jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 29 ต.ค. 09, 20:02
|
|
ดูต่อ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 29 ต.ค. 09, 20:16
|
|
ดูต่อ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 29 ต.ค. 09, 20:32
|
|
จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ ตำบลแควอ้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้ที่อยู่ในแวดวงศิลปกรรมไทยมักรู้จักจิตรกรรมที่ฝาประจัน (ฝากั้นห้อง) กุฏิสงฆ์ที่เขียนเรื่องราวสงครามระหว่างไทยกับพม่า ซึ่งน่าจะเป็นสงครามครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) โปรดฯ ให้ไปขัดตาทัพที่ราชบุรีเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๔ แต่วัดบางแคใหญ่ยังมีจิตรกรรมฝาผนังในหอไตรปิฎก ฝีมือช่างหลวงสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งเพิ่งเปิดเผยให้ได้รับรู้กันทั่วไปเมื่อไม่นานมานี้ หอไตรปิฎก วัดบางแคใหญ่ เดิมปลูกไว้กลางสระน้ำ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกจากที่ตั้งปัจจุบันประมาณ ๕๐ เมตร ต่อมาถูกรื้อมาปลูกสร้างใหม่บนบกใกล้หอระฆัง โดยดัดแปลงยกพื้นให้สูงขึ้นเป็นอาคารสองชั้น ใต้ถุนโล่ง เจาะบันไดทางขึ้นภายในตัวอาคาร อาคารสองชั้น ใต้ถุนโล่ง เจาะบันไดทางขึ้นภายในตัวอาคาร ส่วนชั้นบนที่เป็นหอไตรปิฎกเดิมเป็นอาคารไม้ทรงไทย หลังคามุงกระเบื้อง ช่อฟ้า ใบระกา หน้าบัน แกะสลักไม้ประดับกระจกใหม่ทั้งหมด ผนังรอบนอกเป็นฝาไม้แบบฝาปะกน เจาะช่องหน้าต่างใส่ลูกกรงเหล็ก ไม่มีบานหน้าต่าง มีประตูทางเข้าหนึ่งช่อง มีห้องเก็บตู้พระไตรปิฎกอีกชั้นหนึ่ง (ปัจจุบันไม่มีตู้พระไตรปิฎกเก็บรักษา) ประตูทางเข้าห้องชั้นในตรงกันกับตำแหน่งประตูทางเข้าด้านนอก หน้าต่างห้องด้านในมีกรอบซุ้มยอดแหลม ฐานกรอบหน้าต่างโค้งมน กรอบประตูหักมุมทั้งสี่ด้าน คล้ายกับกรอบประตูที่กุฏิสงฆ์ ฝาผนังด้านในต่อไม้เข้าลิ้นเป็นพื้นเรียบแบบฝาถังของจีน ฝาผนังด้านนอกมีร่องรอยลงพื้นดินสอพองกับกาวเม็ดมะขาม ปิดทองลวดลายฉลุพุ่มข้าวบิณฑ์บนพื้นสีใดสีหนึ่ง ปัจจุบันไม่ปรากฎหลักฐานสีของพื้นและลวดลายให้เห็น เหลือเพียงเค้าโครงลวดลายเลือนราง จิตรกรรมเขียนอยู่บนฝาผนังด้านในห้องเก็บตู้พระไตรปิฎก เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาวบนพื้นไม้ที่เตรียมพื้นด้วยดินสอพองกับกาวเม็ดมะขามเหมือนด้านนอก เป็นภาพเล่าเรื่อง โดยใช้ระยะห่างของต้นเสาและไม้คร่าวยึดฝาผนังเป็นกรอบภาพแบ่งเรื่องราวเป็นตอนๆ เนื้อหาของภาพมีทั้งพุทธประวัติ มโหสถชาดก เนมิราชชาดก พระมาลัยบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เจดีย์จุฬามณี เทพชุมนุม และการปลงอสุภะกัมมัฎฐาน ๑๐ เป็นต้น เรื่องราวอาจจบในช่องเดียวหรือต่อเนื่องกับภาพที่อยู่ใกล้เคียงกัน
เนื่องจากหอไตรถูกปิดตายมานาน ทำให้ภาพเขียนถูกทำลายไปเพราะอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไม่คงที่ ความชื้นจากหลังคารั่ว การขาดการดูแลรักษาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ตลอดจนการรื้อถอนโยกย้ายมาสร้างในที่แห่งใหม่ ทำให้ภาพจิตรกรรมหลายๆ ช่องหลุดล่อนเสียหายไปจนหมด ส่วนที่ยังคงเหลืออยู่ก็พร้อมจะหลุดล่อนได้ทุกเวลา
อย่างไรก็ดี ภาพจิตรกรรมได้แสดงให้เห็นเนื้อแท้ของศิลปกรรมฝีมือช่างรัชกาลที่ ๓ อย่างแท้จริง ทว่าสิ่งแปลกปลอมที่ปรากฏเข้ามาในภาพ คือเครื่องหมายกำหนดตำแหน่งตั้งแต่ครั้งที่รื้อย้ายเพื่อให้สะดวกในการการประกอบใหม่ภายหลัง ตลอดจนร่องรอยต่อเติมโดยเด็กๆ ที่ขึ้นไปวิ่งเล่นซุกซนในระยะหลังช่วงที่อาคารไม่ได้ปิดแบบเมื่อครั้งอดีต
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 29 ต.ค. 09, 20:44
|
|
รูปที่1ภาพรอยพระพุทธบาทยังไม่เคยเห็นปรากฎเขียนที่ไหนละเอียดแบบนี้ งดงามจริงๆ รูปที่2ตอนมโหสถนี้ฝีมือการเขียนตัวกากใกล้เคียงกับครูคงแป๊ะมาก เรียกว่าถ้าไม่ใช่ก็ใกล้เคียงแถมยังเป็นการเขียนตอนถนัดของครูคงแป๊ะเสียด้วย รูปที่3ภาพมโหสถที่วัดบางยี่ขันฝีมือครูคงแป๊ะ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 29 ต.ค. 09, 20:54
|
|
รูปที่1น่าจะเป็นตอนเนมีราช รูปที่2ภาพพระภิกษุปลงอศุภ รูปที่3ภาพพวงระย้าดอกไม้ประกอบเครื่องมงคลจีน ได้แก่ โคมไฟ เหรียญเงิน ค้างคาว และพู่ห้อย เขียนอย่างประณีตงดงาม (ผนังทิศใต้ฝั่งซ้าย) เขียนได้งดงามจริงๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 29 ต.ค. 09, 21:05
|
|
ภาพเขียนที่วัดบางแคใหญ่ทั้งที่ฝาประจันและที่หอไตรนั้นถือได้ว่าเป็นจิตรกรรมฝีมือสกุลช่างที่น่าจะมีฝีมือถึงช่างหลวงที่งดงามนักควรค่าแก่การอนุรักษ์สืบไป
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 29 ต.ค. 09, 21:14
|
|
วัดสุดท้ายที่ผมไปกันแค่2คนกับคุณทอมมี่เสียดายที่แตเตอรี่กล้องเล็กก็กำลังจะหมดจึงถ่ายมาได้ไม่มากวัดประดู่ เป็นวัดโบราณที่สร้างขึ้นมาในราวสมัยอยุธยาตอนปลาย สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2320 จะพอมีหลักฐานได้ก็เพียงอุโบสถหลังเก่าซึ่งเป็น ศิลปอยุธยา แต่ได้ทำการรื้อถอนหมดแล้วเพื่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ ซึ่งหลังเดิมได้ชำรุดทรุดโทรมจนเกือบจะพังลงมาให้ได้ มีภาพจิตรกรรมเพดาน ศาลาการเปรียญ ซึ่งเขียนขึ้นในราว รัชกาลที่ 2*ส่วนตัวผมคิดว่า น่าจะเขียนในสมัยร.5มากกว่า ซึ่งก็เขียนเรื่องราวที่แปลกตาส่วนบนคอสองใต้เพดานเขียนเรื่องพุทธประวัติ ฝีมือน่าจะเป็นช่างพื้นบ้านสกุลอัมพวา เพราะวัดในแถบนี้ยังมีอีกหลายวัดที่นิยมเขียนภาพบนเพดานแบบนี้
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 29 ต.ค. 09, 21:26
|
|
จังหวัดสมุทรสงครามแบ่งเป็น 3 อำเภอ คือ อำเภอ เมือง , อำเภอ บางคนที และอำเภออัมพวา ถือว่าเป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดในประเทศไทย แต่ก็มีเกจิอาจารย์ระดับปรมาจารย์ที่ศักดิ์สิทธิ์เชี่ยวชาญในด้านอภิญญาหลายองค์ด้วยกัน เช่น หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม, หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี, หลวงพ่อสาย วัดจันทร์เจริญสุข, หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ และหลวงปู่หยอด วัดแก้วเจริญและพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองคือหลวงพ่อบ้านแหลมวัดเพชรสมุทรวรวิหาร และจะลืมเสียไม่ได้ จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นเมืองราชนิกูลเป็นที่ประสูติของ รัชกาลที่ 2 กษัตริย์ไทยแห่งราชวงศ์จักรี และที่สำคัญยังมีแหล่งศิลปะไทยให้ศึกษาอีกหลายวัดที่ชมรมยังไม่ได้ไป อย่างวัดเขายี่สาร วัดอัมพวาเจติยาราม วัดคู้สนามจันทร์ วัดภมรินทร์กุฎีทองและอีกมากมายหลายวัด นอกจากนั้นยังมีสถานที่ท่องเทียวที่สวยงามอีกมากมายถ้ามีเวลา สำหรับคนที่รักศิลปะไทยและการท่องเที่ยวสมควรหาเวลาไปเที่ยวชมเป็นอย่างยิ่ง จึงขอจบสรุปทริปการเดินทางของชมรมฯครั้งที่3ไว้เพียงเท่านี้
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 02 พ.ย. 09, 11:15
|
|
รอโอกาสดีๆกับทริปต่อไป ว่าแต่พี่ยีนส์อย่าลืมวัดกลางบางแก้วนะครับ ระหว่างนี้ผม พี่แพร พี่เซีย ก็จัดทริปเล็กดูนั่นดูนี่ใกล้ๆกันไปก่อน บางที่ก็แยกๆกันไปหาข้อมูล วันอาทิตย์ที่ผ่านมาตั้งใจจะไปวัดนางนาองแต่พี่ยุทธไม่ว่าง ผม พี่แพรกับพี่เซีย เลยไปดูต้นเสา ลายทองฝีมือช่างวังหน้าที่ วัดมะกอก บางละมาด แต่ปรากฏว่าทางวัดรื้อทิ้งสร้างใหม่ไปนานแล้ว เศษซากที่เหลือก็มีแตช่่อฟ้านาคสะดุ้งบางชิ้น เลยรู้สึกเสียดายกันอยู่พอสมควร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 02 พ.ย. 09, 11:24
|
|
และเหลือปรางค์เก่าองค์หนึ่ง พระสงฆ์ที่เป็นคนพื้นเพเดิมที่นั่นเล่าว่าแต่ก่อนจะมีเจดีย์-ปรางค์เรียง เป็นแนวยาวไปรอบๆพระอุโบสถ แต่รื้อลงหมดเหลืออยู่แค่อันเดียว คงเป็นแบบวัดโบราณที่มีเจดีย์ บรรจุอัฐิเรียงอยู่รอบๆโบสถ์ แต่สร้างโดยฝีมือช่างเก่าเป็นงานปั้นที่บอกถึงศิลปะของท้องถิ่นได้เหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 40 เมื่อ 02 พ.ย. 09, 11:33
|
|
พระเล่าต่ออีกว่าศาลาการเปรียญหลังเดิมด้านในเป็นเสากลมขนาดใหญ่ มีลายรดน้ำเขียนอยู่ และยังมีที่หอสวดมนต์หรือหอฉันด้วย แต่ภายหลังจะสร้างใหม่เป็นศาลาคอนกรีตจึงรื้อลงหมด เสากลมขนาดใหญ่จึงถูกทิ้งลงไปในร่องน้ำ ??..!! เพราะแต่ก่อนบริเวณรอบๆวันเป็นสวนท้องร่อง และทางวัดก็จะถมที่เสากลมลายทองจึงมีขนาดพอเหมาะกับร่องน้ำพอดี ทุกวันนี้เสาไม้เหล่านั้น ก็ถูกกลบโบกปูนทับกลายเป็นอดีตไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 41 เมื่อ 02 พ.ย. 09, 11:41
|
|
ผมไม่ค่อยอยากจะลงข้อมูลในลักษณะแบบนี้ เพราะยิ่งพูดกันไปต่างฝ่ายก็มีเหตุผลที่จะป้องกันตัวเองทั้งนั้น เพียงแต่ผมได้ข้อมูลมาเลยอยากจะนำมาบอกต่อ เพราะมีคนติดตามจะไปดูเสาลายทองชุดนี้อยู่เรื่อยๆ และถามกับทางวัดเสมอ วัดเป็นศูนย์รวมของศรัทธาบวกกับโลกที่ต้องเปลี่ยนไป ของเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องใช้งาน พระท่านก็ต้องใช้ทำกิจสงฆ์ ถึงเวลาเปลี่ยนมันก็ต้องเปลี่ยนไม่เที่ยงแท้ ..... เฮ้อ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 42 เมื่อ 02 พ.ย. 09, 13:19
|
|
เสาเดิมของพระราชวังในวังหน้าสมัยรัชกาลที่1 ที่อยู่ที่วัดมะกอก คลองบางระมาด เดิมอยู่วัดชนะสงคราม นำมาจาก"พระพิมานดุสิดา"ซึ่งสร้างอยู่กลางสระกับพระที่นั่งโกงอันเป็นพระที่นั่งทรงปืนหรือพระที่นั่งทรงธรรม เขียนลายรดน้ำบนพื้นรักเป็นรูปเถาไม้เลื้อยพันเสาประกอบด้วยสัตว์จตุบท ทวิบาท งดงามมาก ในหน้งสือวังหน้ากรุงรัตนโกสินทร์กล่าวไว้ว่า" พระพิมานดสิดา ที่สร้างไว้เป็นหอพระแทนปราสาทที่กลางสระเห็นจะชำรุด โปรดให้รื้อทั้งพระวิมานและพระระเบียงเอาตัวไม้ที่ยังใช้ได้ไปทำในวัดชนะสงคราม ซึ่งกรมพระราชวังบวรฯในรัชกาลที่๑ได้ทรงสถาปนาไว้ สะพานข้ามสระ๔สะพานก็รื้อเหมือนกัน ที่นั้นทำสวนเลี้ยงนก เลี้ยงปลา เป็นที่ประพาส......." สถานที่ตั้งพระพิมานดุสิตานี้ปัจจุบันคือ บริเวณหอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่วนตัวไม้ของพระพืมานดุสิดาที่รื้อเอาไปสร้างในวัดชนะสงคราม ภายหลังถูกระเบิดในสงครามโลกครั้งที่2ตัวไม้ที่เป็นลายทองมีค่าสมัยร.๑กองอยู่ สมภารวัดมะกอกในคลองบางระมาดจึงขอเอาไปสร้างเป็นเสาศาลาการเปรียญกับหอสวดมนต์ ปัจจุบันถ้าถูกนำไปทิ้งท้องร่องก็เป็นที่น่าเสียดาย (ดูรูปประวัติศาสตร์นี้ไปละกัน)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 02 พ.ย. 09, 17:36
|
|
ขอบคุณมากครับพี่ยีนส์ สำหรับข้อมูลละเอียดๆและภาพ ตัวผมเองยังไม่เคยเห็นภาพเสานี้เหมือนกัน ตอนได้ยินทางวัดพูดอย่างนั้นพวกผมต่างก็พูดไม่ออกครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ฉันรักบางกอก
|
ความคิดเห็นที่ 44 เมื่อ 04 พ.ย. 09, 14:43
|
|
เห็นภาพแล้ว โอ๊ยๆๆ
วันนั้นเป็นวันที่หดหู่ใจจริงๆ ฟังพระท่านพูดแล้วอารมณ์เสีย
อีกหน่อย คงจะมีแต่นิทรรศการภาพ แม้แต่ซาก อิฐสักก้อน คงจะไม่มีบุญได้ดู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กนก นารี กระบี่ คชะ
|
|
|
|