เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 11112 มหามุขมาตยานุกูลวงศ์ ว่าด้วย เฉกอะหมัด ใช้หลักฐานอะไร
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 30 ต.ค. 09, 15:49

เมื่อเจ้าคุณนวลเป็นราชนิกูลแล้วและเป็นย่าสมเด็จเจ้าพระยา(ช่วง)    บุตรหลานเหลนโหลนหลินหลือ(ในเวลานั้น ก.ศ.ร. กุหลาบ นับ แบบนี้)
ของท่าน   นับเป็นราชนิกูลทั้งสิ้น  ตลอดจนมาถึงทุกวันนี้ด้วย

ขออนุญาตนอกเรื่องครับ

แสดงว่า ที่มีคนยึดตาม กฎหมายตราสามดวง และ ประมวลกฎมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าโบราณใช้ "ลูก หลาน เหลน ลื่อ(สะกดหลายแบบ)"
และพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า "ลูก หลาน เหลน ลื่อ ลืบ ลืด"
โดยกล่าวว่า "ลูกหลานเหลนโหลน" มาจากเนื้อเพลง "เราสู้" เพื่อความคล้องจอง

แต่ "โหลน" อาจเป็นภาษาปากมาแต่โบราณแล้วก็ได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 30 ต.ค. 09, 20:38

สนุกจัง

เข้ามาบอกว่ามีไทยมุงติดตามอยู่น่ะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 30 ต.ค. 09, 21:19

ถ้าผิดพลาดอย่างใด กรุณาแก้ไขให้ด้วยค่ะ

ในหนังสือโครงกระดูกในตู้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เปรยว่า ในที่สุดก็จับผู้ร้ายไม่ได้  ทั้งๆหม่อมบุนนาคก็เป็นคนสนิทของเจ้าพระยาจักรี (สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก) แสดงว่าผู้ร้ายน่าจะเป็นคนมีอิทธิพล
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ท่านเปรยไว้แค่นี้
อ.นิธิ วิเคราะห์เปรยๆเช่นกันว่า อาจารย์หม่อมท่านพูดไม่สมควร  มีนัยยะพาดพิงถึงบุคคลในที่สูง  อ่านแล้วดิฉันก็ตีความว่า อ.นิธิท่านเข้าใจว่าอาจารย์คึกฤทธิ์หมายถึงพระเจ้าตากอยู่เบื้องหลัง   ซึ่งอ.นิธิไม่เห็นด้วย
ส่วนดิฉันไม่เห็นด้วยกับอ.นิธิอีกที    เท่านั้นละค่ะ คุณวันดี

มาอ่านที่คุณวันดีโพสต์ ก็ขอตั้งข้อสังเกตไปตามเนื้อผ้า  ขอเชิญคนอื่นมาแก้ไขให้ด้วย ถ้าเข้าใจผิด
๑  ไปขุดสมบัติ มากมายจนเพียบลำเรือ   หม่อมบุนนาคท่านหาบอดี้การ์ดน้อยเหลือเกิน แค่บ่าวชาย ๔ คนเท่านั้น   มีลูกชายและท่านอีก ๒ เป็น ๖ คน 
คุณนกยูงนี่กี่ขวบก็ไม่ทราบ   แต่คงไม่ถึงกับเป็นหนุ่มฉกรรจ์    เพราะน้องสาวยังเล็กขนาดแม่ไม่ให้ตามไป  เพราะจะเป็นภาระ  พี่ชายก็คงอายุแก่กว่าไม่มาก
สมัยนั้นบ้านเจ้าพระยาหรือสมเด็จเจ้าพระยา บ่าวไพร่ย่อมมากมายหลายสิบคน      หม่อมบุนนาคก็เป็นคนสนิท จะไปขุดสมบัติทั้งที  ขออนุญาตนายพาบ่าวไปหลายลำเรือหน่อยไม่ได้หรือ  รู้ก็รู้ว่าโจรผู้ร้ายชุกชุมทั่วทุกหัวระแหง  เพราะบ้านเมืองยังไม่ปกติ

๒  คุณวันดี บอกว่า "ถึงคลองแม่อ้อมแขวงเมืองนนทบุรี  ก็เลี้ยวลงไปในคลองแม่น้ำอ้อมทางแม่น้ำเจ้าพระยามีโจรผู้ร้ายชุมนัก
สมัยนั้นในคลองอ้อมมีบ้านเรือนคับคั่ง  ไม่น่ากลัวเลย"
อ่านแล้วไม่เข้าใจว่าคลองแม่อ้อมนี้น่ากลัวหรือไม่น่ากลัวกันแน่   ต้องขอแรงมาอธิบายอีกทีนะคะ

๓  เรือเข้าไปในคลองแม่น้ำอ้อมแขวงเมืองนนทบุรี    มาถึงคลองบางใหญ่ในเวลาห้าทุ่มเศษ   ในเวลานั้นเป็นที่เปลี่ยวไม่มีบ้านเรือน
เรือลำเดียว แจวไปตอนดึก  ขนของมาเพียบ  ต้องแล่นช้ามาก    สองข้างทางก็เปลี่ยว   ละแวกนั้นโจรผู้ร้ายก็ชุกชุม
เคยได้ยินมาว่า สมัยโบราณ การเดินทางทางเรือ  พอค่ำก็ต้องแวะขออาศัยในที่ปลอดภัย เช่นที่วัด หรือบ้านนายบ้านที่เชื่อถือได้
หม่อมบุนนาคท่านไม่ยักแวะพัก     แต่ตัดสินใจเดินทางตอนดึก ในเรือลำเดียว   ถึงบางใหญ่ห้าทุ่มเศษ   
ถ้าไม่เจอโจร ท่านกะจะถึงจวนใต้บางหว้าใหญ่  กี่โมงกันนะคะ
แสดงว่าท่านร้อนใจอยากถึงบ้านเร็วๆ หรือยังไงแน่      จึงไม่ยอมแวะพักให้ใครรู้เลยว่ามีสมบัติเต็มเรือ    เลยหนีเสือปะจระเข้แทน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 30 ต.ค. 09, 21:32

พูดถึงหม่อมบุนนาค   ดิฉันรู้สึกมานานแล้วว่า ถ้าเป็นตัวละครก็ต้องเรียกว่ามี  character โดดเด่น  เพราะตำนานและประวัติที่เล่าขานเกี่ยวกับตัวท่าน   ทำให้ท่านมีสีสัน เหมาะจะเป็นพระเอก
จะไม่มองในแง่ที่ว่าประวัติเหล่านี้ จริงหรือไม่จริง   เพราะดิฉันไม่มีข้อมูลมากกว่านี้    เอาเป็นว่าแกะรอยจากที่รู้มานะคะ

๑  เป็นมหาดเล็กหนุ่มผู้ดีมีตระกูลอยู่ในราชสำนักอยุธยาตอนปลาย
๒ ไม่ถูกกับพระเจ้าตากมาตั้งแต่ยังเป็นมหาดเล็ก
๓  สนิทกับเจ้าพระยาจักรี  ซึ่งเคยเป็นมหาดเล็กมาด้วยกันเช่นกัน
๔  กรุงแตก รอดตายไปได้กับภรรยา   ไปพึ่งบารมีเพื่อนเก่า
๕ ไม่ยอมเข้ารับราชการ   ทั้งที่เป็นคนมีฝีมือรบเก่งมาก    พอใจเป็นแค่ทนายหน้าหอของเจ้าพระยาจักรี
๖  ประสบทุกข์ภัยใหญ่หลวง  สิ้นเนื้อประดาตัว สูญเสียภรรยาและบุตรชาย   แถมจับผู้ร้ายไม่ได้ด้วย
๗  ชะตาฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง   ทั้งๆยศถาบรรดาศักดิ์ก็ไม่มี   ท่านผู้หญิงจักรีก็พอใจจะยกน้องสาวให้เป็นภรรยา  ยอมรับเป็นน้องเขย
๘ ตลอด ๑๕ ปีของธนบุรี  ไม่เคยเป็นขุนนาง  แต่ถึงรัชกาลที่ ๑  กลายเป็นเจ้าพระยามหาเสนา  เสนาบดีกลาโหม  ในยุคสมัยที่ต้องรบทัพจับศึกกันไม่เว้นว่าง
แสดงว่าได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยมาก   แค่เป็นเขยเล็ก คงไม่ได้ตำแหน่งนี้  แต่ต้องมีฝีมือในการบัญชาการทัพ  เห็นได้จากคำกล่าวที่ว่า ในรัชกาลที่ ๑ ใครรบทัพจับศึกเก่งก็เป็นคนโปรด
๙ เป็นบุคคลสำคัญระดับตำนาน   ชื่อของท่านกลายมาเป็นชื่อของตระกูลขุนนางที่มีอำนาจที่สุดของรัตนโกสินทร์
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 30 ต.ค. 09, 21:56

ขอบคุณค่ะคุณเทาชมพู    ไม่เคยอ่านอาจารย์นิธิจริงๆ
เรื่องที่คุณคึกฤทธิ์เขียน จำได้ค่ะ


ืีที่คุณเทาชมพูถามคงเป็น  ทางแม่น้ำเจ้าพระยามีโจรชุม

พยายามเล่าโดยเขียนตามต้นฉบับและย่นย่อตัดทอนที่ก.ศ.ร. พูดซ้ำ



สนใจคุณ นวล มานานแล้วค่ะ     นายโหมด(พระยากสาปนกิจโกศล  อมาตยกุล)เคยเล่าไว้ว่า ท่านทันเห็น คุณนวล
ตามบวกลบปีอยู่พักใหญ่  กว่าจะคิดออก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 30 ต.ค. 09, 22:14

น่าสนใจ  พระยากสาปน ฯ ท่านเล่าว่ายังไงบ้างคะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 30 ต.ค. 09, 22:44

นายโหมดรู้จักเจ้านายหลายองค์ในรัชกาลที่ ๓    แบบเที่ยวเล่นยิงปืนด้วยกัน
เจ้าจอมหลายท่านก็เป็นญาติเกี่ยวดอง


ท่านเล่าว่ารู้จักใครบ้าง     ย้ายบ้านกี่หน   ท่านเล่าว่าเคยเห็นใครบ้างเท่านั้นค่ะ


ดิฉันตามหนังสือฏหมายของท่านมา  เลยพลอยรู้จักวงศ์สกุลของท่านทั้งลูกชาย  ลูกสาว  ลูกสใภ้   พ่อตาลูกชาย
หลานปู่    และหลานชวด
เป็นบุคคลก้าวหน้าที่สุดของเมืองไทยคนหนึ่ง  ที่พิมพ์หนังสือกฏหมายเล่มแรกของประเทศ (เพื่อใช้ป้องกันตัวในศาลคดีมรดก)


เท่าที่อ่านมา คิดว่าท่านคบหากับปาเลกัวส์ แบบแลกเปลี่ยนวิชากันมากกว่าที่จะเป็นศิษย์
บรัดเลนั้น   ท่านจ้างพิมพ์หนังสือค่ะ  พิมพ์ช้าเนิ่นนานมากเป็นปีสองปี
บันทึกการเข้า
เงินปุ่นสี
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 31 ต.ค. 09, 01:05

เพื่อให้เกิดการยืนยันเกี่ยวกับข้อมูลของคุณ ก.ศ.ร.กุหลาบ
ขอย้อนไปที่ส่วนคำถามแรก ที่คุณกุหลาบระบุว่า หลวงนนทเกตุ (ฉ่ำ) เชื้อสายแขกเจ้าเซ็น เป็นผู้มีคำถาม

ลองค้นดูพบว่า

๑.ราชทินนามนี้มีอยู่จริง โดยตามสารบาญบัญชีแล้ว สังกัดอยู่ในกรมท่าขวา
ที่พบนั้นบ้างเขียนเป็นหลวงนนทเกต บ้างก็เขียนเป็นหลวงนนทเกษ
ตามความเข้าใจส่วนตัวแล้วเชื่อว่าน่าจะเขียนเป็นหลวงนนทเกษมากกว่า

๒.ปรากฎชื่อหลวงนนทเกษ (แย้ม) อย่างน้อยก็ตั้งแต่ปี ๒๔๒๖ เป็นต้นมาจนถึงปี ๒๔๓๒ ที่เสียชีวิต

ดังนั้นถ้าถามว่าหลวงนนทเกษ (ฉ่ำ) ตั้งคำถามกับคุณ ก.ศ.ร. กุหลาบ ไว้เมื่อไร
ก็คงบอกได้แค่คร่าวฯว่า คงต้องหลังปี ๒๔๓๒ เป็นต้นมาครับ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 31 ต.ค. 09, 07:35

แหะๆ   รายชื่อขุนนางกรมท่าขวา  ไม่มีค่ะ 


หนังสือแทบทุกเล่มของ ก.ศ.ร. กุหลาบ   บางส่วนจะนำลงพิมพ์ใน สยามประเภทก่อน
ตานี้  สยามประเภท ที่เห็นใช้ ๆ กันมีแค่เล่ม ๑, เล่ม ๒ บางส่วน, เล่ม ๓ บางส่วน  และเล่ม ๔
ผู้ที่มีหนังสือเล่ม ๆ ของ ก.ศ.ร.    แต่ไม่มี สยามประเภท เลย  ก็ไหว  คือทำงานได้
(มีผู้เชี่ยวชาญปลอบใจมาเช่นนั้น)


สวรรค์ประทานพรแด่คุณเงินปุ่นศรี(คำอุทานแสดงความนับถืออย่างยิ่ง)    หนังสือเล่ม ๆ  ของ ก.ศ.ร.  หายากยิ่งกว่าสยามประเภทอีก


มหามุขมาตยานุกูลวงศ์นั้น   ท่านตั้งใจว่าจะพิมพ์รวมเล่ม  ๑๕ เล่ม ขนาดหนังสือกฏหมาย
เคยเห็นเล่มใหญ่เล่มเดียว  และ  ปกสวยเล่มเล็กอีกสองเล่ม  ปกกระจุยอีกสองเล่ม(ขุนนางจีน)
อ่านมาหลายปีแล้วยังสนุกและมีข้อมูลแปลก ๆ อยู่


ที่ตั้งหัวข้อไว้ก็เพื่อจะให้เปรียบเทียบกับหลักฐานใหม่ๆที่เพิ่งค้นพบ


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 31 ต.ค. 09, 21:59

เรื่อง  ต้นวงศ์ตระกูลศรีเพ็ญ              ตอบคุณ Bhanumet



ขอเชิญคุณ เงินปุ่นศรี  เมื่อว่างจากการงาน   มาแก้ไขและเพิ่มเติมข้อมูลด้วย
มาคนเดียวก็ผิดคนเดียว  จักยินยอมได้ฉันใด

ในฐานะนักอ่าน ก็จะเล่าตอนที่คิดเองว่าสนุกและน่าสนใจ
ข้อมูลอ้างอิง หรือ สมบัติส่วนตัวก็พอมีติดตัวกันบ้าง

คุณ  Bhanumet     สงสัยตรงไหนกรุณาถามเป็นตอน ๆ เลยนะคะ




ย่อแบบบีบอัดข้อมูล ที่คุณ Bhanumet  ย่อมทราบอยู่แล้ว



พระยาจ่าแสนยากร(จรูญ) อธิบดีกรมมหาดไทย ฝ่ายพระราชวังบวรฯ  ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกฐ
มีลูก  ๓ คน

๑.  ท่านผู้หญิง จำเริญ  ภรรยาหลวง เจ้าพระยาอินทราภัย(อรุณ)

๒.  นายจำรัส

๓.  เจ้าจอมรัศมี ในกรมพระราชวังบวร เจ้าฟ้านราธิเบศร์  กรมขุนเสนาพิทักษ์(เจ้าฟ้ากุ้ง)
     มีพระโอรส ชื่อ พระองค์เจ้าศรีสังข์    เมื่อเสียกรุงเก่า เสด็จไปเมืองเขมร


นายจำรัสรับราชการเป็น หลวงรักษ์เสนาในกรมมหาดไทย  มีลูกกับภรรยาหลวง ๖ คน   บุตร ๕ คนตกไปเมืองพม่า
บุตรคนโต  คือ  นายทองขวัญ    บิดาพระยาศรีสหเทพ  (ทองเพ็ง)

บุตรกับภรรยาน้อยมี ๒ คนคือ นายยิ้ม(ต่อมาเป็นนายรัต)  และนายแย้ม(เป็นที่นายแกว่น) นายเวรกรมมหาดไทยในรัชกาลที่ ๓



เท่าที่เล่ามา   คุณเงินปุ่นศรีไม่เข้ามาป่วน...เอ้..ย!  แก้ไข
ยังอยู่ ปกสีน้ำตาลเข้ม สันดำ  ใช่ไหมคะ


เล่มที่ถืออยู่มีตอนให้มิตรที่สนิท หยิบผงทองคำ โดยใช้สามนิ้วไหมคะ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 31 ต.ค. 09, 22:06

หาหนังสือของ ดร.จุฬิศพงศ์   จุฬารัตน์  พิมพ์ครั้งที่สอง  เจอแล้วค่ะ

ขุนนางกรมท่าขวา  การศึกษาบทบาทและหน้าที่ในสมัยอยุธยา ถึง รัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2153 - 2435
บันทึกการเข้า
เงินปุ่นสี
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 01 พ.ย. 09, 02:29

เรื่องหลักฐานนี้ อาจารย์พิทยา บุนนาค ได้ศึกษาคำนำตอนต้นของนายกุหลาบ....
และเขียนไว้ในหนังสือ "มุสลิมผู้นำฯ" ดังนี้

"...ชวนให้คิดว่านายกุหลาบมีจดหมายเหตุของพระยาวรเทพ (เถื่อน) อยู่จริง
จึงได้มีการเปรียบเทียบ และรู้ว่าบทความของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ฯ นั้น
ได้มีการเพิ่มและขยายความออกไปจากจดหมายเหตุเดิม..."

และัยังได้วิเคราะห์ต่อไปด้วยว่า

"...เว้นแต่นายกุหลาบได้ใส่สำนวนให้ดูอลังการหรูหราขึ้น
แต่ที่สำคัญไปกว่านี้ก็คือสอดไส้ความรู้ของตนลงไปด้วย..."

แต่ที่สำคัญคืออาจารย์พิทยาได้เพิ่มเติมอีกว่า
"...ในบทความนี้นายกุหลาบก็ยังคงอนุรักษ์เอกลักษณ์เฉพาะตัวไว้อย่างเหนียวแน่น
โดยไม่เว้นที่จะปั้นความขึ้น...ให้เข้าใจไปว่าจดหมายเหตุนี้เป็นของพระยาจุฬาราชมนตรี (เซน)..."

ว่าไปแล้วคนในสายสกุลบุตรหลานของท่านเฉกอะหมัดทั้งสายมุสลิมและสายพุทธ
ต่างก็ได้มีผู้ศึกษาประวัติและพยายามค้นคว้ามาโดยตลอด จนแม้ในยุคนี้
ไม่ว่าจะเป็นชมรมสายสกุลบุนนาค ที่จัดทำหนังสือลำดับสกุลปกแข็งเล่มใหญ่มา  ๒ เล่ม
หรืออาจารย์พิทยา บุนนาค ที่วิเคราะห์เรื่องการเดินทางของท่านเฉกอะหมัด
และรวมถึงอาจารย์จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์ ที่ศึกษาเรื่องบทบาทของขุนนางกรมท่าขวา

ดังนั้นเราคงต้องฟังความคิดห็นของคนในสกุลบุนนาคให้มาก
ด้วยว่าท่านหล่านั้นจะมีโอกาสได้อ่านและศึกษาเอกสารต้นฉบับต่างฯ
รวมถึงคำบอกเล่าต่างฯ ที่อยู่ในสายสกุลมากกว่าู้ผู้อื่นครับ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 01 พ.ย. 09, 07:36

ขอบคุณมากค่ะ คุณเงินปุ่นศรี



๑.        ขอถามว่า คุณเงินปุ่นศรี  เคยพบเอกสารที่อ้างถึง  มหามุขมาตยานุกูลวงศ์ เล่มอื่นนอกจากเล่ม ๑  หรือไม่คะ
ที่เป็นเอกสารต้นฉบับ


๒.       อีกเรื่องหนึ่งที่ขอคำแนะนำแทนสหายที่พยายามค้นหาบรรพบุรุษต้นสกุลฝ่ายสตรี
คือ เราจะใช้ข้อมูล  จาก  มหามุขมาตยานุกูลวงศ์  ได้แค่ไหน
ถ้าไม่จัดทำคัดลอกไว้ในเวลานี้     เรื่องราวก็จะสูญสลายละลายไปโดยสิ้นเชิง




          ตามความเข้าใจของดิฉัน      ต้นเรื่องจริงๆนั้นอยู่ใน สยามประเภท
๓.       แล้วสยามประเภทเต็มชุด ๑๒ เล่มนั้น    คุณเงินปุ่นศรีผู้ที่ศึกษาสายสกุล  คิดว่า มีอยู่กี่ชุดในสารขัณฑ์
(ขออภัยเป็นอย่างสูงที่บังอาจถาม  เพราะเป็นความอยากรู้อย่างสาหัส)




มหามุขมาตยานุกูลวงศ์ เล่ม ๒(ปกสวย)   ว่าด้วย วงศ์ตระกูลเสนาบดีจีน    ก็โดนกรีดออกมาจากเล่ม เพื่อถ่ายเอกสาร
กระดาษนั้นแตกหักไปตามกาลเวลา



หัวใจนักอ่านก็เหลือนิดเดียว



บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 01 พ.ย. 09, 18:29

ขอขอบพระคุณทุกท่านมากครับ

มุสลิมผู้นำฯ ของ อ.พิทยา บุนนาค
ขุนนางกรมท่าขวาฯ ของ อ.จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์
สองเล่มนี้อ่านมาแล้วครับ

ตัว อ.พิทยา นั้น ท่านเชื่อโดยส่วนตัวจริงๆ ว่า ท่านเฉกอะหมัด เป็นเชื้อสายชาวจอร์เจีย (แม้ในหนังสือท่านจะมิได้ฟันธงลงไป)

นอกจากนั้น ท่านเตช บุนนาค ก็ได้สืบหาเมืองเกิดของท่านเฉกอะหมัดจนเชื่อว่า พบแล้ว
ท่านเตช นั้นมีจิตวิญญาณของนักประวัติศาสตร์โดยสมบูรณ์ แม้จะมิได้เป็นนักประวัติศาสตร์เต็มตัวก็ตาม
งานทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ท่านเฉกอะหมัดและบรรพบุรุษมุสลิม ที่ราชภัฏอยุธยา ช่วงเดือนพฤษภา ท่านก็ไปโดยสม่ำเสมอ
(ในงานอาหารมุสลิมอร่อยมากครับ ทั้งข้าวหมกไก่ ข้าวแขก ฯลฯ)



เรียน คุณ Wandee ครับ

พระยาจ่าแสนยากร(จรูญ) อธิบดีกรมมหาดไทย ฝ่ายพระราชวังบวรฯ  ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกฐ
มีลูก  ๓ คน

๑.  ท่านผู้หญิง จำเริญ  ภรรยาหลวง เจ้าพระยาอินทราภัย(อรุณ)

๒.  นายจำรัส

๓.  เจ้าจอมรัศมี ในกรมพระราชวังบวร เจ้าฟ้านราธิเบศร์  กรมขุนเสนาพิทักษ์(เจ้าฟ้ากุ้ง)
     มีพระโอรส ชื่อ พระองค์เจ้าศรีสังข์    เมื่อเสียกรุงเก่า เสด็จไปเมืองเขมร


นายจำรัสรับราชการเป็น หลวงรักษ์เสนาในกรมมหาดไทย  มีลูกกับภรรยาหลวง ๖ คน   บุตร ๕ คนตกไปเมืองพม่า
บุตรคนโต  คือ  นายทองขวัญ    บิดาพระยาศรีสหเทพ  (ทองเพ็ง)

บุตรกับภรรยาน้อยมี ๒ คนคือ นายยิ้ม(ต่อมาเป็นนายรัต)  และนายแย้ม(เป็นที่นายแกว่น) นายเวรกรมมหาดไทยในรัชกาลที่ ๓

ผมเคยอ่านข้อมูลฝ่ายสกุลศรีเพ็ญนี้แล้วครับ ที่สงสัยมาโดยตลอดก็คือ ฝ่ายสกุลบุนนาค ว่า

พระยาจ่าแสนยากร (เสน) อธิบดีกรมมหาดไทย ฝ่ายพระราชวังบวรฯ  ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

ได้ท่านพวงแก้ว ธิดาเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ (ขุนทอง) มาเป็นภรรยา มีบุตรธิดา ๔ คน เป็นหญิง ๓ คน ชื่อ เป้า แป้น และ ทองดี (สามคนนี้ถูกกวาดต้อนไปพม่า)
คนที่สี่เป็นชายชื่อ  บุญมา (เจ้าพระยามหาเสนา สมุหพระกลาโหมในรัชกาลที่ ๒)

มีบุตรกับท่านบุญศรี ภรรยาซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ พระองค์ก่อน (เจ้าฟ้ากุ้ง) ประทานคนหนึ่งเป็นชายชื่อ  บุนนาค



ที่สงสัยคือชื่อของท่าน พระยาจ่าแสนยากร นั้น ฝ่ายสกุลบุนนาคว่า "เสน" (ว่า เสพ ก็มี ว่าไม่ทราบชื่อก็มี) ฝ่ายศรีเพ็ญที่คุณ Wandee ยกมาว่า "จรูญ"

ส่วนที่ฝ่ายสกุลบุนนาคไม่กล่าวถึงลูกหลานของท่านเสน คนอื่นนั้น ยังไม่แปลกใจนัก
เพราะข้อมูลฝ่ายมุสลิมก็มีกล่าวถึงเชื้อสาย (สายมุสลิม) โดยละเอียด มากกว่าข้อมูลฝ่ายสกุลบุนนาคอยู่มาก

ข้อมูลสกุลศรีเพ็ญอีกแห่งว่า

พระยาจ่าแสนยากร (เสน) มีภรรยาอีกคนชื่อ จำรูญ มีบุตรด้วยกัน ๓ คน
เป็นหญิงชื่อ จำเริญ (เป็นท่านผู้หญิงในเจ้าพระยาอินทราภัย มีบุตรหลานสืบสกุลอีกมาก)
เป็นชายชื่อ จำรัส ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในกรมพระราชวังบวร ได้โปรดเกล้าให้มีบรรดาศักดิ์หลวงรักษ์เสนา
เป็นหญิงชื่อ รัศมี  เป็นพระสนมในกรมพระราชวังบวร เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ กรมขุนเสนาพิทักษ์  มีพระราชโอรสองค์หนึ่ง มีพระนามว่า พระองค์เจ้าศรีสังข์ เมื่อคราวเสียพระนครศรีอยุธยา  พระองค์เจ้าศรีสังข์ได้หนีไปอยู่เมืองบันทายมาศ (เขมร)


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 01 พ.ย. 09, 22:53

สักวันหนึ่งคงมีผู้มาตอบได้ค่ะ  คุณ Bhanumet
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง