NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 21 พ.ย. 09, 09:05
|
|
กองกำลังฝ่ายรัฐบาลตั้งหลักได้ก็เข้าปะทะกับทหารฝ่ายหัวเมืองที่ทุ่งบางเขน ขณะนั้น มีข่าวว่ากองกำลังจากหลายจังหวัดที่เคยตกลงว่าจะเข้าร่วมแผนนี้ด้วยได้ถอนตัวหลังจากที่ทราบข่าวว่าผู้นำปฏิบัติการครั้งนี้มิใช่พันเอก หลวงศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) ผู้ที่เป็นที่เคารพรักของนายทหารทั้งปวงเสียแล้ว กลับกลายเป็นพระองค์เจ้าบวรเดชที่น่าระแวงว่า หากชนะแล้วระบบสมบูรณายาสิทธิราชจะกลับมาอีก ฝ่ายรัฐบาลจึงได้เปรียบรุกไล่ฝ่ายทหารหัวเมืองถอยไปตั้งที่มั่นอยู่ที่สถานีรถไฟดอนเมือง ทัพหน้าของรัฐบาลก็ไปตั้งยันอยู่ที่สถานีรถไฟบางเขน ที่เกือบจะเละเทะเพราะกระสุนของทั้งสองฝ่าย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 21 พ.ย. 09, 09:07
|
|
กองหนุนของรัฐบาลอันประกอบด้วยกองปืนต่อสู้อากาศยานอันทรงพลานุภาพได้ออกจากเกียกกายมาขึ้นขบวนรถไฟที่สถานีชุมทางบางซื่อ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 21 พ.ย. 09, 09:09
|
|
ขณะที่ไปถึงสถานีบางเขนยังไม่ทันลงจากรถไฟ ก็เจออาวุธหนักของฝ่ายหัวเมือง เป็นหัวรถจักรที่เร่งพลังขับเคลื่อนเต็มพิกัด ปล่อยลงมาปะทะขบวนรถบรรทุกป.ต.อ. พลิกคว่ำลงข้างรางมีทหารเสียชีวิตและบาดเจ็บหลายนาย ยุทธการครั้งนี้เป็นที่เล่าขานกันต่อมายาวนาน ใช้ศัพท์เรียกอาวุธนี้ว่าตอปิโดบก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 21 พ.ย. 09, 09:14
|
|
แต่นี่ก็เป็นความเสียหายขนาดหนักอย่างเดียวที่ฝ่ายหัวเมืองสามารถสร้างให้กับกองกำลังฝ่ายรัฐบาลได้ แต่ก็เพียงพอที่รัฐบาลจะถือโอกาสประกาศความชอบธรรมที่จะกวาดล้างฝ่ายกบฏด้วยอาวุธรุนแรงต่อไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 21 พ.ย. 09, 09:19
|
|
แค่นี้ ฝ่ายกบฏก็ขวัญกระเจิงหมดแล้ว อาวุธที่ตนขนมามีแต่ปืนกลหนักไม่กี่กระบอก รัฐบาลเอาปืนใหญ่มาตั้งแถวอวดให้ส่องกล้องเห็นอีกต่างหาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 21 พ.ย. 09, 10:17
|
|
สมรรถนะของป.ต.อ.วิคเกอร์อาร์มสตรองขนาด ๔๐ มม.ปืนที่ลำกล้องตั้งแต่ ๒๐ มม.ก็เข้าประเภทปืนใหญ่แล้ว ใช้กระสุนทั้งเจาะเกราะและกระสุนระเบิดยิงได้นาทีละ ๒๐๐ นัด ทั้งวิถีราบและต่อสู้อากาศยาน ระยะยิงไกล ๖ กิโลเมตร ติดตั้งบนรถสายพานเครื่องยนต์ ๘๗ แรงม้า จัดได้ว่าเป็นปืนใหญ่ที่ทรงอานุภาพที่สุดแห่งยุค ทหารไทยทั้งหลายไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อนเลย
ฝ่ายรัฐบาลได้นำมาลองใช้เพียงกระบอกเดียว บรรทุกบนรถ ข.ต.เคลื่อนขึ้นไปตามทางรถไฟโดยมีรถจักรดันหลัง ใช้ทหารประจำรถเพียง ๕ คน เมื่อเคลื่อนเลยวัดเสมียนนารีไปได้หน่อยหนึ่งก็ถูกยิงแต่ก็ไม่ได้โต้ตอบ คงเคลื่อนที่เข้าไปช้าๆเพราะมีเกราะกำบัง จนกระทั่งเห็นได้ชัดเจนว่ารังปืนกลของฝ่ายกบฏอยู่หลังหน้าต่างโบสถ์วัดเทวสุนทร
นายทหารได้สั่งทุกคนให้ยกมือไหว้ขอขมาที่จำเป็นต้องยิงโบสถ์และอธิษฐานขออย่าให้ถูกพระประธาน ก่อนที่ลั่นกระสุนนัดแรกของปืนชนิดนี้และยิงติดๆ กันไปอีก ๔ นัด ทหารหัวเมืองเพิ่งเคยเห็นปืนใหญ่ยิงได้รวดเร็วราวกับปืนกล และกระสุนระเบิดแม่นยำเกินกว่าที่เคยพบเห็นมาก่อนในเวลาซ้อมยิงปืนใหญ่แบบเก่าที่เคยมีในกองทัพบก ก็วิ่งหนีกระจัดกระจายออกจากโบสถ์
ที่หมายต่อไปที่สงสัยว่าจะเป็นที่มั่นของฝ่ายตรงกันข้ามคือสถานีวิทยุต่างประเทศที่หลักสี่ จึงได้ยิงข่มขวัญไปอีก ๕ นัด เล็งสูงจากตัวอาคารเพราะเกรงจะได้รับความเสียหาย จากนั้นก็ใช้ทหารราบรุกเข้าไปยึดโดยไม่ได้ยิงอีกเลย
ป.ต.อ. วิคเกอร์อาร์มสตรอง แสดงบทบาทเพียงครั้งเดียว สิ้นเปลืองกระสุนเพียง ๙ นัด ทหารหัวเมืองก็ถอนตัวจากดอนเมืองขึ้นไปตั้งรับในเทือกเขาดงพระยาเย็น แล้วก็พ่ายแพ้โดยเด็ดขาดที่นั่น
พันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) แม่ทัพซึ่งรับหน้าที่เป็นกองระวังหลังของกองทหารหัวเมือง ถูกยิงเสียชีวิตบนทางรถไฟใกล้สถานีหินลับ อำเภอปากช่อง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 21 พ.ย. 09, 10:21
|
|
พระองค์เจ้าบวรเดช ซึ่งกลายเป็นหัวหน้าฝ่ายกบฏโดยสมบูรณ์แบบ ได้ทรงหนีขึ้นเครื่องบิน มุ่งหน้าสู่เขมรเพื่อขอลี้ภัยกับฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคมอินโดจีนสมัยนั้น สุดท้ายก็ได้สิ้นพระชนม์ที่นั่น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 21 พ.ย. 09, 11:21
|
|
ขอแก้ไขหน่อยค่ะ พระองค์เจ้าบวรเดช ไม่ได้สิ้นพระชนม์ที่อินโดจีน แต่ได้เสด็จกลับประเทศไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อพ.ศ. ๒๔๙๑ ทรงอยู่ที่หัวหิน ร่วมงานกับหม่อมเจ้าผจงจิตร กฤดากร พัฒนาโรงงานทอผ้าลายไทยขึ้นมาจนประสบความสำเร็จ เรียกว่า ผ้าโขมพัสตร์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 21 พ.ย. 09, 12:11
|
|
ขอบพระคุณที่ทักท้วงครับ ผมไม่รอบคอบเลย สมองเคยจำอย่างไรมือก็จิ้มตาม ประมาทไปหน่อยเรื่องนี้ไม่ได้ตรวจสอบ ไหนๆก็ไหนๆ โฆษณาให้ท่านเสียเลยเป็นการขอประทานอภัย
โขมพัสตร์อาภรณ์ทรงคุณค่าทุกยุคสมัย
เราเดินทางมาพบกับอีกบทหนึ่งของความทรงจำจากอดีต ร้านโขมพัสตร์ ร้านจำหน่ายผ้าฝ้ายพิมพ์ลายไทยที่รุ่งเรืองมาพร้อมๆ กับเมืองหัวหิน คำว่า โขมพัสตร์ แปลว่า ผ้าขาว หมายถึง ผ้าขาวที่นำมาพิมพ์ลาย เป็นผ้าพิมพ์ลายไทยแท้ๆ แบบโบราณ ซึ่งเขียนลายด้วยมือและพิมพ์ด้วยมือเรียกว่าเป็นงานปราณีตจากฝีมือคนล้วนๆ ไม่ใช้เครื่องจักรแต่อย่างใด จุดกำเนิดของร้านโขมพัสตร์เริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2492 เมื่อพลเอกพระวรวงค์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช และหม่อมเจ้าหญิงผจงจิตร กฤดากร เสด็จลี้ภัยการเมืองไปประทับอยู่ที่เมืองไซ่ง่อน ประเทศเวียดนาม ณ ที่นั่นทรงตั้งโรงย้อมผ้าแพรแบบคนญวน แต่พอสงครามเลิกทั้งสองก็เสด็จกลับประเทศไทย และเนื่องจากทรงมีที่ดินที่หัวหิน จึงโปรดให้สร้างโรงย้อมและพิมพ์ผ้าย้อมๆ เช่นเดียวกับที่ไซ่ง่อนขึ้นที่นี่ เพื่อให้คนในท้องถิ่นมีรายได้ และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 21 พ.ย. 09, 12:28
|
|
ดิฉันนึกถึงบุคคลสำคัญทางการเมืองที่ต้องลี้ภัยจากภัยการเมือง พ.ศ. ๒๘๘๒ ไปถึงแก่กรรมอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน คือพันเอก พระยาทรงสุรเดช ชะตากรรมของท่านเป็นโศกนาฏกรรมทางการเมือง คล้ายกับชีวิตของม.ร.ว.นิมิตรมงคล น่าเสียดายที่มีผู้รวบรวมเรื่องราวไว้น้อยมาก ที่จำได้ก็มีบุตรชายของท่าน คุณทศ พันธุมเสน เขียนหรือให้สัมภาษณ์ไว้ แต่ดิฉันไม่มีหนังสือเล่มนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 55 เมื่อ 21 พ.ย. 09, 18:03
|
|
พันเอก พระยาทรงสุรเดช ท่านเป็นหนึ่งในสี่ทหารเสือของคณะราษฎร์อันประกอบด้วยพ.อ. พระยาทรงสุรเดช, พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา, พ.อ. พระยาฤทธิ์อัคเนย์, พ.ท. พระประสาสน์พิทยายุทธ.เรียงลำดับกันในรูป
ไม่นานผู้ร่วมขบวนการแต่มิได้ร่วมอุดมการก็แตกแยก ปล่อยบทบาทสำคัญให้นายทหารยศน้อยกว่าแต่ทะเยอทะยานมากกว่าขึ้นมามีอำนาจ ในที่สุดจากที่ร่วมขบวนการในยศพันโท เมื่อปราบขบถเสร็จได้ยศพันเอก หลวงพิบูลสงครามก็ปราบทหารเสือทั้งสี่อยู่หมัด แต่ละคนต้องชะตากรรมต่างกันจากพวกเดียวกันเองแท้ๆ ในกลุ่มนี้พระยาทรงสุรเดชเคราะห์ร้ายสุด ถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังการลอบสังหารพ.อ.หลวงพิบูลสงคราม ถูกจับและถูกเนรเทศไปอยู่ในอินโดจีน ต้องอยู่อย่างลำบากยากแค้นเพราะพื้นฐานครอบครัวมิได้สะสมเงินทอง ถึงขนาดมีผู้เขียนว่าต้องทอดแหหาปลามาให้ภรรยาทำกับข้าวไปวันๆ ซ้ำร้ายเมื่อมีข่าวว่ารัฐบาลใหม่จะยอมให้กลับเมืองไทยได้ ก็มีไอ้โม่งส่งนายทหารที่เคยเป็นลูกน้องไปเยี่ยมและทานข้าวด้วย หลังจากมื้อนั้นท่านปวดท้องอย่างแรง เมื่อถึงหมอก็สายไปเสียแล้ว โรงพยาบาลแจ้งว่าถึงแก่กรรมเพราะอาหารเป็นพิษ
ในปีที่ท่านถูกจับคือพ.ศ.2482 รัฐบาลหลวงพิบูลกวาดจับผู้ต้องสงสัยครั้งใหญ่ เรียกว่ากบฏพระยาทรง ซึ่งเป็นกบฏที่การเคลื่อนไหวทางการทหารเป็นการกระทำของรัฐบาลฝ่ายเดียว แต่มีผู้ถูกจับหลายสิบคน รวมทั้งม.ร.ว.นิมิตรมงคลด้วย
รัฐบาลตั้งศาลพิเศษขึ้นมาพิจารณาคดี ศาลพิเศษตัดสินปล่อยตัวพ้นข้อหาจำนวน 7 คน จำคุกตลอดชีวิตจำนวน 25 คน โทษประหารชีวิตจำนวน 21 คน แต่ให้เว้นการประหาร คงเหลือโทษจำคุกตลอดชีวิต 3 คน เนื่องจากเคยประกอบคุณงามความดีให้กับประเทศชาติ คือ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร พลโท พระยาเทพหัสดิน พันเอก หลวงชำนาญยุทธศิลป์
คงเหลือถูกประหารจริงๆ18คน การเมืองยุคนี้เรียกว่ายุคทมิฬ การกบฏครั้งที่2ที่ถูกยัดเยียดข้อหานี้ ม.ร.ว.นิมิตรมงคลถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 22 พ.ย. 09, 17:41
|
|
ในการก่อการปฏิวัตเมื่อปี2475 ปัญหาคือคณะราษฎร์ไม่มีคนคุมกำลังทหารในมือเลย พระยาทรงฯซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนนายร้อย จึงลวงนักเรียนนายร้อยด้วยการปลุกให้ตื่นตั้งแต่ตี3แล้วบอกว่าจะพาไปฝึกภาค สนามที่พระที่นั่งอนันต์ พร้อมกับการที่นายพันเอกพระยาพหลฯไปลวงค่ายทหารให้นำกำลังทหารและรถทหารออกมาสมทบกัน และพระประศาสน์(ซึ่งใกล้ชิดกับพระยาทรง)ไปควบคุมตัวกรมพระนครสวรรค์ฯซึ่งทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงกลาโหมจากวังบางขุนพรหมมาเป็นตัวประกัน
เมื่อนักเรียนทหารที่นายพันเอกพระยาทรงฯลวงมาสมทบกับรถทหาร และทหารจากค่ายที่นายพันเอกพระยาพหลฯลวงมา กับนายพันโทพระประศาสน์ฯควบคุมกรมพระนครสวรรค์มาที่นั่งอนันต์ฯได้ การปฏิวัติที่ปราศจากเลือดเนื้อก็กลายเป็นประวัติศาสตร์ของไทย
ข้อความข้างบนผมหาเอาในเวปนี้แหละครับ เรื่องของท่านใช้กูเกิลหาก็น่าจะมีครบ แต่ที่ไม่มีคือเรื่องที่จอมพลประภาส จารุเสถียรเขียนประวัติตนเองในหนังสือตอนที่ยังเป็นนักเรียนนายร้อย อยู่ๆที่โรงเรียนก็จัดโต๊ะอาหาร แยกให้เจ้านายและพวกเชื้อพระวงค์ทั้งหลายนั่งรวมกันที่โต๊ะกลางห้อง มีผ้าปูโต๊ะและภาชนะกระเบื้องอย่างดี ขณะที่โต๊ะของนักเรียนนายร้อยอื่นๆเป็นโต๊ะธรรมดา อาหารก็อนุญาตให้ส่งจากในวังมาเสริมได้ ขณะที่นายร้อยอื่นๆกินข้าวหลวงที่คุณภาพต่างกันลิบลับ การฝึกภาคสนาม การสอบฯลฯก็ให้สิทธิพิเศษเป็นอภิสิทธิ์ชนจนกระทั่งเกิดการแปลกแยกขึ้นในระหว่างนักเรียนนายร้อย....ตอนหลังจึงทราบว่านั่นเป็นแผนของครูบาอาจารย์ที่ต้องการให้เกิดเช่นนั้น
ผมเห็นว่าวิธีการดังกล่าวฉลาดแนบเนียนแต่โหดร้าย เป็นอันตรายมาก ทุกวันนี้ก็มีผู้ที่อยู่ในคราบของผู้จงรักภักดี ทำอะไรๆที่แยกไม่ออกว่าจงรักภักดีจริงหรือคิดอะไรอยู่ในใจ น่าเป็นห่วงจริงๆครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 28 พ.ย. 09, 06:03
|
|
เมื่อถูกศาลพิเศษของรัฐบาลตัดสินจำคุกครั้งแรกนั้น ม.ร.ว.นิมิตรมงคลคิดว่าเมื่อตนต้องโทษการเมืองทั้งๆที่ไม่รู้ก.ข.ทางการเมืองเลย จึงควรที่จะศึกษาวิชาการเมืองที่ในสมัยนี้เรียกว่ารัฐศาสตร์ไว้บ้าง ตอนนั้นไม่น่าเชื่อว่ารัฐบาลประชาธิปไตยจะห้ามศึกษาหาอ่านเรื่องการเมืองใดๆทั้งสิ้นถึงขนาดเขียนไว้ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญเลยทีเดียว
โชคดีที่เลือกเพื่อนร่วมห้องได้ ม.ร.ว.นิมิตรมงคลจึงได้อยู่กับสอ (เศรษฐบุตร)เสถบุตร ท่านผู้นี้ขนตำรับตำราภาษาอังกฤษเข้าไปไว้ในคุกมากมาย และได้เริ่มเขียนปทานานุกรม อังกฤษ-ไทยขึ้น ทั้งสองได้ใช้เวลาระหว่างอยู่ในคุกให้เป็นประโยชน์ที่สุด ม.ร.ว.นิมิตรมงคลได้เป็นผู้ช่วยคุณสอในการค้นคว้าและบัญญัติศัพท์ รวมถึงได้อ่านหนังสือของท่านอันเป็นการเปิดโลกทรรศครั้งใหญ่ ซึ่งก่อให้เกิดเป็นแรงบันดาลใจให้เขีบน”ความฝันของนักอุดมคติ” ต่อมา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 58 เมื่อ 28 พ.ย. 09, 06:21
|
|
บรรดานักโทษการเมืองกลุ่มหนึ่งที่เป็นนักคิดนักเขียน เมื่ออยู่ว่างๆก็อดไม่ได้ที่จะออกกำลังสมองบ้าง จึงได้เขียนบทความหรือกวีนิพนธ์ลงกระดาษที่ฉีกมาจากสมุดนักเรียนและนำมาแลกเปลี่ยนกันอ่านให้ความรู้ซึ่งกันและกัน ต่อมาได้พัฒนาขึ้นถึงกับนำมาเย็บรวมเล่มโดยมีม.ร.ว.นิมิตรมงคลเป็นบรรณาธิการ ตั้งชื่อว่า”น้ำเงินแท้” ลักลอบออกเป็นวารสารเวียนกันอ่านระหว่างผู้ต้องโทษด้วยกัน
น้ำเงินแท้ มีหลายความหมาย นอกจากจะหมายถึงชุดนักโทษที่ย้อมสีหม้อห้อมทั้งเสื้อและกางเกงแล้ว ยังเป็นสีหนึ่งในแถบของธงชาติที่เป็นสัญญลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ แรกๆบทความต่างๆก็เป็นวิชาการกันดี หลังๆก็จะอดมิได้ที่จะวิพากษ์หรือระบายความรู้สึกนึกคิดลงไปบ้าง จึงทำให้นักโทษการเมืองด้วยกันกลุ่มหนึ่งกลัวความผิดหากถูกจับได้ และจะถูกลงโทษหนักเข้าไปอีก คณะน้ำเงินแท้จึงถูกขอร้องให้เลิก หลังจากที่ออกได้เพียง๑๗ฉบับเท่านั้น
หนังสือทั้งหมดที่ม.ร.ว.นิมิตรมงคลทะยอยลักลอบส่งออกมานอกคุกด้วยลิ้นชักกลใต้กระเช้าเยี่ยมญาติ ก็ถูกญาติท่านนั้นเผาทิ้งไปด้วยเพราะไม่อยากติดคุก วารสารน้ำเงินแท้จึงไม่เหลือให้หาเศษทรากได้เลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 59 เมื่อ 28 พ.ย. 09, 07:32
|
|
เวลาผ่านไปสี่ปีกว่า ด้วยการวิ่งเต้นอย่างสุดฤทธิ์ของบรรดาพ่อแม่ลูกเมียของนายทหารชั้นผู้น้อยนับร้อยที่พลอยมาติดคุกโดยไม่ทราบแผนของผู้บังคับบัญชามาก่อน แต่จำต้องเข้าสนามรบตามคำสั่ง รัฐบาลก็เห็นสมควรที่จะปล่อยผู้เคราะห์ร้ายเหล่านี้เป็นอิสระ รวมทั้งม.ร.ว.นิมิตรมงคลด้วยที่ได้รับการปลดปล่อยออกมาสู่โลกภายนอกในครั้งนั้น ในภาพที่ถ่ายระหว่างถูกย้ายมาอบรมที่กระทรวงกลาโหมหกเดือนเพื่อรอการปลดปล่อย ม.ร.ว.นิมิตรมงคลอยู่ขวามือสุด
สำหรับบรรดาแกนนำของฝ่ายกบฏที่รัฐบาลยังคงถือว่าเป็นนักโทษการเมืองอุฉกรรจ์ ก็ให้คุมขังไว้ในแดนหก ของบางขวางตามเดิม รัฐบาลที่มีรากเหง้ามาจากคณะราษฏร์สายทหารไม่ว่าใครจะแย่งชิงมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ก็ยังเห็นว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการแย่งชิงพระราชอำนาจมาเป็นของตนเป็นศัตรูตลอดกาล ควรต้องขังไว้จนตาย
ดังนั้น เมื่อหลวงพิบูลสงครามได้ขึ้นมาเป็นนายกรํฐมนตรีในปี๒๔๘๑ และมีแผนการณ์ที่จะกำจัดศตรูทางการเมืองอีกชุดใหญ่ซึ่งชุดนี้จะเป็นชุดที่เคยก่อการปฏิวัติ๒๔๗๕มาด้วยกัน แต่บัดนั้นความเห็นไม่ตรงกันจึงสมควรจะต้องบรรลัยลงไปกันข้างหนึ่ง แต่การที่จะเอากลุ่มบุคคลสองพวกไปขังไว้ที่เดียวกันในแดนหกนั้น ไม่น่าจะเป็นการดี ลูกน้องหลวงพิบูลจึงเสนอให้จัดการย้ายพวกนักโทษชุดเดิมซึ่งเป็นพวกสีน้ำเงินแท้ไปปล่อยเกาะตะรุเตาเสียร้อยกว่าคน และจัดแดนหกไว้รอต้อนรับพวกอดีตผู้ก่อการสายที่ไม่เชื่องต่อหลวงพิบูลแทน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|