เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 9488 ไทสยาม.... ภาษาลูกครึ่ง
asia
มัจฉานุ
**
ตอบ: 78


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 23 พ.ย. 09, 15:12

สวัสดีครับ คุณติบออ่านของคุณติบอ แล้วก้ได้ข้อคิดดีครับ จริงๆไม่ว่าจะเชื้อชาติไหน ภาษอะไร เขาเหล่านั้น ก็เป็นดิน น้ำ ลม ไฟ ประกอบด้วยธาตุ ทั้ง4 ดังที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคท่านตรัสไว้ ครับ เขาเหล่านั้นก็มีเลือดมีเนื้อ ทุกข์สุข
เช่นเราๆท่านๆ เหมือนกัน ให้พิจารณาดูนะครับ แล้วเมื่อไหร่จะได้เนื่อ ๆเกี่ยวกับเรื่องภาษาซะทีละครับ คุณติบอ 
ส่วนตัวผมเองสนใจแต่ภาษาในตระกูลชนเผ่าที่เรียกตัวเองว่าไต ครับ ทีมีอะไรคล้ายคลึงกัน เหมือนกันอะครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 24 พ.ย. 09, 05:53

อยากขออนุญาตถามว่าเนื้อๆเรื่องทฤษฎีทางภาษา
ที่คุณ asia สนใจอยู่ในประเด็นไหนบ้างครับ
จะได้เล่าให้ถูกทิศถูกทางครับผม
บันทึกการเข้า
asia
มัจฉานุ
**
ตอบ: 78


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 24 พ.ย. 09, 10:23

ครับ คุณติบอ ภาษาไทที่สนใจ ก็ตั้งแต่โน้นเลยครับ ว่าด้วยไทยอาหม ไท คำตี่ ไทใต้คง ไทมาว ลื้อ ลาว เขิน ไทดำ และที่มณฑลกวางสีในจีนที่ชายแดนต่อกับเวียดนามที่ยังพูดภาษาไท ผมเคยดูรายการส่องโลกได้พบว่ายังมีพี่น้องชาวไทยพลัดถิ่นที่เมืองมะริด ตะนาวศรีในเมืองพม่าโน้นที่ตกค้างมาตั้งแต่ครั้งเสียเมืองมะริดตะนาวศรีให้กับพม่าครั้งกรุงศรีและคนไทที่ไทรบุรีก็น่าศึกษา ดูแล้วมันทึ่งที่ยังมีพี่น้องไทกระจัดกระจายหลงเหลือ พูดภาษาไทพร้อมยังสื่อสารกับเราได้ทั้งที่ภาษาของเราค่อยข้างจะออกทางวิบัติบ้างแล้วครับหมายถึงในกรุงเทพฯและหัวเมืองใหญ่ๆ ผมเอง อยากได้ไปสัมผัสและพบปะพี่น้องไทเหล่านั้นคงจะดี วันหลังอยากให้คุณติบอจัดทัวร์เดินทางไปพบพี่น้องเล่านั้นบ้างครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 25 พ.ย. 09, 09:04

ขออนุญาตยกมือแสดงความเห็นครับ ยิงฟันยิ้ม

คำว่า "ขวัญ" ไม่ใช่คำภาษาเขมรครับ แม้รูปคำจะทำให้สันนิษฐานว่าน่าเป็นคำเขมร  แต่แท้จริงเป็นคำไท ในภาษาเขมรไม่มีคำว่า "ขวัญ" แต่มีคำในภาษเขมรที่ใช้ในความหมายเท่ากับคำว่า ขวัญ ของไท คือ พฺรลึง (อ่านว่า โปฺรลึง หรือ ปฺรัวลึง) ส่วนคำว่า ขวัน ในภาษาเขมรซึ่งออกเสียงเหมือนคำว่า ขวัญ นั้น เขมรแปลว่าชื่อหม้อขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง  นอกจากนี้ก็มีคำว่า ขฺวาน่นาค ซึ่งเป็นคำเขมรที่ยืมไปจากภาษไทยว่า ขวัญนาค  หรือ ทำขวัญนาค นั่นเอง ตรงนี้พจนานุกรมภาษษเขมรเองก็อ้างที่มาว่ามาจากภาษาไทย  และยังว่าแต่โบราณเขมรเรียกการทำขวัญนาคว่า เหาพฺรลึงนาค  แปลตามคำว่า เรียกขวัญนาค  คำว่าขวัญนี้ พบในภาษาไทถิ่นอื่น เช่น ภาษาไทใหย่ หรือฉาน เขียน ขวัน  ส่วนภาษาไทอื่นยังไม่มีเวลาค้นครับ  แต่คติความเชื่อเรื่องขวัญนี้มีอยู่ในกลุ่มชนที่ใช้ภาษาตระกูลไท-ไตทุกกลุ่ม แม้กระทั่งชาวไทอาหมในอินเดียก็มีคติและพิธีกรรมเกี่ยวกับเรื่องขวัญ  ในกลุ่มภาษามอญ-เขมรก็มีความเชื่อเรื่องขวัญเหมือนกัน  แต่เขามีคำเรียกต่างออกไป อย่างมอญใช้คำว่า ปุง์ขเมา อ่านว่า เปิงคะเขา หรือบางทีก็ใช้ว่า เปิง ก็มี  ส่วนเขมรมี พฺรลึง  หรือบางทีก็ใช้ว่า สิริ หรือ มงคล .

ส่วนเรื่องคำว่า โรงเรียน กับ สถานศึกษา ว่ามีความหมายเท่ากันนั้น ส่วนตัวคิดว่าไม่ใช่

สถานศึกษา มีความหมายกว้างกว่าคำว่า โรงเรียน  สถานศึกษา มีความหมายรวมถึงสถานที่ที่ใช้เป็นที่เรียนทั้งหมดทุกระดับชั้น ได้แก่ โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถาบันราชภัฏ (สมัยก่อนเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ) สถาบันเทคโนโลยี ฯลฯ

ส่วนโรงเรียน ถือว่าเป็นกลุ่มย่อยของสถานศึกษาที่ใช้ชื่อนำหน้าว่า โรงเรียน เท่านั้น ซึ่งจริงก็ยังแยกย่อยไปอีกมากประเภท แต่กระนั้นความหมายก็ไม่กว้างเท่ากับคำว่าสถานศึกษา  ทั้งคำว่า โรงเรียน และสถานศึกษา เป็นคำไทย คำว่า โรงเรียน เพิ่งเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ส่วนคำว่า สถานศึกษา คงเกิดหลังจากนั้น  แม้ดดยพื้นฐานของคำประสม ๒ คำนี้ จะเป็นคำมาจากภาษษอื่นที่ไม่ใช่ภาษาไทย แต่การที่ไทยนำคำเหล่านี้มาปรุงประสมประกอบเป็นคำใหม่  เพื่อใช้ในภาษา  ย่อมต้องมีการเปลี่ยนแปลงความหมายและขอบเขตของความหมาย  โดยอาจจะไม่ได้ยึดขอบเขตความหมายคำในภาษาเดิมก็ได้  เพราะถือว่าคำที่เกิดใหม่เป็นคำไทยแล้ว

ฉะนั้นที่ว่า ทั้งๆที่ 2 คำนี้กินความเท่าๆกันเลยครับถ้าแปลกลับไปในภาษาเดิม อยากขอความกรุณาให้ช่วยแจกแจงรายละเอียดเพิ่มเติมครับ คุณติบอ

(แม้ว่า โรงเรียน จะสร้างจากคำภาษาเขมรทั้ง ๒ คำ แต่ในภาษาเขมรไม่มีคำว่า "โรงเรียน" เขมรเขาใช้คำว่า สาลาเรียน หรือ สาลา หมายถึง โรงเรียน)

บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 30 พ.ย. 09, 01:50

ขออนุญาตตอบทีละท่านนะครับ
ตอบคุณ luanglek ก่อน ท่านแรก
เพราะตอบง่ายกว่า มี 2 เรื่อง

เรื่องแรก "โรงเรียน" เป็นภาษาเก่าในจารึกขอมครับ
หมายถึงที่ที่ให้ความรู้ หรือพูดง่ายๆ ที่ที่มีไว้เรียน
มีอีกคำที่พบ คือ โรงแรม หมายถึง ที่สำหรับพักแรม

แต่ภาษาเขมรปัจจุบันเลิกใช้ไปแล้ว ทั้งโรงเรียน และโรงแรม
และหันไปใช้คำว่า "สาลาเรียน" และ "สาลาแรม" แทน
มีคำที่ยังใช้อยู่บ้าง คือ "โรงโขน" แปลว่า "โรงภาพยนต์"
(เขมรไม่มีคำว่า "ลคร" ใช้ เพราะ ละคร เป็นคำมาลายูที่ยืมไปจาก "โขน" ในภาษาเขมรอีกทอดนึง)

ผมเคยถามคนเขมร ว่า "โรงแรม" กับ "สาลาแรม" ต่างกันยังไง ?
แกตอบมานัยว่า "สาลามีฝา แต่โรงไม่มีฝา"
แล้วถามผมกลับมาว่า "แต่โรงแรมคนไทยมีฝากใช่มั้ย ?"
ฟังแล้วพอนึกตามได้ทันว่าเรายังเก็บคำว่า "โรง" ในความหมายนี้มาใช้อยู่
เช่น วิหารทรงโรง เป็นต้น



อย่างที่คุณ luanglek อธิบายไว้บ้างแล้ว
คำๆนี้เพิ่งจะมาใช้กันอย่างแพร่ระบาดในสังคมไทย ราวๆ รัชกาลที่ 5
เพราะวิธีคิดอย่างการสร้างโรงเรียนแบบฝรั่งเริ่มแพร่กระจายไปทั่วสังคมไทย

ขออนุญาตอธิบายเพิ่มว่า แรกๆที่ใช้ก็ใช้กับหลายๆความหมายที่ปัจจุบันเราหันไปใช้คำอื่นแทน
เช่น โรงเรียนมหาดเล็กหลวง โรงเรียนแพทย์ โรงเรียนพยาบาล ฯลฯ

แต่ในเมื่อภาษาถูกใช้ต่อมาเรื่อยๆ มีการสร้างคำใหม่ๆขึ้น
"สถาบัน" ที่เคยเป็น "โรงเรียน" ก็ไม่อยากเป็น "แค่โรงเรียน"
และหันไปหาภาษาแขกแทนแล้วก็กลายเป็น "วิทยาลัย" ไปบ้าง เป็นต้น
คำอื่นที่ถูกยกมาใช้ใหม่ก็ต้อง "สูง" กว่าคำเก่า เหมือนที่คุณ luanglek รู้สึกครับ


แต่เมื่อลองแปลกลับไปหาความหมายก่อนจะถูกประสม
(ถ้าคิดว่าการประสมคำพวกนี้ขึ้น มีเหตุมาจากความต้องการใช้ความหมายของคำ)
เราก็จะเห็นได้ง่ายๆว่ามันยังกินความไม่ต่างกันนัก เช่น
โรงเรียน = สถานที่ที่เอาไว้เรียน
วิทยาลัย = สถานที่ที่เก็บความรู้ เป็นต้น

แต่เนื่องจากคำทั้ง 2 คำ เป็น "ภาษาไทย" ไปแล้ว
คำเลย "กินความ" ไม่เท่ากัน เพราะ "มันเป็นคนละคำกัน" ครับ




แต่ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าคำที่มากจาก "ภาษาบาลี-สันสกฤต" มักจะมีศักย์ทางภาษาสูงกว่าอื่นๆ
รองลงมา คือ "ภาษาขอม" ส่วนที่ต่ำที่สุดและถูกทิ้งไปแล้วเสียหลายคำ คือ "ภาษาบรรพบุรุษไทเดิม"






ส่วนเรื่องขวัญ ขอติดไว้ก่อนนะครับ
ค้นเพิ่มได้เมื่อไหร่จะมาอธิบายต่อครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 30 พ.ย. 09, 02:06

ขอตอบคุณ asia ทีหลังนะครับ
เพราะคำตอบจะช่วยให้ต่อกระทู้ได้ง่ายกว่า

อย่างแรก ภาษาเป็นรหัสที่ "สมมุติขึ้น" เพื่อใช้สื่อสารกับสังคมครับ
ภาษาของแต่ละคน จะ "กินความ" ไม่เท่ากันเองในสมองของเรา
เช่น ถ้าถามว่า "อึ กับ ขึ้" แปลว่าอะไร ? อะไรหยาบกว่ากัน ?
(ขออนุญาตใช้ตัวอย่างนี้นะครับ สกปรกแต่เห็นภาพง่ายครับ)
แต่ละคนก็อาจจะตอบในความหมายที่ไม่เท่ากัน
และอาจจะรู้สึกว่ามีคำนึงที่ดู "น่าพูดมากกว่าอีกคำ"
(ไม่เชื่อลองถามเพื่อนซัก 10 คนดูได้ครับ)
แต่ละคนจะมีความหมายที่ "ไม่เหมือน" ในพจนานุกรม แน่ๆ


อย่างที่สอง เนื่องจากภาษาเป็นรหัสของสังคมนะครับ
การศึกษาทางภาษา ก็เลยเป็นการศึกษาทางสังคมวิทยาอย่างหนึ่ง


ทีนี้... เราก็ต้องมาดูแล้วว่าเราจะ "ศึกษาอะไร" ?
เช่น ถ้าจะศึกษาเรื่องชาติพันธุ์เป็นกลุ่มๆ อย่างที่คุณ asia สนใจ
เราก็อาจจะสมมุติให้ภาษาของเขาเป็นภาษาพิเศษตามชื่อกลุ่มของเขาขึ้นมาได้
เช่น ภาษาไทคำตี่ ไทอาหม เป็นต้น


แต่ถ้าจะ "ศึกษา" รายละเอียดของภาษาใดภาษาหนึ่งลงไป
เช่น รายละเอียดของภาษาไทย (หรือไทสยาม) ว่า
"ทำไมคนไทยเชื้อสายต่างๆกันถึงออกเสียงคำแต่ละคำไม่เหมือนกัน ?"
หรือ "คำๆเดียวกัน ออกเสียงและแปลความเหมือนหรือต่างกันอย่างไรในแต่ละแหล่ง ?"


เราก็อาจจะต้องหาวิธีการศึกษาอื่นๆ
เพราะการตีขลุมเอา "ชาติพันธุ์" ที่ "ถูกสมมุติขึ้น"
มาเป็นบรรทัดฐานชี้ความว่าทุกอย่างนั่น "เหมือนกัน"
(เหมือนการใช้ "พจนานุกรม")จะไม่สามารถทำงานได้ครับ





ยกตัวอย่างเช่น หลายแหล่งในประเทศไทย
เรายังเรียกรองเท้าว่า "เกือก" และเรียกอย่างชินปากด้วย
ในขณะที่ถ้าพูดว่า "เกือก" กับเด็กกรุงเทพปัจจุบัน
เด็กหลายคนก็ไม่เข้าใจแล้วว่าเกือกแปลว่ารองเท้า
และมักจะไปนึกถึง "เกือกม้า" แทน เป็นต้น

ลักษณะแบบนี้เนื่องมาจากสังคมแต่ละที่ "ใช้คำ" ไม่เหมือนกัน
และ "ปรับตัวกับการใช้คำ" ไม่เท่ากันครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 30 พ.ย. 09, 02:36

ทฤษฎีเดิมที่เรามักใช้กันมาทางภาษา
คือ หาเอาความหมายและที่มาจากภาษาก่อนหน้า(ภาษาเดิม)
แล้วเรียกคำๆนั้นว่า "คำยืม" เพราะมีที่มาจากภาษาอื่น

แต่ถ้าลองมองกันทางสังคม ระดับของ "การยืม" มีหลายระดับครับ...



ผมลองแบ่งง่ายๆ 3 ระดับ



ระดับแรก เรียกว่า "คำยืม" ที่ยืมเพราะเราไม่มีของใช้ เราก็เลยต้องยืมเขาใช้
เช่น เราไม่เคยกิน "โอเลี้ยง" นั่ง "เก้าอี้" กิน "ปาท่องโก๋"
วันนึงคนจีนจำนวนมากอพยพเข้ามาประเทศไทย แล้วทำของพวกนี้ขาย
เราก็มีโอกาสได้รู้จักก็เลยต้อง "ยืม" คำว่า "โอเลี้ยง, เก้าอี้, และ ปาท่องโก๋" มาใช้
คำยืมประเภทนี้จะ "ยืมแล้วยืมเลย ไม่สามารถคืนได้" ครับ
ตัวอย่างอื่นๆ เช่น ศัพท์ทางการแพทย์ และ ศัพท์ IT เป็นต้น





ระดับที่สอง เรียกว่า "การปนภาษา" เพราะเรามีของเราใช้
แต่เราก็ใช้ภาษาเขาได้ เราก็เอาคำของเขามาใช้ด้วย
เช่น เรามีคำว่า "ทันสมัย" ใช้ แต่สังคมไทยส่วนมากพูดภาษาอังกฤษได้
เราเลยไป "เอา" คำว่า "modern" ในภาษาอังกฤษมาใช้ในความหมายเดียวกัน
หรือเราก็มีคำว่า "ฉันรักเธอ" ใช้ แต่เราก็ไปเอาคำว่า "I love you" มาใช้ด้วย
ลักษณะแบบนี้ "ยืมแล้วเลือกใช้ได้ แต่ถ้าคำใหม่กลายเป็นของสังคมไปแล้ว คำอาจเปลี่ยนแปลงได้"





ระดับที่สาม เรียกว่า "การย้ายภาษา" จะเกิดขึ้นเมื่อเราเริ่มรู้สึกว่าของที่ "ยืมมา" เป็นของเราแล้ว
และเมื่อเป็นของเราแล้ว เราจะทำอะไรกับมันก็ได้
เช่น คำว่า "modern" ที่ยืมมา โดนตัดซะเหลือแค่ "เดิ้น" ก็ได้

และเมื่อการ "ย้ายภาษา" เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์แล้ว
เราอาจจะจัดลำดับใหม่ๆ ให้กับ "คำเดิมๆ" ได้
เช่น อาจรู้สึกว่าคำแต่ละคำอยู่ใน "ระดับ" ที่ไม่เท่ากัน
ตัวอย่างเช่นคำว่า ดอกไม้, ผกา, บุปผา, มาลัย, อัปษร ก็แปลว่าดอกไม้เหมือนกัน
แต่สังคมจะเลือกใช้แต่ละคำในระดับที่ต่างกันออกไป เป็นต้น

นอกจากนั้นสังคมยังอาจสร้างความหมายใหม่ให้คำไปเลยก็ได้
เช่น อนงค์ ในภาษาสันสกฤต มาจากคำว่า อน + องค์ = ผู้ไม่มีกาย คือพระกามเทพ
แต่ในภาษาไทย อาจจะแปลว่านางฟ้า, นางงาม เป็นต้น





เอาเท่านี้ก่อนครับ ขออนุญาตเรียนถามคนอ่านกระทู้ ว่าพอจะทันมั้ยครับ ?
บันทึกการเข้า
manit peuksakondh
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 30 พ.ย. 09, 09:17

ขณะนี้ไม่ยากเท่าไร สามารถทำความเข้าใจได้ทัน ครับผม
มานิต
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 01 ธ.ค. 09, 02:11

งั้นขอต่อ 1 ความเห็นก่อนเข้านอนนะครับ มี 3 เรื่องสั้นๆ




เรื่องแรก เหตุ ที่เกิด "การยืม" หรือ "การปรับตัว" ขึ้นกับภาษาได้
เพราะสมดุลย์ทางภาษาเป็นสมดุลย์จลน์ครับ
สมดุลย์ลักษณะนี้ก็เหมือนสมดุลย์ของของเหลว หรือแกส
ที่เกิดการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา และไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปทรงเดิมเสมอ
แต่มีรูปทรงเปลี่ยนไปตามที่สังคมจะพาไป

ถ้าสมดุลย์ลักษณะนี้หยุดลง และไม่มีการเปลี่ยนแปลงกับภาษา
เหมือนน้ำที่ถูกเอาไปแช่แข็ง... นักภาษาศาสตร์ก็จะอธิบายว่า "ภาษาตายแล้ว"
แม้ว่าจะยังมีการใช้คำในภาษาอยู่บ้าง เช่น ภาษาละตินที่ยังเอามาตั้งชื่อวิทยาศาสตร์อยู่บ้าง

และตู้เย็นที่จะแช่แข็งภาษาได้ดีที่สุด มี 2 ตู้
ตู้นึง ชื่อ "ไวยากรณ์ภาษาเขียน" และอีกตู้นึงชื่อ "พจนานุกรม"
โดยกระบวนการแช่แข็งลักษณะนี้เกิดขึ้นชัดๆในสังคมไทยก็ราวๆ 70 หรือ 80 ปีมาแล้ว





เรื่องที่ 2 ความหมายของคำในภาษา มี 2 ความหมาย
อย่างแรก คือ ความหมายโดยเนื้อคำ เป็นความหมายกว้างๆ
ถ้าเป็นคำยืมในระดับต่างๆ ควรพิจารณาถึงพื้นฐานของความหมายเดิมด้วย
เช่น รำ มาจากภาษาขอม แปลว่าเต้น จะเติมอาคม(เสียงแทรก) ลงให้เป็น "ระบำ" ก็ได้
หรือ ฟ้อน มาจากภาษามรดกไทเดิม(cognate) แปลว่าเต้นเหมือนกัน

แต่เมื่อทั้ง 3 คำนี้เกิดการย้ายภาษาเข้ามาสู้ภาษาไทสยามขึ้น
และเราเริ่มจะไม่รับรู้วิธีการ "เติมอาคม" แล้ว....
สังคมก็จัดการกับคำเหล่านี้ให้แปลความต่างกันออกไปนิดๆหน่อยๆ
แต่โดยรวมก็ต้องเป็นการเต้นอยู่ดีส่วนอันไหน จะช้ากว่า เร็วกว่า
หรือกระดุ๊กกระดิ๊กกว่าก็แล้วแต่สังคมจะพาไปครับ
ความหมายที่เกิดขึ้นลักษณะนี้ผมขออนุญาตเรียกว่าความหมายทางสังคม


ตัวอย่างอื่น เช่น คำว่า "พระมเหสี พระเทวี พระราชินี พระราชเทวี พระบรมราชเทวี ฯลฯ"
คำเหล่านี้มีความหมายโดยเนื้อคำเท่าๆกันหมด แปลว่าพระมเหสี (ให้พูดง่ายๆก็เมียหลวงของพระราชา)
แต่เหตุในการปรุงคำใหม่ขึ้นเพื่อให้สูงกว่าคำอื่นๆ หรือไม่น้อยหน้ากว่าคำเก่าที่ใช้อยู่
ล้วนแล้วแต่เป็น "ความหมายทางสังคม" ทั้งสิ้น

เวลาเราเปิดพจนานุกรมเพื่อหาความหมายของคำ
พจนานุกรมจะไม่แยกความหมายทั้ง 2 ประเภทออกจากกัน
แต่จะรวมกันเอาไว้ ถ้าต้องการหาความหมายประเภทแรก ควรเทียบกับภาษาเดิม
ก่อนที่คำจะถูกยืมมาใช้ ปนภาษา และย้ายภาษาในที่สุด

ส่วนความหมายประเภทที่ 2 ได้จากการอ่านเอกสารเก่าๆเป็นจำนวนมาก
และวิเคราะห์ดูว่าแต่ละคำถูกปรุงขึ้นเมื่อใด หรือกินความเท่าใดในสมัยแรกๆ
และคำมีการเปลี่ยนแปลงต่อมาอย่างไร
(แต่หลายๆคำที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ก็หาต้นตอไม่ได้เสียแล้วล่ะครับ)





เรื่องที่ 3 ภาษาเป็นรหัสอย่างหนึ่งครับ
ส่วนที่สำคัญที่สุดแต่เดิม คือ "ภาษาพูด"
คำว่าพูดในที่นี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องพูดกัน 2 คนขึ้นไป
แต่รวมไปถึงการพูดกับตัวเองเวลาที่เรา "คิด" หรือ "อ่าน" สิ่งต่างๆด้วย
เหมือนที่ผมพูดกับตัวเองในสมองเพื่อเรียบเรียงคำในแต่ละประโยค
หรือท่านมานิตอ่านกระทู้ในใจ เป็นต้น

เมื่อจำเป็นต้องพูดหลายๆหนให้เหมือนเดิม หรือพูดกับคนที่อยู่ไกลออกไป
มนุษย์ก็เลยต้องสร้างรหัสที่จะถ่ายเสียงเหล่านี้ขึ้นอย่างเป็นระบบ คือ "ภาษาเขียน"
เพราะฉะนั้น "ระบบ" ที่ถูกสร้างขึ้น จึงเป็นการสร้างเพื่อ "ถ่ายความหมาย" ที่ต้องการ
โดยยึดจาก "เสียง" เป็นหลัก



และเนื่องจากเป็นระบบที่แต่ละสังคมสร้างขึ้น
สังคมจะใช้ระบบไหนก็ได้ เช่น จะใช้แค่จุดกับขีด เหมือนรหัสมอสก็ได้
หรือจะมีพยัญชนะและสระหน้าตาคล้ายๆกัน อย่างภาษาอังกฤษก็ได้
จะมีพยัญชนะและสระต่างกัน เหมือนภาษาไทยก็ได้
หรือจะใช้อักษรภาพแบบคำละภาพเลยเหมือนภาษาจีนก็ยังได้
จะเขียนจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้าย บนลงล่าง หรือล่างขึ้นบนก็ได้
จะมีเสียงวรรณยุกต์แต่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ก็ยังได้...
เพราะทั้งหมดเป็นระบบที่สังคมกำหนดมันขึ้นและเป็นอันยอมรับกันในสังคม

ที่สำคัญที่สุดระบบที่ว่านี่คนในสังคมจะเข้าใจหรือไม่ก็ได้
เพราะเป็นคนละระบบกับ "ภาษาพูด"...
และตราบใดที่ยังคุยกันได้ก็ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้


เพราะฉะนั้น เมื่อแรกใช้ ไวยากรณ์ภาษาเขียน
จึงต้องเดินตาม ไวยากรณ์ภาษาพูด
เนื่องจากสังคมรับรู้ภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียนมาก

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ถ้าเราลองเปรียบเทียบสังคมย่อยๆในสังคมใหญ่ๆที่ใช้ภาษาเดียวกัน
เราก็จะพบว่าระหว่าง 2 สังคมอาจมี "การสะกดคำ" และ "การออกเสียง" ที่แตกต่างกันมาก
(กว่าสังคมที่ยึดไวยากรณ์ภาษาเขียน เป็นหลัก)




เช่น ถ้าคนไทยต้องการจะสื่อความหมายของคำว่า "พระ"
เราจะสะกดคำว่า "พระ" ด้วยอักษรไทย และออกเสียงว่า "พระ"
ในขณะที่คนพม่าจะสะกดด้วยอักษรพม่า(ที่ปริวัตรได้ว่า พระ เช่นกัน)
แต่จะออกเสียงว่า "ปย๋า" เป็นต้น
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 01 ธ.ค. 09, 08:05

ขออนุญาตยกมือซักถามครับ

ที่คุณติบอว่า "...เรื่องแรก "โรงเรียน" เป็นภาษาเก่าในจารึกขอมครับ
หมายถึงที่ที่ให้ความรู้ หรือพูดง่ายๆ ที่ที่มีไว้เรียน
มีอีกคำที่พบ คือ โรงแรม หมายถึง ที่สำหรับพักแรม..."


อยากขอความกรุณาให้คุณติบอช่วยแสดงตัวอย่างข้อความจารึกที่พบคำว่า "โรงเรียน" และ "โรงแรม"  ถ้าระบุชื่อจารึกหรือรหัสจารึกที่ปรากฏคำดังกล่าวได้ด้วย  จะดียิ่ง  เผื่อว่าจะได้นำไปเผยแพร่ต่อครับ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 05 ธ.ค. 09, 23:21

มาเสริมคุณติบอครับ

คำว่า "ขวัญ" น่าจะเป็นคำไทเดิมครับ คำนี้ อาจารย์ LI Fang-kuei ท่านรวบรวมไว้ใน A Handbook of Comparative Tai

ท่านสังเคราะห์คำจ้วง-ไตเก่า สำหรับคำนี้ไว้ว่า *w(h)ǝ̄n ซึ่งอาจตรงกับคำจีนคือ (กวางตุ้งว่า "หวั่น" = วิญญาณ)

เสียงกล้ำ ขฺว- กับ คฺว- น่าจะเป็นคำไทเดิม มากกว่าคำยืมจากเขมรครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 02 ก.พ. 10, 23:59

หายจากบอร์ดไป 2 เดือนเต็ม... กลับมาถึงเพิ่งจะได้เห็นคำถามของคุณ luanglek
และคำอธิบายเพิ่มเติมของคุณ Hotacunus ขอบพระคุณมากนะครับ

ขอเวลาไปค้นอีกตามเคย (ถ้าไม่ลืมที่จดไว้ทั้งหมดเสียก่อน)
ขอบพระคุณมากนะครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 04 ก.พ. 10, 02:06

เรื่องรหัส กับการยืมคำ ผมก็เล่าไปหมดแล้ว...
ทีนี้เหลือเรื่องที่ทำไมผมถึงกล้าพูดว่า "ภาษาขอมเป็นบรรพบุรุษของภาษาไทย" ได้... ขออนุญาตเล่าให้จบเสียก่อน
เรื่อง "โรงเรียน" และ "โรงแรม" คนอธิบายคนเดิมของผมฝากน้องแมวมาส่งข่าวแล้ว
เดี๋ยวจบส่วนนี้ไปแล้วค่อยตอบคุณ luanglek อีกทีนะครับ


อย่างแรก ถ้าสมมุติว่าเราเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของคน รัตนโกสินทร์ ที่ อยุธยา
ซึ่งเราก็ทราบกันว่าเขาสืบตัวเองมาจาก ทวารวดี แน่ๆ เพราะชื่อเมืองก็ว่าเอาไว้อย่างนั้น
แต่ช่วงเวลาของทวารวดีไม่ได้ต่อเนื่องกับอยุธยาทันทีนะครับ.... มีขอมคั่นอยู่

เอาล่ะ... งั้นตรงนี้คงต้องถามต่อแล้วว่า "แล้วคนทวารวดีพูดภาษาอะไร" ?
จากจารึกที่พบ ภาษาพื้นเมืองที่ใช้ คือ "ภาษามอญโบราณ" แบบทวารวดี
ในขณะที่ "ขอม" ใช้ "ภาษาขอมโบราณ" แน่ๆ....


อ่านมาถึงตรงนี้คงมีคนสงสัยแล้วล่ะครับ ว่า "แล้วอยุธยาพูดภาษาอะไร" ?






ปัญหาอย่างหนึ่งที่จำเป็นจะต้องเข้าใจคือเมืองสมัยตั้งกรุงศรีอยุธยามีสภาพเหมือนเกาะครับ
เมืองแต่ละเมืองจะกระจายตัวกันอยู่ในแต่ละตำแหน่งเมือง สลับไปด้วยทุ่งหญ้า หรือป่าทั้งป่าโปร่งและป่าดิบ
เมืองเหล่านี้มักเชื่อมกันด้วยทางคมนาคม ที่ง่ายที่สุดคือ "ทางน้ำ" แต่ก็มีที่เชื่อมด้วยถนนบ้าง
โดยอาจจะมีชนเผ่า หรือหมู่บ้านขนาดไม่ใหญ่นักอยู่รอบๆเมืองได้

ผลจากการกระจายตัวของเมืองแบบนี้ ทำให้คนในเมืองแต่ละเมือง อยู่กันอย่างค่อนข้างเป็นเอกเทศ
ภาษาที่แต่ละชุมชนใช้จะแตกต่างกันออกไปตามสำเนียงของแต่ละชุมชน และที่สำคัญคือ
ชุมชนมักพูด และเข้าใจภาษาได้มากกว่า 1 ภาษา เพราะการปะปนกันของประชากรอยู่ในระดับสูง

เพราะฉะนั้นนักภาษาศาสตร์ถึงได้จัดให้ ภาษามอญ และภาษาขอม อยู่ในสกุลเดียวกันครับ คือ มอญ-แขมร์
เนื่องจากคนในเครือข่ายนี้ครอบครองพื้นที่บริเวณนี้และเป็นใหญ่มาก่อนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 - 16
บันทึกการเข้า
deawdry
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 06 ก.พ. 10, 21:41

สวัสดีครับ
พอดีว่าผมมีโอกาสผ่านเข้ามาพบเว๊ปเรือนไทย และได้สมัครสมาชิกด้วยสนใจใคร่หาความรู้เพิ่มเติมซึ่งมีมาน้อยนิด จึงขอโอกาสฝากเนื้อฝากตัว ณ.ที่นี้ด้วย ผิดถูกกาละเทสะต้องขออภัยด้วยนะครับ ยิงฟันยิ้ม

คือว่า

ผมรู้สึกประทับใจต่อเนื้อหาสาระเรื่องภาษาไทยลูกครึ่งมากๆครับ
และผมกำลังทำความเข้าใจเรื่องภาษาแห่งชนชาติอยู่พอดี
จึงอยากถือวิสาสะฝากคำถามต่อท่านติบอและทุกท่าน
ช่วยผมจำแนกที่มาของคำว่า "พาหุยุทธ์" ด้วยครับ
เพราะเท่าที่ผมทราบโดยประมาณถึงที่มา ว่าเป็นภาษาบาลี สันสกฤต แปลว่า การต่อสู้ด้วยแขน, การชกมวย, การปลํ้า
โดยผมเล็งเห็นแล้วว่าทุกท่านในเว๊ปบอร์ดนี้ รู้ทราบภาษาโบราณ ภาษาถิ่นไทย ผมต้องขออนุญาตรบกวนด้วยครับ

ขอบพระคุณมากครับ
หวังว่าคงไม่รบกวนมากเกินไปครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 13 มี.ค. 10, 01:25

ห่างไปสองเดือนกว่า วิ่งมาต่อกระทู้ต่อครับ (ไม่งั้นคงไม่ได้ตอบคำถามคุณหลวงเล็กพอดี)


เมื่อเมืองแต่ละเมืองมีสภาพเป็นเกาะแล้ว ผลที่ตามมาก็คือ...
ภาษาที่ใช้ในแต่ละเขตเมืองอาจมีสำเนียงต่างกันได้บ้างเล็กๆน้อยๆครับ
ชุมชนไหนอยู่ใกล้กัน หรือสัมพันธ์กันมากก็อาจมีสำเนียงที่ใกลักันมากกว่า
เนื่องมาจากความใกล้ชิดและความสัมพันธ์กันทางสังคมครับ


ทีนี้มาถึงจุดเริ่มต้นของผมดีกว่า.... ถ้าชุมชน 2 ชุมชนที่สัมพันธ์กันมากๆ พูดภาษาคนละสกุลกัน.... อะไรจะเกิดขึ้นครับ ?
คำตอบที่ได้ก็คือ.... คนใน 2 ชุมชนนี้ควรพูดได้มากกว่า 1 ภาษา
เนื่องมาจากความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนที่มีอยู่สูง

อาจารย์ วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ เสนอว่า
ลักษณะเช่นนี้เห็นได้จากวรรณคดีสมัยอยุธยาหลายเรื่อง
ที่มีการนำเอาภาษาขอมมาใช้ปะปนกับภาษาไทยมาก
และมากในระดับที่ถ้าคนอ่านไม่รู้ภาษาขอมแล้วจะอ่านไม่รู้เรื่อง
หรือถึงขั้นที่เขียนด้วยภาษาเขมรทั้งเรื่องก็มี

ตัวอย่าง เช่น ฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ซึ่งแต่งโดยขุนเทพกวี
ผมขออนุญาตยกตัวอย่างมาจากงานเขียนของอาจารย์วิไลวรรณนะครับ


พระกงงมดนำพลผอง
เตริ่วไพรสรดอง
มิเราะกันลองสบนา

และมีมนุมางสมายอุรา
นักสกลสมนา
บูชาดนูพระไพร

เทียนธูปบุษปนุลาชลมโง
บูชาพระไพร
และไกรและพระผอง



ขออนุญาตอธิบายเพิ่มว่าชนชาติไท-ลาว ไม่ได้รับเอาภาษา บาลี-สันสกฤต จากอารยันโดยตรงครับ
แต่ถ้าลองเปรียบเทียบจารึกภาษาขอมจำนวนมาก จะเห็นว่าการรับเอาภาษาบาลี-สันสกฤตของชนชาติในกลุ่ม ไท-ลาว
เป็นการรับผ่านกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาสกุล มอญ-แขมร์ มาก่อน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 19 คำสั่ง