เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 124781 สมุดภาพสัตว์หิมพานต์
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 11:53

41.ม้ารีศ
              ม้ารีศหรือมารีศเป็นลูกของนางกากนาสูร มีพี่น้องร่อมอุทรเดียวกัน คือสวาหุ เป็นยักษ์ที่ได้ชื่อว่ากลัวพระรามมาก เพราะเมื่อ ครั้งสู้รบกับพระราม พระลักษมณ์ เพื่อแก้แค้นแทนแม่ที่ ถูกพระรามแผลงศรจนตาย แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะได้ เมื่อเห็นสวาหุพี่ชายต้องศรพระรามตาย อารามตกใจแล เห็นพระรามมีสี่กร จึงเหาะหนีไป แต่กระนั้นก็ยังถูกทศกัณฐ์ บังคับให้แปลงเป็นกวางทองไปล่อนางสีดาออกมาจากอาศรม นางสีดาเมือเห็นกวางทองก็ทูลขอให้พระรามจับให้ พอจับได้ พระรามก็รู้ทันทีว่าเป็นมารีศจึงแผลงศรต้องกายมารีศ แม้มารีศจะเจ็บแทบขาดใจก็ยัง ทำเสียงเป็นพระราม ร้องหลอกให้พระลักษมณ์ตามมาดู ทศกัณฐ์จึงลัก นางสีดาไปโดยง่าย จากนั้นมารีศก็ขาดใจตาย ในรูปเขียนร่างกายช่วงบนเป็นยักษ์มงกุฎกระหนกช่วงล่างเป็นกวางกางเป็นอย่างราชสีห์ถือกระบองยักษ์ดูพิสดารยังไงอยู่


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 11:58

42.อัสดรเหรา
                อัสดรเหราเป็นสัตว์ผสมระหว่างสัตว์ตระกูลม้าและเหรา ในตำรากล่าวว่ามีผิวกายสีม่วงอ่อน สัตว์ตระกูลเหรานั้น บางทีก็วาดเหมือนจระเข้ บ้างก็วาดออกมาเหมือนมังกร


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 12:07

43.โตเทพสิงหะ
               น่าจะเป็นตัวเดียวกับโตเทพสิงฆนัต เป็นสัตว์ตระกูลสิงห์ มี กายสีน้ำตาล ชื่อของสัตว์ชนิดนี้มาจากคำว่า โต และ สิงฆนัต ทั้งสองคำ มีความหมาย พ้องกันคือ แปลว่าสิงโต แต่ถ้าพิจารณาจากรูปแล้วสัตว์ชนิดนี้น่าจะเป็นสิงโตจีนผสมกับมังกรอย่างจีนเพราะมีเขาอย่างมังกรหน้าผสมทั้งสิงโตจีนและมังกร ช่างได้จินตนาการจยเกืดเป็นสัตว์ชนิดใหม่ที่งดงามยิ่งนัก



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 12:14

44.สุบรรณเหรา
                   ตัวเป็นนกแบบครุฑ หัวเป็นเหรา แข้งขาเป็นสิงห์ ขนหางเป็นนก พื้นกายสีม่วงหรือเขียวอ่อน บางตำราว่าเป็นการผสมระหว่างครุฑกับนาค ซึ่งเป็นสัตว์ไม่ถูกกัน กลายเป็นเรื่องประหลาดไป แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้ในโลกหิมพานต์



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 12:20

45.นาคาปักษิณ
                    นาคาปักษิณหรือนาคปักษิณเป็นสัตว์กึ่งน้ำกึ่งบก คือเอาส่วนหัวของ "นาค" มาผสมกับส่วนตัวของ "ปักษิณ" ซึ่งแปลตามตัวว่า สัตว์มีปีก ก็คือนกนั่นเอง "นาค" มีความหมายหลายอย่าง แต่ในที่นี้หมายถึงงูใหญ่ในนิยาย ซึ่งเรามักเรียกกันว่า "พญานาค" พญานาคตามทัศนะของจินตกวีและช่างเขียนเป็นงูใหญ่ประเภทมีหงอนและเครา ตามนิยายโบราณมักจะกล่าวถึงพวกนาคมาเกี่ยวข้องกับมนุษย์เสมอ เรื่องของพญานาคมีที่มาเป็นสองทาง คือทางลัทธิพราหมณ์กับทางพุทธศาสนา พญานาคทางลัทธิพราหมณ์ออกจะถือกันว่าเป็นเทวดาแท้ ๆ เช่น พญาอนันตนาคราช และท้าววิรุฬปักษ์ (ดูหนังสือ "เทวนิยาย" โดย "ส.พลายน้อย") ว่าถึงที่อยู่ของพวกนาค ก็มีทั้งที่อยู่บนบกและอยู่ในน้ำ อย่างพญาวาสุกรี ที่อยู่เมืองบาดาลก็ไม่ใช่ในน้ำ เป็นเมืองที่อยู่ใต้โลกมนุษย์ลงไปอีกชั้นหนึ่ง นาคทางคัมภีร์พุทธศาสนามักอยู่ในโลกมนุษย์เรานี้ อยู่ในโพรงบ้าง ในถ้ำบนบกบ้าง อยู่ในน้ำบ้าง อย่างพญานาคชื่อภูริทัต ในมหานิบาตชาดก ก็อยู่บนบก แต่ตามเรื่องไทย ๆ เราว่า พญานาคอยู่ในน้ำกันมาก นาคพิภพที่ว่าอยู่ใต้ดินนั้น มีกล่าวในไตรภูมิพระร่วงว่า "แต่แผ่นดินดันเราอยู่นี้ลงไปเถิงนาคพิภพ อันชื่อว่าติรัจฉานภูมินั้น โดยลึกได้โยชน์ ๑ แล ผิจะนับด้วยวาได้ ๘๐๐ วาแล" นาคปักษิณ หัวเป็นนาค มีหงอน ส่วนท่อนหางเป็นแบบหางหงส์ เพื่อให้รับกับส่วนหัว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 12:27

46.กบิลปักษา
                   กบิลปักษา กะบิลปักษา หรือ พานรปักษา มาจาก พานรหรือวานร แปลว่า ลิง และ ปักษา แปลว่า นก รวม หมายความว่า ครึ่งลิงครึ่งนก ในภาพไม่ใช่ภาพลิงธรรมดา แต่เป็นลิงใหญ่ทรงเครื่อง เพื่อเล่นลวดลายได้ และโดยเหตุที่ลิงชอบผลไม้ ช่างจึงให้ถือต้นไม้มีผล(บางตำราว่าถือมะม่วงและชมพู่ )ทำให้น่าดูยิ่งขึ้น ที่พิเศษก็คือในบางตำราถือว่า ทั้งลิงทั้งนกต่างก็มีหาง ผู้เขียนภาพเสียดายหางลิงไม่กล้า ตัด ก็เลยทำให้มีทั้งสองอย่าง เมื่อหางลิงตวัดขึ้น หางนก หรือหางไก่ก็ห้อยลง แต่ในตำราฉบับนี้มีหางเป็นอย่างนกหรือไก่และมีปีกอย่างนก


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 12:44

47.ไกรสรนาคา
                   ตามชื่อของสัตว์ชนิดนี้ ไกรสรนาคาเป็นสิงห์ผสมที่มีส่วนประกอบของนาคด้วย หางเหมือนสัตว์เลื้อยคลานประเภทงู ตัวมีลักษณะคล้ายสิงห์ แต่มีเกล็ดแข็งปกคลุมทั่วกาย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 12:51

48.เหมราอัศดร
                 เหมราอัสดรมีรูปกายเป็นม้า ส่วนหัวเป็นเหม ตัวเหมนั้น บางที่ก็วาดออกมาเป็นแบบนกหงส์ บางที่ก็วาดออกมา ปากเหมือนสัตว์ประเภทจระเข้ ตามรูปนั้นส่วนหัวที่เป็นเหมนั้นก็คือหงส์อย่างไทยนั่นเอง อย่าจำสับสนกับสัตว์อีกประเภทหนึ่งที่ชื่อกลับกันเรียกว่าอัสดรเหราเพราะตัวเป็นม้าเหมือนกันแต่หัวไม่เหมือนกัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 12:55

49.สินธพนที
                สินธพนทีหรือสินธพนัทธี เป็นสัตว์หิมพานต์ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำหรือทะเลสาป คำว่าสินธพนัทธีหมายถึงม้าแม่ น้ำ โดยรากศัพท์แล้วมาจาก คำว่าสินธพ หมายถึง ม้า พันธุ์ดีจากบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ ซึ่งเป็นแม่น้ำสำคัญ สายหนึ่งในประเทศอินเดีย ส่วนคำว่า “นที” มีความ หมายตามตัวว่าน้ำ ม้าสินธพนี้มีกำลังและฤทธิ์เดชมาก สามารถวิ่งไปบน ใบบัวได้ โดยที่ใบบัวไม่สั่นแม้แต่น้อย คำว่า “สินธุ” เองเป็นชื่อเมืองโบราณในอินเดียด้วย คาดว่าเมืองสินธุก็คือ รัฐสินธุในปัจจุบันนั่นเอง เหตุที่ ใช้ชื่อเมืองนี้คงเป็นเพราะเมืองนี้ มีชื่อเสียงทางม้า ม้าดีจึงมีชื่อว่า สินธพ สินธพนัทธี มีตัวเป็นม้า หางเป็นปลา พื้นสีขาว ครีบและหางมีสีแดงชาด


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 12:58

50.วารีกุญชร
               คนทั่วไป มักจำวารีกุญชรสลับกับกุญชรวารี เพราะสัตว์หิมพานต์ทั้ง ๒ ชนิดนี้มีรากศัพท์มาจากคำ บาลี ๒ คำที่เหมือนกัน เพียงแต่คำเรียงลำดับสลับกัน เท่านั้น รากศัพท์ทั้ง ๒ ที่กล่าวถึงคือคำว่า “วารี” มีความหมายตามตัวว่าน้ำ โดยปกติจะใช้แทนน้ำทะเล และคำว่า “กุญชร” ซึ่งแปลว่าช้าง สัตว์ทั้ง ๒ ชนิดนี้เป็นสัตว์ประสม ระหว่างช้างกับปลา เราสามารถแยกแยะระหว่าง วารีกุญชรและกุญชรวารีได้ค่อนข้างง่าย โดยที่วารีกุญชรนั้นมีร่างกายเกือบทั้ง ตัวเป็นช้าง จะมีก็แต่อวัยวะบางส่วนที่กลายมาจาก สัตว์ประเภทปลาเช่น ครีบบนแผ่นหลัง ครีบเท้า และครีบหาง ส่วนกุญชรวารีนั้น มีช่วงตัวท่อนแรกเป็นช้าง ช่วงหลัง เป็นปลา กล่าวคือกุญชรวารี มีเท้าเพียง ๒ ข้าง ลำตัวและหางเป็นปลาหมด สัตว์ทั้ง ๒ มีถิ่นอาศัยอยู่ในทะเล สามารถว่ายและดำ น้ำได้ดีเยี่ยม



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 13:03

51.กิเลนปีก
              กิเลนปีกดูแปลกตากว่ากิเลนอีก ๒ ชนิด โดยกิเลนปีก ไม่มีเขาแม้แต่เขาเดียว แต่มีปีกคล้ายนก ๑ คู่ อีกอย่างที่ผิดแผกไป ก็คือเท้าที่เป็นกรงเล็บ ไม่เหมือนเท้าแบบกีบเหมือนกิเลนอีก ๒ ชนิด


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 13:10

52.เสือปีก
               ลำตัวเป็นครุฑ หางเป็นนกยูง หัวเป็นเสือ ลำตัวมีลายเสือโคร่ง พื้นกายเหลือง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 13:21

53.หงส์จีน
             คล้ายไก่ฟ้ามีขนคอเป็นพวง ขนหางยาว  พื้นกายสีหงเสน

               แต่ถ้าพูดถึงหงส์อย่างของจีนนั้น หงส์ของจีน ถือเป็นสัตว์ในเทพนิยายที่มีลักษณะแปลกประหลาดมาก เป็นนกที่มีคุณลักษณะเหนือธรรมชาติ เพราะแม้จะมีรูปร่างเป็นนกแต่เป็นนกที่พิเศษสุด เนื่องจากเอาลักษณะบางอย่างมาจาก นกเหยี่ยว นกอินทรี ไก่ฟ้า นกยูง นกตะกรุม นกกระสา นกกระยางขาวใหญ่ และนกอื่นๆ อันล้วนเป็นนักชั้นยอด เป็นนกวิเศษเหนือนกทั้งปวง เป็นราชาแห่งนก มีสีสันสวยงาม เป็นหนึ่งตามจินตนาการและความเชื่อของคนจีน

       หงส์เป็นสัตว์สิริมงคลและศักดิ์สิทธิ์ เป็นสัตว์ที่คนจีนมีความปีติชื่นชอบมากที่สุดชนิดหนึ่ง มีรูปร่างสวยงาม สะโอดสะอง มีความอ่อนหวาน มีบุคลิกสีสันคล้ายผู้หญิง มีความสุภาพเป็นผู้ดี ชาวจีนเรียกว่า "เฟิ่งหวง" หงส์เป็นดั่งเทพเจ้าสามารถหยั่งรู้ความสุข ความทุกข์ ความวุ่นวายในโลกมนุษย์ได้ หงส์จึงมักจะมาปรากฏตัวต่อเมื่อบ้านเมืองสงบสุข แผ่นดินมีคนดีมาเกิด

       ตามความเชื่อเรื่องสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ประจำทิศของคนจีน หงส์เป็นสัตว์ที่มีหน้าที่ประจำอยู่ทิศใต้ เป็นสัญลักษณ์แห่งฤกษ์งามยามดีในวิถีชีวิตของคนจีน จึงกลายเป็นปกติสามัญที่จะได้พบรูปหงส์ในงานศิลปะจีนและในงานหัตถกรรมทั่วไป และมีคำกล่าวอวยพรที่ได้ยินอยู่เสมอ เช่น "ขอเทพเจ้ามังกรและเทพหงส์อำนวยพรให้ท่านจงโชคดี"

       ตามหลักฮวงจุ้ย หงส์เป็นนกที่มีความศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ 1 ใน 4 ชนิดที่ถูกกำหนดให้ดูแลรักษาทิศใหญ่ของโลก กล่าวคือ หงศ์สีแดงเข้มอยู่ประจำทิศใต้ มังกรสีฟ้าสดหรือสีน้ำเงินอยู่ประจำทิศตะวันออก เสือขาวอยู่ประจำทิศตะวันตก และเต่าดำหรืองูดำอยู่ประจำทิศเหนือ
คุณลักษณะของหงส์
กล่าวกันว่า หงส์ เป็นนกที่เกิดจากการปรุงแต่งขึ้นมาจากนกที่มีความสำคัญหลายชนิดด้วยกัน คือ

หัว ได้รับอิทธิพลแบบอย่างมาจากไก่ฟ้า

หงอน ได้มากจากนกเป็ดหงส์

จงอยปาก ได้มาจากนกนางแอ่น

หลัง ได้มาจากเต่า

หาง ได้มาจากสัตว์จำพวกปลา
            ซึ่งนับว่าแปลกมากที่ได้แบบอย่างมาจากสัตว์น้ำด้วย มิใช่เอามาจากสัตว์ปีกเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม โดยมากเราก็จะเห็นหงส์มีส่วนประกอบของนกยูง และไก่ฟ้าหางยาวอยู่เป็นอันมาก ดังจะพบว่ามีจำนวนหลายสี และเป็นมันเลื่อมสวยงามตลอดทั้งตัว ขนส่วนหางมี 12 เส้น และขนหางแต่ละขนมี 5 สี คือ แดง ม่วง เขียว เหลือง และขาว บางตำราจึงได้แบ่งนกหงส์ออกเป็น 5 ชนิด คือ ชนิดขนแดง ขนสีม่วง ขนสีเขียว ขนสีเหลือ และขนสีขาว และชนิดสีขาวเรียกกันโดยทั่วไปว่า ห่านฟ้า

       ชาวจีนเรียกหงส์ว่าเฟิ่งหวง เป็นนกที่มีความสูงราว 5 ศอก หากดูด้านหน้าคล้ายกับห่านป่า มองด้านหลังคล้ายกับกิเลนหรือสัตว์ผสมลูกครึ่ง ส่วนคอดูคล้ายกับงูคือกลมเรียวยาว มองหางคล้ายกับหางปลา ขนดูคล้ายเกล็ดมังกร ส่วนหลังดูคล้ายเสือ เหนียงคอดูคล้ายนกนางแอ่น ลำคอและจงอยปากคล้ายไก่ตัวผู้

       หงส์ตามปกติจะหากินอยู่บนภูเขาในป่าไกลโพ้น เรียกกันว่า "เขาแดง" คล้ายในป่าหิมพานต์ไม่มีใครไปถึง เป็นนกที่ไม่กินแมลงที่มีชีวิต ไม่จิกกินต้นไม้อ่อนที่ยังเขียวสดอยู่ จะกินอาหารเพียงแต่เมล็ดดอกต้นไผ่เท่านั้น และกินน้ำหวานที่เกิดขึ้นในฤดูใบไม้ผลิ มีเสียงร้อยคล้ายกับเสียงสวรรค์อันแปลกประหลาด บ้างว่าคล้ายเสียงขลุ่ย ไม่อยู่เป็นกลุ่มหรือเป็นฝูง ไม่บินเร่ร่อนไปในที่ต่างๆ อาศัยอยู่แต่เพียงบนต้นไม้ซึ่งมีชื่อว่า ต้นหวู-ถุง ซึ่งแวดล้อมตกแต่งด้วยดอกไม้รูปคล้ายกระดิ่ง ใบใหญ่ ใบมันจะงอกแตกโตเร็วและร่วงในฤดูในไม้ร่วง ออกผลแพร่พันธุ์ในช่วงทำขนมไหว้พระจันทร์ หรือเทศกลางกลางฤดูใบไม้ร่วงเดือน 8

       หงส์เป็นนกที่สามารถหยั่งรู้ความเป็นไปในโลกล่วงหน้า จนกระทั่งเมื่อยามใดบ้านเมืองมีสันติสุขอย่างแท้จริง หงส์จึงจะออกมาปรากฏตัวให้เห็นในเส้นทางที่ไม่มีใครรู้ร่องรอย และขณะเมื่อหงส์บินออกมานั้นจะมีบรรดานกต่างๆ บินตามมาเป็นขบวนเป็นฝูงใหญ่ยาวมาก หงส์มีความเมตตากรุณาคล้ายกิบกิเลน ไม่เคยเจ็บป่วยเป็นอันตรายใดๆ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษอาจทำอันตรายได้

       หงส์มีอายุยืนยาวประมาณ 500 ปี จากนั้นก็จะบินตรงไปยังดวงอาทิตย์เพื่อให้ความร้อนแผดเผาร่างกายเป็นเถ้าถ่าย เป็นการบูชายันต์ตนเอง หงส์หนุ่มสาวเมื่อเกิดมาได้ 3 วัน มันก็จะบินจากไปอาศัยอยู่ที่อื่นเป็นอิสระโดดเดี่ยว จนกว่าจะมีอายุได้ 500 ปี จึงสิ้นอายุขัย ด้วยเหตุนี้นกหงส์จึงถือว่าเป็นผลิตผลจากดวงอาทิตย์และไฟ
ความหมายสิริมงคลของหงส์
หงส์ของจีนเป็นสัญลักษณ์แห่งดวงอาทิตย์และความอบอุ่นสำหรับฤดูร้อนและฤดูเก็บเกี่ยวพืชไร่ และเป็นเครื่องหมายที่คุณงามความดี ตามนิทานเล่าว่า หงส์มาปรากฏตัวในครั้งที่นักปราชญ์ขงจื๊อเกิดพอดี หงส์ได้กลายเป็นส่วนร่วมของการทำพิธีเคารพบูชาระหว่างสมัยราชวงศ์ฮั่น และการกล่าวอ้างการมาเยือนของหงส์เกิดขึ้นบ่อยๆ เพื่อการที่จะป่าวประกาศว่าการปกครองแผ่นดินในแต่ละรัชกาลนั้นประผลสำเร็จด้วยดี จึงมีคำกล่าวเกี่ยวกับหงส์หลายสำนวน เช่น

หงส์สำแดงฤทธิ์เหมือนผู้นำมาซึ่งการเกิดอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์

หงส์จะลงสู่พื้นดินเพียงแต่เมื่อมีบางสิ่งที่แวดล้อมอยู่นั้นมีค่าพอ

หงส์นำมาซึ่งความมั่งคั่งโภคทรัพย์

เมื่อหงส์ปรากฏโลกจะยินดีต่อสันติภาพอันยิ่งใหญ่ และสะดวกสบาย

สัญลักษณ์ลักทธิเต๋า คือ สัญลักษณ์หงส์เก้าตัวสำหรับทำลายล้างความสกปรก

สัญลักษณ์งานมงคลสมรสหงส์คู่มังกร

      มีการจัดคู่สัตว์ที่แน่นอนตามรูปแบบสัญลักษณ์ของความเป็นสิริมงคลในวัฒนธรรมจีนที่สำคัญที่สุดกว่าอะไรทั้งหมด คือ คู่ของมังกรกับหงส์พร้อมด้วยไข่มุก ซึ่งจะเห็นบ่อยครั้งในบัตรเชิญแต่งงาน สิ่งสำคัญอย่างแท้จริงในสัญลักษณ์หงส์กับมังกรคือ "หงส์คู่มังกรขอให้มีโชคลาภสถาพร"

      สาเหตุที่ใช้หงส์คู่มังกรในพิธีแต่งงานของชาวจีน คือ มังกรเป็นภาพสมมติให้เป็นสัญลักษณ์ของเพศชายผู้มีพลังอำนาจ ขณะที่หงส์เป็นตันแทนแห่งเพศหญิง อันถือเป็นการแสดงความเคารพต่อเจ้าบ่าวและเจ้าสาว ในการจับคู่เปรียบเทียบที่ได้จากหงส์และมังกรมี 5 ประการ คือ

มังกร (ด้านซ้าย) หงส์ (ด้านขวา)

ความรู้หรือความฉลาด ความงดงาม นิ่มนวล

ประสบการณ์ เป็นธรรมชาติ

การฝึกหัด มีเหตุผล

ความสุขุม ความสามารถทางเสี่ยงโชค

ความอดทน มีชีวิตอันควรเคารพ






คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 13:28

54.สางแปรง
                สางแปรงมีกายเป็นสีเหลือง และมีเท้าเป็นแบบกรงเล็บ คำโบราณไทยให้ความหมายของคำว่า "สาง" ไว้หลายแบบ บ้างก็แปลว่าเสือ บ้างก็แปลว่าช้าง มีรูปหล่อสำริดของตัวสางแปรงนี้ตั้งอยู่รอบกำแพงแก้วพระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์)ท่าเตียน ไปหาดูได้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 13:34

 55.คชปักษา
                เป็นลักษณะของนกผสม มีตัวและแขนคล้ายครุฑ  ท่อนล่างเป็นนกคล้ายหงส์ หางเป็นกนก มีจมูกเป็นงวงและงาเหมือนช้าง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.086 วินาที กับ 20 คำสั่ง