เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 40814 สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


 เมื่อ 12 พ.ย. 09, 13:37

หลังจากจบทริปที่อัมพวารู้สึกว่าจะทำให้เราชื่นชมศิลปะไม่จุใจเพราะเวลาที่มีจำกัด ผม พี่แพร และพี่เซีย
ก็อดไม่ได้ที่จะออกไปตระเวนหาดูชมที่นั่นที่นี่กันในวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ไปกันหลายที่แต่นับดูเห็นว่าไม่น่าจะเกินห้าวัน
ข้อมูลมีบ้างไม่มีบ้างก็ไปกันซึ่งก็ทำให้พบอะไรๆที่น่าสนใจไม่น้อย แม้จะได้ยินว่ามีงานศิลปะเก่าแก่ชิ้นเดียวก็พยายาม
ดั้นด้นอุตสาห์ไปให้ถึงจนได้ บางครั้งไปแล้วก็คว้าน้ำเหลวไม่เจออะไรหรือไม่ได้รับอนุญาตให้ดูเลยก็มี บางครั้งมีโอกาส
จะจับต้องหรือจะลักเอาก็ได้แต่ก็ไม่เคยทำกัน แถมระหว่างทางยังได้เรียนรู้ความเป็นท้องถิ่นที่ยังหลงเหลืออยู่
อย่างอาคารบ้านเรือน สภาพแวดล้อม กายภาพชุมชน วิถีชิตเก่าๆที่แทรกตัวตามชุมชนเมืองหรือชาวบ้านตามต่างจังหวัด
ซึ่งก็ทำให้เพลิดเพลินกันอยู่ไม่ใช่น้อย 


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 12 พ.ย. 09, 13:38

เนื่องจากข้อมูลของศิลปะบางอย่างไม่อาจบอกแหล่งที่มาได้ ผมจึงเห็นขอลงข้อมูลตั้งต้นไว้ที่พระนครศรีอยุธยาก่อน
อย่างน้อยๆก็ได้บรรยากาศอยุธยาแท้ๆมาก่อน ที่จะดูภาพศิลปวัตถุต่างๆที่กระจายตัวอยู่ในจังหวัดรอบๆกรุงเทพฯหรือในกรุงเทพเองก็มี
แต่เนื่องจากเป็นกระทู้เกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาโดยตรงมีแหล่งข้อมูลอยู่มาก ผมเองก็ยังไม่มีข้อมูลที่แน่นมากพอจึงขอลงภาพ
กับข้อมูลประกอบเล็กน้อยๆเท่านั้น ถ้ามีข้อแนะนำเพิ่มเติมขอช่วยชี้แนะด้วยครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 12 พ.ย. 09, 13:46

อยุธยาธานีบุรีรัตน์   
แห่งกษัตริย์เรืองรุ่งเป็นกรุงศรี
ปวงประชาวานิชสมณะชี   
มั่นคงดีในที่บุรีรมย์
มีป้อมปืนปราการแกร่งกำแพงล้อม   
รายเรียงพร้อมตั้งแต่งตำแหน่งสม
ทั้งเวียงวังวัดวาน่ารื่นรมย์   
ซึ่งอุดมสมบูรณ์ทรัพย์สดับเอา
[/color]


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 12 พ.ย. 09, 13:50

อยุธยาธานีบุรีสูญ      
เห็นซากปูนอิฐทับดูอับเฉา
ดั่งเมืองสิ้นชะตาต่อมิรอเรา   
ป็นซากเผาพินาศหมดรันทดใจ
ถึงข้าศึกทำแค้นแสนสาหัส   
แต่วิบัติเพราะเราอ่อนก่อนไฉน
ทัพพม่าทำลายล้างทั้งเวียงชัย   
แต่คนไทยทำลายบ้างเอาอย่างโจร


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 12 พ.ย. 09, 13:52

ทั้งขุดกรุรื้อซากไม่อยากเชื่อ   
ดูจะเหลือแต่อิฐเก่าและปูนโกร๋น
พระมหาธาตุยังทรุดที่สุดโค่น   
มันขุดโคนรื้อข้างลงอย่างเลว
มรดกศิลปะกระเซ็นซ่าน    
ดังมองผ่านขุมทรัพย์ในหุบเหว
อุตสาห์เหลือหลงรอดจากเพลิงเปลว   
ยังต้องเหลวถูกซุกซ่อนกระจัดกระจาย


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 12 พ.ย. 09, 13:55

ศิลปะอยุธยามีความยาวนานสืบเนื่องกันมากว่าสี่ร้อยปี ทำให้รูปแบบของงานศิลปะค่อนข้างต่างกันไปตามยุค
ที่นิยมแบ่งกันเป็นอยุธยาตอนต้น อยุธยาตอนกลางและอยุธยาตอนปลาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจกันในวงกว้างๆ
แต่อย่างไรก็ดีสำหรับคนที่เริ่มศึกษาอย่างผมย่อมเป็นธรรมดาที่ยังแยกให้เด็ดขาดไม่ได้ โดยเฉพาะช่วงรอยต่อ
อย่างเช่นช่วงอยุธยาตอนต้นต่อกับอยุธยาตอนกลาง หรืออยุธยาตอนปลายกับธนบุรี-รัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นต้น


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 12 พ.ย. 09, 13:59

ศิลปะอยุธยามีแบบแผนที่สวยงามประณีตเป็นอิสระ แฝงไปด้วยความอลังการอารมณ์ต่างๆแล้วแต่จิตนาการของช่างไทยโบราณ
ทำให้ผมค่อนข้างจะชอบใจศิลปะอยุธยาเป็นพิเศษ ทั้งยังทำให้ได้ศึกษาและจินตนาการรูปแบบวิถีชีวิต วัฒนธรรมและ
งานสถาปัตยกรรมต่างๆตามภาพเขียน ลายรดน้ำ หรืองานศิลปะอื่นๆไปพร้อมๆกันด้วย แต่ศิลปะในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นหรือธนบุรี
ก็ใช่ว่าจะไม่สนใจกันเพราะก็มีหลายอย่างที่เป็นที่น่าชื่นชมด้วยกันทั้งนั้น แม้แต่ในช่วงที่บางกอกกลายเป็นบ้านเมืองที่แต่งแต้มด้วย
ศิลปะตะวันตก ก็เป็นนครแห่งศิลปะที่ผสมผสานกันได้อย่างน่าชมเช่นกัน


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 12 พ.ย. 09, 14:02

อย่างไรก็ดีการตามหาร่องรอยงานศิลปะต่างๆเพื่อศึกษาศิลปะอยุธยานั้น ยากที่จะหนีพ้นการพบปะศิลปะในยุคต่างๆปะปนไป
โดยเฉพาะศิลปะในยุคปัจจุบันที่เข้าไปมีบทบาทแทรกแซงโบราณสถานสำคัญๆให้ผิดเพี้ยนไป เป็นอันสูญเสียรูปแบบศิลปะโบราณ
ของโบราณสถานเหล่านั้นไปอย่างน่าเสียดาย ทำให้ตอนนี้เป็นเรื่องยากในการที่จะสอดส่องตามหารูปแบบโบราณสถาน
อย่างอาคารสมัยอยุธยาที่สมบูรณ์แบบตามท้องถิ่นมาเป็นข้อมูลในการศึกษา เพราล้วนแล้วแต่บูรณะปรับเปลี่ยนรูปทรงกันทั้งสิ้น
หรือรื้อทิ้งไปก็มีมาก เป็นตามยุคสมัยของความต้องการในการใช้ประโยชน์จากอาคารหรือพื้นที่เหล่านั้น ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ไม่ชอบใจนัก
แต่ก็ต้องพยายามเข้าใจและทำใจไป ดังนั้นสิ่งที่จะพบเห็นได้ตามมาก็คือโบราณวัตถุต่างๆอย่างเช่น ตู้พระธรรม หีบลายรดน้ำ
ธรรมาสน์ เสมา หรือเครื่องไม้ประณีตอื่นๆ ที่พอจะพบได้ตามวัดวาอารามต่างๆทั่วไป


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 12 พ.ย. 09, 14:04

แต่ปัญหาก็ยังไม่จบเพียงแต่เท่านั้น เพราะศิลปวัตถุมีมีค่าเหล่านี้ถูกโจรกรรมกันมาอย่างต่อเนื่องหลายยุคสมัย
เรียกว่าก่อนผมจะเกิดเสียอีก ในสมัยที่เราไม่ค่อยสนใจเห็นค่ากับโบราณวัตถุที่เป็นศิลปะอันทรงคุณค่า
ศิลปะเหล่านี้ถูกโจรกรรม แลกเปลี่ยน สูญหายไปจากแผ่นดินมากมายด้วยฝีมือคนที่รู้คุณค่าแต่หยาบช้า
กว่าจะมารู้ค่าทันคนอื่นเขาก็ไม่มีสมบัติเหล่านั้นเหลือแล้ว จึงทำให้เกิดความหวาดระแวงกันตามมา ทำให้นักศึกษา
หรือผู้ที่มีจิตใจใฝ่ทางศิลปะในทางสร้างสรรค์ไม่มีสิทธิ์ที่จะได้เห็นรูปแบบศิลปะโบราณต่อไป
เพราะกลายเป็นสมบัติที่ถูกซ่อนถูกเก็บนานวันเข้าก็บุบสลายไปไม่มีประโยชน์ นับเป็นผลพวงอันร้ายกาจ
ที่ทุกวันนี้ก็ยังหาทางแก้ไขกันไม่ได้  อย่างไรก็ดีผมก็ยังได้รับความเมตตาจากพระสงฆ์จากบางวัด ที่เข้าใจถึงเจตนา
ที่ไม่คิดในทางอกุศล ท่านจึงให้ความช่วยเหลือแนะนำทำให้ได้ข้อมูลมาศึกษา จึงนับว่าเป็นพระคุณมากและขอขอบคุณไว้ในที่นี้ด้วยครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 12 พ.ย. 09, 14:08

ภาพจะใหญ่เกินไปไหมครับนี้ รู้สึกแน่นๆกระทู้แปลกๆ แบบว่ามีแต่ภาพนะครับ 555
เอาเป็นว่าชมข้อมูลเล็กๆน้อยจากผมแล้วกัน อาจจะซ้ำหรือเจนตาบ้างคงไม่ว่าผมนะครับ


วัดมหาธาตุเป็นพระอารามที่มีพระปรางค์อันเป็นหนึ่งในพระปรางค์สำคัญของพระนคร และคงเป็นพระปรางค์ที่สำคัญที่สุดด้วย
เพราะใช้เป็นที่ประกอบพิธีสำคัญกันมาแต่เดิมก่อนที่จะสร้างวัดพระศรีสรรเพชญ สิ่งก่อสร้างในวัดมหาธาตุมักถูกซ่อมแซม
กันมาหลายยุคสมัย ทำให้พบร่องรอยปูนปั้นชั้นในที่ถูกฉาบปิดไว้จากการซ่อมในสมัยหลังๆ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 12 พ.ย. 09, 14:16

...วัดนี้สร้างในที่ราบรื่น มีกำแพงล้อมทั้ง ๔ ด้าน นอกกำแพงมีคลองเป็นคูตั้งแต่ท่าหน้าวัดด้านตะวันออก มีฉนวนหลังคา ๒ ชั้น
ยื่นยาวเข้าไปจนถึงประตูวัด เมื่อเข้าประตูวัด แลดูทั้ง ๔ ด้าน มีพระเจดีย์ปิดทอง ๘ องค์ ระหว่างพระเจดีย์ตั้งพระพุทธรูป
แลมีวิหารหลังคา ๒ ชั้น ทั้ง ๔ ทิศ ในวิหารมีพระพุทธรูปใหญ่นั่งจรดถึงเพดาน ภายในที่ซึ่งพระเจดีย์และวิหารทั้ง ๔ ล้อมอยู่นั้น
ตรงศูนย์กลางเป็นองค์พระมหาธาตุ (เป็นพระปรางค์) ๕ ยอด มีบันไดขึ้นไปถึงซุ้มที่องค์พระมหาธาตุตรงชั้นบัลลังก์ทั้ง ๔ มุม
ปั้นรูปภาพต่างๆ ตั้งไว้ คือ รูปครุฑ รูปจตุโลกบาล รูปโทวาริกถือดาบ รูปรากษสถือตระบองสั้น และรูปพิราวะยักษ์ถือตระบองยาว เป็นต้น
ยอดพระมหาธาตุนั้นเป็นทองทั้งแท่งบันได (ที่ขึ้นไปถึงซุ้มนั้น) หลังพนักทั้งสองข้างปั้นเป็นนาคราชตัวโตเท่าลำตาลเลื้อยลงมา
ศีรษะแผ่พังพาน ประดับกระจกอยู่ที่เชิงบันได อ้าปากมีเขี้ยว ใครเห็นก็เป็นที่พึงกลัว รอบฐานพระมหาธาตุ ยังมีรูปสัตว์ตั้งรายเรียงรอบไป
คือ รูปราชสีห์ รูปหมี รูปหงส์ รูปนกยูง รูปกินนร รูปโค รูปสุนัขป่า รูปกระบือ รูปมังกร และยังมีรูปโทวาริกถือดาบบ้าง ถือวิชนีบ้าง
ถือจามรบ้าง ถือฉัตรบ้าง นอกจากนี้ยังมีรูปภาพถือเครื่องพุทธบูชาต่างๆ อีกเป็นอันมาก (ที่หน้าบันซุ้มพระมหาธาตุ) ปั้นเป็นลายรูปพระพรหม
พระสักระ พระสุยามเทพ ล้วนปิดทองทั้งสิ้น ในพระวิหารด้านตะวันออก มีพระพุทธรูปนั่งหันพระพักตร์เข้าไปทางพระมหาธาตุ
แลมีรูปพระอัครสาวกอยู่ทั้ง ๒ ข้าง ในวิหารนี้มีพระพุทธรูปทรงบาตรด้วยอีกพระองค์หนึ่ง อีกวิหารหนึ่งต้องขึ้นบันไดหลายชั้น
ในวิหารนั้นมีพระพุทธรูปหลายพระองค์ แลมีรอยพระพุทธบาทจำลองด้วย ๒ รอย พระวิหารด้านตะวันตกมีพระพุทธรูป ๓ องค์
(อีกวิหารหนึ่ง) มีพระพุทธรูปปางเสด็จทรงสีหไสยาสน์อยู่ในพระคันธกุฎี มีรูปพระอานนท์นั่งถือเชิงเทียนทองด้วยพระหัตถ์ขวา
ฝาผนังเขียนเรื่องพระเวสสันดรชาดก แลเรื่องปฐมสมโพธิ รูปภาพที่เขียนนั้นล้วนปิดทองทั้งนั้น
นอกกำแพงบริเวณวิหารที่กล่าวมาแล้ว มีธรรมศาลาหลายหลังข้างด้านตะวันตกเป็นตำหนักสมเด็จพระสังฆราช (ตัวตำหนักก็ดี)
หอเสวยก็ดี ตำหนักที่ทรงแสดงธรรมก็ดีล้วนสลักลวดลายปิดทอง ที่ในตำหนักหลังหนึ่ง ผูกเพดานแลม่านปักทอง พื้นปูพรม
มีขวดปักดอกไม้ตั้งเรียงรายเป็นแถว เพดานตำหนักแขวนอัจกลับ ในตำแหน่งมีบัลลังก์ตั้ง ๒ ข้าง บนบัลลังก์นั้นตั้งพัดยศสำหรับตำแหน่ง
(สมเด็จพระสังฆราช) ข้างละเล่ม พัดทั้ง ๒ เล่มนี้ด้ามทำด้วยงา (ส่วนตัวพัดเล่มหนึ่ง) เป็นพัดสานด้วยงาที่เลื่อยจักเป็นเส้นละเอียด
(อีกเล่มหนึ่ง) พื้นกำมะหยี่แดง ปักลวดลายด้วยทองแลเงิน ภายในม่าน ๒ ไข อันปักด้วยทอง ตั้งพระแท่นสมเด็จพระสังฆราช…


ขออณุญาติคัดลอกมาเข้าใจว่าแปลจากบันทึกของราชฑูตลังกา ปัจจุบันสิ่งที่ผมเห็นว่ามีอยู่ก็จะเป็นนาคราชตัวเท่าลำตาลที่ว่าครับ
เศียรนาคหักวางไว้เป็นรูปแบบของศิลปะอยุธยาตอนต้น


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 12 พ.ย. 09, 14:18

ลายปูนปั้นเหล่านี้มีเข้าใจว่าเป็นลายที่มีมาในสมัยอยุธยาตอนต้นราวรัชกาลพระราเมศวร ต่อมาคงชำรุด
จึงทำการโบกปูนทับแล้วไม่ได้ปั้นลวดลายต่อ รูปแบบของลายหงส์เดินต่อกันปั้นดูคล้ายๆกับลายที่วัดจุฬามณีที่พิษณุโลก


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 12 พ.ย. 09, 14:20

...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 12 พ.ย. 09, 14:20

...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 12 พ.ย. 09, 14:23

ปูนปั้นรูปเทวดาเดาเองว่าน่าจะเป็นงานช่วงอยุธยาตอนต้น-กลาง ...?
ภาพปูนปั้นเหล่านี้ทำให้เห็นลักษณะการนุ่งผ้าด้วย


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.041 วินาที กับ 19 คำสั่ง