Kris
อสุรผัด

ตอบ: 14
|
ความคิดเห็นที่ 150 เมื่อ 17 ธ.ค. 09, 10:45
|
|
โอ้ โพสต์ชนกันกับคุณ NAVARAT C.
ขอเรียนสวัสดีเสียตรงนี้เลย และขออภัยที่โพสต์นอกประเด็นไปซักนิด แค่รู้สึกสลดเล็กๆ เมื่ออ่านเนื้อหากระทู้ได้ซักพัก ขออนุญาตปลดความรู้สึกเสียเล็กน้อย
หวังว่าคงไม่นอกประเด็นจนเกินไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 151 เมื่อ 17 ธ.ค. 09, 15:38
|
|
ขอบคุณคุณKrisครับ ผมขออนุญาตเดินเรื่องต่อ
การผูกเรื่องร้อยโยงเหยื่อเข้าด้วยกัน ก็ต้องมีพยานเอกสาร วันที่สันติบาลไปค้นบ้านพระยาอุดมนั้น ได้อะไรต่อมิอะไรไปชุดใหญ่โดยให้พระยาอุดมรับรองว่าเป็นเอกสารที่ค้นมาได้จากบ้านของตน นอกจากจดหมายฝากงานจ่าแม้นแล้ว มีอีกฉบับหนึ่งที่คอขาดบาดตายมาก เป็นจดหมายของพระสิทธิเรืองเดชพลเขียนถึงพระยาอุดมที่พระยาอุดมปฏิเสธว่าไม่เคยเห็นมาก่อนและไม่ทราบจริงๆว่าจดหมายนี้มาอยู่ในตู้เอกสารของตนได้อย่างไร ส่วนพระสิทธิ์นั้น ได้เห็นในศาลก็งงเป็นไก่ตาแตกว่า จดหมายฉบับนั้นเหมือนลายมือของตนมาก แต่ตนไม่ได้เขียนจดหมายฉบับนั้นไปถึงพระยาอุดม
ผมขอคัดที่ม.ร.ว. นิมิตรมงคล นวรัตนเขียนไว้ในหนังสือชีวิตแห่งการกบฏสองครั้งกล่าวถึงเรื่องนี้มาลงทั้งหมดใจความ หากผมเขียนเองก็จะไม่ชัดเจนและกินใจเท่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 152 เมื่อ 17 ธ.ค. 09, 15:39
|
|
2
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 153 เมื่อ 17 ธ.ค. 09, 15:50
|
|
คดีนี้ สันติบาลสามารถหาญาติของนายพุ่ม ทับสายทองมือปืนที่ยิงกระโหลกหลวงพิบูลจนเป็นรอยได้หลายคน และนำมาให้การกล่าวหาคนโน้นคนนี้ตามบทที่สันติบาลเสกสร้างให้ น่าประหลาดที่ไม่ยักนำนายพุ่มออกจากคุกมาชี้ตัวจำเลยลงไปให้ชัดๆว่าใครจ้างตน
อนึ่ง ผมหาหลักฐานไม่ได้ และไม่เคยอ่านเจอว่านายพุ่มได้พ้นโทษออกจากคุกโดยอาการครบ32ดีหรือไม่ เมื่อไหร่ ออกมาแล้วไปทำอะไร คือแกหายจ้อยจากหน้าประวัติศาสตร์ไปในทันทีที่ศาลพิพากษาให้ติดคุก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 154 เมื่อ 17 ธ.ค. 09, 15:51
|
|
ต่อ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 155 เมื่อ 17 ธ.ค. 09, 15:52
|
|
ต่อครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 156 เมื่อ 17 ธ.ค. 09, 15:55
|
|
พระสิทธิ์เป็นพระเอกในระหว่างการให้การในศาล แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องเศร้าที่พระเอกแพ้เหล่าร้าย ต้องตายตอนจบ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 157 เมื่อ 17 ธ.ค. 09, 16:04
|
|
ผมคงยุติเรื่องของศาลพิเศษเพียงเท่านี้ และขอเว้นวรรคสักนิดก่อนจะนำท่านติดตามม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตนไปสู่เกาะเต่า แดนประหารแบบธรรมชาติที่รัฐบาลจัดให้นักการเมืองฝ่ายตรงข้ามและบุคคลที่ไม่น่าไว้วางใจว่าจะเป็นศัตรูของตนหรือไม่ ไปอยู่ที่นั่นจนกว่าตายไปเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 158 เมื่อ 21 ธ.ค. 09, 07:32
|
|
เพื่อความสมบูรณ์ทางประวัติศาสตร์ ผมขออนุญาตอีกสักนิดเพื่อนำความเห็นของผู้มีมุมมองอีกด้านหนึ่งมาลงไว้ในรูปแบบสำเนาถ่ายจากต้นฉบับ เพื่อป้องกันข้อสงสัยว่าผมจะแปลงสารของเขาหรือไม่ เป็นบางตอนจากเรื่อง “จอมพลป. พิบูลสงคราม” โดย อ. พิบูลสงคราม โรงพิมพ์มนตรี 2518
การแบ่งฝ่าย โดยการเรียกขานว่าเป็นการต่อสู้ระหว่างฝ่ายขุนนางในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชกับฝ่ายผู้ก่อการ ช่างคล้ายๆกับทุกวันนี้ที่เราได้ยินได้ฟังเขาจัดคู่ว่าเป็นฝ่ายอำมาตย์กับฝ่ายประชาธิปไตย รู้สึกหม่างๆชอบกล ในอดีตเป็นความขัดแย้งแบ่งฝ่ายระหว่างผู้ก่อการกันเอง และไปโยงเป็นฝ่ายเจ้ากับฝ่ายไม่ใช่เจ้าก็ทีนึงแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 159 เมื่อ 21 ธ.ค. 09, 07:34
|
|
1
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 160 เมื่อ 21 ธ.ค. 09, 07:39
|
|
การแอบอ้างพระราชกระแสร์ทั้งที่ตนเองกระทำลงไปในฐานะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินภายใต้อำนาจของผู้ก่อการ ด้วยการตอบฎีกาขอชีวิตของนักโทษประหารในวันรุ่งขึ้นเท่านั้น ก็เป็นความหมองมัวในหัวใจของราษฎรไทยอีกเรื่องหนึ่ง อะไรที่จะเป็นประโยชน์แก่ตนแล้ว คนพวกนี้จะไม่ลังเลที่จะดึงพระองค์ลงมาเกี่ยวข้องด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 161 เมื่อ 21 ธ.ค. 09, 07:40
|
|
ต่อ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 162 เมื่อ 21 ธ.ค. 09, 07:42
|
|
ตกลงแล้ว หลวงอดุล ผู้บงการแห่งสันติบาล หรือหลวงพิบูล นายกรัฐมนตรี ใครมีส่วนต้องรับผิดชอบผลงานของศาลพิเศษมากกว่ากัน?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 163 เมื่อ 21 ธ.ค. 09, 07:48
|
|
ตกลงแล้ว "ยุคทมิฬ" ในมุมมองฝ่ายนี้ก็คือ ยุคที่หลวงพิบูลถูกยิงแบบเผาขน2ครั้ง แต่รอดมาอย่างปาฏิหารย์ และโดนยาพิษต้องไปล้างท้อง1ครั้งนั่นเอง เอวัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 164 เมื่อ 21 ธ.ค. 09, 10:00
|
|
ม.ร.ว.นิมิตรมงคลถูกส่งไปจองจำอยู่ที่บางขวางพร้อมกับนักโทษทั้งหลายในคดีนี้ซึ่ง18 คนได้ถูกประหารไป ที่เหลืออยู่ก็ไม่ทราบชะตากรรมว่าจะต้องทนทุกข์อีกสักกี่ปีกี่เดือนกับโทษจำคุกตลอดชีวิตนั้น หลายคนที่สุขภาพไม่ดีอยู่แล้วก็สิ้นอายุขัยลงในคุก แต่ยังมีสิ่งที่ดีบังเกิดแด่ม.ร.ว.นิมิตรมงคลอยู่บ้างก็ด้วยว่าเสด็จในกรมท่านทรงประทานพระเมตตาเสมือนพระองค์ทรงเป็นบิดาและม.ร.ว.นิมิตรมงคลก็ถือว่าตนเสมือนเป็นบุตร อย่างไรก็ดี นั่นก็เป็นเพียงช่วงสั้นๆสักปีเดียว เมื่อพัศดีเข้าตรวจค้นห้องขังของนักโทษวันหนึ่ง ได้ยึดเอาต้นฉบับตำราสอนภาษาอังกฤษที่ม.ร.ว.นิมิตรมงคลแต่งขึ้น และแอบเขียนนวนิยายการเมืองเรื่องหนึ่งเป็นภาษาอังกฤษให้ชื่อว่า “ The Dream of An Idealist” ปะปนลงไปด้วย เมื่อรายงานขึ้นไปแล้ว ผู้มีอำนาจเห็นว่ายังไม่เข็ดหลาบ จึงให้ลงโทษหนักด้วยการเนรเทศไปจองจำที่เกาะเต่า พร้อมนักโทษอีกคนหนึ่งคือ ดร. โชติ คุ้มพันธ์ ดุษฎีบัณฑิตจากเยอรมันที่อยู่เฉยๆโดยไม่ขีดไม่เขียนไม่ได้เช่นกัน
ภาพข้างล่างเป็นตัวอย่างต้นฉบับตำราสอนภาษาอังกฤษที่ม.ร.ว.นิมิตรมงคลเขียนลายมือด้วยดินสอลงในสมุดแบบฝึกหัดที่นักเรียนใช้กัน ในคุกนั้นม.ร.ว.นิมิตรมงคลได้ใช้ทดลองสอนผู้ที่ต้องขังร่วมกัน แต่เล่มนี้คงเขียนขึ้นมาใหม่ในชั้นหลัง โปรดสังเกตุภาษาอังกฤษของผู้ที่จบโรงเรียนนายร้อยไม่เคยไปเรียนต่อเมืองนอกเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|