศึกษาและประชาชนเดินขบวนมาถึงสะพานมัฆวานรังสรรค์  แทนที่จะเกิดเหตุนองเลือด     พล.อ.สฤษดิ์ กลับเข้าร่วมเดินขบวนกับประชาชนด้วย
เมื่อไปถึงหน้าทำเนียบรัฐบาลได้เป็นผู้เปิดประตูทำเนียบ นำพาประชาชนเข้าพบ จอมพล ป. พิบูลสงคราม

เมื่อเจรจากัน จนได้ข้อสรุปว่า จอมพล ป. ก็ยอมรับว่าจะให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะไป  และจะให้มีเลือกตั้งครั้งใหม่
แลกกับการสลายตัวอย่างสงบ และขอให้อัญเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสาตามปกติ ซึ่งก็ได้เป็นไปตามอย่างที่ พล.อ.สฤษดิ์ ร้องขอทุกประการ

รุ้งจำได้ว่า ในบรรดาทหารที่ได้รับคำสั่งให้ไปสลายการชุมนุม  แต่กลับไปอำนวยความสะดวกและเป็นมิตรกับกลุ่มเดินขบวน  มีนายทหารหนุ่มชั้นนายร้อยอยู่คนหนึ่ง  ชื่อ ร.อ. อาทิตย์ กำลังเอก
หลายสิบปีจากนั้น เขาก็มีบทบาทสำคัญยิ่งอีกคนหนึ่งในการเมืองไทย

รุ้งจับตามองบทบาทของพล อ.สฤษดิ์ ด้วยความสนใจ    เขามองเห็นฉากสุดท้ายของตัวละครเอกที่ชื่อจอมพล ป. ได้รางๆ เมื่อมีตัวละครใหม่เข้ามาแทนที่
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 20 ม.ค. 10, 20:54

ประเมินจากความคิดของรุ้ง ผมเห็นว่ารุ้งมีแนวคิดเป็นนักสังคมนิยมประชาธิปไตย ซึ่งเป็นแนวคิดกระแสหลักของนักคิดนักเขียนหลายๆท่านในยุคสมัยนั้น

รุ้งผ่านยุคทมิฬใต้เงาอำนาจของจอมพล ป มาได้ แต่ผมเห็นว่ารุ้งคงไม่พ้นได้เข้าซังเตอีกในยุคของจอมพลผ้าขาวม้าแดง

และถ้ารุ้งอยู่มาจนถึงปัจจุบัน ไม่รู้ว่ารุ้งจะว่ายังไงเมื่อได้เห็นกลุ่มคนที่อ้างตัวว่าเป็นนักสังคมนิยมประชาธิปไตย ยกเอานักเผด็จการทุนนิยมเป็นธงชัย

หรือนี่คือ ถิ่นกาขาว?
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 20 ม.ค. 10, 22:00

ดิฉันคิดว่ารุ้งไม่เป็นอะไรอย่างอื่นนอกจากนักอุดมคติ       เขาอาจจะมีความคิดเหมือนระบอบการปกครอง ระบอบนั้นบ้างระบอบนี้บ้าง  อย่างละนิดละหน่อย
แต่เขาก็มองเห็นข้อบกพร่องของแต่ละระบอบ   จนไม่ตกลงปลงใจกับระบอบไหนชัดๆลงไป
รุ้งคงจะไม่เรียกตัวเองว่า นักสังคมนิยมประชาธิปไตย  หรือนักประชาธิปไตย  หรือนักเสรีนิยม(อย่างหลังนี้ น่าจะใกล้เคียงความเป็นรุ้งมากกว่าอย่างอื่น)


อ้างถึง
รุ้งผ่านยุคทมิฬใต้เงาอำนาจของจอมพล ป มาได้ แต่ผมเห็นว่ารุ้งคงไม่พ้นได้เข้าซังเตอีกในยุคของจอมพลผ้าขาวม้าแดง
น้ำเสียงมั่นใจพิกล   ช่างไม่สงสารพระเอกบ้างเลย

อ้างถึง
ถ้ารุ้งอยู่มาจนถึงปัจจุบัน ไม่รู้ว่ารุ้งจะว่ายังไงเมื่อได้เห็นกลุ่มคนที่อ้างตัวว่าเป็นนักสังคมนิยมประชาธิปไตย ยกเอานักเผด็จการทุนนิยมเป็นธงชัย
หรือนี่คือ ถิ่นกาขาว?
คงไม่ใช่ถิ่นกาขาว  แต่อะไรที่มันปลอม หรือเป็นไปตามกระแส  มันก็พลิกผันสุดขั้วได้แบบนี้ละค่ะ   

คุณม้าแวะเข้ามาก็ดีแล้ว    เมื่อรู้ว่ามีคนตามอ่าน  ดิฉันจะได้ขยันขึ้นบ้าง
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 21 ม.ค. 10, 10:33

       เข้ามาลงชื่อว่าตามอ่านอยู่ ครับ

และยังอดคิดชื่อรุ้งจูเนียร์ ไปด้วยไมได้ น่าจะเป็นอักษร ร เช่น ระวี รุ่ง เรือง รอง ฯ ร ฯ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 21 ม.ค. 10, 11:56

คุณศิลาลองเสนอชื่อรุ้งจูเนียร์ไปเรื่อยๆก็ได้นี่คะ   
คุณ Ho  คุณม้า  และท่านอื่นๆที่รอบรู้ด้านภาษา จะมาช่วยแจมด้วยก็ยินดี
คงจะถูกใจคุณตัวแทนรุ้งเข้าสักชื่อก็ได้   

ดิฉันจะได้ฤกษ์ทำขวัญรุ้งจูเนียร์เสียที       อีกไม่กี่ค.ห. ก็จะได้ฤกษ์โกนจุก  พาออกมาเปิดตัวในยุค ๑๔ ตุลา ๑๖ แล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 21 ม.ค. 10, 12:07

แกะรอยประวัติศาสตร์การเมือง ผ่านสายตาของรุ้ง    อดคิดไม่ได้ว่า รุ้งคงไม่แฮปปี้นักกับการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงทศวรรษ
เพราะมันมีแต่ห่างไกลจากอุดมคติของเขาออกไปทุกที
**************
"นายกตลอดกาล" จอมพลป. มาถึงจุดสิ้นสุดของคำว่า นายกรัฐมนตรี   หลังจากพายุตั้งเค้ามาตั้งแต่การเดินขบวนของนิสิตและประชาชน ในพ.ศ. ๒๕๐๐
ขั้วอำนาจของผู้กุมการบริหารในบ้านเมือง แบ่งเป็น ๒ ขั้ว  คือขั้วนายกฯ ที่มีมือขวาคือตำรวจ   อธิบดีตำรวจ พล ต.อ. เผ่า ศรียานนท์   มีอำนาจจับกุมอย่างกว้างขวาง เป็นที่ยำเกรงกันทั่วไป  
ในยุคที่ได้ชื่อว่า " ไม่มีสิ่งใดใต้ดวงอาทิตย์ที่ตำรวจไทยทำไม่ได้"  
อธิบดีตำรวจ มีนายตำรวจมือดีๆหลายคน   เป็นพวกที่เรียกว่า "อัศวินแหวนเพชร" เป็นหูเป็นตา  รักษาบ้านเมืองให้สงบราบคาบปราศจากปฏิปักษ์ของรัฐบาล

แต่อีกขั้วหนึ่งที่จอมพล ป. ไม่สามารถทำให้เป็นมือซ้ายของเขาได้  คือขั้วทหาร  นำโดยพล อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์  นายทหารรุ่นน้องที่จอมพล ป. สนับสนุนให้ขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบก
นายทหารใหญ่ผู้นี้ ชนะใจนิสิตและประชาชนได้ ด้วยการใช้นโยบายโอนอ่อนประนีประนอมเข้าหากลุ่มเดินขบวน   แทนการปราบปรามอย่างแข็งกร้าว   ทำให้สถานการณ์คลี่คลายลงอย่างสงบ ไม่เสียเลือดเนื้อ
พร้อมกันนั้น ก็ทำให้รัศมีของนายกรัฐมนตรีที่เจิดจรัสมาตลอด ๙ ปี  เริ่มจะอ่อนแสงลงเห็นชัด

ผ่อง ชื่นชมพล อ.สฤษดิ์ มาก   เขาบอกรุ้งว่า
" พลเอกคนนี้เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เท่าที่เคยเห็นนายทหารมา"
แต่รุ้งก็ไม่ได้ตอบรับ หรือคล้อยตาม      เขาตอบเพียงว่า
" ต้องดูกันไป"
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง