เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 26150 เทพปกรณัมกรีก: ตำนานเทพเจ้าอพอลโล
Mnemosyne
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


 เมื่อ 11 พ.ย. 09, 09:31

หลายท่านคงเคยได้ยินเรื่องราวของเทพเจ้าอพอลโลมาไม่มากก็น้อย
ไม่ว่าจะเป็นในฐานะเทพเจ้าแห่งแสงสว่าง เทพเจ้าให้เสียงดนตรี เทพเจ้าแห่งการรักษา หรือเทพเจ้าแห่งการทำนาย
บางท่านอาจทราบเกี่ยวกับประวัติของอพอลโลว่าเป็นพี่น้องฝาแฝดกับอาร์ทีมิส หรือที่ชาวโรมันนับถือกันในชื่อเทพเจ้าไดอาน่า
นีมี่ไปค้นมาปรากฏว่ามีตำนานสนุกๆมากมาย (คือท่านวีรกรรมเยอะมาก ไม่แปลกเลยที่คนจะรู้จักในฐานะต่างๆกันไป)
เลยนำมาเล่าให้ฟังกันนะคะ


ในรูปคือรูปปั้นของเทพเจ้าอพอลโลชื่อว่า "Belvedere Apollo" เป็น Roman copy ของ Greek original
จากศตวรรษที่ห้าก่อนคริสตกาล (the fifth century BC) ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ Pio Clementino ณ กรุงวาติกัน
สันนิษฐานกันว่า รูปปั้นต้นแบบปั้นขึ้นโดยชาวเอเธนส์นามว่า ลีโอคาเรส (Leochares)
ซึ่งท่านเป็นศิลปินในสำนักของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช เมื่อสมัย 320 ปีก่อนคริสตกาล


บันทึกการเข้า
Mnemosyne
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 11 พ.ย. 09, 09:32

เรามาเริ่มฟังเรื่องราวกำเนิดแห่งเทพอพอลโลกันดีกว่าค่ะ

เทพอพอลโลเป็นบุตรแห่งซูส(Zeus) และลีโต (Leto) ธิดาน้อยแห่งเทพโคอุส (Coeus) และพระนางฟีบี้ (Phoebe)
เรื่องก็มีอยู่ว่า ซูสนั้นต้องตาพระนางลีโต ท่านจึงล่อลวงจนได้เธอเป็นชายา
นับๆไปแล้วลีโตนั้นเป็นชายาคนที่สี่ของซูสต่อจากเมธิส ธีมิสและเนมอสซินี่

ถึงแม้ซูสจะยังไม่ได้แต่งงานตอนที่เข้าหาเธอ แต่เธอก็ตกเป็นของซูสก่อนหน้าที่ซูสจะแต่งงานกับฮีร่าเพียงไม่นานนัก
หลังจากซูสจากไปพระนางลีโตก็ทรงพระครรภ์
เมื่อข่าวการตั้งครรภ์ของลีโตรู้ไปถึงพระกรรณของพระนางฮีร่า (Hera) พระมเหสีของซูส พระนางฮีร่าก็ทรงพิโรธเป็นอันมาก

ฮีร่าตระหนักว่า หากลีโตได้บุตรชายแล้วนั้น บุตรของลีโตนั้นมีโอกาสที่จะขึ้นสู่ความยิ่งใหญ่ในฐานะบุตรของซูส
ด้วยความริษยานางจึงหาวิธีกลั่นแกล้งขัดขวางลีโตโดยสาปไม่ให้ ลีโตคลอดบุตรบนพื้นแผ่นดินใหญ่หรือแม้แต่เกาะใดๆในทะเลได้

เมื่อครบกำหนดคลอดพระนางลีโตจึงต้องเร่ร่อนไปตามที่ต่างๆเพื่อหาทางคลอดบุตร
เทพธิดาน้อยลีโตเดินทางด้วยความยากลำบากเป็นอันมาก หากแต่ไม่มีที่ใดที่นางจะคลอดบุตรได้เลย เป็นไปดังคำสาปของฮีร่า

เธอเดินทางผ่าน ครีท(Crete) เอเธนส์(Athens) เรื่อยไปถึงหมู่เกาะเอธอส (Athos) เลสบอส (Lesbos) ซามอส (Samos)
รวมไปถึงภูเขาต่างๆอย่าง ยอดเขาไอดา (Mount Ida) และยอดเขามิมาส (Mount Mimas)
[การเดินทางของเธอยาวไกลมากจากครีทไปถึงแถบตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชียไมเนอร์ เขียนหมดคงหลายย่อหน้านีมี่จึงขออนุญาตละไว้]

ลีโตทรุดลงร้องไห้คร่ำครวญร้องขอแก่พื้นแผ่นดิน เทือกเขาและเกาะต่างๆ แต่ยังคงไม่มีที่ใดยอมให้เธอคลอดบุตรเลย
เธอเดินทางรอนแรมต่อไปเรื่อยๆจนในที่สุดเธอก็ได้มาถึงเกาะหินเดลอส (Delos) ในทะเลเอเจียน (Aegean Sea)

ตำนานกล่าวไว้ว่า เกาะเดลอสนี้ปรากฏขึ้นจากการที่น้องสาวของลีโตคือ แอสทีเรีย (Asteria) ทุ่มตัวลงในทะเลเพื่อหลบหนีซุส
เหตุที่ต้องหลบหนีก็ด้วยว่าซุสนั้นได้เข้ามาเกี้ยวพาเธอแต่เธอไม่ต้องการและปฏิเสธ
ซุสนั้นพิโรธมาก สาปให้เธอกลายเป็นนกกระทา แต่ยังไม่ลดละการไล่ล่าเธอ เธอจึงหนีลงในทะเล
หลังจากที่เธอทุ่มตัวลงในทะเลนั้น เกิดเหตุมหัศจรรย์คือ มีเกาะโผล่พ้นน้ำขึ้นมา ซึ่งเกาะนี้ก็คือเกาะเดลอสนั่นเอง

แผนที่ ของอาณาจักรกรีกโบราณค่ะ จะเห็นได้ว่าลีโตเดินทางเกือบทั่วทั้งอาณาจักรเลย ตั้งแต่ครีทไปเอเธนส์ เทซาลี (Thessaly) อ้อมไปเลสบอส ซามอส นาซอส (Naxos) ครบเลย เขามิมาสนี่อยู่ตรงข้ามกับเกาะคิออส (Chios) ในแผนที่น่ะค่ะ โหดมากๆ
เกาะเดลอส ถ้าเทียบในแผนที่แล้วจะอยู่ตรงตอนบนของเกาะนาซอสนะคะ


บันทึกการเข้า
Mnemosyne
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 11 พ.ย. 09, 09:33

กลับมาที่ลีโต เธอได้ข้ามทะเลไปยังเกาะเดลอส
การที่เดลอสเป็นเกาะลอย(floating island) เดลอสจึงมิใช่ทั้งผืนแผ่นดินใหญ่หรือเกาะที่แท้จริงจึงไม่ขัดกับคำสาปของฮีร่า
ลีโตได้อ้อนวอนแก่เดลอส ขอให้เธอใช้เป็นที่พักคลอดบุตร โดยเธอสัญญาไว้ว่าเธอจะนำมาซึ่งความมั่งคั่งให้แก่เกาะแห่งนี้
บุตรของเธอนั้น แน่นอนว่าจะเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่
ดังนั้นหากเกาะเดลอสยองให้เธอใช้เป็นที่คลอดบุตร เดลอสจะได้รับการบูชาอย่างล้นหลามจากผู้ที่ยอมรับนับถือบุตรของเธอเป็นเทพเจ้า
เกาะเดลอสจึงยินยอมให้เธอพำนักและคลอดบุตรที่นี่
กล่าวกันว่าที่เกาะเดลอสนั้นมีหงส์ว่ายวนล้อมรอบมากมาย ซึ่งเหตุนี้ทำให้หงส์เป็นสัตว์สัญลักษณ์ของเทพอพอลโลอีกด้วย
และเมื่อเดลอสยอมให้นางคลอดบุตร หลังจากให้กำเนิดบุตรทั้งสองแล้ว ลีโตจึงเสกให้มีเสาหินสี่ต้นค้ำเกาะลอยนี้ไว้ให้มั่นคงเป็นการตอบแทน

เมื่อได้ที่อันเหมาะสมแล้วเทพธิดาหลายองค์ต่างก็่ลงจากยอดเขาโอลิมปัสเพื่อมาเป้นสักขีพยานในการเกิดของบุตรน้อยในครรภ์ของลีโต
มีทั้ง ไดโอนี (Dione) พระมารดาของ อโฟรไดที (Aphrodite) เทพธิดาแห่งความรักที่รู้จักในอีกนามหนึ่งคือวีนัส
พระนางรีอา (Rhea) มเหสีของโครนอส, พระนางอิชนีอา (Ichnaea), พระนางธีมิส (Themis) บุตรีของไกอากับยูเรนัส
รวมไปถึงแอมฟิไทรที(Amphitrite) เทพธิดาแห่งท้องทะเล ชายาของโพไซดอน
แอมฟิไทรทีนี้นางเป็นเทพธิดาแห่งเสียงร้องคร่ำครวญ (loud-moaning) จึงมาเป็นสักขีพยานณที่นี้ด้วย
(ผู้เขียนเดาว่าทั้งนี้อาจเป็นเพราะท้องทะเลมักส่งเสียงคร่ำครวญอยู่ตลอด
แต่ ในที่นี้จะช่วยลีโตซึ่งกำลังจะคลอดบุตรและคงต้องการส่งเสียงร้องด้วยความ เจ็บปวด หากท่านผู้อ่านสามรถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ รบกวนมาเล่าสู่กันฟังด้วยนะคะ)

เทพองค์สำคัญที่ขาดไปไม่ได้เข้าร่วมเป็นพยานในครั้งนี้ก็คงจะเป็นใครไม่ได้นอกจากฮีร่า
ด้วยความที่ฮีร่าจ้องจะแก้แค้นกีดกันลีโตและบุตร เธอจึงยังลักพาเทพธิดาอิลีธีอา(Ilithyia) เทพธิดาแห่งการคลอดบุตรไปซ่อนตัวไว้
ทั้งนี้เพื่อไม่ให้พระนางลีโตคลอดได้โดยง่ายอีกด้วย
ลีโตจึงเจ็บท้องอยู่นานถึงเก้าวันเก้าคืนด้วยกัน เทพเจ้าที่มาเป็นพยานต่างสงสัยว่าเหตุใดเทพอิลิธีอาจึงไม่มาสักที
เทพธิดาต่างๆอดรนทนไม่ได้จึงติดสินบนให้ไอริสเทพธิดาผู้ส่งสารประจำตัวของฮีร่าด้วยสร้อยคออำพันยาวถึงเก้าหลาด้วยกัน
ไอริสจึงยอมไปพาอิลีธีอามายังเกาะเดลอส
ทันทีที่ไอริสพางนางมาถึง ลีโตก็ใช้แขนทั้งสองข้างโอบกอดต้นปาล์มไว้ ย่อตัวคุกเข่าลงบนทุ่งหญ้าและให้กำเนิดบุตรสาวคนแรกคืออาร์เทมิส
จากนั้นอาร์เทมิสจึงช่วยให้มารดาของนางคลอดพี่ชายฝาแฝดคืออพอลโล

รูปภาพของลีโตให้กำเนิดอาร์เทมิสและอพอลโล ณ เกาะเดลอส ชื่อภาพ "Diana Scultori" วาดเมื่อปี1580
ปัจจุบันอยู่ที่ Elvehjem Museum of Art


บันทึกการเข้า
Mnemosyne
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 11 พ.ย. 09, 09:33

หากความยากลำบากของลีโตมิได้หยุดอยู่แค่นั้น...
หลังจากที่นางพาทารกน้อยทั้งสองเดินทางมาถึงไลเซีย เธอถูกขัดขวางจากคนท้องถิ่นไม่ให้ดื่มน้ำในทะเลสาบเพื่อดับกระหาย
ลีโตเดินทางรอนแรมมาไกลแสนไกล มีความเหน็ดเหนื่อยและกระหายเป็นอันมาก
เธออ้อนวอนต่อขอน้ำเพียงนิดเพื่อดับกระหาย หากคนเหล่านั้นก็ยังไม่ให้เธอแตะต้องบ่อน้ำของพวกเขา
เมื่อเธอยืนกรานที่จะดื่มน้ำจากบ่อนั้น เหล่าชาวบ้านก็ทำให้น้ำสกปรกด้วยลารลงไปเหยียบย่ำจนตะกอนดินฟุ้งขึ้นมาจนน้ำขุ่นข้นดื่มไม่ได้
ลี โตเห็นความใจร้ายของชาวบ้านอีกทั้งเห็นว่าชาวบ้านรักและหวงแหนแหล่งน้ำเสีย นัก นางจึงสาปพวกเขาให้เป็นกบ ให้อยู่เฝ้าบ่อเฝ้าโคลนตมตลอดไป

เล่ากันว่าฝาแฝดอพอลโลและอาร์เทมิสนั้นมีฤทธิ์มากตั้งแต่ครั้งเป็นทารก
ทั้งสองได้ตามลงโทษผู้คนตามที่ต่างๆที่ไม่ยอมให้ลีโตพำนักคลอดบุตรเพื่อเป็นการแก้แค้นให้มารดาที่ต้องเร่ร่อนอยู่เสียนาน
หลังจากคลอดเพียงสี่วัน อพอลโลได้ออกเดินทางเพื่อเสาะหาทำเลเหมาะสมเพื่อที่จะสร้างวิหารของตนขึ้น
จนในที่จุดได้ไปหยุดลงที่ยอดเขาพานาซัส (Mount Parnassus)
อพอลโลดีใจมากที่เจอชัยภูมิที่เหมาะสม หากสถานที่นั้นแท้จริงแล้วพระนางไกอาเป็นผู้ครอบครองอยู่โดยให้ไพธอนบุตรชายเฝ้าไว้
ไพธอนนั้นอาศัยอยู่ใกล้กับน้ำพุคาสทาเลียนบริเวณร่องหินใต้วิหารแห่งเดลฟี ณ ที่นี้คือที่ๆนักบวชผู้หยั่งรู้จะมาให้คำทำนาย
นักบวชหญิง(Sibyl) จะสูดกลุ่มควันประหลาดที่พวยพุ่งออกจากร่องหิน เคี้ยวใบลอเรล แล้วเอ่ยคำทำนายออกมา
อพอลโลนั้นได้ใช้ธนูเพลิงสังหารมังกรไพธอน (Python) และยึดครองพื้นที่ตรงนั้นรวมทั้งตำแหน่งผู้ทำนายไว้
นี่เองที่ทำให้อพอลโลได้เป็นผู้ในการหยั่งรู้ทำนายและได้รับการนับถือเป็นเทพเจ้าแห่งการทำนาย
นอกจากนี้ยังทำให้ท่านได้มีสมญานามอีกชื่อว่าไพเธียนอพอลโล(Pythian Apollo) จากการที่ได้สังหารไพธอนนั่นเอง
นับแต่นั้นมาชาวกรีกรวมไปถึงชาวโรมันต่างเชื่อกันว่า ผู้หยั่งรู้ที่ได้ให้คำทำนายณ วิหารแห่งนี้ จะได้รับการดลใจจากเทพอพอลโล

เป็นไงกันบ้างคะ สงสารลีโตบ้างหรือเปล่า อพอลโลนี่แค่กว่าจะคลอดออกมาได้ทำเอาท่านแม่และคนรอบข้างเหนื่อยพอดู
แต่ลีโตผู้น่าสงสารของเราก็ร้ายใช่เล่นนะคะ สาปชาวบ้านเค้าเป็นกบหมดเสียอย่างนั้น
ลูกๆแต่ละคนก็ใช่ย่อย นี่ขนาดยังเด็กนะคะ

ตอนของอพอลโลนี้ นีมี่ไปค้นๆมาพบตำนานมากมายจากหลายแหล่งหลายความเชื่อ มีตรงกันบ้างไม่ตรงกันบ้าง
นีมี่เลยเลือกที่คิดว่าไม่ขัดแย้งกันและน่าเชื่อถือที่สุดมาลง
หากเรื่องที่นำมาลงไม่ตรงกับที่เพื่อนๆเคยอ่านหรือมีความผิดพลาด ก็ขออภัยมาณ ที่นี้ด้วยนะคะ

มีอีกเรื่องที่น่าสนใจมากคือ การเข้าใบศึกษาบริเวณที่เชื่อกันว่าเป็นซากวิหารแห่งเดลฟีในปัจจุบัน
มีการค้นพบว่า ในร่องหินรอยแยกใต้วิหารมีสารที่เมื่อตรวจสอบโดยขบวนการทางวิทยาศาสตร์พบว่ามีฤทธิ์เป็นยาหลอนประสาทอย่างอ่อน
ดังนั้นความเชื่อเกี่ยวกับอำนาจหยั่งรู้ของนักทำนาย และกลุ่มควันที่พวยพุ่งที่นำโชคชะตาของมนุษย์มาบอกกับผู้หยั่งรู้ในสมัยก่อน
อาจเกิดขึ้นจากการที่นักบวชเหล่านั้นเกิดอาการตอบสนองกับสารหลอนประสาทจินตนาการถึงอนาคตไปต่างๆก็เป็นได้
การค้นพบนี้นอกจากจะเป็นการยืนยันให้ความมีอยู่จริงของตำนานวิหารแห่งเดลไฟน่าเชื่อถือขึ้นแล้ว
ยังอาจจะทำให้คนเราในยุคปัจจุบันเข้าใจถึงที่มาความเชื่อด้านโหราศาสตร์ในยุดโบราณได้ดีขึ้นอีกด้วย

นำเรื่องนี้มาเล่าให้ฟังไม่ทราบว่าจะทำให้เพื่อนๆเกิดสนใจความเร้นลับเบื้องหลังตำนานต่างๆกันมากขึ้นหรือเปล่า
นีมี่ฟังแล้วแอบขนลุก เพราะเหมือนกับว่าความเชื่อที่บางคนอาจว่างมงายอาจมีรากฐานมาจากปรากฏการณ์ที่อธิบายได้ก็เป็นได้


รูปตอนที่อพอลโลสังหารไพธอนค่ะ
ภาพบนเป็นของ Eugene Delacroix ชื่อ Apollo Slays Python. 1850-1851.
ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูร์ฟ Louvre (Galerie d'Apollon) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ส่วนภาพล่าง ศิลปินคือ J. M. W. Turner ภาพชื่อ Apollo and Python. 1811.
ปัจจุบันอยู่ณ เททแกลเลอรี่ (Tate Gallery) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ


บันทึกการเข้า
Mnemosyne
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 11 พ.ย. 09, 09:35

จากการที่มีตำนานกล่าวขานถึงมากมายจึงไม่แปลกเลยที่อพอลโล จะเป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินและจิตรกรในยุคต่างๆ จนมีภาพวาดและรูปปั้นมากมายนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน

ภาพ "Adonis Centocelle" (Apollo probably with bow and arrow), mid-2nd century AD
รูปปั้นนี้ขณะนี้อยู่ ณ พิพิธภัณฑ์ Ashmolean เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลับอ็อกซ์ฟอร์ด


บันทึกการเข้า
Mnemosyne
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 11 พ.ย. 09, 09:36

อพอลโลนั้นเมื่อโตขึ้นก็เป็นหนุ่มน้อยรูปงามผู้เชี่ยวชาญศิลปวิทยาหลายแขนง
ไม่ว่าจะเป็นการยิงธนูที่แม่นหาตัวจับยากหรือการเล่นดนตรีที่ว่ากันว่าไพเราะเป็นที่สุดในหมู่ทวยเทพ
ในด้านการธนูนั้น อพอลโลได้พิสูจน์ฝีมือให้เห็นตั้งแต่ยังเล็กโดยการสังหารมังกรไพธอน
นอกจากนี้ความแม่นยำของท่านยังปรากฏชัดเมื่ออพอลโลและอาร์เทมิสร่วมกันสังหารบตรและบุตรีทั้งสิบสี่ของไนโอบี(Niobe)

เรื่องก็มีอยู่ว่า ไนโอบีนั้นได้โอ้อวดกับลีโตพระมารดาของอพอลโลว่านางนี่แท้จริงยิ่งใหญ่ว่าลีโต
เพราะลีโตสามรถให้กำเนิดมีบุตรธิดาเพียงสองคนคืออพอลโลและอาร์เทมิส
แต่นางนี่สิสามารถมีบุตรได้ถึงสิบสี่คนด้วยกัน ลีโตสู้นางไม่ได้แน่นอน
นอกจากจะกล้านำตนไปเรียบเทียบกับลีโตแล้ว นางยังมีความภาคภูมิในในบุตรธิดาตนเป็นอันมากจนถึงขั้นกล่าวสบประมาทอพอลโล
โดยกล่าวว่าบุตรธิดานางทุกคนมีทั้งอำนาจและความร่ำรวย ไม่เหมือนพวกที่เล่นพิณไปวันๆแค่การเล่นพิณไม่สามารถสรรค์สร้างอะไรได้
คำกล่าวนี้กระทบกระเทียบถึงอพอลโลโดยตรง ด้วยเพราะอพอลโลเป็นเทพเจ้าแห่งเสียงดนตรีและมีเครื่องเล่นที่โปรดปราณคือพิณ

อพอลโลและอาร์เทมิสได้รับทราบว่านางกล่าวอ้างว่าดีเด่นกว่าแม่ตนทั้งๆทีนางเป็นเพียงมนุษย์แต่ลีโตเป็นเทพชั้นสูงก็พิโรธเป็นอันมาก
ทั้งสองช่วยกันระดมยิงธนูลงมาจากสรวงสวรรค์ ธนูทุกดอกปักเข้าที่ร่างของลูกๆไนโอบีพอดิบพอดี
โดยลูกศรของอพอลโลปักโดนบุตรชายทั้งเจ็ดของไนโอบี ขณะที่ลูกศรของอาร์เทมิสนั้นปักเข้าที่ร่างของธิดาทั้งเจ็ดของนางเช่นกัน
ไนโอบีเศร้าโศกเสียใจในการตายของลูกๆทั้งหลายของนางเป็นอันมาก หัวใจของแม่แทบจะขาดรอนๆ
เธอร้องไห้ร้องห่มรอนแรมร่อนเร่ไปอย่างไร้จุดหมายจนมาถึงยอดเขาไซพีลอน (Sipylon) ซึ่งอยู่ในเอเชียไมเนอร์
น้ำตาของเธอที่หลั่งไหลกลายเป็นลำธาร อาคีลัส (Achelous)
ส่วนร่างของเธอนั้นกลับค่อยๆกลายเป็นเสาหินตั้งตระหง่านอยู่ตรงนั้นเอง

ซูสนั้นประทับอยู่บนเทือกเขาโอลิมปัสและได้เห็นเหตุการณ์ทั้งหมด
ซูสจึงจัดการสาปชาวธีบส์(Thebes) ทั้งเมืองให้กลายเป็นหิน
ทั้งนี้เพื่อที่จะไม่ให้มีใครบังอาจมานำร่างของบุตรและธิดาของไนโอบีไปฝังเสียก่อน
จนครบกำหนดเก้าวันหลังจากการตายของพวกเขา เทพเจ้าทั้งหลายได้เสด็จลงมาฝังพวกลูกๆของไนโอบีด้วยองค์เอง

ทั้งนี้ทั้งนั้นอพอลโลก็ได้รับสมญานามว่าเทพเจ้าแห่งการยิงธนู ผู้ใดจะเล็งธนูหวังผลมักจะบูชาหรือรำลึกถึงอพอลโลเพื่อขอให้ตนยิงได้ถูก
ท่านเคยลงโทษมนุษย์ด้วยธนูอยู่หลายครั้งเมื่อพิโรธโดยส่งห่าฝนธนูลงมาทำลายล้าง ดังเช่นที่กล่าวไว้ในตำนานสงครามกรุงทรอย
ครานั้นอกาเมมนอนนั้นได้จับตัวไครซิอิส(Chryseis) บุตรสาวของไครเสส (Chryses) นักบวชในวิหารเทพอพอลโลมาเป็นเชลยสงคราม
เมื่อไครเสสผู้เป็นบิดามาขอไถ่ตัวคืนกลับไม่ยอมคืนให้
อพอลโลโกรธมากจึงส่งห่าฝนธนูลงมา ก่อเกิดโรคระบาดจนทหารในกองทัพกรีกล้มตายเป็นจำนวนมากจนอกาเมมนอนยอมคืนไครซิอิสในที่สุด

นอกจากเหตุการณ์ที่กรุงทรอยแล้ว ยังว่ากันว่า ครั้งหนึ่งยูรีทัส (Eurytus) หลานของอพอลโลได้ท้าท่านแข่งยิงธนู
อพอลโลนั้นโกรธมากที่มีคนกล้ามาท้าทายขอต่อกรกับท่าน ท่านจึงสังหารยูรีทัสสังเวยความไม่เจียมตนของเขาเสีย

เรื่องตอนนี้ดูจะโหดร้ายไปเสียหน่อย อพอลโลของเรานี่ทั้งหยิ่งทั้งเอาแต่ใจจริงๆ แต่ใครๆก็เซ่นสรวงท่านทั้งนั้นค่ะ โดยเฉพาะนักยิงธนู
แต่ความโหดร้ายของอพอลโลก็ยังไม่หมดเท่านี้ค่ะ (มีอีกเหรอเนี่ย)

ตอนนี้เอารูปตอนที่ลูกๆของไนโอบีถูกสังหารมาให้ชมกันค่ะ ด้านขวาบนเป็นรูปอพอลโลและอาร์เทมิสที่กำลังเล็งศรลงมา
"Death of the Niobids" by Abraham Bloemaert 1566-1655.


บันทึกการเข้า
Mnemosyne
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 11 พ.ย. 09, 09:37

    
 

ตำนานเทพเจ้าอพอลโล 3: ความรักของอพอลโล

อพอลโลกับดาฟนี

เมื่อกล่าวถึงเรื่องราวของความรัก ตำนานที่รู้จักกันมากที่สุดของอพอลโลก็คงหนีไม่พ้นเรื่องราวของอพอลโลกับดาฟนี (Daphne)

ตำนานความรักของทั้งสองนั้นเริ่มต้นจากการอวดดีของอพอลโลที่ไปสบประมาทเจ้าเทพแห่งความรักตัวน้อยหรือคิวปิดเข้านั่นเอง
อพอ ลโลเห็นเจ้าคิวปิดเงื้อง่ายิงธนูก็ไปเยาะเย้ยว่าคิวปิดเป็นเด็กเป็นเล็กริ อ่านเล่นกับธนูซึ่งเหมาะกับชายฉกรรจ์อย่างตนมากกว่า ว่าแล้วอพอลโลก็โอ้อวดถึงชัยชนะที่ได้มาจากการใช้ธนูต่อสู้กับมังกรไพธอน

คิวปิดโกรธมากจึงโต้ตอบว่า ถึงแม้อพอลโลจะสามารถใช้ธนูเอาชนะใครต่อใครได้หมด แต่ธนูอันน้อยของเขานี่แหละที่จะล้มอพอลโลลงได้
พูดจบคิวปิดจึงแสดงอิทธิฤทธิ์ให้อพอลโลรู้ซึ้งถึงอานุภาพของธนูที่อพอลโลดูแคลนว่าเป็นของเด็กเล่น
โดยคิวปิดได้ยิงศรทองคำไปปักอพอลโลให้หลงรักดาฟนีซึ่งเป็นธิดาน้อยของพีนีอุส (Peneus) เทพเจ้าแห่งแม่น้ำเข้า
ส่วนในขณะเดียวกันก็ได้ใช้ด้านปลายที่ทื่อของธนูปักที่ดาฟนีซึ่งจะทำให้ดาฟนีไม่มีวันรักใคร

ดังนั้นความรักของทั้งสองจึงไม่มีวันที่จะสมหวัง นี่คือการแก้แค้นของคิวปิดนั้นเอง

ดา ฟนีนั้นเติบโตมา ด้วยความที่นางรูปงามจึงมีชายหนุ่มมาสนใจมากมาย แต่นางกลับไม่สนใจผู้ใด แถมยังนับถืออาร์เทมิสผู้เป็นเธพธิดาแห่งพรหมจรรย์อย่างเคร่งครัด
เมื่อพีนีอุสถามบุตรีว่าเหมื่อไหร่เล่าที่ท่านจะได้อุ้มหลานตาหากนางยังคงคอยปฏิเสธชายหนุ่มรูปงามทั้งหลายอยู่เช่นนี้
นางกลับออดอ้อนขอร้องต่อท่านพ่อให้ท่าประทานพรให้นางเป็นโสดไปชั่วชีวิต จนพีนีอุสใจอ่อนจึงประทานพรนั้นให้แก่นาง

วัน หนึ่งอพอลโลได้เห็นนางดาฟนีเข้าเป็นครั้งแรกก็ถูกตาต้องใจเป็นอันมาก ผลจากการถูกศรรักปักอก อพอลโลหลงใหลในตัวนาง ไม่ว่าจะเป็นผมยาวสลวย ดวงตาแวววาม รวมทั้งริมฝีปากอ่อนหวานซึ่งอพอลโลสัญญากับตัวเองว่าจะไม่ยอมหยุดเพียงการ ได้แต่ลอบมองริมฝีปากของนางเป็นแน่
ถึงแม้ท่านจะเป็นเทพแห่งการทำนายแต่ท่านกลับลืมสำรวจชะตาของท่านกับนางซึ่งไม่มีวันเป็นไปได้

ด้วย ความคลั่งไคล้ อพอลโลจึงตามนางไปทุกหนทุกแห่งมิวายว่านางจะหลบหนีอย่างไม่คิดชีวิตก็ตาม อพอลโลพยายามร้องตะโกนเกลี้ยกล่อมมิให้นางวิ่งหนี พร่ำพรรณนาความรักอันมีต่อนาง หากดาฟนีนั้นมิได้ชอบพอในตัวอพอลโลทั้งยังรังเกียจ อาจจะเป็นเพราะศรของคิวปิดน้อยก็ได้ นางจึงคอยหนีท่านเรื่อยไป

อพอ ลโลถึงกลับคร่ำครวญว่า โอ้ ถึงแม้ศรข้าจะมีอานุภาพเกรียงไกร แต่ข้ากลับพ่ายแพ้แก่ลูกศรที่มีอานุภาพร้ายแรงกว่า นั่นคือศรรักที่ปักอกข้าจนทำให้ข้าร้อนรุ่มทรมาณด้วยความรักถึงเพียงนี้ แม้ข้าจะเป็นถึงเทพแห่งการเยียวยาผู้รักษาโรคร้ายให้มลายหายไปได้ แต่ข้ากลับพ่ายแพ้แก่โรครักซึ่งยาขนานใดก็ไม่สามารถเยียวยารักษาได้

ทว่า คำหวานของอพอลโลไม่สามรถโน้มน้าวใจดาฟนีได้ นางยังคงหนีต่อไป แม้อพอลโลจะยังคงติดตามอย่างไม่ลดละเช่นเดียวกัน ยิ่งเธอวิ่งผมของเธอก็ปลิวสยายไปกับสายลม เสื้อผ้าก็เริ่มหลุดลุ่ย ทำให้อพอลโลคลั่งไคล้ในตัวเธออีกเป็นทวีคูณ อพอลโลนั้นจึงเร่งฝีเท้าให้เร็วขึ้นเพื่อไล่ให้ทันเธอ ทิ้งการเกลี้ยกล่อมอันละมุนละม่อมไปเสีย ดังสุนัขป่าวิ่งรี่เข้าหาลูกแกะ

ดา ฟนีนั้นกลัวจับใจ เรี่ยวแรงที่มีอยู่ก็เริ่มลดน้อยถอยลง เธอรู้ว่า อีกไม่นานอพอลโลคงจับตัวเธอได้เป็นแน่แท้ ดาฟนีจึงสวดอ้อนวอนขอต่อท่านพ่อคือพีนีอุสให้ช่วยเหลือเธอให้รอดพ้นจาก เงื้อมมือของอพอลโล ให้เปลี่ยนรูปร่างสะสวยของเธอที่นำมาซึ่งความหลงใหลของอพอลโล

ทันทีที่อพอลโลไล่ตามมาจนถึงตัวเธอและพยายามที่จะโอบกอดเธอนั้นคำขอของเธอก็สิ้นสุดลงพอดี ซึ่งพีนีอุสก็ให้พรตามขอ

ทันใดนั้นขาของเธอนั้นถูกตรึงอยู่กับที่ หน้าอกของเธอถูกปกคลุมด้วยเปลือกไม้ ผมของเธอนั้นกลายเป็นใบไม้
แล แขนทั้งสองข้างก็เหยียดสยายแผ่กิ่งก้าน เท้าของเธอกลายเป็นรากไม้หยั่งลึกลงไปในผืนดิน และใบหน้าที่สดสวยซึ่งนำมาซึ่งการไล่ล่านี้ก็กลายเป็นเพียงยอดไม้ ไม่เหลือเค้าความสวยงามใด

ดาฟนีนั้นได้กลายร่างเป็นต้นลอเรลอยู่ในอ้อมกอดของอพอลโลนั่นเอง

รูป Apollo and Daphne โดย Jean-Etienne Liotard (1702-1789)


อพอ ลโลประหลาดใจมาก เมื่อเขาเอามือลูปไปที่กิ่งไม้ ก้านทั้งก้านก็สั่นไหวดั่งมีเลือดเนื้อ อพอลโลตระกองกอดกิ่งนั้นไว้แล้วบรรจงจุมพิตลงที่ไม้นั้น กิ่งไม้ยังหดตัวพยายามหนีจากรอยจูบของเขา

ด้วยความเศร้าสลด อพอลโลกระซิบบอกกับต้นลอเรลว่า ถึงเธอจะเป็นชายาของเขาไม่ได้ แต่เธอก็จะเป็นต้นไม้ประจำตัวของเขา พร้อมลั่นวาจาไว้ว่า

"ข้าจะสวม ใส่เจ้าไว้เป็นมงกุฏเหนือเศียรเกล้า จะนำกิ่งใบของเจ้าไปประดับไว้กับพิณและธนูคู่กายข้า และเมื่อชาวโรมันประสบชัยชนะ พวกเขาจะสวมพวงลอเรลไว้เหนือศีรษะ ใบของเจ้าจะเขียวสดไม่มีวันแห้ง และเจ้า...เจ้าจะไม่มีวันหนีข้าพ้น เจ้าจะเป็นของข้าชั่วนิจนิรันดร์"

สิ้นคำของเทพอพอลโล ยอดของต้นลอเรลก็โน้มลู่ลง ดั่งน้อมรับคำพิพากษานั้น

นี่ จึงเป็นที่มาของการที่พวงมงกุฏใบลอเรลถือเป็นสัญลักษณ์แห่งผู้พิชิต และใบลอเรลจะถูกประดับบนศีรษะของผู้ได้รับชัยชนะจากการแข่งขันต่างๆเสมอมา

และแล้วความรักที่ไม่สมหวังของอพอลโลกับดาฟนีก็จบลงด้วยประการฉะนี้

รูปแกะสลักหินอ่อนของ Bernini (1598 - 1680)
ฉากที่ดาฟนีถูกอพอลโลไล่ตามและกลายร่างเป็นต้นลอเรลเพื่อหลบหนี



นอกจากดาฟนีซึ่งเป็นรักแรกแล้ว อพอลโลก็ยังมีความรักกับสาวๆอีกมากมายหลายนางด้วยกัน

หนึ่งในนั้นก็คือพระนางโคโรนิส ที่ได้เล่าไปในตอนกำเนิดของแอสคลีปิอัส บิดาแห่งการแพทย์ไปแล้ว

ที่รู้จักกันดีก็ยังมีเฮอร์คิวบา และ คาซานดรา ที่หลายๆท่านอาจเคยได้ยินกันมาแล้วบ้างนั่นเอง

ความรักของอพอลโลกับเฮอร์คิวบา (Hecuba) นั้น
คงนับว่าเป็นความรักของอพอลโลกับมนุษย์ธรรมดาสามัญที่รู้จักกันดีที่สุดในบรรดาหมู่คนรักของอพอลโล

เฮอร์คิวบาเป็นชายาของไพรแอม กษัตริย์แห่งกรุงทรอย
บุตร ของเฮอร์คิวบาที่เกิดกับไพรแอมนั้นชื่อ โทรลิอัส (Troilius) คำทำนายกล่าวไว้ว่าตราบใดที่โทรลิอัสอายุยังไม่ครบยี่สิบ กรุงทรอยจะไม่มีวันล่มสลาย คำทำนายนี้เป็นเหตุให้อะคิลลิส (Achilles) วีรบุรุษกรีกเมื่อครั้งสงครามกรุงทรอยได้ลอบดักฆ่าโทรลิอัสและโพลีซีนา (Polyxena) เสียก่อน

นอกจากจะได้เฮอร์คิวบาเป็นชายาแล้ว อพอลโลก็ยังพบรักกับบุตรีของเฮอร์คิวบากับไพรแอมคือคาซานดรา (Cassandra) อีกด้วย
อพอลโลหว่านล้อมและเข้าหาคาซานดราโดยการสัญญากับนางว่าจะมอบความรู้ด้านการหยั่งรู้และการทำนายให้
คาซานดราทำทีเป็นสนใจแต่เมื่อเรียนสาสตร์แห่งการทำนายจากอพอลโลแล้ว นางกลับปฏิเสธความรักของเขา
อพอลโลผูกใจเจ็บจึงลงโทษโดยสาปให้ไม่มีผู้ใดเชื่อถือคำทำนายของเธอ

เรา จึงได้เห็นในหลายๆครา ไม่ว่าจะเป็นสงครามกรุงทรอยหรือเหตุการณ์อื่นๆ คาซานดรามักจะหยั่งรู้ถึงภัยพิบัติและเตือนผู้อื่น เธอได้เตือนชาวทรอยถึงม้าไม้ ที่อาจเป็นกลลวงของศัตรู ถึงความตายของอากาเมมนอน รวมถึงทำนายความตายของเธอเองด้วย หากแต่ไม่มีใครฟังคำเตือนที่ถูกต้องของนางเลย กลับเย้ยหยันความสามารถในการทำนายของนางเสียทั้งนั้น

ชีวิตของคาซานครานั้นน่าสงสารยิ่งนัก นอกจากทำนายอะไรก็ไม่มีใครเชื่อแล้ว ในที่สุดนางยังถูกจับไปข่มขืนอีกด้วย
ใน ระหว่างสงครามเธอหลบซ่อนอยู่ในวิหารของเทพธิดาอธีนา แต่เธอก็ยังถูกเอแจกซ์ลากไปข่มขืน ซ้ำยังถูกนำไปเป็นนางบำเรอแก่อากาเมมนอน (Agamemnon)ในเวลาต่อมาด้วย
เธอพยายามเตือนอากาเมมนอนถึงภัยจากชายาไคลเทมเนสตรา (Clytemnestra) ซึ่งแอบไปมีชู้ แต่อากาเมมนอนไม่เชื่อ
สุดท้ายอากาเมมนอนและคาซานดราจึงโดนไคลเทมเนสตราผู้เป็นชายาและชู้ของนางฆ่าตาย

เรื่องนี้ก็จบเศร้า แต่คาซานดราก็แอบผิดนิดๆที่ไปทำทีเหมือนจะตกลงปลงใจกับอพอลโลแต่จริงๆเพียงแค่ต้องการหลอกใช้ให้สอนแล้วทิ้ง

เรื่องของคาซานครานี้ที่มีกล่าวถึงมากมายคงเป็นเพราะเธอมีความเกี่ยวพันในเรื่องสงครามกรุงทรอยอันโด่งดังอยู่หลายฉากหลายตอนด้วยกัน

รูปแกะสลักหินอ่อน Cassandra seeking the protection of Pallas สำเร็จเมื่อปี 1877
โดย Aime Millet (French, 1819-1891)
คาซานดราเข้าไปหลบอยู่ในวิหารอธนาและอ้อนวอนต่อเทพเจ้าให้คุ้มครองเธอ
ปัจจุบันอยู่ที่ สวน Tuileries กรุงปารีส




นอกจากเฮอร์คิวบากับคาซานดรา คนรักของอพอลโลก็ยังมีอีกมากมาย

อพอลโลเคยลอบได้เสียกับเจ้าหญิงลิวโคเทีย (Leucothea) ซึ่งเป็นมนุษย์ธรรมดา

ลิว โคเทียเป็นบุตรีของ ออร์คามุส (Orchamus) มีพี่สาวชื่อ ไคลเทีย (Clytia) โดยแรกอพอลโลได้ปลอมตัวเป็นแม่ของนางเพื่อหาทางเข้าหาลิวโคเทีย ถึงห้องนอน
ลิวโคเทียนั้นได้แอบบอกความลับนี้ให้พี่สาวได้รู้
ไคล เทียนั้นรู้เจ้าก็อิจฉาเป็นอันมากเพราะนางก็แอบปองรักอพอลโลเช่นกัน นางจึงทรยศความไว้ใจของน้องสาวนำเรื่องไปฟ้องพ่อ พอออร์คามุสผู้เป็นบิดาทราบเข้าก็โกรธมากที่บุตรีลักลอบได้เสียกับชายหนุ่ม จึงได้สั่งจับลิวโคเทียฝังทั้งเป็น

อพอลโลทราบข่าวก็พิโรธมาก และไม่ยอมให้อภัยไคลเทีย ไคลเทียซึ่งหลงรักอพอลโลโศกเศร้าจนตรอมใจตาย
อพอลโลเห็นใจจึงเปลี่ยนนางให้เป็นดอกทานตะวันเพื่อที่นางจะได้หันหน้ามองตามท่านซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งแสงสว่างตลอดเวลา

Leucothea (1862) โดย Jean Jules Allasseur (1818-1903)
ปัจจุบันอยู่ ณ พิพธพัณฑ์ลูร์ฟ กรุงปารีส


รูปปั้นไคลเทีย โดย Charles Towneley
กลีบดอกไม้ข้างๆสื่อถึงนางที่คอยมองตามอพอลโลดั่งดอกทานตะวันหันตามดวงอาทิตย์



ถัดจากลิวโคเทียก็ยังมีมาร์เพสซา (Marpessa)
เธอ หลงรักกับอพอลโลแต่ไอดาส (Idas) มาหลงรักเธอและลักพาตัวเธอไป ซูสพยายามจะให้ความเป็นธรรมกับคนรักทั้งสองและเธอโดยการให้เะอเลือกว่าจะ อยู่กับใคร
สุดท้าย เธอเลือกไอดาสแทนที่อพอลโลด้วยเหตุว่าเธอเป็นเพียงมนุษย์หากอพอลโลเป็น เทพเจ้าผู้เป็นอมตะ หางนางแก่ชราลงอพอลโลคงจะเบื่อและหมดรักในตัวเธอ เธอจึงได้ไปครองรักอย่างสงบสุขกับไอดาส

อพอลโลยังได้เคยไปหลงรักพรายน้ำนามว่า คาสทาเลีย (Castalia)
คาสทาเลียไม่มีใจให้อพอลโลเธอจึงวิ่งหนีจนสุดท้ายเธอได้กระโจนหนีลงไปยังบ่อน้ำพุที่เดลฟี
น้ำพุนี้จึงถูกตั้งชื่อว่าคาสทาเลียตามเธอตั้งแต่นั้นมา
เชื่อว่าน้ำพุบ่อนี้มีความศักดิ์สิทธิ์ น้ำจากน้ำพุจะถูกนำมาชำระล้างวิหารแห่งอพอลโลและมีสรรพคุณในการให้แรงบันดาลใจแก่นักกวี

คนรักอีกนางหนึ่งของอพอลโลคือไซรีน (Cyrene)
แอ ริสเทอุส (Aristaeus) บุตรของอพอลโลกับไซรีนนั้นได้ชื่อว่าเป็นเทพเจ้าอุปถัมภืของการปศุสัตว์ การทำสวนผลไม้ การล่าสัตว์ และการเลี้ยงผึ้ง
เชื่อว่าแอริสเทอุสเป็นผู้สอนให้มนุษย์รู้จักการรีดนมวัวและทำผลิตภัณฑ์จากนม สอนการใช้ตาข่ายดักสัตว์ และสอนการปลูกต้นโอลีฟอีกด้วย

รูปสลักหินอ่อนของนางไซรีน AD 120-150


นอกจากสาวๆที่กล่าวมาแล้วนั้น อพอลโลก็ยังมีความรักกับชายด้วยกันอีกด้วย

ชายหนุ่มคนแรกคือไฮยาซินธัส (Hyacinthus) เจ้าชายแห่งสปาร์ตา
ไฮยาซินธัสเป็นชายหนุ่มรูปงามที่เก่งในการกรีฑามาก
มิใช่อพอลโลจะหลงรักชายหนุ่มรูปนี้เพีงผู้เดียว เซเฟอร์ เทพเจ้าแห่งสายลมตะวันตกก็ตกหลุมรักกับไฮยาซินธัสเช่นกัน

ด้วย ความริษยาอพอลโล เมื่ออพอลโลเล่นขว้างจักรอยู่กับไฮยาซินธัส เซเฟอร์จึงเป่าลมทำให้จักรที่อพอลโลขว้างพุ่งใส่ศีรษะของไฮยาซินธัส อพอลโลรีบรุดเข้าไปหาร่างที่ทรุดฮวบลงนั้นแต่ช้าไป ไฮยาซินธัสนั้นสิ้นลมหายใจเสียแล้ว ทำให้อพอลโลโศกเศร้าเป็นที่ยิ่ง

เพื่อให้ไฮยาซินธัสมีชีวิตอันเป็นอมตะ อพอลโลจึงเสกให้ดอกไม้งอกขึ้นบริเวณที่หยาดโลหิตของไฮยาซินธัสตกกระทบพื้นดิน

ดอกไม้นั้นคือดอกไฮยาซิน (hyacinth) นั่นเอง
ว่ากันว่าน้ำตาแห่งความโศกเศร้าหยดลงบนดอกของดอกไฮยาซิน ทำให้เป็นรอยหยดน้ำบนกลีบน้อยๆของดอกไฮยาซินนั้น

รูป The Death of Hyacinth โดย Jean Broc
รูปนี้อพอลโลกำลังประคองร่างไร้ลมหายใจของไฮยาซินธัสไว้ในวงแขน จักรที่ขว้างไปปลิดชีวิตเจ้าชายหนุ่มนั้นตกอยู่ทางซ้าย



นอกจากไฮยาซินธัส อพอลโลก็ยังหลงรักชายหนุ่มอีกหนึ่งคนคือ ไซพาริซัส (Cyparissus)

ไซพาริซัสเป็นลูกหลานของเฮอราคลีส (Heracles-Greek: Hercules-Roman)
อพอลโลด้วยความหลงใหลในตัวไซพาริซัสก็ได้ให้กวางศักดิ์สิทธิ์แก่ไซพาริซัสเป็นของแทนใจ
กวางนั้นได้เป้นเพื่อนเล่นให้เด็กหนุ่มเรื่อยมา
จนกระทั่งวันหนึ่งเจ้ากวางน้อยได้ไปหลบนอนอยู่ใต้ร่มไม้ ไซพาริซัสนั้นไม่เป็นได้ซ้อมพุ่งแหลนแล้วพลาดไปโดนเจ้ากวางตาย

ไซพาริซัสเสียใจมากจนไม่อยากมีชีวิตอยู่ เขาได้ขออพอลโลให้น้ำตาของเขาหลั่งไหลเพื่อเจ้ากวางน้อยไม่มีที่สิ้นสุด
อพอลโลจึงเปลี่ยนร่างชายหนุ่มผู้โศกเศร้าให้กลายเป็นต้นไซเปรส (cypress) ซึ่งเป็นต้นไม้แห่งความเสียใจ
เพราะยางของมันจะเกาะเป็นหยดคล้ายน้ำตาอยู่ข้างต้นเสมอ

รูปปั้นใน National Park Seminary จำลองมาจากรูปปั้น Ciparisso ณ Accademia กรุง Florence ประเทศ Italy
โดย Antonio Puccinelli
ไซพาริซัสร่ำไห้อาลัยเจ้ากวางเพื่อนยาก



จบกันไปแล้วนะคะสำหรับเรื่องราวตำนานเทพเจ้าอพอลโล
ตอนนี้มีเรื่องราวรักเข้ามาหวังว่าคงจะสนุกสนานกับความรักอันโลดโผนของท่านเทพองค์นี้
อาจจะรู้สึกแปลกๆกันหน่อยที่ท่านมีคนรักเป็นชายด้วย
แต่ที่จริงก็ไม่นับว่าแปลกมากนัก เพราะแม้แต่ซูสผู้พ่อเองก็ยังมีเรื่องราวตำนานความรักกับชายหนุ่มอยู่บ้างเช่นกัน

สุดท้ายก็อดนำรูปมาฝากกันอีกไม่ได้ค่ะ

รูปนี้ถ่ายเองกับมือเลยค่ะ ที่ Museum of Fine Art ที่บอสตัน
เป็นรูปที่อยู่ตรงข้าม Apollo and the Muses โดย John Singer Sargent ที่แปะไว้เป็นรูปแรกในกระทู้ที่แล้ว

มั่น ใจว่าเป็นอพอลโลเพราะมีหงส์และพิณที่เป็นสัญลักษณ์ประจำตัว มีลำแสงสาดส่องตามสมญาเทพเจ้าแห่งแสงสว่าง และที่สำคัญ ยังถือมงกุฏใบลอเรลไว้ในมืออีกด้วยค่ะ


 
Create Date : 05 ตุลาคม 2552
Last Update : 5 ตุลาคม 2552 5:26:38 น.    ลบ Blogแก้ไข Blog        
0 comment

ตำนานเทพเจ้าอพอลโล 2: เทพเจ้าแห่งศิลปศาสตร์

จากตอนที่แล้ว หนุ่มน้อยของเรากลายเป็นหนุ่มหล่อและได้สร้างวีรกรรมไว้มากมายเชียวค่ะ

จาก การที่มีตำนานกล่าวขานถึงมากมายจึงไม่แปลกเลยที่อพอลโลจะเป็นแรงบันดาลใจให้ ศิลปินและจิตรกรในยุคต่างๆ จนมีภาพวาดและรูปปั้นมากมายนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน

ภาพ "Adonis Centocelle" (Apollo probably with bow and arrow), mid-2nd century AD
รูปปั้นนี้ขณะนี้อยู่ ณ พิพิธภัณฑ์ Ashmolean เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลับอ็อกซ์ฟอร์ด


อพอลโลนั้นเมื่อโตขึ้นก็เป็นหนุ่มน้อยรูปงามผู้เชี่ยวชาญศิลปวิทยาหลายแขนง
ไม่ว่าจะเป็นการยิงธนูที่แม่นหาตัวจับยากหรือการเล่นดนตรีที่ว่ากันว่าไพเราะเป็นที่สุดในหมู่ทวยเทพ
ในด้านการธนูนั้น อพอลโลได้พิสูจน์ฝีมือให้เห็นตั้งแต่ยังเล็กโดยการสังหารมังกรไพธอน
นอกจากนี้ความแม่นยำของท่านยังปรากฏชัดเมื่ออพอลโลและอาร์เทมิสร่วมกันสังหารบตรและบุตรีทั้งสิบสี่ของไนโอบี(Niobe)

เรื่องก็มีอยู่ว่า ไนโอบีนั้นได้โอ้อวดกับลีโตพระมารดาของอพอลโลว่านางนี่แท้จริงยิ่งใหญ่ว่าลีโต
เพราะลีโตสามรถให้กำเนิดมีบุตรธิดาเพียงสองคนคืออพอลโลและอาร์เทมิส
แต่นางนี่สิสามารถมีบุตรได้ถึงสิบสี่คนด้วยกัน ลีโตสู้นางไม่ได้แน่นอน
นอกจากจะกล้านำตนไปเรียบเทียบกับลีโตแล้ว นางยังมีความภาคภูมิในในบุตรธิดาตนเป็นอันมากจนถึงขั้นกล่าวสบประมาทอพอลโล
โดยกล่าวว่าบุตรธิดานางทุกคนมีทั้งอำนาจและความร่ำรวย ไม่เหมือนพวกที่เล่นพิณไปวันๆแค่การเล่นพิณไม่สามารถสรรค์สร้างอะไรได้
คำกล่าวนี้กระทบกระเทียบถึงอพอลโลโดยตรง ด้วยเพราะอพอลโลเป็นเทพเจ้าแห่งเสียงดนตรีและมีเครื่องเล่นที่โปรดปราณคือพิณ

อพอลโลและอาร์เทมิสได้รับทราบว่านางกล่าวอ้างว่าดีเด่นกว่าแม่ตนทั้งๆทีนางเป็นเพียงมนุษย์แต่ลีโตเป็นเทพชั้นสูงก็พิโรธเป็นอันมาก
ทั้งสองช่วยกันระดมยิงธนูลงมาจากสรวงสวรรค์ ธนูทุกดอกปักเข้าที่ร่างของลูกๆไนโอบีพอดิบพอดี
โดยลูกศรของอพอลโลปักโดนบุตรชายทั้งเจ็ดของไนโอบี ขณะที่ลูกศรของอาร์เทมิสนั้นปักเข้าที่ร่างของธิดาทั้งเจ็ดของนางเช่นกัน
ไนโอบีเศร้าโศกเสียใจในการตายของลูกๆทั้งหลายของนางเป็นอันมาก หัวใจของแม่แทบจะขาดรอนๆ
เธอร้องไห้ร้องห่มรอนแรมร่อนเร่ไปอย่างไร้จุดหมายจนมาถึงยอดเขาไซพีลอน (Sipylon) ซึ่งอยู่ในเอเชียไมเนอร์
น้ำตาของเธอที่หลั่งไหลกลายเป็นลำธาร อาคีลัส (Achelous)
ส่วนร่างของเธอนั้นกลับค่อยๆกลายเป็นเสาหินตั้งตระหง่านอยู่ตรงนั้นเอง

ซูสนั้นประทับอยู่บนเทือกเขาโอลิมปัสและได้เห็นเหตุการณ์ทั้งหมด
ซูสจึงจัดการสาปชาวธีบส์(Thebes) ทั้งเมืองให้กลายเป็นหิน
ทั้งนี้เพื่อที่จะไม่ให้มีใครบังอาจมานำร่างของบุตรและธิดาของไนโอบีไปฝังเสียก่อน
จนครบกำหนดเก้าวันหลังจากการตายของพวกเขา เทพเจ้าทั้งหลายได้เสด็จลงมาฝังพวกลูกๆของไนโอบีด้วยองค์เอง

ทั้งนี้ทั้งนั้นอพอลโลก็ได้รับสมญานามว่าเทพเจ้าแห่งการยิงธนู ผู้ใดจะเล็งธนูหวังผลมักจะบูชาหรือรำลึกถึงอพอลโลเพื่อขอให้ตนยิงได้ถูก
ท่านเคยลงโทษมนุษย์ด้วยธนูอยู่หลายครั้งเมื่อพิโรธโดยส่งห่าฝนธนูลงมาทำลายล้าง ดังเช่นที่กล่าวไว้ในตำนานสงครามกรุงทรอย
ครานั้นอกาเมมนอนนั้นได้จับตัวไครซิอิส(Chryseis) บุตรสาวของไครเสส (Chryses) นักบวชในวิหารเทพอพอลโลมาเป็นเชลยสงคราม
เมื่อไครเสสผู้เป็นบิดามาขอไถ่ตัวคืนกลับไม่ยอมคืนให้
อพอลโลโกรธมากจึงส่งห่าฝนธนูลงมา ก่อเกิดโรคระบาดจนทหารในกองทัพกรีกล้มตายเป็นจำนวนมากจนอกาเมมนอนยอมคืนไครซิอิสในที่สุด

นอกจากเหตุการณ์ที่กรุงทรอยแล้ว ยังว่ากันว่า ครั้งหนึ่งยูรีทัส (Eurytus) หลานของอพอลโลได้ท้าท่านแข่งยิงธนู
อพอลโลนั้นโกรธมากที่มีคนกล้ามาท้าทายขอต่อกรกับท่าน ท่านจึงสังหารยูรีทัสสังเวยความไม่เจียมตนของเขาเสีย

เรื่องตอนนี้ดูจะโหดร้ายไปเสียหน่อย อพอลโลของเรานี่ทั้งหยิ่งทั้งเอาแต่ใจจริงๆ แต่ใครๆก็เซ่นสรวงท่านทั้งนั้นค่ะ โดยเฉพาะนักยิงธนู
แต่ความโหดร้ายของอพอลโลก็ยังไม่หมดเท่านี้ค่ะ (มีอีกเหรอเนี่ย)

ตอนนี้เอารูปตอนที่ลูกๆของไนโอบีถูกสังหารมาให้ชมกันค่ะ ด้านขวาบนเป็นรูปอพอลโลและอาร์เทมิสที่กำลังเล็งศรลงมา
"Death of the Niobids" by Abraham Bloemaert 1566-1655.




กล่าวถึงในแง่เทพเจ้าแห่งการยิงธนูไปแล้ว เราก็มาต่อกันด้วยที่มาของการเป็นเทพเจ้าแห่งการเยียวยารักษากันบ้างดีกว่าค่ะ
สมัย โบราณเชื่อกันว่าโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้นเมื่อเทพเจ้าพิโรธและลงโทษมนุษย์ การเซ่นสรวงบูชาเทพที่ส่งโรคมานั้นจะทำให้หายจากโรคร้ายได้
การที่อพอลโลสามารถดลบันดาลให้เกิดโรดระบาดตามที่ต่างๆนั้น เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความเชื่อที่นับถือท่านเป็นเทพแห่งการเยียวยา
เชื่อกันว่าหากท่านให้โรคระบาดได้ ก็จะสามารถนำโรคระบาดกลับคืนไป เยียวยาให้คนหายจากโรคภัยได้เช่นเดียวกัน
นอกจากนี้การนับถืออพอลโลในฐานะผู้ทำนายก็มีส่วนสำคัญเช่นเดียวกัน
ในฐานะผู้ทำนาย ท่านสามารถบอกว่าผลจากการเจ็บป่วยได้ว่าคนป่วยนั้นจะรอดหรือไม่ ทำให้คนเชื่อมั่นในฐานะเทพผู้เยียวยาของท่านยิ่งขึ้น

บุตรชายของอพอลโลคือแอสคลีปีอัส(Asclepius) ได้รับการยอมรับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการแพทย์
เรื่องของแอสคลีปิอัสนั้นน่าสนใจไม่แพ้กันและเกี่ยวข้องกับอพอลโลอยู่มากจึงขอยกมาเล่าไว้ ณ ที่นี้ด้วยเลยนะคะ

แอสคลีปีอัสเป็นบุตรของอพอลโลกับพระนางโคโรนิส (Coronis)
โคโรนิสตั้งท้องแอสคลีปีอัสกับอพอลโล แต่นางกลับไปตกหลุมรักกับอิสคิส (Ischys)
อีกาได้บินไปฟ้องให้อพอลโลทราบเรื่อง อพอลโลจึงส่งอาร์เทมิสไปฆ่าโคโรนิสเสีย
ร่างของเธอถูกเผาบนกองเพลิง อีกานั้นแต่เดิมขนสีขาวเมื่อถูกเขม่าเถ้าถ่านจากเพลิงศพโคโรนิสขนจึงเป็นสีดำสนิทตั้งแต่นั้นมา
อพอลโลได้ช่วยบุตรชายโดยการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (caesarean section) อพอลโลจึงเป็นแพทย์คนแรกที่ผ่าตัดแบบนี้
พ่อของโคโรนิสคับแค้นใจมากที่ธิดาถูกฆ่าจึงจุดเพลิงเผาวิหารอพอลโลที่เดลฟี อพอลโลจึงฆ่าพ่อตาเสียทันทีเช่นกัน

รูปวิหารเดลฟี


บันทึกการเข้า
Mnemosyne
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 11 พ.ย. 09, 09:38

เมื่อทำคลอดแอสคลีปีอัสออกมาแล้ว อพอลโลได้ฝากแอสคลีปีอัสให้ไครอนซึ่งเป็นเซนทอร์เลี้ยง(เซนทอร์นั้นเป็นครึ่งม้าครึ่งคน-ผู้เขียน)
ไครอนสอนศาสตร์ต่างๆในการแพทย์ ให้แอสคลีปีอัส ไม่ว่าจะเป็นศัลยกรรม เภสัชกรรม รวมไปถึงบทสวดภาวนาและยาสเน่ห์
กล่าวกันว่าเทพธิดาอธีน่า (Athena) ได้มอบเลือดของกอร์กอนให้แอสคลีปีอัส
เลือดของกอร์กอนนี้มีคุณสมบัติวิเศษคือถ้าเอามาจากฝั่งซ้ายของกอร์กอนจะมีฤทธิ์เป็นยาพิษ แต่ถ้าเป็นฝั่งขวาจะใช้ชุบชีวิตคนได้
ในสงครามกรุงทรอย แอสคลีปีอัสได้ใช้ยานี้ช่วยชีวิตฟิลโลเททิสทหารกรีกจากพิษงูกัด
แอสคลีปีอัสจึงได้รับการนับถือเป็นแพทย์ที่ดีที่สุดในยุคสมัยของเขา

แต่การรักษาชุบชีวิตคนตายได้ก็ไม่ได้ให้แต่ผลดีเสมอไป
เมื่อซูสทราบเรื่องก็ทรงพิโรธ และใช้สายฝ้าฟาดลงมาใส่ศีรษะแอสคลีปีอัสจนตายคาที่
สันนิษฐานกันว่าการที่แอสคลีปีอัสช่วยชีวิตคนตายเป็นการล่วงล้ำอำนาจของยมทูตหรือเฮเดส (Hades)
เฮเดสจึงไปฟ้องซูสซึ่งเป็นพี่ชายให้ลงโทษ แอสคลีปีอัส
บางคนมองว่า การที่แอสคลีปีอัสถูกซูสฆ่านั้นเป็นสัญลักษณ์ว่ามนุษย์ไม่มีวันที่จะต่อกรขัดขวางกฏแห่งธรรมชาติ
โดยเฉพาะการเกิดและตายซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่แบ่งแยกเทพเจ้าออกจากมนุษย์ได้

เพื่อเป็นการแก้แค้นให้บุตรชาย อพอลโลจึงไปฆ่าไซคลอปทั้งสามซึ่งเป็นผู้สร้างและมอบสายฟ้าให้ซูส
ซูสเสียใจมากจึงเดินทางไปขอไซคลอปคืนจากเฮเดส อพอลโลจึงขอร้องให้นำแอสคลีปีอัสบุตรชายกลับมาจากยมโลกด้วย
ซูสทนการรบเร้านานวันเข้าไม่ไหวจึงยินยอมนำแอสคลีปีอัสกลับมาโอลิมปัสพร้อมทั้งตั้งให้เป็นเทพแห่งการแพทย์อีกด้วย

หลังจากซูสระลึกได้ถึงความสำคัญของแอสคลีปีอัสต่อมวลมนุษยชาติ ซูสได้ให้ที่แก่แอสคลีปีอัสบนฟากฟ้าในหมู่ดาวโอฟิวคัส (Ophiuchus)
สัญลักษณ์แห่งการแพทย์ที่เป็นไม้เท้ามีงูเกี่ยวพันอยู่นั้นก็ได้มาจากไม้เท้าของแอสคลีปีอัสนั่นเอง

เป็นอย่างไรบ้างคะ โชกโชนกันทั้งพ่อทั้งลูกเลย
หวังว่าหลายท่านคงไม่สับสนระหว่างการเป็นเทพแห่งการเยียวยา (Healing) ของอพอลโลกับเทพแห่งการแพทย์ (Medicine) ของแอสคลีปีอัสนะคะ


ภาพของแอสคลีปีอัสตอนถือไม้เท้าค่ะ งูที่ไม้เท้ามีเพียงตัวเดียวนะคะ
ถ้าสองตัวและมีปีกจะเป็นไม้เท้าของแอร์เมส (Hermes) เป็นสัญลักษณ์แห่งการพาณิชย์ค่ะ


บันทึกการเข้า
Mnemosyne
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 11 พ.ย. 09, 09:39

กลับมาที่เรื่องของเสียงดนตรี
นอกจากเทพอพอลโลจะเป็นเทพแห่งการเยียวยาและการยิงธนูแล้ว ท่านยังเป็นเทพเจ้าแห่งเสียงดนตรีอีกด้วย
คำว่า ดนตรี (Music) นั้น แท้จริงมีต้นกำเนิดมาจากคำว่า Musiki ในภาษากรีก ที่แปลว่า "all the arts of nine Muses" นั่นเอง

อพอลโลมีตำแหน่งเป็นผู้นำของมิวส์ทั้งหลาย มิวส์ทั้งเก้านั้นได้ติดตามอพอลโลไปทุกที่
เนื่องว่าเทพธิดามิวส์ทั้งเก้าเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านดนตรี การละครและการร้องรำ
อพอลโลผู้นำแห่งมิวส์จึงครอบครองและควบคุมศาสตร์แห่งการดนตรีทั้งหมดเหล่านี้จนได้ชื่อว่าเป็นเทพผู้อุปถัมภ์การดนตรี

และด้วยเหตุนี้ ยอดเขาพานาซัสซึ่งเป็นที่ตั้งของวิหารอพอลโลจึงถือเป็นที่กำเนิดของดนตรีอีกด้วย
การ ที่ อพอลโลเป็นเทพเจ้าแห่งเสียงดนตรีนั้น ยังเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของการที่ท่านสามารถนำพามาซึ่งความสมดุล (balance) และความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว (harmony) เช่นกัน

รูป อพอลโลกับมิวส์
ผลงาน Apollo and the Muses โดย John Singer Sargent ศิลปินชาวอเมริกัน วาดเมื่อปี1921
ปัจจุบันอยู่ที่ Museum of Fine Arts ในกรุงบอสตัน สหรัฐอเมริกาค่ะ


บันทึกการเข้า
Mnemosyne
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 11 พ.ย. 09, 09:40

อพอลโลนั้นมีความเชี่ยวชาญทางด้านการเล่นดนตรีมาก
เครื่องดนตรีที่อพอลโลโปรดปราณนั้น ก็เห็นจะไม่พ้นพิณ (lyre) นั่นเอง
ความเป็นมาของพิณคู้ใจของอพอลโลนั้นมีความเกี่ยวพันกับเทพเฮอร์มิส เทพเจ้าแห่งการสื่อสารด้วยล่ะค่ะ
ก่อนที่จะไปฟังเรื่องราวของเฮอร์มีส แอบแปะรูปอีกรูปนึงก่อนนะคะ

คราวนี้เป็นผลงานของ ราฟาเอล (Raphael) ซึ่งมีผู้นิยมเรียกชื่อต่างๆกันดังนี้ค่ะ
Raffaello Sanzio, Raffaello Santi, Raffaello de Urbino or Rafael Sanzio de Urbino.
ราฟาเอลเป็นจิตรกรและสถาปนิกของ Florentine school ในยุคเรเนซองค์ของอิตาลี
ภาพนี้ชื่อ Parnassus บรรยายเรื่องราวบรรยากาศบนเขาพานาซัสที่อพอลโลและมิวส์มักมาร่ายรำเล่นดนตรีกัน
ในรูปนี้อพอลโลไม่ได้เล่นพิณอยู่นะคะ แต่เล่น Lira da Braccio เครื่องดนตรีของอิตาลีแทน คาดว่าเป็นจินตนาการของผู้เขียน
รูปที่เล่นพิณ แปะไว้ให้แล้วข้างบนค่ะ
รูปนี้วาดเมื่อ c.1509-1510 เป็นภาพวาดบนผนังปูนเปียกหรือศิลปกรรมแบบเฟรสโก (Fresco) นั่นเอง
ปัจจุบันอยู่ที่ Vaticano, Stanza della Segnatura, Rome.


บันทึกการเข้า
Mnemosyne
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 11 พ.ย. 09, 09:40

มาต่อที่เรื่องราวกำเนิดแห่งเฮอร์มีส

เฮอร์มีสนั้น เป็นบุตรพระนางไมอา (Maia) พระสนมลับๆของซูส
เมื่อแรกเกิดเป็นทารก ไมอาได้นำร่างทารกน้อยพันไว้ด้วยผ้าห่มแล้วผล็อยหลับไป
เฮอร์มีส ด้วยความเก่งกาจและซุกซนจึงหนีออกมาเที่ยวเล่น
เฮอร์มีสหนีไปถึง เทสซาลีซึ่งขณะนั้นอพอลโลกำลังเฝ้าฝูงปศุสัตว์ที่ท่านปล่อยให้กินหญ้าอยู่ในทุ่ง
ทารกน้อยเฮอร์มีสนึกสนุกจึงแอบไปขโมยวัวหลายตัวไปแอบซ่อนไว้ในถ้ำใกล้ไพลอส (Pylos)
ระหว่างทางทารกน้อยได้เจอเต่าป่า จึงฆ่าแล้วนำมาทำเป็นพิณอันแรกโดยใช้ลำไส้วัวเป็นสาย
เล่นสนุกเสร็จเจ้าตัวน้อยก็ย่องเงียบกริบกลับไปนอนซุกอยู่ในผ้าห่มสบายใจ

อพอลโลรู้เข้าก็โกรธ จึงไปฟ้องนางไมอาถึงเรื่องที่เฮอร์มีสไปก่อไว้
แต่พระนางไม่เชื่อเพราะเจ้าตัวซนยังนอนนิ่งอยู่ในผ้าห่มอยู่เลย ไม่น่าจะไปก่อเรื่องไว้ที่ไหนได้
ร้อนถึงซูสต้องลงมายืนยันว่าเห็นทุกอย่างตามดังที่อพอลโลว่า
ระหว่างนั้นเจ้าตัวเล็กก็เอาพิณที่เพิ่งทำขึ้นออกมาดีดเล่น
อพอลโลเทพเจ้าแห่งเสียงดนตรีได้ฟังเข้าก็เกิดความหลงไหลจึงขอแลกฝูงสัตว์ทั้งหมดกับพิณตัวนี้ ซึ่งเฮอร์มีสก็ยอม
จากนั้นมา อพอลโลจึงมีพิณนี้เป็นเครื่องดนตรีคู่ใจ นำไปไหนมาไหนด้วยอยู่เสมอ

ต่อมาเฮอร์มีสได่สร้างเครื่องดนตรีชนิดใหม่ขึ้นมาอีก เป็นเครื่องเป่าที่เรียกว่า ไซริงซ์ (syrinx)
อพอลโลมาเห็นก็ถูกใจอีกจึงมาขอแลกไปโดยใช้ไม้เท้าcaduceusเป็นของแลกเปลี่ยน
ไม้เท้านี้มีงูสองตัวกระหวัดเกี่ยวพันอยู่และมีปีกอยู่ด้านบน
เฮอร์มีสจะถือไม้เท้านี้ไว้ในมือซ้าย

ไม้เท้านี้เองคือไม้เท้าที่เล่าว่ามักจะสลับกับไม้เท้าของแอสคลีปิอัสลูกชายของอพอลโลซึ่งมีงูเพียงตัวเดียว
ที่ถูกต้องงูตัวเดียวเป็นสัญลักษณ์การแพทย์ ส่วนงูสองตัวนั้นเป็นสัญลักษณ์การพาณิชย์
ในปัจจุบันมีการสับสนกันมากและมีการใช้สลับกันทั่วไป
สันนิษฐานว่าเริ่มสลับกันเมื่อนักเล่นแร่แปรธาตุ (alchemist) นำไม้เท้าของเฮอร์มีสมาเป็นสัญลักษณ์
เพราะเฮอร์มีสนอกจากจะได้รับสมญาเป็นเทพเจ้าแห่งการสือสารแล้ว ท่านยังเป็นเทพเจ้าแห่งการเล่นแร่แปรธาตุ (alchemy) ด้วย
นัก เล่นแร่แปรธาตุนั้นศึกษาสารเคมีต่างๆจนมีการค้นพบสารและยาใหม่ๆ ทำให้ในยุคหลังการเล่นแร่แปรธาตุเริ่มถูกนำมาเกี่ยวข้องกับการแพทย์
สิ่งนี้ทำให้มีบางคนเข้าใจผิดนำไม้เท้าของเฮอร์มีสสัญลักษณ์ของนักเล่นแร่แปรธาตุมาเป็นสัญลักษณ์แห่งการแพทย์

สัญลักษณ์ของคณะแพทย์ในประเทศไทยก็เป็นงูสองตัวค่ะ และในอเมริกาเองก็มีการใช้สลับกันในหลายๆสถาบัน

นำรูปของเฮอร์มีสมาลงค่ะ
ความที่เป็นเทพเจ้าแห่งการสื่อสาร เรามักจะเห็นเฮอร์มีสใส่หมวกมีปีกและมีปีกเล็กๆอยู่ที่ข้อเท้า
เฮอร์มีสอยู่บนโอลิมปัสก็มีหน้าที่คอยวิ่ง (หรือบิน) ส่งข่าวให้เทพๆทั้งหลายท่านแล้วแต่จะใช้แหละค่ะ
ไม้เท้าที่เห็นในมือมีรูปงูสองตัวและปีกตามที่บรรยายไว้
เราคงเห็นแล้วว่าเฮอร์มีสนั้นเจ้าเล่ห์เจ้ากลแสนซนตั้งแต่เด็ก
โตขึ้นเค้าก็เลยยังไว้ลายค่ะ นอกจากสองตำแหน่งที่เล่าไว้ เฮอร์มีสเลยยังเป็นเทพแห่งการลักขโมย การหลอกลวง และการพนันด้วยนะเนี่ย
เด็กๆอย่าเอาอย่างท่าเฮอร์มีสนะคะ

Flying Mercury นี่เป็นผลงานของ Jean Boulonge
หรือที่นิยมเรียกขานกันว่า Gaimbologna และ Jean de Boulonge
เป็นประติมากรรมทำจาก Bronze สูง 170 ซม กว้าง 57 ซม
Collection of the Duc de Brissa
ปี 1580
อ้อ เมอร์คิวรี่เป็นชื่อโรมันของเฮอร์มีสซึ่งเป็นชื่อกรีกนะคะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Mnemosyne
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 11 พ.ย. 09, 09:42

กลับมาที่อพอลโล ตอนนี้อพอลโลก็มีพิณคู่ใจคืออันที่ได้มาจากเฮอร์มีส
ว่ากันว่าพิณของเฮอร์มีสเดิมมีสามสาย เมื่ออพอลโลได้มาก็ได้เพิ่มสายที่สี่เข้าไปทำให้เล่นออกมาได้ไพเราะไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือน
มิวส์ก็ติดตามท่านไปทุกที่ ช่วยกันขับขานเสียงเพลงอันไพเราะขับกล่อมสรวงสวรรค์
ความเก่งกาจของอพอลโลเป็นที่เลื่องลือไปทั่วจนอพอลโลได้รับการยอมรับว่าเป็นสุดยอดแห่งนักดนตรี

ในเวลานั้น มีนักเป่าฟลุตชื่อมาร์ไซอัส (Marsyas) มาได้ยินกิตติศัพท์ของอพอลโลเข้า จึงอยากท้าประลองแข่งขัน
ที่มาของฟลุตของมาร์ไซอัสนั้น ว่ากันว่าอธีน่า (Athena) เป็นผู้คิดค้นฟลุตขึ้นโดยใช้กระดูกกวางนำมาเจาะรู
ด้วยความภาคภูมิใจในเครื่องดนตรีชิ้นใหม่ที่ตนคิดขึ้น อธีน่าจึงนำฟลุตไปเป่าในงานเลี้ยงของบรรดาทวยเทพ
ฮีร่าและอะไฟรไดท์ได้เห็นนางเล่นก็หัวเราะเยาะเย้ย หาว่าท่าเป่าของนางช่างน่าเกลียดเสียเหลือเกิน
อธีน่าเสียใจมาก หลบหน้าไปยังยอดเขาไอดา ณทีนั้นเธอก้มลงมองเงาของตัวเองเมื่อเป่าฟลุตในบ่อน้ำพุ
เมื่อเธอเห็นว่าตนเป่าแล้วแก้มพองน่าเกลียด เธอก็โยนฟลุตนั้นทิ้งทันที
แถมท้ายด้วยการสาบแช่งไว้ว่า ผู้ใดหยิบฟลุตนั้นขึ้นมา จะต้องได้รับการลงโทษ

เป็นโชคไม่ดีของมาร์ไซอัสที่ไปเก็บฟลุตอันนั้นของอธีน่าเข้า
เขาฝึกฝนอย่างหนักทั้งวันทั้งคืนจนสามารถเป่าได้อย่างไพเราะจับใจ
มาร์ไซอัสภาคภูมิใจในฝีมือทางดนตรีของตนมาก เมื่อทราบถึงข่าวเล่าลือของอพอลโลจึงเข้าไปท้าประลอง
อพอลโลไม่พอใจมากที่มีคนกล้าคิดว่าตนเองเล่นดนตรีไพเราะกว่าท่าน จึงหลอกล่อในเรื่องรางวัลของการแข่งขัน
อพอลโลโน้มน้าวจนทั้งสองตกลงกันไว้ว่าผู้ชนะจะให้ผู้แพ้ทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ
เมื่อถึงตามาร์ไซอัส เขาก็เล่นได้อย่างไพเราะหมดจด ผู้ชมทั้งหลายต่างซาบซึ้งนึกว่ามาร์ไซอัสจะชนะแน่แล้ว
เมื่อถึงคราอพอลโล ท่านก็หยิบพิณตัวเก่งขึ้นมา แล้วบรรเลงเสียงเพลงอันไพเราะ จนคนฟังเคลิบเคลิ้มเช่นเดียวกัน
อพอลโลจึงขอให้มีรอบตัดสินโดยครั้งนี้ท่านจะเล่นกลับหัว
และแล้วอพอลโลก็เริ่มบรรเลงทั้งๆที่ตัวพิณนั้นกลับหัวอยู่ บทเพลงที่ออกมาก็ยังคงไพเราะไม่มีผิดพลาด
มาร์ไซอัสไม่สามารถเป่าฟลุตกลับหัวได้เลยพ่ายแพ้ไป

กลโกงของอพอลโลนั้นทำให้อพอลโลมีสิทธิ์จะลงโทษมาร์ไซอัสอย่างไรก็ได้ตามแต่ใจ
บางตำนานก็เล่าไว้ว่า ในรอบสอง อพอลโลได้ขอให้มิวส์เป็นกรรมการตัดสิน ทำให้มาร์ไซอัสพ่ายแพ้อพอลโลเช่นเดียวกัน
เมื่อมาร์ไซอัสพ่ายแพ้แล้ว อพอลโลก็ได้โอกาสแก้แค้นความบังอาจของมาร์ไซอัส
อพอลโลได้สั่งจับมาร์ไซอัสมัดมือห้อยไว้กับจากต้นไม้ แล้วค่อยๆให้ใช้มีดเฉือนเนื้อทีละชิ้นๆจนสิ้นชีวิต
บ้างเชื่อกันว่า เลือดของมาร์ไซอัสได้กลายมาเป็นแม่น้ำชื่อมาร์ไซอัส ใกล้กับ คาเลเน่ (Calaenae) ในเขต ไฟรเจีย (Phrygia)
บ้างก็เชื่อว่า น้ำตาของปวงชนที่เสียดายกับการสูญเสียนักดนตรีฝีมือเยี่ยมไปมากมายหลั่งล้นจนเกิดเป็นแม่น้ำมาร์ไซอัส

อพอลโลของเรานี่โหดไม่เบา เอารูปมาร์ไซอัสตอนถูกแล่เนื้อมาให้ดูกันค่ะ
รูป The Flaying of Marsyas วาดเมื่อปี1575-76 ปัจจุบันอยู่ที่ State Museum, Kromeriz


บันทึกการเข้า
Mnemosyne
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 11 พ.ย. 09, 09:44

นอกจากสมญานามต่างๆที่เล่ามานี้อพอลโลได้ชื่อว่าเป็นเทพเจ้าแห่งแสงสว่างด้วยนะคะ แหมแต่ทำตัวใจร้ายจังสว่างตรงไหนเนี่ย
อพอลโลนั้นบางทีก็ถือว่าเป็นเทพเจ้าตัวแทนแห่งพระอาทิตย์ค่ะ แต่ไม่ใช่เรื่องเดียวกับพระอาทิตย์ที่ขับรถทองข้ามขอบฟ้านะคะ
อันนั้นคือเทพ ฮีลีออส (Helios) นะคะ
ส่วนฝาแฝดอาร์เทมิส ที่มีชื่อโรมันว่าไดอาน่า นั้นถือว่าเป็นเทพธิดาแห่งดวงจันทร์ค่ะ




อพอลโลกับดาฟนี

เมื่อกล่าวถึงเรื่องราวของความรัก ตำนานที่รู้จักกันมากที่สุดของอพอลโลก็คงหนีไม่พ้นเรื่องราวของอพอลโลกับดาฟนี (Daphne)

ตำนานความรักของทั้งสองนั้นเริ่มต้นจากการอวดดีของอพอลโลที่ไปสบประมาทเจ้าเทพแห่งความรักตัวน้อยหรือคิวปิดเข้านั่นเอง
อพอ ลโลเห็นเจ้าคิวปิดเงื้อง่ายิงธนูก็ไปเยาะเย้ยว่าคิวปิดเป็นเด็กเป็นเล็กริ อ่านเล่นกับธนูซึ่งเหมาะกับชายฉกรรจ์อย่างตนมากกว่า ว่าแล้วอพอลโลก็โอ้อวดถึงชัยชนะที่ได้มาจากการใช้ธนูต่อสู้กับมังกรไพธอน

คิวปิดโกรธมากจึงโต้ตอบว่า ถึงแม้อพอลโลจะสามารถใช้ธนูเอาชนะใครต่อใครได้หมด แต่ธนูอันน้อยของเขานี่แหละที่จะล้มอพอลโลลงได้
พูดจบคิวปิดจึงแสดงอิทธิฤทธิ์ให้อพอลโลรู้ซึ้งถึงอานุภาพของธนูที่อพอลโลดูแคลนว่าเป็นของเด็กเล่น
โดยคิวปิดได้ยิงศรทองคำไปปักอพอลโลให้หลงรักดาฟนีซึ่งเป็นธิดาน้อยของพีนีอุส (Peneus) เทพเจ้าแห่งแม่น้ำเข้า
ส่วนในขณะเดียวกันก็ได้ใช้ด้านปลายที่ทื่อของธนูปักที่ดาฟนีซึ่งจะทำให้ดาฟนีไม่มีวันรักใคร

ดังนั้นความรักของทั้งสองจึงไม่มีวันที่จะสมหวัง นี่คือการแก้แค้นของคิวปิดนั้นเอง

ดา ฟนีนั้นเติบโตมา ด้วยความที่นางรูปงามจึงมีชายหนุ่มมาสนใจมากมาย แต่นางกลับไม่สนใจผู้ใด แถมยังนับถืออาร์เทมิสผู้เป็นเธพธิดาแห่งพรหมจรรย์อย่างเคร่งครัด
เมื่อพีนีอุสถามบุตรีว่าเหมื่อไหร่เล่าที่ท่านจะได้อุ้มหลานตาหากนางยังคงคอยปฏิเสธชายหนุ่มรูปงามทั้งหลายอยู่เช่นนี้
นางกลับออดอ้อนขอร้องต่อท่านพ่อให้ท่าประทานพรให้นางเป็นโสดไปชั่วชีวิต จนพีนีอุสใจอ่อนจึงประทานพรนั้นให้แก่นาง

วัน หนึ่งอพอลโลได้เห็นนางดาฟนีเข้าเป็นครั้งแรกก็ถูกตาต้องใจเป็นอันมาก ผลจากการถูกศรรักปักอก อพอลโลหลงใหลในตัวนาง ไม่ว่าจะเป็นผมยาวสลวย ดวงตาแวววาม รวมทั้งริมฝีปากอ่อนหวานซึ่งอพอลโลสัญญากับตัวเองว่าจะไม่ยอมหยุดเพียงการ ได้แต่ลอบมองริมฝีปากของนางเป็นแน่
ถึงแม้ท่านจะเป็นเทพแห่งการทำนายแต่ท่านกลับลืมสำรวจชะตาของท่านกับนางซึ่งไม่มีวันเป็นไปได้

ด้วย ความคลั่งไคล้ อพอลโลจึงตามนางไปทุกหนทุกแห่งมิวายว่านางจะหลบหนีอย่างไม่คิดชีวิตก็ตาม อพอลโลพยายามร้องตะโกนเกลี้ยกล่อมมิให้นางวิ่งหนี พร่ำพรรณนาความรักอันมีต่อนาง หากดาฟนีนั้นมิได้ชอบพอในตัวอพอลโลทั้งยังรังเกียจ อาจจะเป็นเพราะศรของคิวปิดน้อยก็ได้ นางจึงคอยหนีท่านเรื่อยไป

อพอ ลโลถึงกลับคร่ำครวญว่า โอ้ ถึงแม้ศรข้าจะมีอานุภาพเกรียงไกร แต่ข้ากลับพ่ายแพ้แก่ลูกศรที่มีอานุภาพร้ายแรงกว่า นั่นคือศรรักที่ปักอกข้าจนทำให้ข้าร้อนรุ่มทรมาณด้วยความรักถึงเพียงนี้ แม้ข้าจะเป็นถึงเทพแห่งการเยียวยาผู้รักษาโรคร้ายให้มลายหายไปได้ แต่ข้ากลับพ่ายแพ้แก่โรครักซึ่งยาขนานใดก็ไม่สามารถเยียวยารักษาได้

ทว่า คำหวานของอพอลโลไม่สามรถโน้มน้าวใจดาฟนีได้ นางยังคงหนีต่อไป แม้อพอลโลจะยังคงติดตามอย่างไม่ลดละเช่นเดียวกัน ยิ่งเธอวิ่งผมของเธอก็ปลิวสยายไปกับสายลม เสื้อผ้าก็เริ่มหลุดลุ่ย ทำให้อพอลโลคลั่งไคล้ในตัวเธออีกเป็นทวีคูณ อพอลโลนั้นจึงเร่งฝีเท้าให้เร็วขึ้นเพื่อไล่ให้ทันเธอ ทิ้งการเกลี้ยกล่อมอันละมุนละม่อมไปเสีย ดังสุนัขป่าวิ่งรี่เข้าหาลูกแกะ

ดา ฟนีนั้นกลัวจับใจ เรี่ยวแรงที่มีอยู่ก็เริ่มลดน้อยถอยลง เธอรู้ว่า อีกไม่นานอพอลโลคงจับตัวเธอได้เป็นแน่แท้ ดาฟนีจึงสวดอ้อนวอนขอต่อท่านพ่อคือพีนีอุสให้ช่วยเหลือเธอให้รอดพ้นจาก เงื้อมมือของอพอลโล ให้เปลี่ยนรูปร่างสะสวยของเธอที่นำมาซึ่งความหลงใหลของอพอลโล

ทันทีที่อพอลโลไล่ตามมาจนถึงตัวเธอและพยายามที่จะโอบกอดเธอนั้นคำขอของเธอก็สิ้นสุดลงพอดี ซึ่งพีนีอุสก็ให้พรตามขอ

ทันใดนั้นขาของเธอนั้นถูกตรึงอยู่กับที่ หน้าอกของเธอถูกปกคลุมด้วยเปลือกไม้ ผมของเธอนั้นกลายเป็นใบไม้
แล แขนทั้งสองข้างก็เหยียดสยายแผ่กิ่งก้าน เท้าของเธอกลายเป็นรากไม้หยั่งลึกลงไปในผืนดิน และใบหน้าที่สดสวยซึ่งนำมาซึ่งการไล่ล่านี้ก็กลายเป็นเพียงยอดไม้ ไม่เหลือเค้าความสวยงามใด

ดาฟนีนั้นได้กลายร่างเป็นต้นลอเรลอยู่ในอ้อมกอดของอพอลโลนั่นเอง

รูป Apollo and Daphne โดย Jean-Etienne Liotard (1702-1789)


บันทึกการเข้า
Mnemosyne
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 11 พ.ย. 09, 09:46

อพอลโลประหลาดใจมาก เมื่อเขาเอามือลูปไปที่กิ่งไม้ ก้านทั้งก้านก็สั่นไหวดั่งมีเลือดเนื้อ อพอลโลตระกองกอดกิ่งนั้นไว้แล้วบรรจงจุมพิตลงที่ไม้นั้น กิ่งไม้ยังหดตัวพยายามหนีจากรอยจูบของเขา

ด้วยความเศร้าสลด อพอลโลกระซิบบอกกับต้นลอเรลว่า ถึงเธอจะเป็นชายาของเขาไม่ได้ แต่เธอก็จะเป็นต้นไม้ประจำตัวของเขา พร้อมลั่นวาจาไว้ว่า

"ข้าจะสวม ใส่เจ้าไว้เป็นมงกุฏเหนือเศียรเกล้า จะนำกิ่งใบของเจ้าไปประดับไว้กับพิณและธนูคู่กายข้า และเมื่อชาวโรมันประสบชัยชนะ พวกเขาจะสวมพวงลอเรลไว้เหนือศีรษะ ใบของเจ้าจะเขียวสดไม่มีวันแห้ง และเจ้า...เจ้าจะไม่มีวันหนีข้าพ้น เจ้าจะเป็นของข้าชั่วนิจนิรันดร์"

สิ้นคำของเทพอพอลโล ยอดของต้นลอเรลก็โน้มลู่ลง ดั่งน้อมรับคำพิพากษานั้น

นี่ จึงเป็นที่มาของการที่พวงมงกุฏใบลอเรลถือเป็นสัญลักษณ์แห่งผู้พิชิต และใบลอเรลจะถูกประดับบนศีรษะของผู้ได้รับชัยชนะจากการแข่งขันต่างๆเสมอมา

และแล้วความรักที่ไม่สมหวังของอพอลโลกับดาฟนีก็จบลงด้วยประการฉะนี้

รูปแกะสลักหินอ่อนของ Bernini (1598 - 1680)
ฉากที่ดาฟนีถูกอพอลโลไล่ตามและกลายร่างเป็นต้นลอเรลเพื่อหลบหนี


บันทึกการเข้า
Mnemosyne
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 11 พ.ย. 09, 09:47

นอกจากดาฟนีซึ่งเป็นรักแรกแล้ว อพอลโลก็ยังมีความรักกับสาวๆอีกมากมายหลายนางด้วยกัน

หนึ่งในนั้นก็คือพระนางโคโรนิส ที่ได้เล่าไปในตอนกำเนิดของแอสคลีปิอัส บิดาแห่งการแพทย์ไปแล้ว

ที่รู้จักกันดีก็ยังมีเฮอร์คิวบา และ คาซานดรา ที่หลายๆท่านอาจเคยได้ยินกันมาแล้วบ้างนั่นเอง

ความรักของอพอลโลกับเฮอร์คิวบา (Hecuba) นั้น
คงนับว่าเป็นความรักของอพอลโลกับมนุษย์ธรรมดาสามัญที่รู้จักกันดีที่สุดในบรรดาหมู่คนรักของอพอลโล

เฮอร์คิวบาเป็นชายาของไพรแอม กษัตริย์แห่งกรุงทรอย
บุตร ของเฮอร์คิวบาที่เกิดกับไพรแอมนั้นชื่อ โทรลิอัส (Troilius) คำทำนายกล่าวไว้ว่าตราบใดที่โทรลิอัสอายุยังไม่ครบยี่สิบ กรุงทรอยจะไม่มีวันล่มสลาย คำทำนายนี้เป็นเหตุให้อะคิลลิส (Achilles) วีรบุรุษกรีกเมื่อครั้งสงครามกรุงทรอยได้ลอบดักฆ่าโทรลิอัสและโพลีซีนา (Polyxena) เสียก่อน

นอกจากจะได้เฮอร์คิวบาเป็นชายาแล้ว อพอลโลก็ยังพบรักกับบุตรีของเฮอร์คิวบากับไพรแอมคือคาซานดรา (Cassandra) อีกด้วย
อพอลโลหว่านล้อมและเข้าหาคาซานดราโดยการสัญญากับนางว่าจะมอบความรู้ด้านการหยั่งรู้และการทำนายให้
คาซานดราทำทีเป็นสนใจแต่เมื่อเรียนสาสตร์แห่งการทำนายจากอพอลโลแล้ว นางกลับปฏิเสธความรักของเขา
อพอลโลผูกใจเจ็บจึงลงโทษโดยสาปให้ไม่มีผู้ใดเชื่อถือคำทำนายของเธอ

เรา จึงได้เห็นในหลายๆครา ไม่ว่าจะเป็นสงครามกรุงทรอยหรือเหตุการณ์อื่นๆ คาซานดรามักจะหยั่งรู้ถึงภัยพิบัติและเตือนผู้อื่น เธอได้เตือนชาวทรอยถึงม้าไม้ ที่อาจเป็นกลลวงของศัตรู ถึงความตายของอากาเมมนอน รวมถึงทำนายความตายของเธอเองด้วย หากแต่ไม่มีใครฟังคำเตือนที่ถูกต้องของนางเลย กลับเย้ยหยันความสามารถในการทำนายของนางเสียทั้งนั้น

ชีวิตของคาซานครานั้นน่าสงสารยิ่งนัก นอกจากทำนายอะไรก็ไม่มีใครเชื่อแล้ว ในที่สุดนางยังถูกจับไปข่มขืนอีกด้วย
ใน ระหว่างสงครามเธอหลบซ่อนอยู่ในวิหารของเทพธิดาอธีนา แต่เธอก็ยังถูกเอแจกซ์ลากไปข่มขืน ซ้ำยังถูกนำไปเป็นนางบำเรอแก่อากาเมมนอน (Agamemnon)ในเวลาต่อมาด้วย
เธอพยายามเตือนอากาเมมนอนถึงภัยจากชายาไคลเทมเนสตรา (Clytemnestra) ซึ่งแอบไปมีชู้ แต่อากาเมมนอนไม่เชื่อ
สุดท้ายอากาเมมนอนและคาซานดราจึงโดนไคลเทมเนสตราผู้เป็นชายาและชู้ของนางฆ่าตาย

เรื่องนี้ก็จบเศร้า แต่คาซานดราก็แอบผิดนิดๆที่ไปทำทีเหมือนจะตกลงปลงใจกับอพอลโลแต่จริงๆเพียงแค่ต้องการหลอกใช้ให้สอนแล้วทิ้ง

เรื่องของคาซานครานี้ที่มีกล่าวถึงมากมายคงเป็นเพราะเธอมีความเกี่ยวพันในเรื่องสงครามกรุงทรอยอันโด่งดังอยู่หลายฉากหลายตอนด้วยกัน

รูปแกะสลักหินอ่อน Cassandra seeking the protection of Pallas สำเร็จเมื่อปี 1877
โดย Aime Millet (French, 1819-1891)
คาซานดราเข้าไปหลบอยู่ในวิหารอธนาและอ้อนวอนต่อเทพเจ้าให้คุ้มครองเธอ
ปัจจุบันอยู่ที่ สวน Tuileries กรุงปารีส


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง