virain
|
ความคิดเห็นที่ 90 เมื่อ 13 พ.ย. 09, 17:49
|
|
ขอโทษด้วยครับที่จริง(พี่แพร)พยายามติดต่อแล้ว ทีแรกติดต่อพี่ยีนส์ไม่ได้ และไม่มีเบอร์ของคุณsittisakด้วยครับ (คุณทอมมี่หรือเปล่าครับ)
ต่อมาเป็นธรรมาสน์ครับ ธรรมาสน์หลังนี้อาจารย์ น ณ ปากน้ำ อธิบายว่า “เข้าใจว่าอย่างต่ำต้องอยู่ในสมัยพระชัยราชา หรืออายุสูงไปกว่านี้ เพราะธรรมาสน์สมัยพระมหาจักรพรรดิเริ่มใช้กระจังแล้ว แต่นี่ยังเป็นกระทงแบบเดียวกับวัดศาลาปูน ส่วนกาบพรหมศรก็ยังเป็นกาบไผ่ที่แข็งทื่ออยู่ มีรูปจำหลักชาวอยุธยาสมัยพระชัยราชาอยู่ที่แผงไม้เหนือกระทงธรรมาสน์ด้วย สังเกตว่าธรรมาสน์สมัยนี้ทำเป็นกระทงซ้อนเป็นชั้นไป ทีท่าว่าจะเลียนแบบกระทงดอกบัวที่ซ้อนเป็นชั้น”
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ฉันรักบางกอก
|
ความคิดเห็นที่ 91 เมื่อ 13 พ.ย. 09, 18:28
|
|
คุณน้องคะ พี่ก็อ่านอยู่เหมือนกัน (แต่นานๆครั้ง)
ถึงคุณทอมมี่
รบกวนส่งอีเมลล์ พร้อมเบอร์ติดต่อมาที่ฉันรักบางกอกหน่อยได้ไหมคะ ตอนนี้กำลังรวบรวมสมาชิกชมรมฯอยู่ ไว้คราวหน้ามีข่าวคราว รวมตัวกัน จะได้ส่งเป็นจดหมายข่าวคะ
.....ประทับใจทริบนี้มาก ได้ความรู้เพิ่มเติม เห็นอะไรที่ไม่เคยเห็น อยากกลับไปอีก บ่อยๆ..แต่เงินไม่มี ฮาๆๆๆๆ ขอบคุณพี่เซีย กับน้องเนมาก ที่อดทนอธิบายข้อมูล ถือว่าทำบุญให้กับคนแก่ละกันนะน้องเน
ทนรอดูรูปต่อไปไม่ไหวแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กนก นารี กระบี่ คชะ
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 92 เมื่อ 13 พ.ย. 09, 18:56
|
|
ที่ติดต่อพี่ยีนส์ไม่ได้นี่สงสัยหลบเจ้าหนี้อยู่ 5555555555555 มาดูรูปวัดไชยฯที่ถ่ายไว้เมื่อปี2528ไปกับอาจารย์สุดสาครตั้งแต่ยังไม่บูรณะเลยครับ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 93 เมื่อ 13 พ.ย. 09, 19:00
|
|
นี่ภาพพุทธประวัติ ไอ้ที่หน้าตาหายไปนี้ก็โดนกระเทาะโดยหัวขโมยเป็นส่วนมากครับ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 94 เมื่อ 13 พ.ย. 09, 19:07
|
|
ชื่อชมรม ตกลงยังไม่มีใครสนใจจะตั้งให้ เราก็ยังใช้ชื่อเดิมไปก่อน เพราะยังไม่มีอารมณ์คิดเหมือนกัน"ยาวดีไม่เหมือนใคร" ไว้เรารวมชมรมกันมิตติ้งสักครั้ง"กินข่าวเล่าเรื่อง"ค่อยใช้ภูมิปัญญาเราตั้งเร็วสุดก็ปีใหม่ช้าสุดก็ตรุษจีนปีหน้าตรงกับวาเลนไทม์ด้วย
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 95 เมื่อ 13 พ.ย. 09, 19:14
|
|
ภาพพี่ยีนส์โพสตรงใจมากเลยครับ เคยคิดว่าอยากเห็นลายในตัวเหงานี้อยู่เลย ขอบคุณมากๆเลยครับ มีอีกไหมครับชอบมากๆ บรรยากาศสมัยนั้นคงน่าไปผจญภัยไม่น้อนเลย ตอนนั้นไปลำบากไหมครับพี่ เล่าบรรยากาศให้ฟังหน่อยสิครับ
ชื่อชมรมคงต้องรอตั้งไว้หลายๆชื่อ เอาไว้ให้หัวหน้าชมรมเลือก รอดูตราประทับออยู่เหมือนกัน
พี่แพรครับวันนี้ยอมรับว่าแก่แล้วหรือครับ อย่างนี้ที่ไปเรียกพี่ยีนส์ พียุทธ พี่เซีย เขาก็เข้าใจผิดสิครับว่าอายุเยอะกันทั้งนั้น 555 (ออกหน้ากระทู้ด้วย)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 96 เมื่อ 13 พ.ย. 09, 20:29
|
|
อย่าพูดอะไรที่เกี่ยวกับแก่ๆนะ ไม่มีใครยอมรับว่าแก่หรอก 555555555555 โดยเฉพาะหัวหน้าชมรมฯอิอิ โดยเฉพาะเวลาอยู่กับหนูๆ อิอิ รูปที่เหลืออยู่ตามนี้เลย สมัยก่อนถ่ายกล้องฟิล์มมันถ่ายเยอะไม่ได้ตามงบ เพราะไปหลายวัดต้องแชร์ๆกันไป ว่าแต่ไปถ่ายวัดกษัตราธิราชวรวิหารมารึเปล่า เออแล้วไอ้รูปธรรมมาสน์นั่นที่ไหนคุ้นๆตา แล้วที่ไปถ่ายในพิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา เค้าให้ถ่ายรึ หรือแอบถ่ายเค้ามาบอกมาดีๆ
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 97 เมื่อ 13 พ.ย. 09, 20:44
|
|
5555 ธรรมาสน์นี้พี่ต้องรู้จักแน่นอนครับ แต่เหมือนจะรับปากพระไว้จะไม่บอกชื่อวัดลงในกระทู้อ่ะครับ พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยาผมให้มหาวิทยาลัยออกใบอณุญาติ ขออณุญาติทางพิพิธภัณฑ์ไปครับ จากที่ตั้งเป้าไว้ก็ได้ประมาณ 60 เปอร์เซนต์เองครับ เวลามีน้อยเลยไม่ได้ไปวัดกษัตราธิราชฯเลย น่าเสียดาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 98 เมื่อ 13 พ.ย. 09, 20:48
|
|
ธรรมาสน์นี้เป็นงานไม้แกะสลักที่สวยงามชิ้นหนึ่ง ซึ่งก็ทำให้พี่แพรออกจะตื่นตาตื่นใจไม่น้อย ออกปากว่างามแปลกตาอยู่ ที่แผงไม้อ้อยแกะสลักเป็นรูปเทวดายืนเรียงแถวกันข้างหนึ่ง เป็นรูปนักสิตฤษีเหาะมาชุมนุมกันข้างหนึ่ง เป็นรูปผู้คนนั่งฟังธรรมกันอีกข้างหนึ่ง และที่แผงไม้ แกะเหล่านี้เองที่ทำให้ผมเขวไปเขวมาเพราะรูปแบบบุคลเสื้อผ้า ชายไหว มงกุฎ ดูเหมือนจะหลัง กว่ายุคพระชัยราชายังไงชอบกล ดูขัดๆกับลายที่กระทงซึ่งแกะเป็นลายเข้าใกล้ธรรมชาติมากอยู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 99 เมื่อ 13 พ.ย. 09, 20:50
|
|
ที่ชั้นฐานของธรรมาสน์ทำเป็นแท่นมีกระทงสองชั้น (กระทงที่ชั้นบนสุดไม่มี) พระเล่าว่ายังมีฐานที่ชั้นล่างสุดแต่ถูกโจรกรรมหายไปนานแล้ว ลักษณะฐาน ภาพรวมคล้ายๆพระยานมาศในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม แต่รายละเอียดต่างไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 100 เมื่อ 13 พ.ย. 09, 20:51
|
|
...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 101 เมื่อ 13 พ.ย. 09, 20:53
|
|
ที่ฐานเขียง?ล่างสุดที่เหลืออยู่แกะเป็นรูปสัตว์ป่านานาชนิด ซึ่งได้สวยงามเช่นกัน ฝั่งหนึ่งแกะเป็นรูปสัตว์ต่างๆก้มหัวให้กับราชสีห์ซึ่งเป็นเจ้าป่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 102 เมื่อ 13 พ.ย. 09, 20:54
|
|
ยอดทำเป็นหลังคาแบบยอดมณฑปมุงกระเบื้องซ้อนเป็นชั้นๆชั้นล่างติดกระจังเรียงเป็นแถว ที่มุมมีนาคปักแต่ไม่แกะเป็นรูปนาคซะทีเดียว ทว่าดูรวมๆแล้วคล้ายนาคแบบอยุธยาตอนต้น เรือนยอดลักษณะนี้ทำให้นึกถึงลักษณะยอดปราสาทในสมัยอยุธยาตอนต้น ซึ่งยังไม่ได้ เป็นแบบการคุมทรงจอมแหให้เป็นแบบสูงๆเพรียวๆขึ้นไป อาจใช้เป็นรูปแบบในการวิเคราะห์ รูปแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัยอื่นๆด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 103 เมื่อ 13 พ.ย. 09, 20:55
|
|
...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 104 เมื่อ 13 พ.ย. 09, 20:56
|
|
ลายเพดาน สวยมากครับ สังเกตลายตรงขอบแปลกมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|