เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16
  พิมพ์  
อ่าน: 40821 สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 210  เมื่อ 17 พ.ย. 09, 01:15

นอกจากนี้พวกเรายังมีโอกาสได้เดินทางไปที่วัดซองพลู เพื่อไปชมพระอุโบสถหลังเก่าที่สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย
ภายในวัดมีโบราณสถานเป็นพระอุโบสถซึ่งพระอุโบสถหลังนี้ถูกบูรณะใหม่โดยช่างรับเหมา ถึงแม้ทางวัดจะทำไปเพราะมีเจตนาที่ดี
แต่ก็ส่งผลเสียต่อโบราณสถานไม่น้อย เพราะมุมมองของทางวัดก็เป็นคือศาสนสถานที่ใช้ประกอบศาสนกิจ เป็นอาคารที่
ใช้ประโยชน์ได้จึงต้องการความมั่นคงแข็งแรง หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ใช้ประโยชน์ก็คงจะผุพังไป แต่เมื่อกรมศิลปากรเข้าไป
พบเห็นอีกครั้งก็ปรากฏว่าซ่อมใหม่เรียบร้อยเกือบหมดแล้ว(จากตอนนี้ก็ประมาณ2ปี) กรมศิลปากรจึงเข้าไปตักเตือนกับทางวัด
และเก็บชิ้นส่วนบางอย่างไป  บรรดาช่างที่มาซ่อมกลัวถูกจับก็พากันหนีไปหมด เพราะการซ่อมเข้าข่ายการทำลายโบราณสถานของชาติ ผลจากการซ่อมมีการกะเทาะผิวปูนที่ผุออกจนหมดแล้วฉาบผนังปั้นซ่อมซุ้มหน้าต่างประตุใหม่เปลี่ยนหลังคาเครื่องบน ถึงแม้ทางวัด
จะพยายามคุมให้อยู่ในรูปแบบเดิม แต่ความไม่มีความรู้ความชำนาญในการอนุรักษ์ของช่าง จึงทำให้รูปแบบผิดเพี้ยนไป
ข้อมูลจากการเล่าของพี่เซียบอกว่าวัดนี้แต่เดิมซุ้มประตูหน้าต่างเป็นลายปูนปั้นแบบฝรั่ง ที่ปัจจุบันมีการปั้นใหม่เลียนรูปแบบเดิม
แต่ไม่เหมือน และออกมาพิมพ์เดียวกันทุกช่องหน้าต่างและประตู บานประตูหน้ามีสองช่องเหลือลายรดน้ำรูปเทวดาสมัยอยุธยา
ที่บานคู่ซ้ายแต่เลือนรางจนแทบหมดแล้ว


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 211  เมื่อ 17 พ.ย. 09, 01:19

ช่องหน้าต่างทั้งแปดช่องเจาะเป็นช่องแหลม(มองเห็นได้จากด้านใน)แล้วใช้แผ่นไม้คั่นแบบคานให้อยู่ในทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า
บานหน้าต่างปรากฏร่องรอยเดาว่าเป็นลายรดน้ำแต่รางจนมองไม่ถนัด ปัจจุบันบานหน้าต่างถูกทาสีทับหมด ท่านใดมีรูปภาพ
ของซุ้มหน้าต่างชุดนี้หรือสภาพวัดก่อนการซ่อมแซม ขอความกรุณาลงรายละเอียดให้เห็นด้วยนะครับ จะเป็นพระคุณมาก


สอบถามข้อมูลกับพระในวัดพบว่ายังมีเศษปูนปั้นบางส่วนเหลืออยู่(ได้ยินว่าส่วนใหญ่ พช.ที่สุพรรณบุรีเก็บไป) เศษปูนปั้นดังกล่าว
ถูกทิ้งจมดินอยู่ในน้ำที่ท่วมขังข้างทางเดิน พี่เซียบอกกับพระท่านว่าเป็นงานสมัยอยุธยาและขอให้ท่านเก็บไว้ พระท่านก็ปฏิเสธที่จะนำไปเก็บไว้ เห็นอย่างนั้นเลยคิดว่าน่าจะนำมาเก็บไว้ก่อนดีกว่าทิ้งให้จมดินถมที่อยู่อย่างนั้น เลยเข้าไปขอกับท่านเจ้าอาวาสซึ่งท่านก็อนุญาตให้ เช้าวันรุ่งขึ้นผมจึงเดินทางไปกับเพื่อนอีก1คนและออกเดินหาเศษชิ้นส่วนอื่นๆบริเวณวัดแต่ไม่พบ พระท่านเล่าว่าเศษอิฐที่เหลือ
จากการรื้อกำแพงแก้วบางส่วนและอิฐจากเจดีย์เก่ารอบๆ ถูกนำไปถมที่และใช้ประโยชน์อื่นหมดแล้ว ผมกับเพื่อนจึงช่วยกันคุ้ยเขี่ย
ในโคลนแถวนั้นดูแล้วขนเศษปูนปั้นมาทำความสะอาด เลือกเฉพาะชิ้นส่วนสำคัญๆได้ประมาณ  20 ชิ้นมาขัดๆเอาเศษดินที่ติดออก
แล้วเลือกเอากลับมา 14 ชิ้นเพราะต้องนั่งรถแทคซี่ไม่สามารถนำมาทั้งหมดได้ ผมคุยกับพี่เซียเห็นควรว่าน่าจะเอาไปมอบให้กับ
พิพิธภัณฑ์ที่ไดสักที่หนึ่งครับ (ติดต่อไปแล้วแต่ยังไม่มีความคืบหน้า)


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 212  เมื่อ 17 พ.ย. 09, 01:20

ชิ้นนี้เป็นสำคัญคือส่วนยอดของซุ้มหน้าต่างหรือประตู เป็นยอดพุ่มดอกไม้คล้ายๆพุ่มข้าวบิณฑ
์แต่ใช้ลายแบบฟรั่ง เป็นรูปแบบศิลปะอยุธยาตอนปลายที่นิยมกันในหลังยุคสมเด็จพระนารายณ์ฯลงมา


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 213  เมื่อ 17 พ.ย. 09, 01:21

รูปศีรษระฟรั่งผมหยิกมีฟันกระต่าย  ตกใจ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 214  เมื่อ 17 พ.ย. 09, 01:21

...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 215  เมื่อ 17 พ.ย. 09, 01:22

...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 216  เมื่อ 17 พ.ย. 09, 01:29

ก็เป็นข้อมูลที่เกิดการตามรอยค้นพบศิลปะสมัยอยุธยาของผม พี่เซีย และพี่แพรในคราวนี้ ซึ่งก็ได้รู้ได้เห็นอะไร
ที่น่าสนใจประดับความรู้กันขึ้นมาบ้าง และที่นำภาพมาลงแบ่งปันนั้นนอกจากจะเป็นการเผยแพร่รูปแบบศิลปะไทย
ในลักษณะต่างๆ ที่ปรากฏตามโบราณวัตถุที่มีความงดงามแล้ว ยังหวังว่าจะได้รับความรู้เพิ่มเติมอีกจากพี่ๆในชมรมหรือ
ท่านอื่นๆที่แวะเวียนเข้ามาครับ

ช่วงนี้ผมเองก็เพลียๆเหนื่อยๆ ต้องทำอะไรหลายๆอย่างหยุดพักได้แปบๆก็มีอันต้องทำโน่นทำนี่
จะว่าไปการทำอะไรแบบที่ชมรมเรากำลังพยายามทำนี่มันก็เหนื่อยเหมือนกันจริงๆ สิ้นเปลือง
ทั้งกำลังทรัพย์ และกำลังกาย ว่าเอาแต่กำลังกายยังพอไหว ลำบากอยู่ก็ที่กำลังทรัพย์
เหนื่อยๆเข้าก็พาลหมดกำลังใจไปด้วย ผมเองก็ไม่ได้เรียนมาทางนี้โดยตรง ก็จำเป็นต้องไปทำ
ตามเรื่องที่เรียนอยู่ด้วยอีกต่อหนึ่ง ช่วงนี้ก็หันไปดูเรื่องโปรเจคทำๆไปก็หันมาโพสรูปลงกระทู้ครับ

เรื่องศิลปะเป็นเรื่องจรรโลงใจ แต่ช่วงนี้รู้สึกจะจริงจังมากเกินไปจนทำให้เริ่มสับสนวุ่นวาย
เพราะหลังจากจบแล้วไม่รู้จะมีโอกาสได้ ไปตระเวณดูโน่นดูนี่อีกหรือเปล่า ช่วงนี้เลยพยายามหาโอกาส
อยู่กับมันให้มากที่สุด ก่อนที่จะต้องไปทำงานตามหน้าที่ของตัวเอง

หลังจากเคลียทริป ลพบุรี อ่างทอง เพชรบุรี นครศรีธรรมราช ก็คิดว่าคงต้องหยุดทริปศิลปะแบบจริงจัง
สักพักมาเป็นทริปธรรมชาติ chill chill บ้าง หรือไม่ก็มานั่งอ่านหนังสือให้มากๆหาความรู้กันหน่อยครับ



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 217  เมื่อ 17 พ.ย. 09, 01:38

     ...
     ...
     ...
     ...
     ...
     ...

          พระคงคาวารีที่รินไหล      
     พาดผ่านไปหล่อเลี้ยงฝั่งทั้งสอง
     ดั่งเส้นเลือดโอบอุ้มและคุ้มครอง   
     เป็นสายของลำเจ้าแต่เก่ามา
     สายน้ำไหลรินเลื่อนย่ำเยือนถิ่น   
     ย่อมผ่านสิ้นดีชั่วมั่วปัญหา
     ทั้งประโยชน์โทษซัดพัดผ่านมา   
     เปรียบดังว่าคือมนุษย์สุดทัดทาน




บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 218  เมื่อ 17 พ.ย. 09, 01:41

          มวลมนุษย์มีมากอยู่หลากหลาย   
     ต่างจุดหมายที่มาภาษาขาน
     ทั้งความคิดฤทธิ์เล่ห์เสน่ห์พาล   
     สุนทรทานเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน
     ทั้งดีชั่วปะปนระคนเข้า      
     มีความเศร้าความทุกข์และสุขสันต์
     จากรื่นเริงจนพลัดพรากต้องจากกัน   
     วงจรนั้นยังหมุนเวียนไม่เปลี่ยนแปลง


     ...
     ...
     ...
     ...
     ...                                                virain


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 219  เมื่อ 17 พ.ย. 09, 08:47

วัดช้างใหญ่เป็นวัดมีมาแต่สมัยอยุธยา ภาพเขียนก็น่าจะมีมาแต่สมัยนั้น แต่มีการมาซ่อมแซมเขียนทับ ในสมัยร.4 ส่วนสภาพปัจจุบันนั้นเป็นการซ่อมโดยช่างปัจจุบันเสียแล้ว สำหรับตู้ลายรดน้ำนั้น น่าจะเป็นสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นไม่ถึงอยุธยา แต่ยังสงสัยอยู่ตรงตู้ที่มีขบวนเรือนั้นคล้ายที่วัดอนงคารามที่ฝั่งธนที่เป็นสมัยอยุธยา(พระนารายณ์)มากๆ(ปัจจุบันสูญหายไปแล้ว) ส่วนหีบพระธรรม ลวดลายคล้ายอยุธยา แต่ฝีมือไม่ดีนัก คล้ายจะเลียนแบบแต่ฝีมือไม่ถึง แต่ลักษณะตัวภาพตัวลายต้องบอกว่าเป็นอยุธยาครับ
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 220  เมื่อ 17 พ.ย. 09, 11:09

ขอบคุณครับ ว่าแต่ตู้วัดอนงคารามที่หายไปแล้ว เขียนเรื่องอะไรพี่พอมีรูปถ่ายไหมครับ
บันทึกการเข้า
asia
มัจฉานุ
**
ตอบ: 78


ความคิดเห็นที่ 221  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 19:03

จริงๆแล้วเรื่องตู้พระธรรมวัดอนงคารามนั้น ผมไม่แน่ใจนะครับ ว่าอยู่ในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขตคลองสาน หรือ พิพิธภัณฑ์ของวัดนั้นแหละมั้งครับ คาดว่ายังไม่หายไปไหน เพราะเคยเห็นไหนหนังสือท่องเที่ยวฝังธนบุรี ไม่กี่ปีมานี่เอง
บันทึกการเข้า
asia
มัจฉานุ
**
ตอบ: 78


ความคิดเห็นที่ 222  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 19:12

พบแล้วครับ ตู้พระธรรมที่ว่าอยู่ในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขตคลองสานจริงๆๆครับ ซึ่งพิพิธภัณฑ์ก็ตั้งอยู่ที่วัดอนงนั้นแหละครับ  www.dhammajak.net/board/files/paragraph_5_362.jpg
บันทึกการเข้า
asia
มัจฉานุ
**
ตอบ: 78


ความคิดเห็นที่ 223  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 19:26

เอาใหม่นะครับ www4.sac.or.th/museumdatabase/detail_museum.php?get_id=01-020
บันทึกการเข้า
asia
มัจฉานุ
**
ตอบ: 78


ความคิดเห็นที่ 224  เมื่อ 18 พ.ย. 09, 19:39

 ผมต้องขออภัยด้วยเนื่องด้วยไม่เก่งเรื่องคอมพิวเตอร์ ก็เลยไม่สามารถนำภาพลงได้ครับ เอาเป็นว่าอยู่ใน web ทั้งสองที่ให้ไว้แล้วกันน่ะคับ ลองคลิกหาตู้พระธรรมวัดอนงคารามดูครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง