Bhanumet
ชมพูพาน
  
ตอบ: 199
Sleeping Red Lion
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 18 พ.ย. 09, 19:16
|
|
ขอบพระคุณ คุณเทาชมพู และคุณ NAVARAT.C มากครับ รออ่านด้วยใจจดจ่อนะครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 18 พ.ย. 09, 19:36
|
|
สิ่งที่ยากที่สุดในการวิจารณ์ คือคุณชายนิมิตรมงคล ได้บรรยายรายละเอียดและความรู้สึกนึกคิดเอาไว้ในตัวของรุ้ง อย่างละเอียดลออ จนคนอ่านหลับตาวาดภาพตัวละคร ก็เห็นหน้าผู้เขียนลอยขึ้นมา บางทีก็ทำให้หลงทางไปได้ ว่าสิ่งใดที่รุ้งเป็น ก็คือผู้ประพันธ์เป็น ทั้งๆรุ้งก็คือตัวของเขา มิใช่ตัวม.ร.ว.นิมิตรมงคล ในชื่อแฝง ดิฉันจะพยายามแยกข้อนี้ออกมาให้ได้ มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่า การวิจารณ์นวนิยาย กลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับวิจารณ์ชีวิตส่วนตัวของผู้ประพันธ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 18 พ.ย. 09, 20:29
|
|
รุ้งติดคุกอยู่จริงๆสักสี่ปีเศษ รัฐบาลก็เห็นว่านักโทษในคดีกบฏบวรเดชไม่มีฤทธิ์เดชอะไรอีกแล้ว ขังไว้ก็เปลืองข้าวหลวง แต่ก็ไม่ได้ให้อิสรภาพทีเดียว หากเอาตัวไปอบรมอยู่หลายเดือนก่อนจะปล่อย
ปัญหาใหญ่ของรุ้งกำลังติดตามมา เขาจะทำมาหาเลี้ยงชีพอะไร ในเมื่อรับราชการไม่ได้ ความรู้ทางชีววิทยาในสมัยนั้นก็ไม่มีบริษัทเอกชนที่ไหนประสงค์จะว่าจ้าง รุ้งจึงคิดที่จะเลือกอาชีพค้าขาย โดยยินดีจะไปเริ่มต้นฝึกหัดใหม่กับผู้ที่มีประสพการณ์
อีกเรื่องหนึ่งที่เคยหลอกหลอนเขาก็คือ ความรักที่รุ้งเคยมีกับสมส่วน สาวแสนสวยที่เคยสาบานรักกันในอุโบสถวัดพระแก้ว แต่เมื่อเขาต้องโทษ สมส่วนไม่คิดว่าจริงๆแล้วเขาจะติดคุกเพียงสี่ปี ก็สลัดรักเขาทันที เพราะ “สตรีเป็นเพศที่มีความคิดธรรมดา Common Sense ดีกว่าบุรุษ หากสตรีโง่เหมือนบุรุษผู้ฝ่าฝืนอุปสรรคแห่งชีวิตเพื่อรักษาเกียรติยศ ประพฤติความซื่อ ถือวาจาสัตย์ และปฏิบัติบำเพ็ญความโง่เง่าอื่นๆ ชาติมนุษย์อาจสูญสิ้น หรืออย่างน้อยต้องเสื่อมทรามลงกว่านี้….. สตรีจำเป็นต้องฉลาดพอที่จะรู้ว่าเกียรติยศเกียรติศักดิ์และคำมั่นสัญญาต่างๆ เป็นเพียงสิ่งที่ควรสลัดทิ้งเสียทันทีในเมื่อเกิดปัญหาในการดำรงชีพ เมื่อเวลาเอาจริงเอาจังกันแล้ว สิ่งอื่นจะมาสำคัญกว่าชีวิตตนมิได้ ทั้งนี้เพราะว่ามนุษย์จะสืบชาติกันต่อๆไปได้ก็ด้วยอาศัยครรภ์ของสตรี”
เมื่อคิดได้ดังนี้ รุ้งก็ให้อภัยสมส่วน
โอ้โห ท่านผู้อ่านเข้าใจไหมครับ บุรุษสมัยก่อนเขาคิดเขาปฏิบัติกันอย่างไร จะมีสักกี่มากน้อยที่คนสมัยนี้ที่จะยอมฝ่าฝืนอุปสรรคแห่งชีวิตเพื่อรักษาเกียรติยศ ประพฤติความซื่อ ถือวาจาสัตย์ เห็นมีแต่ขายสำนึกดังกล่าวแลกกับเงินตัวเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 18 พ.ย. 09, 21:13
|
|
เมื่อรุ้งถูกจับแล้วต้องจำคุก รุ้งเขียนจดหมายถึงสมส่วน ขอปลดปล่อยเธอจากพันธสัญญา
สมส่วนตอบจดหมายว่า ชาตินี้จะไม่ขอรักใครอีก จะคอยเวลาที่เขาจะพ้นโทษ เธอไม่เห็นว่าใครจะประเสริฐไปกว่ารุ้ง
นักโทษชายชื่นใจ
อีกหกเดือนต่อมา สมส่วนขอบคุณถึงการที่รุ้งขอปลดปล่อยเธอจากสัญญารัก เธอได้พบคนอื่นเสียแล้ว
หลายปีต่อมาเมื่อรุ้งไปเยี่ยมสมส่วนที่ป่วยหนัก
"เขาได้นึกถึงสมส่วนเหมือนกับคนไข้คนหนึ่งที่เขาไม่เคยรู้จัก หรือรู้จักเพียงห่าง ๆ รุ้งได้ร้องไห้เมื่อแรกรู้ว่าสมส่วนป่วยหนัก แล้วเขาหักใจว่าน้ำตาของเขาไม่ควรเสียให้แก่สตรีที่หาความสัตย์มิได้ เขามาเยี่ยมสมส่วนพอเป็นพิธี แต่ครั้นมาถึงตัวสมส่วนแล้ว เหตุผลและความตั้งใจอันเป็นผลิตผลของมันสมอง ได้พ่ายแพ้แก่ความรู้สึกของหัวใจอย่างราบคาบ
"น้องรักของพี่ํ เขาพูดเป็นเสียงสะอื้น "พี่อยากจะเอาชีวิตของพี่มาแลกกับชีวิตของเธอ รู้ไหมว่าเธอเป็นดวงใจของพี่..."
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 18 พ.ย. 09, 22:10
|
|
ชีวิตนักโทษระหว่างการอบรมเหมือนนักเรียนประจำที่มาอยู่กินใต้ถุนกระทรวงกลาโหม วันสุดสัปดาห์ก็กลับบ้านได้ รุ้งต้องอาศัยบ้านน้าสะอาดที่รักเขาเหมือนลูก แต่สัปดาห์นี้เขาจะไปเป็นแขกพิเศษของบ้านหลานหลวงที่สมส่วนนอนเจ็บอยู่ด้วยอาการของวัณโรคขั้นสุดท้าย
เมื่อสมศักดิ์พี่ชายและสมทรงน้องสาวมาเยี่ยมรุ้งเพื่อแจ้งว่าสมส่วนขอร้องให้มาเชิญรุ้งไปเยี่ยมเพื่อสมส่วนจะได้มีโอกาสขอโทษรุ้งเป็นครั้งสุดท้ายที่สลัดรักรุ้งไปมีคู่ใหม่ ที่ถอนหมั้นทิ้งไปอย่างไม่ใยดีเมื่อรู้ว่าสมส่วนเป็นวัณโรค ซึ่งสมัยนั้นเชื่อว่าไม่มีทางรักษาให้หายได้ ต้องตายภายในระยะเวลารวดเร็ว รุ้งก็คิดว่าจะไปเพื่อให้มันจบๆเรื่องกันไปเสียที
“ เราจะเชื่อถืออะไรกับผู้ชาย เขาเป็นเพศที่รักด้วยสมอง เราสิรักด้วยหัวใจ…….ถ้าผู้หญิงเป็นวัณโรค ผู้ชายก็หมดรัก แต่ถ้าผู้ชายเป็นวัณโรค ผู้หญิงยิ่งรักมากเพราะเกิดความสงสารเพิ่มขึ้น…….”
สองสาวลุ้นกันระหว่างรอคอยการมาของรุ้ง รุ้งจะเป็นคนประเภทไหนหนอ?
รุ้งผู้เคยร้องไห้ และหักใจว่าน้ำตาของเขาไม่ควรเสียให้แก่สตรีที่หาความสัตย์มิได้ เขาจะมาเยี่ยมสมส่วนพอเป็นพิธี แต่ครั้นมาถึงตัวสมส่วนแล้ว เหตุผลและความตกลงใจอันเป็นผลิตผลของสมอง ได้พ่ายแพ้ความรู้สึกของหัวใจอย่างราบคาบ
มิใช่แต่กิริยาวาจาที่แสดงว่าเขาได้ยกโทษให้สมส่วนแล้ว ในที่สุด เพื่อให้เธอตระหนักว่าเขาหมายความเช่นนั้นจริงๆ เขาจะกระทำตามสิ่งที่เธอขอร้อง “ไม่ค่ะ ไม่ใช่ที่ปาก ที่หน้าผากเถอะค่ะ เขาว่ากันว่าฉันเป็นวัณโรค พี่ก็ทราบอยู่แล้ว” “จะเป็นอะไรไป” เขาจุมพิศที่ริมฝีปากเธออย่างรักใคร่ เขาเคยยับยั้งที่จะจูบเธอเมื่อริมฝีปากเธอเป็นสีแดงสดเหมือนกลีบกุหลาบ ซึ่งน่าจะมีรสอร่อย และหวานชุ่มเหมือนน้ำผึ้ง แต่เขาไม่ยับยั้งเมื่อถูกเตือนให้ตื่นภัยจากโรค และเมื่อกุหลาบสดแห่งริมฝีปากได้กลายเป็นกุหลาบแห้งสิ้นสวย สิ้นกลิ่น สิ้นหวาน
ความรักของรุ้งมีลักษณะอย่างที่กวีชอบหยิบยกมารำพัน
Love is not love. Which alters when it alteration finds, Or bends with the remover to remove, O no, it is an ever fixed mark! That looks on tempests, and is never shaken:
คุณชายนิมิตรมงคลแปลเชคสเปียร์ท่อนนี้ไว้ว่า
รักที่มิใช่แท้ ก็ปรวนแปรเมื่อเกิดการ เปลี่ยนแปลง หรือร้าวราน เมื่อกระทบกระเทือนถึง อ๋อ แน่ รักแท้เป็น ที่หมายเช่นถูกตอกตรึง ฟันฝ่าพายุซึ่ง ร้ายแรงได้ ไม่โคลงคลอน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 18 พ.ย. 09, 22:58
|
|
พิธีพระราชทานอภัยโทษที่กระทรวงกลาโหม วันที่ ๑๕ เมษายน
การอ่านพระราชกฤษฎีอภัยโทษได้กระทำในเวลาอันต่อเนื่องกัน ครั้นแล้วก็ถึงเวลาที่ท่านรัฐมนตรีกลาโหมจะให้โอวาท
"การพูดกับท่านทั้งหลายคราวนี้ข้าพเจ้าไม่ได้เตรียมตัวมาเลย" ท่านเริ่มต้น
"แต่มิใช่เพราะไม่รู้ตัวล่วงหน้า แต่เป็นความตั้งใจของข้าพเจ้าที่จะมาพูดกับท่านอย่างจริงใจ คิดอย่างไรก็พูดอย่างนั้น ความจริงใจของข้าพเจ้าก็คือข้าพเจ้านึกถึงพวกท่านอยู่เสมอ เมื่อเห็นหน้าบุตรภรรยาคราวใด ก็อดนึกมิได้ว่า ท่านคงคิดถึงบุตรภรรยาของท่าน และบิดามารดาของท่านก็คงคิดถึงท่าน
ข้าพเจ้าจึงตั้งใจช่วยเหลือให่ท่านได้รับอิสรภาพ และเดี๋ยวนี้ก็เป็นผลสำเร็จแล้ว"
ในหมู่พวกท่านก็มีเพื่อนของข้าพเจ้าหลายคน" พลางท่านกวาดสายตาดูผู้รับอภัยโทษ
"แม้แต่ที่นั่งอยู่ในที่นี้ อย่างน้อยก็มีสองหรือสามคน ที่คุ้นเคยกับข้าพเจ้ามาก่อน"
รุ้งเหลียวไปข้างหลัง เพราะเขานั่งอยู่ที่โต๊ะในแถวหน้า เขาเห็นเพื่อนร่วมทุกข์ของเขาหลายคน ซึ่งส่วนมากเป็นนายทหารกำลังยืดตัวขึ้นให้เห็นเด่นและยิ้มกับท่านรัฐมนตรี
"นอกจากความเห็นใจในทางส่วนตัว" ท่านรัฐมนตรีกล่าวต่อไป "ก็ยังมีเหตุอื่นอีกที่ทำให้พวกท่าน จะต้องอยู่ในความทรงจำของข้าพเจ้าไปช้านานอาจจะเป็นตลอดชีวิต การรบที่บางเขน เป็นสิ่งที่ทำให้ข้าพเจ้าลืมพวกท่านไปไม่ได้
ครั้งนั้นเราได้ใช้ความสามารถของเราในการรบกันอย่างทรหด มันเป็นเหตุการณ์สำคัญครั้งงหนึ่งในประวัติศาสตร์ ซึ่งจะจารึกลงไว้ว่าที่สนามรบทุ่งบางเขนครั้งนั้น ได้มีการรบกันด้วยอาวุธสมัยใหม่และยุทธวิธีสมัยใหม่เป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์ชาติไทย"
รุ้งหงายหลังไปพิงพนักเก้าอี้ รู้สึกเสียดายว่าคำพูดของท่านรัฐมนตรีในตอนหลังนี้มีผลตรงกันข้าม กับข้อความในตอนต้น น่าประหลาดที่ท่านพูดถ้อยคำในทางผูกมิตรขึ้นแล้วก็พูดถ้อยคำเชิงทำลาย เสียทันที
"ใครบ้างหนอ" รุ้งสงสัย "ที่อยากถูกจำได้เพราะเหตุเป็นคู่ต่อสู้กับท่านที่บางเขน" เมื่อรุ้งชำเลืองไปข้างหลังก็เห็นสหายร่วมทุกข์ของเขาหดตัวลงไปในเก้าอี้ สีหน้ายิ้มแย้มเปลี่ยนไปแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 18 พ.ย. 09, 23:34
|
|
ขออภัยคุณ NAVARAT. C ถ้าการโพสเรื่องจะซำ้กับตอนที่ต้องการจะเล่า
ยังไม่สามารถออกความเห็นอะไรได้ในตอนนี้ นอกจากพระเอกจับมือหญิงสาวตอนไปดูหนังทาร์ซาน แสดงโดยจอนนี ไวส์มุลเลอร์ที่เฉลิมกรุง รุ้งคงดูหนังไม่ค่อยจะรู้เรื่องตอนนั้น
ได้ถามสหายสามสี่คนที่เป็นที่ปรึกษาของชมรมนักอ่านเล็ก ๆ ชมรมหนึ่งว่า ใครอ่าน "ความฝันของนักอุดมคติ" กันบ้าง
ท่านผู้อำนวยการโดนถามประมาณสามครั้งภายในอาทิตย์นี้ ตอบว่า ก็อ่านกันทุกคนนี่
ไปถามดีลเล่อร์ขายหนังสือคนหนึ่ง ได้คำตอบเดิมว่า ยังอ่านกันอยู่ พิมพ์ตั้งหลายครั้งแล้วนะ ว่าแล้วก็เล่าประวัติการพิมพ์ให้ฟัง
ถามเจ้าของร้านขายหนังสือมือสองทางเว็บผู้มากไมตรี(มีแพรดำให้ดิฉันยืมอ่าน) เขาตอบว่า น่าภูมิใจมากที่ได้แปลเป็นภาษาต่างประเทศ
ท่านผู้อำนวยการติดต่อกลับมาว่า ที่หนังสือได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในร้อย ก็เพราะดูกันที่ว่า มีอิทธิพลในเวลาที่หนังสือเล่มนั้นออกมา มีความเคลื่อนไหวที่กระตุ้นการอ่าน มีมิติทางสังคม อย่าลืมอ่าน ชีวิตแห่งการกบฏสองครั้งนะ ท่านว่า
ถามมิตรทั้งปวงว่า ทำไม พัทยา ไม่มีพิมพ์ใหม่ ได้คำตอบมาว่า มีคนอยากพิมพ์อยู่ แต่ตอนนั้นไม่ทราบกันแน่ชัดว่า ดาวหางคือใคร
ได้ยื่นหน้าไปคุยกับนักแปลสตรีผู้หนึ่ง เรื่อง รอยร้าวของมรกต เธอเล่าว่าจำได้และได้เรียนเรื่องนี้ด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 19 พ.ย. 09, 07:08
|
|
มิเป็นไรมิได้ครับคุณวันดี เป็นพระคุณด้วยซ้ำ ผมกำลังมึนๆอยูพอดีนี่กำลังอยู่ในห้องประวัติศาสตร์ แต่ผมกลับเขียนเข้าทางวรรณคดี
หนังสือ"ความฝันของนักอุดมคติ"นั้น คนสมัย๑๔ตุลาจะรู้จักกันในชื่อว่า"เมืองนิมิตร" ตอนนั้นออกมาควบกับ"ชีวิตแห่งการกบฏสองครั้ง"อันเป็นเรื่องจริงของนักอุดมคติ สองเรื่องนี้ อ่านควบกันเมื่อไหร่ ก็โดนใจทุกคนไป นิสิตนักศึกษาตอนนั้นมีอุดมคติในการเคลื่อนไหวข้ามเส้นไฟแดงทางการเมือง พุ่งเป้าไปที่การขอรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการทหารของถนอมประภาสก่อน แล้วก็เลยเถิดไปจนเกิดการเดินขบวนครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์เพื่อขับไล่รัฐบาลนั้นไปเสียเลย
บรรดาแกนนำของปัญญาชนในยุคนั้น ไม่มีใครไม่เคยเห็นหนังสือเล่มนี้ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 19 พ.ย. 09, 08:35
|
|
สิ่งที่ยากที่สุดในการวิจารณ์ คือคุณชายนิมิตรมงคล ได้บรรยายรายละเอียดและความรู้สึกนึกคิดเอาไว้ในตัวของรุ้ง อย่างละเอียดลออ จนคนอ่านหลับตาวาดภาพตัวละคร ก็เห็นหน้าผู้เขียนลอยขึ้นมา คุณหญิงบรรจบพันธุ์ นวรัตน ณ อยุธยา คู่ชีวิตของคุณชายนิมิตรมงคล มีความคิดเช่นเดียวกันนี้ ในคำอภิวันทนาการ (ในการพิมพ์ครั้งที่สาม) พ.ศ. ๒๔๙๔ คุณหญิงได้ให้ความเห็นไว้ว่า หนังสือเรื่องนี้เกือบจะนับได้ว่าเป็นอัตชีวประวัติของผู้เขียนเอง ว่าโดยจิตใจ "รุ้ง" ก็คือ ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน คำสารภาพใด ๆ ที่ "รุ้ง" กล่าวก็เกือบจะนับว่าเป็นคำกล่าวของผู้เขียนเองทั้งสิ้น
"...รัฐบาลไม่ช้าก็เปลี่ยนไป และตัวกันเองไม่ช้าก็ตาย แต่หนังสือของกันจะยังอยู่เป็นเข็มทิศชี้ทางเดินแห่งชีวิตอนุชน...นั่นเป็นหน้าที่ของกัน นั่นเป็นเหตุผลที่กันได้เขียนหนังสือเล่มนี้...."

|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 19 พ.ย. 09, 09:17
|
|
ที่คุณเพ็ญชมพูเขียนมานั้นก็คือหัวใจของหนังสือเล่มนี้
ไม่ทราบว่าคุณเพ็ญได้อ่าน ลิลิตเทวราชพิศภาพบนลานอโศก ตีพิมพ์ครั้งแรก ในหนังสืออนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพ ร.ท. ม.ร.ว. นิมิตรมงคล นวรัตน์ ๒๔๙๑ หรือไม่
กลอนสุภาพ ที่ ม.ล. ชัยนิมิตร นวรัตน ตั้งชื่อว่า "คำสารภาพ" น่าอ่านมาก ท่านค้นพบมรดกที่อยู่ในกล่องสังกะสีใส่ขนมปังกรอบ มีเอกสารเป็นสมุดและร้อยกรองหลายฉบับ
คุณหญิงบรรจบพันธุ์ เล่าให้ลูกชายฟังเสมอว่า "ตัวตนของพ่อที่แม่เห็นนั้นไม่ใช่นักการเมือง ไม่ใช่ทหาร แต่เป็นกวี"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 19 พ.ย. 09, 09:35
|
|
ตามชื่อกระทู้นี้ ม.ร.ว. นิมิตรมงคล นวรัตน : ชีวิตและงาน เนื้อหาที่จะมาพูดคุยกันคงเป็น ๒ เรื่อง เรื่องแรกคือ ชีวิต และเรื่องที่สองคือ งาน
ข้างต้นที่พูดคุยกันคือ งาน โดยเฉพาะเรื่องหนังสือที่สำคัญ ๒ เล่มคือ ความฝันของนักอุดมคติและชีวิตแห่งการกบฏสองครั้ง เล่มแรกเนื้อหาบางส่วนทาบทับบนอัตชีวประวัติของผู้เขียนเอง ส่วนเล่มที่สองคือช่วงวิกฤตที่สุดแห่งชีวิตของท่าน
# ๒๓ ได้เปิดตัวคู่ชีวิตของ ม.ร.ว. นิมิตรมงคล นวรัตน จึงขออนุญาตกล่าวถึงในส่วนชีวิตครอบครัวของท่าน
คุณหญิงบรรจบพันธุ์ ได้เล่าไว้ในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ ม.ร.ว. นิมิตรมงคล นวรัตน
เมื่อฉากของการแสดงชีวิตเป็นนักการเมืองด้วยความจำเป็นจบลงแล้ว คุณชายก็มีความตั้งใจอย่างเด็ดเดี่ยวที่จะตั้งสำนักพิมพ์หนังสือที่ตนได้เขียน ๆ เอาไว้เองแทนการขายลิขสิทธิ์เช่นก่อน ๆ และในระยะนี้เองที่เธอได้มีโอกาสรู้จักกับข้าพเจ้า และเราต่างไม่รู้ตัวว่า บันไดรักของเราเริ่มก่อร่างตั้งฐานขึ้นแล้ว
แน่ทีเดียว ที่เธอคิดว่าเราคงจะได้เคยร่วมชีวิตกันในภพก่อน ๆ ฉะนั้นในชาตินี้ข้าพเจ้าเองจึงมองเห็นว่า เธอเป็นคนดีและคนเดียวที่ข้าพเจ้ารัก ถึงแม้ว่าสมัยนี้เขาจะวัดความดีความเก่งกันด้วยเงินตรา แต่ข้าพเจ้าก็เชื่อว่าคุณชายของข้าพเจ้ามีบางสิ่งบางอย่างในตัวเธอซึ่งไม่อาจซื้อได้ด้วยเงินตรา
เมื่อชีวิตรักเริ่มก่อรูปร่างขึ้นเช่นนี้ ความทะเยอทะยานในสิ่งทั้งหลายแหล่ค่อยหมดไป คุณชายพูดกับข้าพเจ้าว่า ชีวิตของเธอต่อแต่นี้ไปจะสำเร็จได้ก็ด้วยเหตุและผลสองประการ
ประการที่หนึ่ง คือการได้แต่งงานกับข้าพเจ้า และมีลูกเพียงคนเดียวเพื่อเป็นเลือดเนื้อของเธอ กับประการที่สอง ก็คือการที่จะต้องจัดพิมพ์หนังสือความฝันของนักอุดมคติให้ได้
หลังจากชีวิตแต่งงานของเราผ่านไปได้ ๗ เดือนกว่า คุณชายก็ได้จากข้าพเจ้าไปโดยกระทันหัน ทิ้งลูกชายน้อย-ชัยนิมิตร-ไว้ให้ข้าพเจ้าเป็นตัวแทน ซึ่งแม้แต่พ่อของเขาเองก็ไม่มีโอกาสได้เห็นชมเชยลูก เพราะเธอสิ้นไปก่อนลูกเกิดเพียง ๔๕ วัน คือในวันอาทิตย์ที่ ๑๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๑ สิริรวมอายุได้ ๓๙ ปี ๑๑ เดือน ๒๐ วัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 19 พ.ย. 09, 09:48
|
|
ทั้ง ลิลิตเทวราชพิศภาพบนลานอโศก และ คำสารภาพ อยู่ในหนังสือที่แสดงไว้ใน # ๒ คุณนวรัตนน่าจะให้ความเห็นเพิ่มเติมได้ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 19 พ.ย. 09, 10:03
|
|
ถามคุณเพ็ญชมพู และคุณวันดี
ถ้าอย่างนั้น เราจะถือว่า ชีวิตรักของรุ้ง คือชีวิตรักจริงๆของผู้ประพันธ์ด้วยหรือคะ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 19 พ.ย. 09, 10:09
|
|
จรรโลงใจค่ะ คุณเทาชมพู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 19 พ.ย. 09, 10:34
|
|
ดิฉันอ่านว่าผู้ประพันธ์มีความละเอียดอ่อนในความรัก
อ่านแล้วสุขใจค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|