ทีนี้กลับมามองตัวเราเองบ้าง
เอาขั้นแรก ที่คล้ายกับฮ่องกงหน่อย... "ลูกคนจีนในแผ่นดินไทยก่อน"
โดยส่วนตัว ผมเป็นคนแต้จิ๋ว ก็คุ้นกับภาษาแต้จิ๋วมากกว่าภาษาอื่นๆ
ถ้ายกตัวอย่างเป็นภาษาแต้จิ๋วเป็นหลัก... คนจีนกลุ่มอื่นๆอย่าค้อนเอานะครับ
เรื่องทำนองเดียวกันกับในฮ่องกง...
ก็เกิดกับคนแต้จิ๋วในประเทศไทยเหมือนกันครับ
เพราะเมื่อพูดภาษาไทยมานานๆเข้า
คนแต้จิ๋วก็ "มีชื่อไทย - นามสกุลไทย" นานไปอีกหน่อย
ก็ทั้งไหว้เจ้า ทั้งตักบาตร ทั้งเข้าวัดไทย
แล้วก็กรอกใบเกิดลูกและบัตรประชาชนตัวเองว่า นับถือศาสนา "พุทธ"
ทั้งๆที่ตัวเองนับถือ "ผีบรรพบุรุษ" มาก่อนในอำเภอแต้จิ๋ว
ที่สำคัญ ภาษาแต้จิ๋วในไทยปัจจุบัน "ปนภาษา" กับภาษาไทยด้วย
เช่น เมื่อนานมาแล้วมีการถามกันว่า
คำว่า "หลกท่ง" หรือ "หลกท่งจี" ซึ่งเป็นคำด่าภาษาแต้จิ๋ว
เป็นคำภาษาจีน หรือคำยืมภาษาไทย.... ?
เพราะจะลากให้ไปทางไหนก็น่าจะได้ทั้ง 2 ทาง
ผมลองตรวจดูด้วยวิธีง่ายๆ คือ e-mail คุยกับญาติที่สิงคโปร์
และเพื่อนที่เป็นคนแต้จิ๋วในฮ่องกง.... ปรากฏว่าทั้ง 2 ที่ไม่ใช้ครับ
มีคนแต้จิ๋วในประเทศไทยใช้อยู่ที่เดียว...
สรุปจากข้อมูลพื้นฐานได้ว่า
1.) คำนี้น่าจะเป็นคำยืมจากภาษาไทย
หรือ
2.) เป็นคำภาษาแต้จิ๋วที่เกิดการสร้างคำขึ้นในประเทศไทย
โดยกลุ่มคนแต้จิ๋วที่สร้างคำๆนี้ขึ้น ไปยึดเอาคำว่า "ดอกท_ง" ในภาษาไทยเป็นพื้นฐาน
แล้วตั้งใจให้ความหมายและเสียงตรงกันกับภาษาไทย ครับ
ถ้าถามต่อว่า แล้วคำที่กินความเท่ากับคำๆนี้ในภาษาแต้จิ๋วเดิมมีมั้ย ?
คำตอบคือมีครับ... แต่ปัจจุบันกินความไม่เท่ากันแล้ว
เพราะเมื่อ "คำยืม" ปนภาษาเข้าหากันจนเป็นเนื้อเดียว
แต่ละคำจะไปมีหน้าที่ของมันเอง ต่างกันเล็กน้อยแต่ถ้าพิจารณาดีๆ ก็อาจจะพอเข้าใจได้ ว่า 2 คำนี้กินความเท่าๆกัน
ลักษณะแบบนี้ ภาษาศาสตร์แบบสังคมวิทยา...
จะไม่เรียกว่า "การยืม" แต่จะใช้คำว่า "การปนภาษา" แทน
ขออนุญาตยกตัวอย่างเป็นภาษาไทยนะครับ (จะได้ไม่งง)
มีคำ 3 คำ ที่กินความเท่าๆกันในภาษาเดิม คือ
- ขวัญ (ภาษาเขมร)
- ผี (ภาษามรดกไทเดิม)
- วิญญาณ (ภาษาบาลี-สันสกฤต)
3 คำนี้ถ้าเทียบกลับไปก็จะได้ความหมายเท่าๆกันในภาษาเดิม
หรือในปัจจุบัน เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าคำ 3 คำนี้กินความเท่าๆกัน
แต่ลองนึกดูว่าถ้าเราเอามาใช้แทนกันในบางกรณี... เช่น
มีนักข่าวท่านหนึ่ง ชื่อคุณ "สู่
ขวัญ".... เอาคำอื่นมาใช้แทนได้มั้ยครับ ?

อีกซักตัวอย่างนะครับ
- โรงเรียน (ภาษาเขมร)
- สถานศึกษา (ภาษาบาลี-สันสกฤต)
ถ้าผมให้เลือกว่าอันไหนผิดอันไหนถูก ระหว่าง
-
โรงเรียนเป็น
สถานศึกษาประเภทหนึ่ง
-
สถานศึกษาเป็น
โรงเรียนประเภทหนึ่ง
ทั้งๆที่ 2 คำนี้กินความเท่าๆกันเลยครับถ้าแปลกลับไปในภาษาเดิม
แต่คนอ่านก็จะยังแอบๆรู้สึกอยู่ดีว่า 2 ประโยคข้างบน มีที่น่าจะผิด 1 อัน และ ที่น่าจะถูกอีก 1 อัน
ที่เป็นแบบนี้เพราะ
"ทั้ง 2 คำเป็นคำไทย" ไปแล้ว
และ
"สังคมไทยจัดตำแหน่งใหม่ให้คำ" ไปแล้ว เช่นกัน
แต่ก่อนจะภูมิใจในความเป็นไทยไปกว่านั้น
ต้องไม่ลืมว่า
"เราไม่ได้คิดขึ้นเองแต่แรก" อยู่ดีนะครับ