virain
|
ความคิดเห็นที่ 135 เมื่อ 16 พ.ย. 09, 18:45
|
|
เสมาหินทรายแดงมีลวดลายสมัยอโยธยาตามคำสันนิฐานของอาจารย์ น ณ ปากน้ำ เสามาหินทรายชุดนี้แกะลวดลายได้สวยงามมาก แต่ปัจจุบันมีหลายชิ้นลายผุกร่อน ุเลือนไปบ้างแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 136 เมื่อ 16 พ.ย. 09, 18:49
|
|
...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 137 เมื่อ 16 พ.ย. 09, 18:51
|
|
พระปรางค์วัดส้มเป็นพระปรางค์ขนาดย่อมสมัยอยุธยาตอนต้น มีลวดลายประดับที่องค์พระปรางค์อย่างสวยงาม จากบันทึกของอาจารย์ น เล่าว่า “ภายหลังได้หาทางเข้าไปตรวจถึงห้องคูหาปรางค์ภายใน ได้เห็นระบบการเรียง อิฐอย่างละเอียดแนบสนิทไม่สอปูน” จากการสำรวจเรื่องการเรียงอิฐสมัยโบราณของอาจารย์ น นั้นทำให้เข้าใจ ได้ว่าตั้งแต่สมัยอโยธยาเดิมเรื่อยมาจนถึงอยุธยาตอนต้น นิยมก่ออิฐแบบไม่สอปูนแต่ใช้เทคนิคการเรียงอิฐโดย ผสานด้วยยางไม้??? แบบเดียวกับเทวะสถานที่ทำด้วยอิฐของขอม แต่เป็นที่น่าสนใจว่าลักษณะการก่ออิฐเช่นนี้ ทำให้สิ่งก่อสร้างนั้นๆแข็งแรงทนทานอย่างมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 138 เมื่อ 16 พ.ย. 09, 18:52
|
|
ลวดลายปูนปั้นต่างๆบนองค์พระปรางค์นั้นหากปั้นตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น แล้วเหลือรอด มาจนถึงปัจจุบันก็นับว่าเป็นงานปูนปั้นที่แข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ ทำให้พระปรางค์วัดส้มนี้ เป็นปรางค์รุ่นเก่าที่สมบูรณ์ที่สุดองค์หนึ่ง แต่คาดว่าอาจมีการซ่อมแซมต่อมาบ้าง ในภายหลังก็ได้ อันนี้ผมก็ไม่แน่ใจ??
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 139 เมื่อ 16 พ.ย. 09, 18:56
|
|
ร่องรอยปูนปั้นที่เหลืออยู่ส่วนนี้ คล้ายๆว่าจะเป็นสัปทน? 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 140 เมื่อ 16 พ.ย. 09, 18:57
|
|
...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 141 เมื่อ 16 พ.ย. 09, 19:02
|
|
...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 142 เมื่อ 16 พ.ย. 09, 19:10
|
|
...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 143 เมื่อ 16 พ.ย. 09, 19:12
|
|
รูปเทวดานั่งเรียงแถวนี้สังเกตเห็นการนุ่งผ้า เครื่องแต่งกายดูคล้ายๆกับเทวรูปขอม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 144 เมื่อ 16 พ.ย. 09, 19:13
|
|
...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 145 เมื่อ 16 พ.ย. 09, 19:24
|
|
พระแท่นสมัยอยุธยาตอนปลาย? พบที่วัดแห่งหนึ่งปัจจุบันถูกซ่อมแซมทาสีใหม่ พระแท่นนี้ถูกเก็บไว้ในตู้กระจก ซึ่งมีของอื่นวางบดบังทำให้ไม่สามารถถ่ายภาพมุมอื่นมาให้ชมได้ แถมกระจกยังมัวเลอะเทอะด้วย พระแท่นนี้เข้าใจว่าอาจเป็นพระแท่นบรรทม??ของเจ้านายในสมัยอยุธยา แล้วถูกนำมามอบให้กับพระสงฆ์ในวัดนี้ หรืออาจเป็นของพระราชาคณะหรือพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พระแท่นนี้มีความยาวประมาณ สองเมตรเศษๆกว้างประมาณเมตรเศษๆจากการกะประมาณด้วยสายตาครับ ชุดฐานทำรูปแบบเดียวกับพระยานมาศ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 146 เมื่อ 16 พ.ย. 09, 19:37
|
|
เป็นที่น่าเสียดายเหลือเกินว่าผมไม่สามารถบอกที่มาของโบราณวัตถุบางชิ้นได้จริงๆ เพราะกลัวจะเกิดปัญหา ตามมาในภายหลัง ทั้งที่ใจจริงอยากจะบอกข้อมูลให้ท่านที่สนใจสามารถตามไปดูไปศึกษาได้ด้วย และก็เสียดายที่เราต้องมาเดิมตามฝีมือโจรอีกต่อหนึ่ง กลายเป็นเราเดินตามฝีมือโจรแล้วโจรก็เดินตามฝีมือเรา น่าปวดหัว เซ็งจิต จริงๆไหมครับ 555
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 147 เมื่อ 16 พ.ย. 09, 20:07
|
|
การวิเคราะห์ว่างานชิ้นใดเป็นสมัยไหน คงต้องใช้การเปรียบเทียบสิ่งทีมีในยุคเดียวกันและหลักฐานทีมีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ พงศาวดารและจากนักวิชาการที่ศึกษาอย่างจริงจังและเขียนเป็นตำรับตำราไว้ ไม่ด่วนสรุปยุ๕สมัยลงไปโดยขาดน้ำหนักสนับสนุน อย่างธรรมบ้าน3องค์ที่น้องเนถ่ายรูปมา ก็ยังไม่ชัดว่าจะถึงสมัยอยุธยา เพราะรายละเอียดที่เหลืออยู่มันน้อย ส่วนที่วัดส้มนั้น พี่มีหนังสือที่เป็นผลงานของอาจาย์ สมิทธิ ศิริภัทธิ์ซึ่งท่านได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่องปรางค์วัดส้มไว้ตั้งแต่ยังไม่บูรณะน่าสนใจทีเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 148 เมื่อ 16 พ.ย. 09, 23:41
|
|
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับพี่ 
ภาพเขียนภายในคูหาพระปรางค์วัดมหาธาตุครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 149 เมื่อ 16 พ.ย. 09, 23:43
|
|
...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|