เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 12169 นิทานว่าด้วย "นายจิตรกับนายใจสนทนากัน"
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 15 พ.ย. 09, 12:36

(นายจิตร)

"ถ้าตำแหน่งเคาน์ซิลไม่เล่นละครแล้ว   เราเห็นจะชอบด้วยราชการ
ห่วงใยที่จะขวนขวายก็น้อยเข้า       คำสาบานก็ยังจะบริสุทธิ์อยู่ได้



นายใจว่าถ้ากระนั้นการเล่นสักวาก็มิเสียราชการด้วยฤา


นายจิตรว่า ถ้าผู้ใดหลงเล่นมัวเมา  ก็เสียราชการเหมือนกัน


นายใจว่า   เราเห็นเจ้าที่เป็นปรีวรเคาน์ซิล  และตำรวจก็หลายนายที่เล่นสักวา   
ก็ไม่ได้ยินว่าเสียราชการอะไร


นายจิตรตอบว่า     วิสัยว่ามัวเมาอยู่ในการเล่นแล้ว   การจริงย่อมเสื่อมถอยไป
ใจที่คิดมั่นคิดอ่านในราชการอยู่ก็อ่อนคลายลง   ถือว่าเล่นการสนุกเสียสักวันสองวันเถิด
ครั้นเล่นเข้าก็ติดใจชอบจะเล่ยอีก   และชักชวนพวกพ้องเพื่อยฝูงเล่นด้วย
ก็ชักช้าเสียเวลาที่คิดการเป็นประโยชน์ไป

คนที่ขับร้องเต้นรำและดีดสีตีเป่า  เขาเล่นนั้นก็ชอบ  ด้วยเขาหากินด้วยวิชาสิ่งนั้น
นี่เราเห็นว่าเจ้านายและขุนนางหากินด้วยผลราชการที่ตัวทำดีทำชอบทั้งนั้น
จึงเห็นว่าควรจะเอาใจใส่ในผลราชการให้มากๆ"


(จ๊วกมหาดเล็กเล่นรำมะนาต่อ อีก ๖ ประโยค)


สงสัยคราวนั้นโจทก์เยอะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 15 พ.ย. 09, 17:39

พยายามปะติดปะต่อจากถ้อยคำของนายจิตรนายใจ      นี่คือสารจากผู้เขียน  "เล่น" เจ้าพระยามหินทรฯ   เข้าหรือเปล่าคะ

เมื่ออ่านมาถึงเจ้าพระยามหินทรฯ   ขอแนะนำให้สมาชิกเรือนไทยที่ยังไม่คุ้นเคยกับชื่อท่าน ไปหา "นิราศหนองคาย" อ่าน ในตู้หนังสือเรือนไทย ค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 15 พ.ย. 09, 18:18

ย่อแบบท้วม ๆค่ะ


เมื่อนายจิตรกับนายใจเริ่มสนทนากันเมื่อจอดเรือที่เกาะใหญ่  ได้สนทนากันเรื่องผุ้ร้ายเคยชุกชุม

เดี๋ยวนี้เคานซิลเป็นตุลาการชำระความนครบาลได้ตัวหลวงบรรเทา  ที่เรียกกันว่าเสมียนตราท้าย
พอชำระหลวงบรรเทาแล้ว โจรผุ้ร้ายก็ไม่มี

นายใจบอกว่าเข็ด  กลัวมันจะเดินเหิรออกมาทำร้ายได้อีก



นายจิตรเล่าว่าเคาน์ซิลสาบานตัวว่า  

จะคิดการสิ่งใดจะให้เป็นเกียรติยศแก่พระเจ้าอยู่หัว

ให้เป็นคุณเป็นประโยชน์แก่แผ่นดิน

ให้ราษฎรได้อยู่เย็นเป็นสุข

จะไม่รับสินบลหาประโยชน์

กลับจริงเป็นเท็จ  กลับเท็จเป็นจริง    ให้เสียสิ่งที่ตรงตั้งนี้


แล้วได้ยินว่ามีเงินเดือนเงินปีด้วย   เห็นจะไม่มีเหมือนแต่ก่อนแล้ว
จะชี้ให้เป็นพยานก็ได้          ดูเรื่องที่ชำระความพระยาอาหาร  และเสมียนตรา
หลวงสนิทฉ้อเงินหลวงครั้งนี้สิ

พระยาอาหารกับเสมียนตรามั่งมีน้อยไปฤา  ยังช่วยตัวเองไม่ได้

(ด่าตุลาการทั่วไปอีก  แปดบรรทัด   ไม่มีเป้าหมายสำคัญ)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 15 พ.ย. 09, 18:20

เรื่องพระยาอาหารบริรักษ์(นุช)  ก็สนุกดี

ท่านขนข้าวเข้าบ้านญาติผู้ใหญ่ของคนเขียนแท้ๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 15 พ.ย. 09, 18:29

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1851.90;wap2

คดีพระยาอาหารบริรักษ์

เริ่มจากมีการปรับเปลี่ยนระบบพระคลังมหาสมบัติ พระยาอาหารบริรักษ์(นุช บุญ-หลง) เสนาบดีกรมนา ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานชายของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ภายหลังจากที่ปรึกษาราชการแผ่นดินเสนอให้มีการจัดระเบียบการเก็บค่านาใหม่ พระยาอาหารบริรักษ์ไม่ยอมรับและปฏิเสธที่จะปฏิบัติตาม โดยอ้างเหตุผลว่า ร่างกฎหมายที่ว่าด้วยที่นาใหม่นอกจากจะนำมาใช้ไม่ได้ในทางปฏิบัติแล้วยังก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้อย่างมากอีกด้วย เมื่อเสนาบดีกรมนามีปฏิกิริยาเช่นนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ตั้งกรรมการ สอบบัญชีเงินย้อนหลัง และปรากฏว่าบัญชีรายรับเงินภาษีของกรมนาและจำนวนเงินที่กรมนาส่งให้แก่พระคลังมหาสมบัติ
แตกต่างกันอย่างมาก จึงมีการดำเนินคดีกับพระยาอาหารบริรักษ์เสนาบดีกรมนา

การพิจารณาคดีของพระยาอาหารบริรักษ์เป็นการแสดงเจตจำนงอย่างแน่วแน่ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จะทรงใช้ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและที่ปรึกษาราชการส่วนพระองค์เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบการบริหารการปกครองประเทศของพระองค์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเริ่มจากการเคร่งครัดเรื่องของภาษีอากร ให้ขุนนางต้องดำเนินการภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนด เมื่อมีหลักฐานชัดเจน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ริบราชบาตร ถอดพระยาอาหารบริรักษ์ กับผู้สมรู้ร่วมคิดลงเป็นไพร่   มีโทษจำคุก
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 15 พ.ย. 09, 18:33

นายจิตรเล่า

"ท่านยังพูดกันอีกว่า   ได้พร้อมกันให้เจ้าพระยาภูธราภัย   เจ้าพระยาภานุวงษ์มหหาโกษาธิบดีเป็นหัวหน้าแอดเดรส ถวายว่า

ข้าพเจ้าขอให้พระบรมราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ได้สืบราชอิสริยศต่อติดเนื่องตามที่พระองค์ได้ครอบครองสิริราชสมบัติดังต่อไป


นายใจถามว่า  เจ้าใหญ่ ๆ ท่านว่าอย่างไรเล่า


นายจิตรจึงตอบว่า   นี่  พวกท่านที่ไม่ได้เป็นเคาน์ซิลก็พูดดังนี้          แต่พวกเคาน์ซิลกว่าสี่สิบคนท่านพูดพร้อมกันว่า
ช่างเป็นไร         ธรรมเนียมบ้านเมืองไหนมีไม่ให้กับพระราชโอรส

พวกเราก็ล้วนแต่มีกำลังพาหนะด้วยกันทุกคน

ถ้าใครจะขัดไม่ให้ทำถูกต้องตามธรรมเนียมที่ดีเหมือนเช่นนี้แล้ว   ก็จะต้องสู้กันให้ถึงแพ้และชนะ
เพราะเห็นเป็นการเจริญดีแล้ว"
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 15 พ.ย. 09, 18:42

นานมาแล้ว อ่านบันทึกของพระองค์เจ้าปฤษฏางค์  ท่านบ่นน้อยใจต่าง ๆ นา ๆ
ว่าท่านก็ได้ร่วมคำสาบานว่าจะปกป้ององค์รัชทายาท

อ่านแล้วก็ตื่นเต้นคนเดียวอยู่หลายปี

โชคดีได้อ่าน คำสาบานวัดพระแก้ว  ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
จึงเข้าใจการเมืองสมัยโน้นขึ้นมาบ้าง



ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ก็อยู่แถว ๆนี้ หนึ่งท่าน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 15 พ.ย. 09, 19:49

หน้า ๑๒๕

"ได้ยินนายห้างและกงศุลพูดกันว่าในหลวงพระองค์นี้   พระปัญญามีในพระเศียรมากนัก
ทรงคิดการอย่างดีทุกสิ่ง       ห้ามไม่ให้เด็กชายขายตัวเกินเกษียณอายุ
แล้วอายุ ๒๑ก็หมดค่าตัว      ขายไม่ได้อีกต่อไป

นี้เป็นการดีจริงๆ ไม่เดือดร้อนกับคนในเมืองของท่านเลย

แล้วนานไปทาสก็คงหมด


ไม่เหมือนเมื่อครั้งริเยน(ผู้สำเร็จราชการ)ได้ทำการนั้น      จะให้ลดค่าตัวทุกคนเดือนละสองบาท
สักห้าปีทาสก็จะหมด
ก็จะเที่ยววิ่งราวไปทั้งแผ่นดิน        โปลิศทหารก็ไม่จัด

พวกเราจะต้องคอยช่วยเคาน์ซิลและในหลวงมิให้มีผู้ขัดได้

นายจิตรจึงถามว่า  ใครที่เรียกว่าริเยน
นายใจจึงตอบว่า สมเด็จพระประสาท(เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์)น่ะเป็นไร"


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 15 พ.ย. 09, 19:58

"นายใจจึงว่าเรากลับไปบางกอก   เราชวนเพื่อนเข้าชื่อกันสักสองร้อยสามร้อยคน
ทำเรื่องราวถวายฏีกาสักครั้งหนึ่ง

ขอให้เจ้านายและข้าราชการสาบานให้เหมือนเคาน์ซิลทุก ๆ คน  เมื่อเวลาถือน้ำในวัดพระแก้ว

ในคำสาบานถือน้ำไม่เห็นมีอะไร   มีแต่ไม่ให้คิดกบฏเท่านั้น
ไม่มีที่จะทำนุบำรุงบ้านเมืองให้ราษฎรมีความสุขเลย


นายจิตรจึงว่าดีอยู่
ถ้าชวนกันได้สักสองร้อยสามร้อยคน แล้วก็ไม่เป็นไร
ถึงจะไม่ทรงโปรด   ก็เห็นจะไม่เอาไปเฆี่ยนไปฆ่าเสียดอก   เพราะมากคนด้วยกัน"

  
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 16 พ.ย. 09, 09:06

สงสัยจะเข้าชั้นเรียนช้าไป  คุณวันดีกะอาจารย์เทาชมพูอภิปรายกันไปไกลแล้ว

ผมก็เหมือนกับคุณวันดีล่ะครับ  ผมเพิ่งได้อ่านหนังสือ อัญมณีแห่งวรรณกรรมไทย ของ  พิทยา  ว่องกุล  เมื่อเดือนสองเดือนก่อน แล้วรู้สึกติดใจเรื่องนิทานว่าด้วยนายจิตรกับนายใจสนทนากัน  อ่านบทความที่คุณพิทยาเขียนสนุกดี  เพราะเขียนละเอียดและยกนิทานเรื่องดังกล่าวมาให้อ่านประกอบด้วย แทบไม่ต้องหาตัวบทประกอบเพิ่มเติม  แต่... ด้วยความอยากรู้จึงไปเสาะหาเอกสารตามที่คุณพิทยาได้อ้างอิงเอาไว้ในบทความ

นึกขึ้นได้ว่าเคยถ่ายสำเนาหนังสือดรุโณวาทมาไว้เล่มหนึ่ง  เป็นดรุโณวาทที่นำมาพิมพ์ใหม่ เป็นหนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพพันตำรวจเอก หม่อมเจ้ามนูญศิริ  เกษมสันต์ เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๑๒  ในการพิมพ์ครั้งนี้ ศาสตราจารย์ขจร  สุขพานิช ได้เขียนคำอธิบายความเป็นมาของหนังสือดรุโณวาทไว้ยาวทีเดียว  จากนั้นก็เป็นดรุโณวาทที่พิมพ์ตามต้นฉบับเดิมทุกประการ  เสียดายว่า ต้นฉบับที่นำมาพิมพ์นี้เป็นเพียงดรุโณวาทฉบับแรกเริ่มออกไปจนถึงฉบับที่ ๑๐ เศษๆ ไม่ครบตามฉบับที่ได้ออกทั้งหมด  ซึ่งฉบับที่มีเรื่องนิทานว่าด้วยนายจิตรกับนายใจสนทนากัน  ก็เป็นฉบับที่ไม่ได้นำมาพิมพ์ด้วยสิ   เป็นอันว่าไม่ได้อ่านดรุโณวาทที่ลงพิมพ์นิทานเรื่องที่ว่า  ต่อมาได้มีการตีพิมพ์หนังสือดรุโณวาทนี้อีก เป็นหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพพันตำรวจตรี  หลวงนาทสิริวัฒน (สนั่น  นาทสิริ) เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๑๖  แต่ก็พิมพ์ตามแบบที่พิมพ์ครั้งงานศพ พ.ต.อ. ม.จ.มนูญศิริ เกษมสันต์ นั่นเอง มิได้เพิ่มเติมฉบับดรุโณวาทอีกแต่อย่างใด.  ก็นับว่ายังโชคดีที่หนังสือเก่าแก่เล่มนี้ได้มีการตีพิมพ์สืบอายุแล้วอย่างน้อย ๒ ครั้ง แม้จะไม่ครบตามฉบับที่ได้ออกก็ตาม  แต่ถ้าจะหาอ่านฉบับที่มีเรื่องนายจิตรนายใจฯ คงต้องไปนั่งอ่านไมโครฟิล์มที่หอสมุดแห่งชาติแทน.

เอกสารอีกชิ้นหนึ่งที่คุณพิทยา ได้อ้างอิงไว้หลายแห่งคือบทความเรื่อง พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชกับหนังสือพิมพืดรุโณวาท เมื่อ ๑๑๑ ปีมาแล้ว ของคุณณัฐวุฒิ  สุทธิสงคราม ลงพิมพ์ในวารสารรัฐสภาสาร ช่วงปี ๒๕๑๐ เศษๆ ซึ่งท่านผู้สนใจบทความนี้ สามารถเข้าไปค้นหาอ่านได้ในรูปแบบไฟล์พีดีเอฟที่เว็บไซต์รัฐสภา สะดวกดีเหลือประมาณ  (ใครที่สนใจบทความเรื่องอื่นๆ ของคุณณัฐวุฒิ ฯ ก็สามารถหาอ่านได้จากที่นี่เหมือนกัน) บทความนี้ยาวพอสมควรที่เดียว  เพราะคุณณัฐวุฒิฯ ได้ไปค้นเอกสารจดหมายเหตุเกี่ยวกับเรื่องนี้มาลงพิมพ์ประกอบเรื่องไว้ทุกฉบับเอกสาร  ซึ่งว่ากันตามตรง  คุณพิทยา เองก็เอาเนื้อความจากคุณณัฐวุฒิมาเล่าใหม่หลายแห่ง.

เอกสารอื่นที่ควรต้องอ่านคือราชกิจจานุเบกษาฉบับปีแรกที่ตีพิมพ์อีกครั้งในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งลงเรื่องตั้งปรีวีเคาน์ซิล  เพราะนิทานเรื่องนายจิตรนายใจได้พูดถึง การตีพิมพ์จำนวนศักดินาของท่านผู้หนึ่งตกศูนย์ไปตัวหนึ่ง  ซึ่งก็ไม่ใช่ใครที่ไหนก็คือเจ้าพระยามหินทร์นั่นเอง   (เรื่องเจ้าพระยามหินทร์ นี่ก็สนุกมากเหมือนกัน  ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรับสั่งกับเจ้าคุณมหินทร์ว่า ถ้าพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว เจ้าคุณมหินทร์จะต้องถูกคนอื่นรังแก  ไม่ผิดเลยจริงๆ  อ่านได้ในจดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต)

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 16 พ.ย. 09, 09:24

เรื่อง "สนุกนิ์นึก" ที่คุณเทาชมพูกล่าวว่าได้ทดลองแต่งต่อให้จบนั้น โดยอาศัยข้อสันนิษฐานว่า สนุกนิ์นึก น่าจะเป็นนวนิยาย มากกว่าเรื่องสั้น จำได้ว่าเคยอ่านในวารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร แต่จำฉบับไม่ได้  และที่เสียดายยิ่งกว่าคือ ไม่ได้ถ่ายสำเนาเก็บไว้  ถ้าคุณเทาชมพูจะพิมพ์เผยแพร่ในกระทู้ก็น่ายินดีนัก  ต้นฉบับสนุกนิ์นึก ที่พิมพ์ในวชิรญาณนั้น คงหาอ่านยาก  เคยอ่านแต่ในหนังสือประชุมพระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เข้าใจว่าคงจะใช้ได้เหมือนกัน

(ส่วนตัวก็เคยเรียนที่เดียวกับที่ที่คุณเทาชมพูเคยทำงานอยู๋มาก่อน จึงได้อ่านเรื่องสนุกนิ์นึกตอนจบ)

ในช่วงแรก ๆ ของการเขียนเรื่องสั้นนวนิยายของไทย  การเอาชื่อสถานที่ที่มีอยู่จริงมาเขียนเป็นเรื่องแต่งอาจจะทำให้คนอ่านสมัยนั้นสับสนหรือไม่ออกว่าตกลงเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องแต่ง  ยิ่งถ้าพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ข่าว อาจจะยิ่งสับสนว่าจริงหรือเปล่า  ยิ่งถ้าเขียนเรื่องที่ออกจะกลายเป็นข้อครหาต่อไปได้ ยิ่งวุ่น  กรณีสนุกนิ์นึกก็น่าจะเข้าประเด็นนี้แถมเป็นกรรีตัวอย่างด้วย

ส่วนนิทานเรื่องนายจิตรนายใจสนทนากัน เป็นการแต่งว่ากระทบคนอื่น อาจจะดูคล้ายๆ กรณีพญาระกาในปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ เหมือนกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 16 พ.ย. 09, 09:38

คุณหลวงจำสลับกันนิดหน่อย     ดิฉันแต่งต่อ"สนุกนึก"(ขอสะกดแบบใหม่)  เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นเรื่องสั้น ไม่ใช่นวนิยาย  ก็พบว่าเขียนต่ออีกนิดเดียวก็จบเรื่องได้
ขอเวลาไปค้นเอกสารก่อนนะคะ  แล้วจะตั้งกระทู้แยกไปต่างหาก   
ตอนนี้เจอเนื้อเรื่องสนุกนึก ที่คุณศรีปิงเวียงนำมาลงในกระทู้เก่า ก็ copy ลง ส่งตู้หนังสือของคุณม้าไปแล้ว

น่าเสียดายที่ไม่เคยอ่านฉบับเต็มของนายจิตรนายใจสนทนากัน  หนังสือของคุณพิทยา ก็ยังไม่ได้อ่าน   ได้แต่ถอดรหัสจากที่คุณวันดีนำมาลง   
รู้สึกเหมือนไม่ใช่เรื่องสั้น   แต่เป็นคล้ายๆพิธีกร ๒ คนมารีวิวเหตุการณ์บ้านเมืองบางส่วนกัน   เน้นไปที่ วี.ไอ.พี.บางคน 
ถ้าเป็นยุคนี้ก็นึกหน้านายจิตรนายใจ เป็นคุณสรยุทธ์   หม่อมปลื้ม หรือคุณกิตติ  คนใดคนหนึ่ง

เจ้าพระยามหินทรฯ  หรือ "พ่อเพ็ง" ข้าหลวงเดิมของสมเด็จพระจอมเกล้าฯ นั้น  ดูๆไปท่านก็น่าสงสาร   เมื่อสิ้นใบบุญเจ้านายแล้ว  แม้ไม่อาภัพเท่าสุนทรภู่ที่ว่า " สิ้นแผ่นดินสิ้นรสสุคนธา   วาสนาเราก็สิ้นเหมือนกลิ่นสุคนธ์"   
แต่ก็ดูว่าท่านฟกช้ำดำเขียวอยู่หลายเรื่อง   

ดิฉันเคยเห็นหน้าคุณหลวงเล็กสมัยเรียนแน่ๆ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 16 พ.ย. 09, 11:17

คุณหลวงจำสลับกันนิดหน่อย     ดิฉันแต่งต่อ"สนุกนึก"(ขอสะกดแบบใหม่)  เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นเรื่องสั้น ไม่ใช่นวนิยาย  ก็พบว่าเขียนต่ออีกนิดเดียวก็จบเรื่องได้

สงสัยจะจำผิดจริงๆ ครับ เพราะได้อ่านมานานแล้ว  และที่ได้อ่านเพราะมีอาจารย์ที่สอนสมัยเรียน ป.ตรี สั่งให้ไปหามาอ่านจึงได้อ่าน 

คุณเทาชมพูคงไม่ได้เห็นผมสมัยที่ยังเรียนหรอกครับ  เพราะหลังจากที่ คุณเทาชมพู ไม่ได้สอนที่นั่นแล้วหลายปี  ผมจึงได้เข้าเรียนที่นั่น  แต่ก็ได้ยินชื่อเสียงคุณเทาชมพูอยู่เสมอ 

นิทานเรื่องนายจิตรนายใจสนทนากัน ถ้าวิเคราะห์ลักษณะงานเขียนแล้ว ก็คงเคล้ายๆ บทความวิจารณ์ได้กระมังครับ

เจ้าคุณมหินทรฯ ไม่ได้มีเรื่องเฉพาะกับเจ้าคุณภาสกรณ์วงศ์ เท่านั้น กับขุนนางผู้ใหญ่คนอื่นๆ ก็มีเรื่องกระทบกระทั่งกันจนเกิดเรื่องใหญ่ ก็ คือ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี  เกี่ยวกับเรื่องนางเล็กๆ  ตอนท้ายๆ ชีวิตของเจ้าคุณมหินทรฯ ค่อนข้างแย่มากทีเดียว ลูกชาย ชื่อนายบุศย์ ซึ่งเป็นมหาดเล็ก ต้องกราบบังคมทูลลาออกจากราชการเพื่อมาดูแลกิจการละครของท่านเจ้าคุณที่ทิ้งเอาไว้  แต่ก็ว่ากันว่า ไปไม่รอดเหมือนกัน  เรื่องเจ้าคุณมหินทรฯ มีที่น่าสนใจอีก โดยเฉพาะเรื่องของหลวงพัฒนพงศ์ภักดี(ทิม สุขยางค์) ที่แต่งนิราศหนองคาย  ซึ่งเป็นคนสนิทของท่านเจ้าคุณฯ  และว่าแต่งบทละครให้ดรงละครของเจ้าคุณเล่นหลายเรื่อง  แต่ก็แปลกที่หาบทละครที่หลวงพัฒนพงศ์ภักดีอ่านยากมาก  ที่เคยมีวงศเทวราชตอนต้นที่รัชกาลที่ ๕ เอามาแต่งล้อ กับบทละคอนเรื่องอาบูหะซัน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 16 พ.ย. 09, 12:18

หนังสือดี ๆ  อ่านแล้วก็ไม่ทราบจะคุยกับใคร

มีคนมาแนะนำแก้ไขก็ยิ่งอ่านได้เรื่อง


ดิฉันตามหาหนังสือของครูเหลี่ยมอีกสามเรื่องค่ะ  รู้สึกจะใช้อีกชื่อหนึ่ง
ค้นได้อัญมณีแห่งวรรณกรรมไทย ก็คุ้ยออกมาอ่านอีก
เข้าใจว่าอาจารย์พิทยา ว่องกุลจะเป็นผุ้แนะนำเวทางค์
ก็เลยอ่าน อัญมณี
อ่านใหม่ทีไรก็ได้ความรู้เพิ่ม


มีหนังสือเรื่องปรีวีเคาน์ซิลเล่มยักษ์อยู่เล่มหนึ่ง  ยังค้นไม่ได้ว่าเก็บไว้ที่ไหน
หามาเพื่อดูรายชื่อขุนนางสกุล อมาตยกุล   เป็นสกุลที่กำลังจะรุ่งเชียวนะคะ
มรดกก็มากมี   สมาชิกของสกุลก็ทำงานสุจริต  ส่งบ่าวไปพายเรือขายขนม


ขอบคุณคุณหลวงเล็กที่ที่ชวนคุย   



บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 16 พ.ย. 09, 13:11

ผมถือคติว่า หนังสือดีมีแล้วต้องอ่าน  อ่านแล้วก็พยายามหาทางเล่าสู่กันฟัง  หรือไม่ก็เขียนเผยแพร่ให้คนได้รู้จักมากขึ้น 

เรื่องปรีวีเคาน์ซิล นี่  จำได้ว่า มีคนรวบรวมพิมพ์เป็นหนังสือที่ระลึกงานศพ อยู่ ๒ เล่ม
เล่มแรก ชื่อ การประชุมปรึกษาราชการแผ่นดินในรัชกาลที่ ๕ พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าจอมประคองในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๙  เล่มนี้ดี มีตัวอย่างคำปรึกษาราชการบางเรื่องลงไว้ให้อ่านด้วย แต่หาอ่านยากสักหน่อย  คุณวันดีคงมีกระมังครับ

เล่มที่ ๒ ชื่อ เรื่องสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมศิลปากรรวบรวม พิมพ์เป็นหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพพลเอก หลวงสถิตยุทธการ (สถิต สถิตยุทธการ) เมื่อ ๒๕๑๔  เล่มนี้เป็นเอกสารจากราชกิจจานุเบกษาโดยมาก เล่มนี้หาไม่ยากเท่าเล่มแรก

หรือถ้าจะให้รู้มากขึ้นคงต้องอ่านรายงานการประชุมเสนาบดีสภา  พิมพ์แล้วมีหลายเล่ม ที่ยังไม่ได้พิมพ์ก็มีอีกมากเหมือนกัน

เห็นคุณวันดีแย้มๆ เรื่องบันทึกของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์  พอดีเพิ่งได้อ่านหนังสือประวัติย่อ นายพันเอกพิเศษ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ แต่ประสูติ พ.ศ. ๒๓๙๒ ถึง ๒๔๗๒ เล่ม ๑  พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงเอนกนัยวาที (ม.ร.ว.นารถ  ชุมสาย) คุณพ่อของ ม.ล.มานิจ  ชุมสาย  เมื่อปี ๒๕๑๓  เลยอยากถามคุณวันดีว่า  เล่ม ๒ และ ๓ ของหนังสือนี้ มีใครเคยเอามาพิมพ์ใหม่บ้างหรือไม่  เพราะเห็นหัวเรื่องสารบัญเล่ม ๒ เล่ม ๓ ที่อยู่ในเล่ม ๑ ที่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงเขียนไว้  น่าสนใจอยู่ จึงอยากจะหามาอ่าน

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง