เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 11133 มหามุขมาตยานุกูลวงศ์ ว่าด้วย เฉกอะหมัด ใช้หลักฐานอะไร
เงินปุ่นสี
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 02 พ.ย. 09, 00:48

ต้องขอขอบคุณ คุณ Bhanumet ที่เพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวกับการค้นคว้าของท่านอาจารย์เตช

และขอตอบคุณวันดีว่าโดยส่วนตัวแล้วนั้น ข้อมูลที่ตั้งใจสืบค้นจะเป็นขุนนางหัวเมืองเฉพาะบางภาค
(ส่วนข้อมูลอื่นฯที่มีอยู่ ก็เป็นเพียงแค่ส่วนต่อเนื่องของงานแรก)
ดังนั้นงานของคุณ ก.ศ.ร.กุหลาบ จึงไม่ได้อยู่ในความสนใจหรือการติดตามมาแต่ต้น
คงต้องให้ผู้ที่อยู่ในแวดวงมาช่วยตอบ และเท่าที่ได้ยินมา
ก็เห็นทุกคนพูดถึงแต่คุณวันดีผู้กว้างขวางในแวดวงหนังสือนายโหมดนายกุหลาบ

ผมเองเป็นแค่คนเก็บฟืนต่างจังหวัด คงไม่กล้าเอามะพร้าวห้าวไปขายสวนคุณวันดี
มะพร้าวที่มีอยู่บ้างก็เป็นแค่มะพร้าวจำลอง ที่เพื่อนฯ ส่งมาให้อ่าน
บางคนคิดตังค์บ้าง ไม่ได้คิดตังค์บ้าง
อ่านผ่านฯแล้วก็แปะแผ่นสีเข้าไปเต็มไปหมด เพราะให้รู้สึกถึงความพิศดารอย่างที่คุณกุหลาบว่า
ลงท้ายเลยยังไม่ได้นำเข้าไปเทียบหรือสอบกับข้อมูลอื่นอย่างจริงจังสักที

การจะนำมาใช้ ก็คงต้องทำอย่างระมัดระวังอย่างที่ผู้ใหญ่ท่านกล่าวไว้
โดยถ้าเป็นข้อมูลในช่วงที่คุณกุหลาบมีชีวิตอยู่ ก็อาจนำมาเป็นเค้าได้
แต่ถ้าลึกเข้าไปไกลฯ คงต้องวิเคราะห์กันหนักหน่อย

เรื่องประวัติสกุลศรีเพ็ญนั้น เอกสารที่มีอยู่ก็คงเป็นฉบับของท่านพระยาสัจจาฯ
ซึ่งกล่าวไว้อย่างที่คุณ Bhanumet ได้นำมาลงไว้แล้วครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 02 พ.ย. 09, 16:33

...แฮ่ม!     ยังขาดนายวรรณ   สามก๊กครูสมิท     กฏหมายนายโหมด   แต่งงานพระไวยคำครูแจ้ง       


คุณเงินปุ่นศรีที่รักและนับถือยิ่ง


     เล่ากันจริงๆนะ

ดิฉันอ่านก.ศ.ร. กุหลาบได้แค่ต้นรัตนโกสินทร์
เก่ากว่านั้นถึงพระเจ้าอู่ทอง  มิกล้า


เรื่องฝรั่งเศส   ลาติน    การเดินตามรอยหม่อมราโชทัยนั้น   อ่านแล้วผ่าน   

เราก็อ่านการสอบสวนเรื่องประวัติพระสังฆราชสา กันแล้ว
สงสารนายวรรณที่โดนเย็บเรื่องไปกับก.ศ.ร. ด้วย

นายวรรณเป็นผู้กล้าคนหนึ่งทีเดียว      ถ้าเราจะเรียนรู้แนวคิดของท่าน    ความมานะสุจริตของท่าน


ดิฉันรักภาษาของก.ศ.ร. กุหลาบมากทีเดียว       ท่านรู้ภาษาฝรั่งจนทำมาหากินได้เงินเดือนมากมาย  ไม่เห็นท่านยกภาษาฝรั่งมาเอ่ย
เด็กเรียงพิมพ์คงไม่ยอมแน่ๆ

นั่น  คือ  เสน่ห์ของท่าน  ที่พยายามจะเล่าเรื่องวงศ์ตระกูลต่างๆเป็นบันทึกไว้



ดิฉันขอยกตัวอย่าง เล่ม ๑ ฉบับถ่ายเอกสารที่หลายท่านก็พอจะมีเป็นน้ำจิ้ม

ประวัติพระอังคนิครพลารักษ์(เปีย หรือ ชุ่ม ราชนิกูล)

            "เมื่อครั้งกรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยาโบราณ(กรุงเก่า)  ยังตั้งดำรงเป็นผาสุกสวัสดิภาพไพบูลย์ปรกติอยู่นั้น
ครั้งโบราณโน้น   ที่ตำบลบางช้างหรือบ้านอัมพะวาเป็นพรมแดนติดต่อกัน  กับเมืองราชบุรีและเมืองสมุทรสงคราม..........."

เพราะดีออก
ไม่เห็นมีตรงไหนไม่รู้เรื่อง



ประวัติบุตรอนุภรรยาของท่านเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี(บุญศรี)

"หม่อมชูมีบุตรี ๑ คน     ชื่ออัญชัญน์   มีวรลักษณ์รูปโฉมโนมพรรณงามยิ่งหนักหนา .........."

สมัยโน้นเขาพูดกันอย่างนี้นี่



ประวัติ ลำดับวงศ์ตระกูลเจ๊สัวจีนและขุนนางจีน  คือ           

เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์(กุน)
เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี(แสง)
เจ้าพระยายมราช(ฉ่ำ)
เจ้าพระยาพระคลัง(ฉิม)
เจ้าพระยามหินทร์(เพ็ง)
พระยาศรีไชยบาล(หง)
พระยาสวัสดิวารี(ฉิม)
พระยาพิศาล(ชื่น)
พระยาพิศาล(จินสือ)
พระยาพิสน(ยิ้ม)  และ
พระยาสมุทรบุรารักษ์


"....นายสำเภาพ่อค้าใหญ่ผู้มีน้ำใจสวามิภักดิ์       มาเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทบงกชเรณูมาศยุคล ...."

นี่คือสำนวนของ อดีต มหาดเล็กไล่กา       มหาดเล็กเวรศักดิ์       


อ่านยากมากเชียวหรือ
บันทึกการเข้า
เงินปุ่นสี
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 03 พ.ย. 09, 22:32

ไม่ทราบว่าสหายคุณวันดีท่านที่สนใจค้นประวัติบรรพบุรุษต้นสกุลฝ่ายสตรี
นั้นต้องการค้นสายสกุลไหนหรือครับ ที่ถามก็เพื่อว่าถ้าพอมีลำดับหรือรายละเอียด จะได้ส่งให้ได้
ถ้าไม่สะดวกแจ้งบนเวป ก็อาจบอกทางเมล์ก็ได้ครับ



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 04 พ.ย. 09, 00:15

เรื่องหาที่พึ่งพานั้น  ชื่อของคุณเงินปุ่นศรีก็ต้องขึ้นมาก่อนแล้วค่ะ



มีข่าวดีของเพื่อน ๆ ในกลุ่มอยู่หนึ่งอย่าง  ว่า  หนังสือ สยามประเภท  ของคุณลุง  ยังอยู่  ยังไม่ได้ปล่อย
เพราะฉะนั้น เพื่อนบางคน คงมีโอกาสได้เห็นเป็นหลักฐานและบุญตา


ได้จราจลใน.......มาแล้วค่ะ  ๔๐ บาท


เดือนนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจหลายอย่างนะคะ


หนังสือภาพเล่มโต ๆ  ราคาคงไม่ถอยแล้ว

บันทึกการเข้า
เงินปุ่นสี
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 07 พ.ย. 09, 22:35

ตามที่คุณวันดีได้เห็นประวัติลำดับสกุลขุนนางจีน ในมหามุขฯ
ไม่ืทราบว่ามีชื่อพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (อ่อน) อยู่ในเล่มไหนหรือไม่ครับ
เพราะจำได้ว่าได้เคยเห็นชื่อนี้ในส่วนประวัติที่เกี่ยวกับต้นสกุลของเจ้าพระยาบดินทรฯ
ที่ทางคุณ ก.ศ.ร. เขียนไว้ในอนามสยามยุทธ (ฉบับพิมพ์ปี พ.ศ.๒๕๑๔)
เลยไม่แน่ใจว่าทางคุณ ก.ศ.ร. ได้เขียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (อ่อน)
ไว้ในเล่มใดอีกหรือไม่ครับ เพราะเมื่อไปอ่านประวัติสกุลสิงหเสนี กลับไม่มีชื่อนี้เลย

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 07 พ.ย. 09, 23:10

มหามุขมาตยานุกูลวงศ์  วงศ์ตระกูลเสนาบดีจีน   เล่ม ๒ ปกสวย
มีแค่หน้า ๑๘๒ -  ๔๕๒  ค่ะ


เดี๋ยวดูใน สยามประเภท ให้นะคะ  มีอยู่ไม่กี่เล่ม
วันนี้เพิ่งอ่านเล่ม ๔  เห็นข้อมูล เรื่อง เจ้าพระยาสุระสงครามรามภักดี(นกแก้ว) อีกมากค่ะ
นึกไม่ถึงว่าจะมีมากกว่าที่ นายโหมดได้เขียนไว้




ท่านเขียนเพิ่มเรื่อยๆ  คุณเงินปุ่นศรีเข้าใจถูกทางแล้วค่ะ




บันทึกการเข้า
เงินปุ่นสี
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 08 พ.ย. 09, 00:49

ในอานามสยามยุทธของคุณ ก.ศ.ร. ยังมีตำแหน่งสมเด็จเจ้าพระยามหาประเสริฐศักดิ์ฯ อีกด้วย
แต่ไม่คุ้นเลยว่ามีอยู่ในเอกสารอื่น ยิ่งเป็นระดับสมเด็จเจ้าพระยาก็ยิ่งให้พิศวงกับข้อมูลของคุณ ก.ศ.ร.
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 08 พ.ย. 09, 01:43

ขนาดไม่ได้เล่น  สาแหรก   ก็ไม่คุ้นเช่นกันค่ะ


เท่าที่ผ่านตา  เมื่อเปรียบเทียบกับ สิ่งที่ท่านวางแผนจะพิมพ์ก็ห่างไกล


เรื่อง สกุลเสนาบดีจีน  มีเรื่อง จีนไว้ผมมวย  ซึ่งหาข้อมูลจากเอกสารอื่นๆมารองรับไม้ได้  เป็นเรื่องสะดุดตา
สถานที่อยู่เช่น ถนน หรือตำบล  ใกล้ถนน  ใกล้สะพาน  หน้าวัด   หลังวัด   ก็น่าอ่านมาก


ก.ศ.ร. ทำงานอยู่กับโรงสีไฟ เกือบสามสิบปี    ในการนี้ท่านก็ไปมาหาสู่กับเจ๊สัวที่ค้าขายด้วยกัน
แปลกนะคะที่ท่านยังยึดมั่นในการจดบันทึก สาแหรก ตระกูลอันซับซ้อน

ก.ศ.ร.ให้ความสำคัญกับ เกี่ยวดอง หรือตระกูลของสใภ้มากทีเดียว  เพราะเจ๊สัวทั้งหลายก็พึ่งพา โยงใย ของขุนนางไทย
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 08 พ.ย. 09, 02:05

เรื่องที่น่าสนใจสำหรับนักอ่านเพื่อความเพลิดเพลินอย่างดิฉัน  ก็คือ เนื้อความเดิมค่ะ


ก.ศ.ร. กุหลาบ  เล่าไว้ว่า   มีชีพ่อพราหมณ์ ๔ ตระกูล คือ
พราหมณ์รามราช
พราหมณ์ พฤติบาศ
พราหมณ์นาฬีวรรณ  และ
พราหมณ์มะหรรต์

หนีภัยพิบัติในบ้านเมืองชาติภูมิของตนเอง  ที่เกิดเหตุจลาจลด้วยสงคราม
จึงท่ายเทอพยพมาหลายสายด้วยกัน

เมื่อแรกมาทางใต้ได้มาพักอาศัยอยู่ในนครศรีธรรมราชประมาณ พันเศษ
ทางตะวันออกอยู่ในเมืองเพชรบุรีหลายร้อยคน    ทางเหนือตะวันออกนั้นก็มี


เพิ่งตามอ่านงานของก.ศ.ร. กุหลาบมาได้ไม่กี่ปีนี่เอง
คุ้นสายตาจัง   เรื่องต้นสกุลเป็นพราหมณ์  ที่อ้างในหนังสือประวัติสายสกุล หลายเล่ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 08 พ.ย. 09, 02:30

ยังมีเอกสารเกี่ยวกับตระกูลจีนอีกหนึ่งเล่มค่ะ     ถ่ายเอกสารมาจากสหายที่นับถือ
เป็นเล่มบางๆ
เดี๋ยวไปหาดูก่อนว่าบรรจงเก็บไว้ที่ไหน


ก.ศ.ร. ทำงานอยู่กับบริษัทฝรั่ง ๕ แห่ง
ท่านเล่าเรื่องที่ทำงาน และผู้ที่มีหน้าที่เหนือท่าน  เขียนประวัติการทำงานไว้ละเอียดพอใช้

ว่าท่านเป็นเสมียนของใคร

โรงสีเป็นของใคร  สัญชาติอะไร
เสมียนจีนเงินเดือนเท่าไร
เสมียนรองคนที่ ๑  เงินเดือนเท่าไร
เสมียนรองคนที่ ๒  เงินเดือนเท่าไร

ท่านเล่าเพลินเลยว่าท่านได้ค่ากำมิเช็น(commission)ด้วย


เสียดายที่หาหลักฐานได้ไม่กี่เล่ม  ก็เลยตอบคำถามไม่ได้กระจ่าง
ถือว่า ท่านถาม - เราตอบ(เท่าที่อ่านมา)


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 08 พ.ย. 09, 02:45

มหามุขมาตยานุกูลวงศ์   เป็น งานเขียนที่พิมพ์ขึ้น  จากหนังสืออีกเล่มหนึ่ง รู้สึกจะโดนริบเงียบ


ดีใจที่ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณเงินปุ่นศรี
ของที่นำมาแลกนั้นก็มีน้อย  ปุปะเข็ญใจ
มิตรสหายฝากหาข้อมูล  ก็อึดอัดอยู่เหมือนกัน


หรือคุณเงินปุ่นศรีผู้ปรากฏกายว่อบแว่บอยู่ตามสถานอันพึงโคจร
จะแนะนำได้ไหมว่า  ดิฉัน  ซึ่งเป็นคนบ้านนอก  ไม่ชอบออกจากบ้าน
จะไปปล้น...เอ๊ย! ดูหนังสือที่ไหนดี
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 08 พ.ย. 09, 12:15

เจอแล้วค่ะ

หนังสือชื่อ  ต้นเหตุจีนสามอย่าง  พิมพ์ครั้งที่สอง  ๒๐๐๐ เล่ม  ศก ๑๒๙

ใบปกอ่อน  มาซื้อเอง ๔๐ สตางค์


ต้นฉบับที่ถ่ายมามี ๖๐ หน้า  แต่ปกแข็งสีแดง
บันทึกการเข้า
sally chu
อสุรผัด
*
ตอบ: 38


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 16 เม.ย. 10, 10:56

อ่านแล้วประทับใจนักประวัติศาสตร์ทั้งสองท่าน  ขออนุญาตถามเพิ่มเติมค่ะ  พอจะทราบมั้ยคะ ว่าเจ้าจอมกิมเนียว ในรัชการที่ 5 ที่เป็นหลานของพระยาอนุกูลสยามกิจ (หรือ ตันกิมเจ็ง) นั้น เป็นธิดาของผู้ใด คือ พ่อแม่ ชื่ออะไร  รัชการที่ 5  ทรงมีพระราชหัตถเลขากับพระยาอนุกูลสยามกิจ (หรือ ตันกิมเจ็ง) จำนวนมาก ดูได้จาก ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม (2525) แต่ ณัฐวุฒิ ไม่ได้เขียนถึงลูกหลานของ พระยาอนุกูลสยามกิจ เลย  ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 16 เม.ย. 10, 11:31

ไม่เคยได้ยินชื่อเจ้าจอมกิมเนียว 
ใครรู้จักบ้างคะ?
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 16 เม.ย. 10, 15:34

เรื่องเจ้าจอมมารดานั้น   ใช้หนังสือ พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดา ของ คุณ สมบัติ  พลายน้อยเป็นหลักค่ะ   
พิมพ์ในปี ๒๕๐๖ 
มีทั้งเล่มปกอ่อน(ใช้จนเปื่อยคามือ) ราคา ๙๕ บาท และเล่มปกแข็งซื้อจากร้านหนังสือเก่าในราคา ๓๘ บาท

พบว่าใช้การได้ดีมาก

ถ้าพระองค์เจ้ารับราชการ เราก็สามารถค้นประวัติได้ไม่ยาก



โปรดคอยท่านต่อไปที่จะมาตอบคำถามค่ะ

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง