เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 7002 ชาติพันธุ์วรรณา ในขุนช้างขุนแผน (๔)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 13:05

ดิฉันมีเรื่อง ชาติพันธุ์วรรณา มาเล่าเพียงเท่านี้ค่ะ   ถ้ากระทู้นี้จะยาวต่อไปอีก  ก็คือสมาชิกเข้ามาร่วมแจมด้วยเท่านั้น

ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาร่วมความคิดเห็น และมาอ่าน ให้กระทู้คึกคักและลากยาวมาถึง ๔ กระทู้
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 15:02

ย่ามละว้า ของคุณมาลา คำจันทร์ ครับ

จาก http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=5604&stissueid=2743&stcolcatid=2&stauthorid=138


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 15:07

เสมียนละว้า

จารึกโคลงภาพคนต่างภาษา แผ่นที่ ๓ (ภาพกะเหรี่ยง)

ประวัติ      จารึกนี้เป็นหนึ่งในจารึกโคลงภาพต่างภาษาจำนวน ๓๒ แผ่น บริเวณผนังเฉลียงศาลารายทั้ง ๑๖ หลัง
               ของวัดพระเชตุพนฯ จารึกแต่ละแผ่นประกอบด้วยโคลง ๒ บทซึ่งอธิบายถึงลักษณะของชนชาติต่างๆ เช่น
ผิวพรรณ, การแต่งกาย, ความเชื่อ และถิ่นที่อยู่อาศัย จำนวนแผ่นละ ๑ ชาติ รวมเป็นโคลง ๖๔ บท ๓๒ ชนชาติ
โดยมีการหล่อประติมากรรมรูปชาวต่างชาติที่สอดคล้องกันกับจารึกตั้งไว้ในศาลารายดังกล่าว ศาลาละ ๒ รูป
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ทั้งจารึกและประติมากรรมได้สูญหายไปเกือบทั้งหมด
               ในส่วนของจารึกเหลือเพียง ๒ แผ่น คือ แผ่นที่ ๒๙ (ภาพญวน) และ แผ่นที่ ๓๐ (ภาพจีน)

             เนื้อหาโดยสังเขป อธิบายถึงการแต่งกายของชาวกะเหรี่ยง ซึ่งสวมเสื้อที่เรียกว่า “เสมียนละว้า”
และสร้อยลูกปัด จากนั้นกล่าวถึงที่อยู่อาศัยตามป่าและลำห้วย โดยระบุนามผู้แต่ง คือ จ่าจิตรนุกูล

ผู้สร้าง        พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)

การกำหนดอายุ  กำหนดอายุจากประวัติการสร้างจารึกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)
                  ซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส)
ดังความว่า “…ที่สุดเฉลียง ๒ ข้าง หล่อเป็นรูปคนต่างชาติตั้งไว้ศาลาละ ๒ รูปมีศิลาจารึกโคลงดั้นบาทกุญชรบอกลักษณเพสชาติติดไว้
ข้างผนังอย่างฤษีดัดตนฉะนั้น…”

จาก http://www4.sac.or.th/jaruk2008/main.php?p=ZGV0YWls&id=1606

โคลงบรรยายชนชาติกระเหรี่ยง

ใส่เสื้อเสมียนลว้าปิด         กายสกนธ์
เมล็ดปัดกรองสวมคอ        สูตรร้อย
แรมไร่ระไวหน                 ทางจรอก
เดิรดัดดูด้อยด้อย             ด่านพลูฯ

จาก http://www.hilltribe.org/thai/webboard/main.php?board=000995&topboard=3
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 15:10

และ 

          จากสมุดราชบุรีซึ่งเป็นรายงานของมณฑลราชบุรีในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่มากมายและได้กล่าวถึงชาวกะเหรี่ยง ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่าได้มีการตั้งหลักแหล่ง
แน่นอนภายใต้การปกครองของสยามมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ในเมืองราชบุรี กาญจนบุรี และเพชรบุรี 
          พวกนี้มาจากเมืองเมกะวะ แขวงเมืองมะละแหม่งทางใต้ของพม่า ได้อพยพเข้ามาครั้งแรกประมาณ ๑๐๐ คน
มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ห้วยชองกะเลียเรียกว่าบ้านทุฬ่อง ต่อมาก็มีการอพยพเพิ่มเติมเรื่อยมา เมื่อมีจำนวนมากขึ้น
ก็ขอเข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองของสยาม จึงได้ตั้งผู้ปกครองเป็นลำดับโดยได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดเงินปี
เช่นเดียวกับข้าราชการท้องถิ่นอื่น ๆ
          ผู้นำชาวกะเหรี่ยงได้รับแต่งตั้งเป็นพระยาศรีสุวรรณคีรี เจ้าเมืองสังขละบุรีต้องลงไปถือน้ำพระพิพัฒนสัตยา
ที่กาญจนบุรี ๓ ปีครั้ง โดยจะนำเอาผ้าทอสีขาวสีแดงที่ชาวกะเหรี่ยงทอเอง ๒๐ ผืน แต่ผ้านี้กลับเรียกว่า ผ้าเสมียนละว้า
ต้นดอกไม้เงิน ๒ ต้น เครื่องยาสมุนไพรและของป่าเป็นเครื่องบรรณาการไปถวายที่กรุงเทพฯ

จาก http://lib.payap.ac.th/ntic/kareng.htm
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 19 พ.ย. 09, 09:54

ขอบคุณค่ะ คุณ SILA
เสมียนละว้า  คือ เสื้อแบบกะเหรี่ยง นี่เอง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 19 คำสั่ง