virain
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 12 พ.ย. 09, 14:24
|
|
...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 12 พ.ย. 09, 14:26
|
|
วัดราชบูรณะอยู่ติดกับวัดมหาธาตุซึ่งวัดนี้ก็มีการบูรณะซ่อมแซมกันมาเรื่อยๆเช่นกัน จึงทำให้ปรากฏร่องรอยของปูนปั้นหลายยุคสมัย โดยที่ปรางค์ประธานปรากฏร่องรอย ของลายปูนปั้นสมัยอยุธยาตอนต้นเหลืออยู่บ้าง สำหรับลายปูนปั้นที่ซุ้มประตูพระวิหารหลวง เป็นลายปูนปั้นสมัยอยุธยาตอนปลาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 12 พ.ย. 09, 14:27
|
|
มารแบกอยู่ที่ฐานไพทีด้านทิศใต้ ลักษณะน่าจะคล้ายกับฐานกลองที่วัดใหญ่ พิษณุโลกอยู่บ้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 12 พ.ย. 09, 14:28
|
|
...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 12 พ.ย. 09, 14:30
|
|
ลายส่วนนี้เป็นลวดลายสมัยอยุธยาตอนต้นที่สวยงามเป็นพิเศษ แม้จะหลุดไปมากแล้วก็ยังพอเหลือร่องรอยให้จินตนาการได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 12 พ.ย. 09, 14:38
|
|
ลืมสวัสดีท่านสมาชิกทั้งหลายเลย อย่างแรกต้องสวัสดีหัวหน้าชมรมก่อนครับ ตามด้วยพี่ยุทธและสมาชิกท่านอื่นๆด้วย ที่ได้รู้จักกันแล้ว และยินดีที่ได้รู้จักสมาชิกใหม่ๆ ที่เข้าไปทักทายในกระทู้พี่แพร สวัสดีคุณpansa คุณkui045 และคุณsomchaisuriya เนื่องจากช่วงนี้เหนื่อยมากๆ เพราะต้องไปงานรับปริญญาของเพื่อนๆ เลยเข้ามาลงภาพช้าไปหน่อยครับ ทั้งนี้ต้องขอบคุณพี่เมด้วยสำหรับข้อมูลที่ได้ให้ความช่วยเหลือเรื่องหนังสือ ที่ยังอ่านไม่จบสักเล่ม 555
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
somchaisuriya
อสุรผัด

ตอบ: 51
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 12 พ.ย. 09, 15:57
|
|
แวะมาชมภาพสวยๆครับ  สวัสดีคุณ virain เช่นกัน 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 12 พ.ย. 09, 16:36
|
|
อยุธยานี่ไปได้ทุกวันไม่มีเบื่อ ดูของสวยของงามที่หลงเหลืออยู่ของบรรพชน ว่าแต่นอกจากที่นี่ก็มีอีกหลายจังหวัดที่ยังเหลือร่องรอยของอยุธยาอยู่มาก อย่างสุพรรณบุรี ราชบุรี น่าไปเที่ยวชมทั้งสิ้น แต่ตอนนี้หัวหน้าชมรมกำลังจนขออยู่บ้านเฉยๆก่อน5555555555555
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 12 พ.ย. 09, 17:22
|
|
ที่พี่ยีนส์ว่ามาก็น่าไปจริงๆนะครับ หากแต่ว่าก็งบประมาณผมก็ร่อยหรอเหมือนกัน 555 ยังไง วันหน้าก็ฝากตัวพี่สมชายช่วยสอนเรื่องการถ่ายภาพบ้างนะครับ 555
พิพิธภัณฑ์แห่งชาติเจ้าสามพระยา ที่นี่พี่ยุทธแนะนำศิลปะวัตถุชิ้นเยี่ยมๆไปหลายชิ้นแล้ว หากแต่ผมเองก็ยังเดินชมไม่หมด ว่างๆจะหาเวลาไปอีกสักรอบ ไม่อยากให้มีอะไรรอดหูรอดตาไป ดูอะไรมากๆหวังว่าจะได้รับความรู้เพิ่มขึ้นมาบ้าง
ชิ้นแรกเป็นงานไม้แกะสลักที่ผมเองก็หยุดมองอยู่นาน ถึงจะผุพังไปมากแต่ก็ยังมีเค้าร่องรอยความงามปรากฏ ให้จินตนาการ ซึ่งหากยังสมบูรณ์ดีอยู่คาดว่าบานประตูพระวิหารหลวงวัดสุทัศน์ฯก็จะมีคู่แข่งเพิ่มอีก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 12 พ.ย. 09, 17:30
|
|
บานประตูที่ว่านี้คือบานประตูวัดวิหารทอง อายุคงราวๆรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองหรือหลังจากนั้นลงมาไม่มาก?? แกะเป็นลายก้านขดซับซ้อน มีระเบียบและจังหวะงดงามมาก ไล่ลำดับชั้นด้านบนสุดเป็นรูปพระพรหมรองลงมา น่าจะเป็นเทพตามชั้นกันอยู่ในแนวเส้นตรงกึ่งกลางบานประตู ซ้ายขวาแกะเป็นลายก้านขดขนาบกันออกลายเป็นเทพ มีรูปครุฑด้วย ทั้งหมดแกะโดยไม่มีการต่อชิ้นไม้ซึ่งนับเป็นงานที่น่าสนใจไม่น้อย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 12 พ.ย. 09, 17:32
|
|
นอกจากนี้ยังสอดแทรกด้วยลายพรรณพฤกษาและนกน้อยนานาชนิด ทำนองว่า จะขัดความเลี่ยนของตัวลาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 12 พ.ย. 09, 17:34
|
|
ลายตรงบริเวณอกเลายังใช้ลายคล้ายกับลายสมัยอยุธยาตอนต้นอยู่มาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 12 พ.ย. 09, 17:38
|
|
บานประตูเซี่ยวกาง เป็นงานจำหลักไม้อีกชิ้นหนึ่งที่มีความงามเป็นเลิศ ทั้งในด้านลีลา และลวดลายประดับที่เน้นความคึกคักและอลังการตามรูปแบบภาพเซี่ยวกาง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 12 พ.ย. 09, 17:39
|
|
...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 12 พ.ย. 09, 17:40
|
|
...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|