เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 74558 ม.ร.ว. นิมิตรมงคล นวรัตน : ชีวิตและงาน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 18 พ.ย. 09, 12:20

กระทู้นี้  เลือกที่จะตั้งไว้ในห้องประวัติศาสตร์ เพราะถึงแม้ว่า ผลงานของม.ร.ว.นิมิตรมงคล เหมาะจะอยู่ในห้องภาษาและวรรณคดี
แต่ทั้งผลงานและชีวิตของท่าน เป็นหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย ที่มิอาจมองข้าม
ครบรอบ ๑๐๐ ปีของคุณชายนิมิตรมงคลไปแล้วเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑  แต่ในปี ๑๐๑ ก็ยังมีอะไรให้พูดถึงได้อีกมาก

สมัยเรียนประวัติวรรณกรรมไทย   จำได้ว่ามีนิยายการเมือง ๒ เรื่องที่เราวิ่งหาหนังสือในห้องสมุดกันจ้าละหวั่น  เพราะเป็นแนวที่หาได้ยากมากในวงการนวนิยายไทย   เป็นเรื่องต้องศึกษากัน
กระแสหลักของนวนิยายเมื่อ ๔๐ กว่าปีย้อนหลังกลับไป ก็มีแต่นิยายรักเสียเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาคือนิยายครอบครัว
เรื่องแรกคือ "พัทยา" ของ ดาวหาง (สมัยนั้น  พวกเรามักจะจำกันสับสนว่า เป็นเรื่อง ดาวหาง ของพัทยา  หรือเรื่อง พัทยา ของ ดาวหาง กันแน่)
อีกเรื่องหนึ่งคือ เมืองนิมิตร ของม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน

หนังสือหายากหาเย็น   เรื่องจะหาซื้อตามร้านหนังสือหลังวังบูรพา ไม่ต้องพูดถึง  เพราะไม่มี

เพิ่งจะได้อ่าน เมืองนิมิตร  ความฝันของนักอุดมคติ  อย่างเต็มอิ่ม   เมื่อไม่นานมานี้เอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 12:45

เมืองนิมิตร ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ในหนังสือดี 100 เล่ม ที่คนไทยควรอ่าน (พ.ศ. 2408-2519)
ซึ่งเป็นงานวิจัย ของ วิทยากร เชียงกูล ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับคณะวิจัยอีก 10 ท่าน ชื่อ "โครงการวิจัยเพื่อคัดเลือกและแนะนำหนังสือดีในรอบศตวรรษ" ซึ่งได้รับการสนับสนุน จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในช่วงปี พ.ศ. 2540-2541

ชื่อเดิมของนวนิยายเรื่องนี้คือ ความฝันของนักอุดมคติ      แต่ภรรยาของผู้ประพันธ์ คือคุณหญิงบรรจบพันธุ์ นวรัตน ณ อยุธยา   ได้เปลี่ยนเป็น "เมืองนิมิตร" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ม.ร.ว.นิมิตรมงคล

หนังสือเล่มนี้ ยืนอยู่บนเส้นทางศึกษา ๒ เส้นทางพร้อมกัน คือเส้นทางประวัติศาสตร์การเมืองตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕  - ๒๔๘๒    อีกเส้นทางหนึ่งคือเส้นทางวรรณกรรม
จะเว้นเส้นทางใด หาได้ไม่

กระทู้นี้ ก็จะชวนคุยถึงเส้นทางทั้งสองไปพร้อมๆกัน

ขอหยุดพักแค่นี้ก่อน เพื่อให้สมาชิกเรือนไทยได้ร่วมวง ค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 13:50

ใกล้ตัวผมมากเลยครับคราวนี้

ขอบพระคุณอาจารย์ที่กรุณาตั้งเป็นกระทู้ขึ้นในเรือนไทยนี้ แล้วผมจะพยายามตอบทุกคำถามที่หากมีนะครับ
รอบนี้ขออนุญาตผ่านก่อน ยังตั้งตัวไม่ติดน่ะครับ
ขอเวลาไปเตรียมเรื่องเข้ามาเสริมก่อน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 13:54

หน้าปกแบบที่ Dr. David Smyth แปลเป็นภาษาอังกฤษครับ
สำนักพิมพ์ Silk Worm จัดพิมพ์จำหน่ายทั่วโลก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 13:58

ฉบับที่แปลเป็นภาษาญี่ปุ่นเพิ่งจะวางตลาดไม่กี่เดือนนี้
แปลโดย Assistant Professor Mineko Yoshioda


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 14:10

เข้ามาร่วมวง - นั่งฟัง ครับ

สงสัยเรื่อง นามของท่าน ครับ เป็นการสะกดของยุคนั้น นิมิต สะกดเป็น นิมิตร

หรือ เป็นการเติม นิ หน้าคำว่า มิตร
           นิ    (โบ) ใช้เสริมคําให้พยางค์สละสลวยขึ้น เช่น สนุกนิ สํานักนิ.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 14:34

นำปกหนังสือ ที่หายาก  มาให้ดูกัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 15:54

ผลงานชิ้นแรกที่จะพูดถึง คือ "เมืองนิมิตร  ความฝันของนักอุดมคติ"   งานนี้เรียกได้ว่าเป็นงานชิ้นเอกของคุณชายก็ว่าได้
ขอเล่าเรื่องย่อๆให้ฟัง สำหรับท่านที่ยังไม่เคยอ่าน

ขอแนะนำให้ผู้อ่านเรือนไทย รู้จักชายหนุ่มชื่อ รุ้ง จิตรเกษม   ซึ่งมีชีวิตอยู่ในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ 
รุ้งเป็นปัญญาชนหัวกระทิของสยาม     เพราะเป็นนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง จบปริญญา B.Sc. F.G.S. จากมหาวิทยาลัยลอนดอน
ถ้าหากว่ายังนึกไม่ออกว่ารุ้งเปรื่องปราดอย่างไร  ก็ลองสมมุติว่า ถ้าเป็นปี ๒๕๕๒  รุ้งก็จบปริญญาเอกจากอังกฤษละค่ะ

รุ้งเข้ารับราชการที่กระทรวงธรรมการ(กระทรวงศึกษาธิการ)  ในยุคที่ถือว่า "สิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยง" ต้องถือว่าอนาคตของเขารุ่งโรจน์อยู่มาก
ถ้าหากว่ารุ้งจะก้มหน้าก้มตาทำงานไป โดยไม่สนใจเหตุการณ์บ้านเมือง    รุ้งก็คงไต่ระดับได้ตำแหน่งสูงขึ้นเรื่อยๆ  บั้นปลายชีวิตราชการ คงจะได้เป็นอธิบดีเป็นอย่างน้อย จากวิชาความรู้ที่มี
แต่ความผันผวนในชีวิตของเขา เกิดขึ้น เพราะสำนึกที่มีต่อบ้านเมือง   รุ้งไม่เห็นด้วยกับนโยบายของคณะราษฎร์  ก็ลาออกจากราชการ    ต่อมาเมื่อมีกบฏบวรเดชเกิดขึ้นในปี ๒๔๗๖  รุ้งแค่ไปขึ้นเวทีปราศรัยคัดค้านนโยบายรัฐบาล     ก็ถูกตำรวจจับ และถูกศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิต   แต่ได้ลดโทษลงมาเรื่อยๆจนเหลือแค่ ๔ ปีครึ่งก็เป็นอิสระ

ชีวิตของรุ้งก็ผันแปรไปหมดสิ้น  แม้ว่าเป็นอิสระออกจากคุกแล้ว      กลายเป็นว่ารุ้งสูญเสียทุกอย่าง  เริ่มต้นชีวิตอย่างมือเปล่า   
เสียคนรัก  เสียสถานภาพในสังคม  แม้แต่อนาคตก็ดูมืดมนและว่างเปล่า
แต่อย่างหนึ่งที่รุ้งไม่เสีย คือความฝันและอุดมคติ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 16:01

คุณSilaครับ

ชื่อคนเป็นวิสามัญนามอย่าพยายามไปหาเหตุผลเลยครับ

ทุกวันนี้ชื่อคนยิ่งประหลาดๆใหญ่
เพื่อนร่วมมหาวิทยาลัยของผมคนหนึ่งพระเปลี่ยนชื่อให้จากไหหลำเป็น"ผจญเฑียร"
เพื่อนๆถามว่าแปลว่าอะไรนั่น
เค้าบอกว่า"นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่"
เพื่อนๆไม่เห็นด้วย ก็เลยเรียกให้เป็นมงคลนามว่า "ผจญธีน"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 16:16

ความรักครั้งแรกของรุ้ง เริ่มขึ้นกับหญิงสาวสวยชื่อ"สมส่วน"   เธอเป็นลูกผู้ดีมีตระกูล   เป็น"ไฮโซ" ตัวจริงของสังคมสยาม
ความรักของหนุ่มสาวคู่นี้ อ่านแล้วนึกถึงชีวิตรักของคนดังหลายๆคู่  ที่ฝ่ายชายฟันฝ่าขวากหนามจนกระทั่งชนะใจดอกฟ้า

แต่เมื่อชีวิตรุ้งผันแปร  ชะตาตก   สมส่วนก็ไปพบรักกับชายอื่น   จนถึงขั้นจะแต่งงานกัน    แต่วิวาห์ต้องยกเลิกเพราะเธอเกิดป่วยเป็นวัณโรค  เป็นโรคร้ายไม่มีทางรักษาหาย พอๆกับมะเร็งในยุคนี้
รุ้งได้รับอิสระ  ทันกลับมาเยี่ยมไข้และดูใจสมส่วน  เขาให้อภัย เฝ้าไข้ดูแลเธออย่างดี จนกระทั่งเธอจากไป

ความรักครั้งแรกของรุ้ง อ่านแล้วรู้สึกว่ารุ้งเป็น "นักฝันที่มีอุดมคติ" ในทุกเรื่อง ตั้งแต่ความรัก   ไปจนการงาน และการดำเนินชีวิต
ความรักของรุ้งเริ่มต้นแบบพระเอกวรรณคดีไทย   คือตกหลุมรักทันทีเมื่อแรกเห็นดวงหน้าแสนสวยของหญิงสาว     ความสวยเป็นสิ่งดึงดูดใจเต็มร้อย    ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยเหตุผลอื่น

" พอได้เห็นเธอ   ถ่านแห่งความรักในอกของเขาก็ถูกจุดเป็นไฟฉับพลันเหมือนสายฟ้าแลบ"

อดนึกสงสารรุ้งไม่ได้ ว่ารักผู้หญิงโดยไม่ได้คิดเลยว่าเธอเป็นคนยังไง   นิสัยใจคอเป็นยังไงก็ไม่รู้   จะไปกันได้ไหมก็ไม่รู้
เพราะฉะนั้นก็เสี่ยงกับอกหักได้ง่าย
แต่นึกอีกที  นี่ก็คือความรู้สึกของพระรามเมื่อสบตากับนางสีดา  อิเหนาเมื่อเห็นบุษบา   พลายแก้วเห็นนางพิม  โรมิโอเห็นจูเลียต   ฯลฯ   ก็ไม่เห็นพระเอกพวกนี้จะอกหักสักคน    รุ้งก็คงเชื่อมั่นแบบเดียวกันละมัง

ผู้ประพันธ์ไม่ได้บอกว่ารุ้งเป็นคนหล่อ  ในฉากแรกเมื่อเขาพ้นโทษ   บอกแต่ว่า "รูปร่างค่อนข้างสูง ลีบเล็ก ผอมบาง คิ้วตก  หน้าแห้งคล้ายคนอดอาหารและอดนอน"  
นักโทษที่ผ่านความตรากตรำมาสี่ปีครึ่ง คงจะหาความหล่อได้ยาก   แต่เมื่อเขายังเป็นดาวเด่นในกระทรวงธรรมการ   บุคลิกของนักเรียนนอกจากอังกฤษยังเป็น"ออร่า" อยู่ทั่วร่าง   ท่วงทีของรุ้งสง่างามดุจเจ้าชายในเทพนิยาย  เมื่อเขาเดินเข้าไปแนะนำตัวและขอเต้นรำกับสมส่วนในงานราตรี    ไม่ต้องรอให้ใครแนะนำ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 16:34

การวิจารณ์วรรณกรรม ถือว่า ตัวละครเป็นหลักสำคัญของนวนิยาย เรื่องสั้นและบทละคร   ตัวละครที่ดี ไม่ใช่ตัวละครที่ประกอบคุณงามความดี ไม่มีที่ติ    แต่เป็นตัวละครที่สร้างได้ลึก มีมิติ จนดูเหมือนมีชีวิตจิตใจ    จะดีหรือจะชั่ว จะเข้มแข็งหรืออ่อนแอ ก็ไม่สำคัญ      
แต่ตัวละครยิ่งใหญ่นั้นจะซับซ้อน มีนิสัยหลายด้านในตัว ให้คนอ่านสัมผัสได้เหมือนเป็นคนจริงๆ      เพราะความลึกนี่เองทำให้คนอ่านจะรู้สึกรัก หรือเกลียด หรือเวทนา หรือเอ็นดู ก็แล้วแต่  
ยิ่งตัวละครมีความลึกในตัวมาก    ความรู้สึกของคนอ่านก็ยิ่งซับซ้อนตามไปด้วย  เช่นทั้งรักทั้งเกลียด   ทั้งเอ็นดูทั้งรำคาญ  ทั้งชอบและไม่ชอบฯลฯ

เมื่อม.ร.ว.นิมิตรมงคล พารุ้งออกมาให้รู้จัก   อย่างแรกคือไม่ต้องไปพะวงว่ารุ้งคือตัวผู้ประพันธ์หรือมิใช่    ข้อนี้การวิจารณ์วรรณกรรมไม่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ     ตัวละครแม้มีพื้นฐานมาจากคนจริงๆคนไหนก็ตาม  แต่เมื่อเขาเป็นตัวละคร  เขาก็มีชีวิตจิตใจของเขาเอง

ด้วยเหตุนี้  จึงต้องอารัมภบทเสียยาว เพื่อจะบอกว่าผู้ประพันธ์สร้างรุ้งได้ละเอียดลออดี   จนทั้งๆมองรุ้ง  เห็นหลายๆอย่างแง่บวก ก็ไม่วายเห็นในแง่ลบ ในหลายเรื่องด้วยกัน
วันนี้ขอแค่นี้ก่อนค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 16:39

ชื่อคุณ "ผจญเฑียร"  จะแปลว่านักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ ก็น่าจะได้นะคะ
อย่างแรกคือ เฑียร  เดาว่าแปลงจาก "เธียร" ที่แปลว่านักปราชญ์    แต่เปลี่ยนตัวสะกดให้ถูกหลักวันเกิด ตามหลักมหาทักษา   เพื่อเดช หรือมูละ อะไรสักอย่าง
ผจญ แปลว่า ชนะ

คนที่ชนะนักปราชญ์ได้  ก็มีแต่นักปราชญ์ระดับบิ๊กกว่านักปราชญ์ทั่วไป เท่านั้น
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 16:44

หนัวสือดีและน่าอ่านครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 17:30

รุ้ง จิตเกษม  "อายุของเขาประมาณ๓๒ปี รูปร่างค่อนข้างสูง ลีบเล็ก ผมบาง คิ้วดก หน้าแห้งคล้ายคนอดอาหารและอดนอน แต่สีหน้าของเขาบอกชัดลงไปอีกชั้นหนึ่งว่า สิ่งที่เขาอดจริงๆคือความพอใจ"


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 18:42

รุ้งเป็นลูกชาวนาลพบุรี มาอาศัยอยู่กับน้าในกรุงเทพและเข้าเรียนที่เทพศิรินทร์ จนสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงได้ไปเรียนเมืองนอกสำเร็จ จบการศึกษาทางด้านชีววิทยา ครั้นกลับมาทำราชการอยู่กระทรวงธรรมการได้พักหนึ่งก็ได้ชื่อเสียงว่าเป็นคนหัวแข็ง เต็มไปด้วยความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงระเบียบการต่างๆที่คนทั้งหลายเห็นว่ายังใช้ได้ผลดีอยู่

การยึดอำนาจจากพระปกเกล้าฯในปี๒๔๗๕ ทำให้รุ้งได้ตำแหน่งสูงขึ้นเพราะนายเห็นว่าเขาไม่ใช่พวกเจ้า และมีเพื่อนบางคนเป็นผู้ก่อการด้วย แต่เขาก็ทนนโยบายของคณะราษฎร์ไม่ได้ ต้องลาออกจะไปอยู่ลพบุรี จังหวะพอดีได้ข่าวพระองค์เจ้าบวรเดชจะปฏิวัติขับไล่คณะราษฎร์จึงรีบเดินทางไปสมทบที่โคราช และได้ขึ้นปราศรัยบนเวทีด้วย
 “….ท่านสุภาพบุรุษที่เปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ข้าพเจ้าเชื่อว่าซื่อสัตย์สุจริตและมีเกียรติยศ แต่ท่านเอาความยุ่งเหยิงมาสถิตย์แทนความเป็นระเบียบ เอาความแตกก๊กแตกเหล่ามาแทนความสามัคคี การรักษาตัวเองให้ปลอดภัยโดยตั้งป้อมค่ายอยู่ในวังปารุสกวัน โดยจัดตำรวจลับออกลาดตระเวนจับคนที่ไม่ยอมเป็นพวกพ้อง โดยโยกย้ายนายทหาร และจัดรูปกองทัพแบบปราบจลาจล โดยบรรจุคนของตัวเข้าดำรงตำแหน่งชั้นหัวหน้าในราชการอย่างไม่คำนึงถึงวุฒิความสามารถ เหล่านี้กระทำไปในนามของราษฎร…..
……รัฐบาลนี้อ้างว่าได้จัดตั้งขึ้นโดยราษฎรและเพื่อราษฎร ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง เราก็ต้องมีอำนาจที่จะบังคับรัฐบาลให้บริหารในทางที่เป็นประโยชน์แก่เราทั้งหลายร่วมกัน ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของรัฐมนตรีและเพื่อนพ้องของรัฐมนตรีเท่านั้น มิฉนั้นเราก็ต้องเปลี่ยนรัฐบาลใหม่…..”

ดูเถิดครับปัญหาของรุ้งเมื่อเกือบแปดสิบปีที่แล้ว กับปัญหาของลูกหลานของรุ้งในทุกวันนี้ยังเหมือนกันอยู่เลย ผิดกันแต่ว่า คนสมัยนี้มีเสรีภาพในการด่าทอทางการเมืองแทบจะไร้ขีดจำกัด ยังไม่เห็นใครติดคุกจริงในกรณีย์หมิ่นประมาททางการเมืองสักราย แต่สมัยโน้น รุ้งถูกสันติบาลบันทึกคำปราศรัยไว้เบิกความในศาลพิเศษส่งผลให้รุ้งถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิต ลดโทษฐานสารภาพลงเหลือเพียงจำคุก๒๐ปี ตั้งแต่ตรวนขนาด๖หุนถูกตีเข้าที่เท้าทั้งสอง อนาคตของหนุ่มนักเรียนนอกก็วูบลงทันที
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง