เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 74717 ม.ร.ว. นิมิตรมงคล นวรัตน : ชีวิตและงาน
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 06 ธ.ค. 09, 08:19

ผมอยากให้ผู้อ่านให้เวลาสักเล็กน้อยที่จะอ่านพยานเอกสารชิ้นหนึ่ง ผมขอนำเสนอเป็นตัวอย่าง จะไม่เอาเอกสารประเภทนี้มาลงให้เปลืองสมองอีกแล้วในตอนต่อๆไปเพราะร้อยเนื้อทำนองเดียว เพื่อให้ผู้อ่านเรื่องที่ผมเขียนนี้ได้เข้าใจขบวนการทำงานของศาลพิเศษ อันประกอบด้วย ตำรวจสันติบาลของหลวงอดุลเดชจรัส อัยการ และคณะผู้พิพากษาของพันเอกมังกร พรหมโยธี จะได้ตอบความสงสัยว่าผมมีอคติเกินเหตุหรือไม่

พยานเอกสารชิ้นนี้คือจดหมายของนายประดิษฐ์ วรสูตร์ที่ศาลนำมาอ่านในสำนวนพิพากษาทุกสิ้นกระบวนความดูประหนึ่งว่าเป็นหลักฐานอันสำคัญยิ่ง ปรากฏว่าเป็นจดหมายฉบับหนึ่งที่ตำรวจค้นได้ที่บ้านและยึดเป็นของกลาง ส่งทางไปรณีย์ส่งจากหัวคะแนนรายหนึ่งมาถึงณเณรเพื่อจะขอเงิน ไม่ทราบว่าณเณรจะรู้จักนายคนนี้ดีเกินไปหรือน้อยเกินไป จึงไม่ได้ให้ เมื่อตำรวจตามรอยจดหมายไปเอาตัวนายประดิษฐ์มาสอบสวนหรือใช้อะไรล่อก็ไม่ทราบได้ นายประดิษฐ์ก็เลยมาให้การปรักปรำณเณร

ศาล ผู้พร้อมจะเชื่อบุคคลประเภทนี้อยู่แล้วก็ลงความเห็นว่าเกี่ยวข้องในการที่จะร่วมมือกันล้มล้างรัฐบาลเปลี่ยนแปลงการปกครอง อะไรเป็นอย่างไรเชิญอ่านดูเอง รับรองยิ่งกว่านิยาย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 06 ธ.ค. 09, 08:20

2


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 06 ธ.ค. 09, 08:21

3


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 06 ธ.ค. 09, 08:28

4


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 06 ธ.ค. 09, 08:30

5


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 06 ธ.ค. 09, 11:25

ผมขอจบเรื่องของลูกผู้ชายชื่อ ณเณร ตาละลักษณ์ จากหนังสือเล่มนี้ครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 06 ธ.ค. 09, 11:41

การประหาร เจ้าหน้าที่ราชทัณท์ได้จัดการยิงเป้าวันละ6คน วันนี้เป็นนายทหาร4คน นอกจากณเณรแล้ว อีก3คนเป็นนายทหารหนุ่มๆลูกศิษย์พระยาทรง นอกนั้นคนหนึ่งเป็นทหารนอกราชการชื่อนายดาบพวง พลนาวี ผู้นี้เป็นพี่ภรรยาพระยาทรงจึงถูกหาเรื่องให้ออกจากงาน สายลับรายงานว่าขึ้นไปพบกับพี่เขยที่เชียงใหม่ ความจริงคือเพื่อไปของานทำ พระยาทรงนั้นได้ชื่อว่าเป็นคนตรงอย่างไม่ยอมเลี้ยวไม่ยอมงอคนหนึ่ง เรื่องจะเอาญาติพี่น้องเพื่อนฝูงมาเกี่ยวกับงานราชการนั้นไม่ทำ นายดาบพวงนอกจากจะผิดหวังที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆแล้ว กลับมายังถูกยัดข้อหากบฏและถูกตัดสินประหารชีวิตไปด้วย แต่แทนที่จะแค้นผู้กระทำ กลับแค้นพระยาทรง ก่นด่าน้องเขยตลอดเวลาที่ทำให้เขาเคราะห์ร้ายตลอดมาจนถึงชีวิต


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 06 ธ.ค. 09, 11:46

ณ เณรให้การในศาล ยอมรับว่าไม่ถูกกับพระยาเทพหัสดินเพราะเป็นคู่แข่งทางการเมืองในสนามเลือกตั้งเดียวกัน แต่ในวาระที่สุดของชีวิต เขาก้มลงกราบอดีตคู่แข่งของเขาที่หน้าห้องของท่านเพื่อลาไปตาย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 06 ธ.ค. 09, 11:55

ลี บุญตาผู้ปฏิเสธว่ามิได้มีผู้ใดจ้างวานให้ยิงหลวงพิบูลผู้เป็นนายใจดี ตนทำไปเพราะความเมาเท่านั้น ลีเป็นอีกคนหนึ่งที่จะโดนประหารในชุดนี้

ระหว่างอยู่ในคุกลี บุญตาเครียดมาก ไม่ยอมพูดกับใคร ถูกถามอะไรก็เดินหนี ไม่มีญาติโกโหติกามาเยี่ยมแม้แต่ครั้งเดียว อยู่ๆ ใกล้จะถึงวันที่ศาลพิพากษาโทษ ปรากฏว่าลี บุญตาได้รับเงินก้อนหนึ่ง ไม่มีใครทราบจำนวน เสื้อกางเกงสากลหนึ่งชุด เชิ๊ต2-3ตัว โสร่งไหมหนึ่งผืน จากผู้ไม่ปรากฏนาม ลี บุญตายินดีจนออกนอกหน้าและเผลอพลั้งปากมาว่า “ท่านจะมารับผมกลับบ้านแล้ว…”

อพิโธ่เอ๋ย ลีหารู้ไม่ว่า ท่านที่มารับกลับบ้านเก่าก็คือพญายมนั่นเอง ท่านที่ลีรอคอยคงไม่อยากเก็บลีเอาไว้เปิดโปงตนเองในวันข้างหน้า


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 06 ธ.ค. 09, 12:05

ลีถูกแยกออกไปขังในคุกอื่น เช้าวันนั้นเขาถูกเบิกตัวมาบางขวาง เห็นแดนประหารเข้าก็เข่าอ่อนร่ำไห้ ลีเผอิญจะต้องเข้าคู่สู่หลักประหารพร้อมกับณเณรเสียด้วย ข้อความที่ณเณรกับลีพูดโต้ตอบกันจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนอย่ากรู้ รวมถึงบรรดาพัศดีที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานในวันนั้นด้วย เรื่องราวเบื้องหลังการประหารจึงเป็นที่ร่ำลือเล่าขานกันทั่วไป คล้ายๆกับในสำนวนของพายัพ โรจนวิภาตนี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 06 ธ.ค. 09, 12:08

และนี่คือหน้าสุดท้ายแห่งชีวิตของร้อยโท ณเณร ตาละลักษณ์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 08 ธ.ค. 09, 10:22

ณ เณร ตาละลักษณ์ เวอร์ชั่นของคุณพายัพ โรจนวิภาต ช่างห้าวหาญยิ่งนัก ดูต่างจาก ณ เณร ในสายตาของ ม.ร.ว.นิมิตรมงคล อย่างสิ้นเชิง

จำเลยรู้สึกตัวว่าปราศจากความเห็นใจแล้วไม่มีทางรอดความผิด ดังนั้นเจ้าหนุ่ม ณ เณร จึงยกมือไหว้ศาลแทบทุกครั้งที่ถูกศาลซัก และเมื่ออัยการลุกขึ้นถามซักหรือถามติง เจ้าหนุ่ม ณ เณร ก็ยกมือไหว้อัยการเพื่อขอให้กรุณา โอกาสหนึ่ง ณ เณร กล่าวว่าตนเองเปรียบเหมือนคนไม่เป็นมวย แต่ต้องถูกบังคับให้มาชกกับแย็ก เดมเซย์ และคนทั้งหลายก็ฮากันขึ้น เห็นว่าเป็นตัวตลก เขารู้สึกสนุกจากความทุกข์ของ ณ เณร

พวกจำเลยที่โจทก์โจมตีรุนแรงเหล่านี้ มิใช่จะได้รับความเห็นใจจากพวกจำเลยด้วยกัน จะเห็นได้ว่าในโอกาสที่ ณ เณร ตั้งคำถามพลาดพลั้งซึ่งอาจเป็นภัยแก่ตนเอง พวกจำเลยก็ฮากันขึ้นพร้อมกับโจทก์ ความรู้สึกทั่ว ๆ ในพวกจำเลยมีว่า "ตัวใครตัวมัน" แม้ว่าน้ำใจจริงของเขา ๆ สงสาร ณ เณร แต่เขาจะต้องแสดงต่อศาลและต่ออัยการว่าเขาไม่มีความเกี่ยวข้องกับ ณ เณร กิริยาท่าทางของจำเลยอื่น ๆ ที่ไม่ได้ถูกพยานซัดทอดมาถึงตนจึงเป็นกิริยาประหนึ่งจะแขวนป้ายไว้ที่คอของตนให้ศาลและอัยการเห็นด้วยตัวอักษรขนาดโตว่า "โปรดอย่าเข้าใจว่าผมเป็นพวกเดียวกับ ณ เณร"

ตอนหนึ่งจาก ชีวิตแห่งการกบฏสองครั้ง

 ขยิบตา
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 10 ธ.ค. 09, 08:20

คดีระหว่าง อัยการศาลพิเศษ โจทก์

และ

นายพันเอก หลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันท์)
นายร้อยเอก ขุนคลี่พลพฤนท์ (คลี่ สุนทรารชุน)
นายพันตำรวจตรี ขุนนามนฤนาท (นาม ประดิษฐานนท์)
นายพันตรี หลวงไววิทยาศร (เสงี่ยม ไววิทย์)
นายพันตรี หลวงอภิบาลภูวนารถ (สังข์ นาคะวัจนะ)
จำเลย

คดีนี้ ที่น่าสนใจคือ พันเอกหลวงชำนาญยุทธศิลป์ อดีตผู้ก่อการในปฏิวัติ2475รายหนึ่ง ท่านผู้นี้ถูกกระทรวงกลาโหมประกาศปลดออกจากราชการโดยไม่มีเบี้ยหวัดเบี้ยบำนาญขณะอยู่ในระหว่างการเดินทางไปราชการอยู่ในอังกฤษ เจ้าตัวรู้ข่าวถึงกับงงงันว่าหลวงพิบูลคงจะเข้าใจอะไรตนผิดสักอย่าง เมื่อรีบกลับหวังว่าจะปรับความเข้าใจกันได้ก็ไม่มีโอกาส สันติบาลไปรอรับเข้ากรงขังตั้งแต่ก้าวแรกที่เหยียบเข้าเมืองไทย

หลวงชำนาญเป็นผู้ที่มีความศรัทธาในตัวพระยาทรงสุรเดช จึงได้เข้าร่วมก่อการเปลี่ยนระบอบการปกครองด้วยในครั้งนั้น หลังจากนั้นแล้วพระยาทรงเริ่มมีความขัดแย้งกับผู้ก่อการด้วยกัน เริ่มจากการที่ไม่เห็นด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์ และการที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการปราบกบฏบวรเดชเลย เท่ากับเปิดโอกาสให้หลวงพิบูลผู้ด้อยอาวุโสกว่าได้รับบทดาวรุ่งพุ่งแรงในวงการทหาร พระยาทรงกับหลวงพิบูลงัดข้อกันหนักๆครั้งแรกก็เป็นเรื่องการปรับปรุงกองทัพที่พระยาทรงเห็นว่า ประเทศเล็กๆอย่างเมืองไทย นายทหารประจำการยศสูงสุดแค่พันเอกเหมือนสวิตเซอร์แลนด์นั้นก็เหมาะสมดีแล้วแต่หลวงพิบูลไม่เห็นด้วยอยากให้เพิ่มยศนายพล เมื่อสู้ในที่ประชุมไม่ได้ก็วอร์คเอ้าท์ออกมา และเกือบจะโดนย้ายออกจากตำแหน่งคุมกำลัง แต่พระยาพหลกันไว้

พระยาทรงจำต้องร่วมมือกับพระยาพหลในการปฏิวัติพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนแรกออกไป ให้พระยาพหลเข้าดำรงตำแหน่งแทน แต่พระยาทรงก็ปฏิเสธที่จะรับตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้เพราะเห็นว่าพระยาพหลยอมต่ออำนาจของหลวงพิบูล รัฐมนตรีกลาโหมเกินไป พระยาทรงเองก็ขอผันตัวเองออกไปตั้งโรงเรียนรบสำหรับระดับนายทหารขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่
ก่อนไปก็คิดว่าได้ปรับความเข้าใจกับหลวงพิบูลเรียบร้อย

เรื่องเป็นเรื่องขึ้นก็เพราะหลวงพิบูลถูกยิงที่สนามหลวงโดยนายพุ่ม คราวนั้นเจ็บจริงขนาดลูกสาว(จีรวัสส์ (พิบูลสงคราม) ปันยารชุน)เล่าว่าขณะเผาศพพ่อ มองเข้าไปในเตาได้เห็นหัวกระโหลกมีรอยกระสุนถากเป็นทาง ครั้งนั้นศาลอาญาตัดสินลงโทษจำเลยเพียงจำคุก14ปีฐานพยายามฆ่า แต่ทิ้งปัญหาว่า จริงๆแล้วมีผู้จ้างวานไหม ซึ่งทั้งหลวงพิบูลและหลวงอดุลเพื่อนรักคู่ใจเชื่อว่าพระยาทรงและ/หรือ พรรคพวกลูกน้องเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง


หลวงพิบูลจำต้องรอคอยเพียงไม่นาน จังหวะก็เปิดให้ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี  ภารกิจแรกก็บรรดา4ทหารเสือในคณะผู้ก่อการ นอกจากพระยาพหลที่จัดให้ไปนอนพักผ่อนอยู่กับบ้านแล้ว ที่เหลือถูกจัดการแบบถอนรากถอนโคนหมด พระยาทรงถูกเนรเทศไปอินโดจีน พระยาฤทธิ์อาคเนย์ไปมลายู (ลูกชายคนหนึ่งของท่านคือร้อยเอกชลอ เอมะศิริโดนจับยัดข้อหาในคดีนี้ แล้วศาลพิเศษตัดสินจำคุกตลอดชีวิต) พระประศาสน์พิทยายุทธ ที่ผมกล่าวถึงตอนต้นว่า พระยาพหลขอไว้ให้ไปเป็นทูตในเยอรมันนั้น ความจริงคือหลวงประดิษฐ์มนูธรรมในฐานะรัฐมนตรีต่างประเทศที่ไปขอชีวิตพระประศาสน์พิทยายุทธจากหลวงพิบูลโดยตรง ชีวิตพระประศาสน์พิทยายุทธลำบากแสนสาหัสในเบอร์ลินช่วงที่สัมพันธมิตรถล่มด้วยระเบิดและปืนใหญ่ ลูกสาวเสียชีวิต ครอบครัวต้องพลัดพราก ตนถูกจับเข้าคุกเชลยในไซบีเรีย กว่าจะเอาตัวรอดกลับมาเมืองไทยได้อย่างหวุดหวิดความตายเต็มที

ระดับต่อมาที่ต้องกำจัดให้สิ้นเสี้ยนหนามคือลูกน้องและศิษย์นายทหารของพระยาทรง ที่เด่นๆก็คือพันเอกหลวงชำนาญยุทธศิลป์และพันเอกพระสิทธิเรืองเดชพล นอกนั้นส่วนใหญ่เป็นชั้นผู้น้อย พวกนี้ถูกคำสั่งปลดออกจากราชการโดยไม่มีเบี้ยหวัดเบี้ยบำนาญแล้วจับตัวเข้าคุกทันที อัยการฟ้องว่าเป็นผู้จ้างวานนายพุ่มมายิงหลวงพิบูลที่สนามหลวง ที่ตลกเป็นพิเศษคือนายพันตำรวจตรี ขุนนามนฤนาท ท่านผู้นี้โชคไม่ดีไปดูฟุตบอลคู่พิเศษดังกล่าวและออกมาจากสนามก่อนเลิกเล็กน้อย พอฟุตบอลเลิกหลวงพิบูลนั่งรถกลับและถูกยิง ขุนนามเผอิญอยู่ตรงนั้นพอดีเลยจับนายพุ่มได้และเป็นผู้เปิดประตูรถให้คนนำหลวงพิบูลออกไปขึ้นรถโรงพยาบาล กลับเป็นว่าขุนนามกลายเป็นจำเลยข้อหาร่วมกันจ้างวานนายพุ่มไปด้วย เพราะสายลับที่เฝ้าอยู่ทางเชียงใหม่เคยรายงานว่าครั้งหนึ่งหลวงชำนาญกับขุนนามเคยไปหาพระยาทรง อันนี้ขุนนามรับว่าจริงแต่เรื่องที่พยานโจทก์เรียงหน้ามากล่าวหานั้นไม่จริง แต่ศาลวินิจฉัยว่าขุนนามมาคุ้มกันความปลอดภัยไม่ให้นายพุ่มถูกฆ่าตายหลังจากยิงหลวงพิบูลแล้ว คนอื่นๆที่อยู่ในบัญชีของสายลับว่าไปมาหาสู่พระยาทรง โดนศาลลงโทษถึงตายหมด ยกเวันหลวงชำนาญยุทธศิลป์ผู้เป็น1ใน3ที่ศาลลดโทษให้เหลือจำคุกตลอดชีวิต เพราะทำคุณความดีแก่ชาติมาก่อน

ขออภัยที่ไม่ได้เอาสำนวนพิพากษามาลงไว้อีก เพราะผมเห็นว่าซ้ำซาก เท่าที่เอาลงไปแล้วท่านผู้อ่านก็วิเคราะห์เจตนารมณ์ของขบวนการนี้ได้แล้ว

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 17 ธ.ค. 09, 10:41

คดีระหว่าง อัยการศาลพิเศษ โจทก์
และ
พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (ม.ร.ว.ประยูร อิศรศักดิ์)
พระยาสุเทพภักดี (ดี สุเดชะ)
พระวุฒิภาคภักดี (หอมจันทร์ สรวงสมบูรณ์)
นายพันเอก พระสิทธิเรืองเดชพล (แสง พันธุ์ประภาส)
จ่านายสิบตำรวจ แม้น เลิศนาวี
นายร้อยเอก หลวงประจัญสิทธิการ (บัว สุเดชะ)
นายโชติ คุ้มพันธ์
หม่อมราชวงศ์ นิมิตรมงคล นวรัตน
จำเลย

พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลชุดที่พระยาพหลเป็นนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2476  ตอนที่นายถวัติ ฤทธิเดช ผู้นำกรรมกรรถรางฟ้องสมเด็จพระปกเกล้าฯว่าทรงหมิ่นประมาทตนในพระราชหัตถเลขาวิจารณ์เค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์ท้าวความตอนหนึ่งว่า การที่กรรมกรรถรางนัดหยุดงานมิใช่ความเดือดร้อนจริง แต่เพราะถูกยุยงโดยคนที่หวังจะขึ้นมาเป็นผู้นำ พระยาอุดมแสดงความไม่พอใจอย่างรุนแรงที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ในที่ประชุมครม. ขณะที่รัฐมนตรีสายคณะราษฎร์รู้สึกเฉยๆ ในคราวนี้จึงถูกจับเพราะถูกหมายตัวว่าเป็นพวกเจ้า

ส่วนพระวุฒิภาคภักดีข้าหลวงนครปฐม เมืองซึ่งควบคุมถนนไปหัวหินซึ่งสมเด็จพระปกเกล้าฯประทับอยู่ระหว่างเกิดการปฏิวัติ พระวุฒิภาคได้สั่งปิดเส้นทางเพื่อถวายความปลอดภัย จึงเป็นที่เขม่นของคณะราษฎร์มากถึงกับหาเรื่องให้ย้ายไปตราดและถูกออกจากราชการในเวลาต่อมา พระวุฒิภาคก็ลงสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรก่อนโดนจับข้อหากบฏครั้งนี้ อัยการเบิกพยานมาสองสามคน หนึ่งในนั้นเป็นนักเลงที่พระวุฒิภาคเคยจับข้อหาเจ้ามือการพนันมาให้การว่า ระหว่างหาเสียงพระวุฒิภาคได้พูดกับหัวคะแนนถ้าหากได้รับเลือกจะดำเนินการคืนพระราชอำนาจให้พระเจ้าแผ่นดิน และราษฎรจะได้รับการยกเว้นภาษีเพราะพวกเจ้ารวยอยู่แล้ว ไม่เหมือนพวกที่มายึดอำนาจ

ทั้งสองและรวมถึงหม่อมราชวงศ์ นิมิตรมงคล นวรัตนถูกจัดว่าเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนเจ้า แต่จะเอากลุ่มนี้เข้าคุกก็จะต้องยัดข้อหากบฏให้ร้อยพวงเข้ากับกลุ่มทหารของพระยาทรงสุรเดชเสียก่อนโดยเอาจ่านายสิบตำรวจ แม้น เลิศนาวีเป็นตัวเชื่อม  บุคคลผู้นี้เป็นพี่ภรรยาของพระยาทรง เคยเป็นเด็กในวังสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมขุนนครราชสีมาอยู่พักหนึ่งแล้วออกมารับราชการมีชีวิตลุ่มๆดอนๆ รู้จักกับนายร้อยเอก หลวงประจัญสิทธิการน้องชายพระยาสุเทพภักดี หลวงประจัญขอให้พี่ชายเขียนจดหมายแนะนำจ่านายสิบตำรวจแม้น กับพระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ผู้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขณะนั้น ซึ่งก็ไม่ได้เป็นมรรคเป็นผลอะไร แต่บังเอิญตอนที่สันติบาลไปค้นบ้านพระยาอุดมเจอเอาจดหมายฝากงานฉบับนี้ ก็เลยปิ๊งไอเดียที่จะลากเรื่องมาโยงกันว่า ทั้งสองกลุ่มนี้ติดต่อวางแผนที่จะกระทำการกบฏร่วมกันโดยมีจ่านายสิบตำรวจแม้นเป็นผู้เชื่อมโยงกับฝ่ายของพระยาทรงในกรุงเทพ ที่มีผู้บงการใหญ่คือนายพันเอกพระสิทธิเรืองเดชพล อดีตนายทหารคนสนิท ส่วนนายโชติ คุ้มพันธ์ดอกเตอร์ทางเศรษฐศาสตร์จากเยอรมันผู้คุ้นเคยกับพระยาทรงดีในฐานะนักเรียนเยอรมันด้วยกัน ก่อนหน้าถูกรัฐบาลเขม่นหนักขนาดเนรเทศให้ไปรับราชการที่แม่ฮ่องสอนมีกำหนด10ปี (สมัยนั้นเขาใช้ถ้อยคำกันอย่างนี้จริงๆ)เลยลาออกแล้วลงสมัครรับเลือกตั้งได้เป็นส.ส.อยู่ฝ่ายค้าน ก็ถูกลากจากแม่ฮ่องสอนมาเข้าคุกในคดีเดียวกันนี้ด้วย เพราะมีพยานซัดทอดว่าได้มาร่วมประชุมเพื่อจะก่อการกบฏกับเขา


ผลของการพิพากษาเป็นดังนี้

ประหารชีวิต
นายพันเอก พระสิทธิเรืองเดชพล ผู้ที่หม่อมราชวงศ์ นิมิตรมงคล นวรัตนเขีบนไว้ในหนังสือ“ชีวิตแห่งการกบฏสองครั้ง”ว่า เป็นพระเอกในคดีกบฏ
และ
จ่านายสิบตำรวจ แม้น เลิศนาวี ชายที่น่าสงสารที่พร่ำด่าพระยาทรงน้องเขยตลอดเวลาจนลมหายใจสุดท้ายว่า ตอนมีอำนาจก็ไม่เคยเกื้อกูลญาติพี่น้องเลย แต่พอหมดอำนาจตนกลับต้องมาตายไปด้วยทั้งๆที่ไม่ได้รู้เรื่องอะไรด้วยเลย

จำคุกตลอดชีวิต
พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์
พระวุฒิภาคภักดี
นายร้อยเอก หลวงประจัญสิทธิการ
นายโชติ คุ้มพันธ์
หม่อมราชวงศ์ นิมิตรมงคล นวรัตน

พระยาสุเทพภักดี หลุดไปคนเดียว แม้จะยอมรับว่าจดหมายแนะนำจ่านายสิบตำรวจแม้นกับพระยาอุดมพงศ์เป็นของตน สันติบาลไม่ได้หาพยานมาปรักปรำอย่างอื่นเพราะคำให้การดังกล่าวก็เพียงพอแก่การจัดฉากแล้ว

บันทึกการเข้า
Kris
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 17 ธ.ค. 09, 10:44

ตามคุณเทาชมพูชี้ทางมาที่นี่ ต้องขออนุญาตรำพึงถึงพระองค์ท่านซักนิด

เจ้าชายรูปงามและนายทหารหนุ่มแห่งราชนาวีสยาม

หลังจากได้รับการสถาปนาเลื่อนกรมเพียงไม่กี่วันต่อมา
ดวงพระชะตาของพระองค์กลับผกผันให้ขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ
แต่พิษเศรษฐกิจทั่วโลกเป็นดั่งมรสุมลูกใหญ่ที่พัดกระหน่ำพระนคร
กลุ่มผู้ก่อการหัวใหม่จำนวนเท่าหยิบมือถือโอกาสเข้ากุมบังเหียนบ้านเมือง
ด้วยนโยบายกินใจ “โดยประชาชนและเพื่อประชาชน” เป็นเกราะกำบัง

จากเดิมที่ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองได้ออกแบบอย่างสมดุลย์  
กลับปีนเกลียวซึ่งกันและกัน ปมเงื่อนต่างๆ ถูกขมวดรอบแล้วรอบเล่า
จนสิ้นแรงต้านทานลงในที่สุด

หมดแล้วซึ่งความรู้สึกอิหลักอิเหลื่อ กับการถูกเชิด
เจ้าชีวิตจำต้องสละแล้วสิทธิในแผ่นดินที่บรรพบุรุษได้ก่อร่างสร้างกันมา
ไม่ยอมแม้แต่ให้มาตุภูมินี้เป็นเชิงตะกอน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 19 คำสั่ง